เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 18
  พิมพ์  
อ่าน: 104479 สีฟ้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 04 ม.ค. 11, 12:34

มีกระทู้ ชมพู  แล้ว  ก็นึกได้ว่า เรื่องราวเกี่ยวกับ "สีฟ้า" หรือ Blue  มีอะไรให้เล่าถึงได้มากมายไม่แพ้ ชมพู
จึงมาตั้งกระทู้ใหม่ขึ้น

ของไทยเรา แยกสีฟ้ากับน้ำเงินออกจากกัน  แต่ของฝรั่ง คำว่า blue กินความทั้งฟ้าและน้ำเงิน  
ถ้าจะเจาะจงลงไปว่าเป็นฟ้า ไม่ใช่น้ำเงิน หรือเป็นสีน้ำเงิน ไม่ใช่ฟ้า  ก็ใช้คำอื่นประกอบเข้าไป
เช่นสีฟ้าอ่อน เรียกว่า baby blue   ถ้าเป็นสีน้ำเงินแก่ เรียกว่า dark blue

สีที่นำมาลงให้ดูข้างล่างนี้ อยู่ในสี blue ทั้งหมด


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 ก.ย. 12, 19:09 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 13:14

ความนิยมที่ว่า สีฟ้าเป็นสีสำหรับทารกชาย และสีชมพูสำหรับทารกหญิง   เกิดขึ้นเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นี่เองค่ะ  ก่อนหน้านี้เมื่อต้นศตวรรษ ถือกันตรงกันข้าม     คือสีชมพูสำหรับชายและฟ้าสำหรับหญิง

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 13:24

blue ถ้าใช้กับอารมณ์ หมายถึงเศร้า  อย่าง I'm feeling blue.
ตรงก้นข้ามกับคนไทย  มักถือว่าสีฟ้าเป็นสีของความสุข  เพราะไปพ้องเสียงกับคำว่า ศุกร์  ซึ่งในสวัสดิรักษาของสุนทรภู่ ให้ใส่สีน้ำเงินเป็นสีมงคล

วันอาทิตย์ สิทธิโชคโฉลกดี
เอาเครื่องสีแดงทรงเป็นมงคล
เครื่อง วันจันทร์ นั้นควรสีนวลขาว
จะยืนยาวชันษาสถาผล
อังคาร ม่วงช่วงงามสีครามปน
เป็นมงคลขัตติยาเข้าราวี
เครื่อง วันพุธ สดุดีด้วยสีแสด
กับเหลืองแปดปนประดับสลับสี
วันพฤหัสบดี จัดเครื่องเขียวเหลืองดี
วันศุกร์ สีเมฆหมอกออกสงคราม
วันเสาร์ ทรงดำจึงล้ำเลิศ
แสนประเสริฐเสี้ยนศึกจะนึกขาม
ทั้งพาชีขี่ขับประดับงาม
ให้ต้องตามสีสรรพ์จึงกันภัยฯ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 13:37

คำว่า blue มีอยู่ในสำนวนอังกฤษมากมาย    คำว่า black and blue  ตรงกับภาษาไทยว่า ฟกช้ำดำเขียว  คือรอยช้ำบนร่างกาย ฝรั่งเห็นเป็นสีฟ้า(หรือน้ำเงิน) ไทยเห็นเป็นสีเขียว (หรือดำ  เพราะสมัยโบราณ เขียวใช้ในความหมายว่าสีดำ ด้วย)

blue ใช้ในความหมายเชิงยกย่องอย่างสูงก็มี   blue blood หรือเลือดสีน้ำเงิน  ไม่ใช่สำนวนไทยแต่เป็นสำนวนอังกฤษ  หมายถึงเชื้อสายผู้สูงส่ง เช่นพวกกษัตริย์และขุนนางศักดินาทั้งหลาย

Out of the blue และ out of a clear (blue) sky เหมือนกัน คือแปลว่ากะทันหัน ไม่คาดคิด จู่ๆก็มาถึง ไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ
อย่างแรกใช้ทั้งอังกฤษและอเมริกัน  อย่างหลังเป็นของอเมริกัน

between the devil and the deep blue sea มีความหมายเดียวกับสำนวนจากเทพนิยายกรีก (ที่คุณ SILA คงรู้จักดี) Between  Scylla and Charybdis   ไทยเราใช้ว่า หนีเสือปะจระเข้   คือหมายความว่าตกอยู่ระหว่างตัวเลือก2 อย่างที่เลวร้ายพอกัน ไม่ว่าจะเลือกแบบไหน
บันทึกการเข้า
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 14:01

ไหว้สาครับคุณครู

ฝรั่ง อาจจะงงกับคำว่า Blue คงเหมือนกับไทยที่งงในคำว่า "เขียว"

ที่รวมทั้ง เขียวและฟ้า ไว้ด้วยกัน

ส่วนน้ำเงินคงจะเรียกว่า สีคราม สีกรมท่า ไปกระมังครับ

ปล. แล้วสีฟ้า มาแต่ใดเล่านี่
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 14:24

สวัสดีค่ะคุณศศิศ
สีฟ้า น่าจะมาจากท้องฟ้า มั้งคะ  ยิงฟันยิ้ม
สีคราม ก็มาจากครามที่ย้อมผ้า   
กรมท่า สีผ้านุ่งขุนนางกรมท่า ที่เป็นสีน้ำเงิน

สำนวนเกี่ยวกับ blue มีอีกมาก   บอกไว้เผื่อไปอ่านเจอในเน็ตจะได้นึกออกว่าหมายถึงอะไร

once in a blue moon  ปกติดวงจันทร์เป็นสีเหลืองสว่าง   ยากนักที่จะมองเห็นเป็นสีน้ำเงินซีดๆ จะเพราะหมอกบังหรืออะไรก็ตาม  เพราะฉะนั้นอะไรที่เกิดได้ยากเย็นจึงเรียกกันแบบนี้
ไทยใช้ว่า นานปีทีหน

การเปรียบเทียบสีฟ้าหรือน้ำเงินกับความสูงต่ำของคนนี่ก็ประหลาดเอาการ   ถ้าเอาไปเทียบกับเลือด เป็น blue blood ละก็ ถือว่าสูงส่ง
แต่พอเอามาประกอบเครื่องแต่งกาย เป็น blue collar หรือปกเสื้อสีน้ำเงิน แทนที่จะสูงกลับต่ำ  คำนี้หมายถึงชนชั้นแรงงาน กรรมกร   คนทำงานขุดดินกินหญ้า อะไรพวกนี้   เนื่องจากพวกกรรมกรหรือผู้ใช้แรงที่ต้องเหน็ดเหนื่อยอยู่ในโรงงานหรือถนนหนทาง สวมเสื้อสีน้ำเงินแก่ที่ไม่เปื้อนง่าย     
แต่ถ้าพวกนั่งออฟฟิศ หรือทำงานมีหน้ามีตา กินเงินเดือน  เรียกว่า white collar   พวกนี้สวมเชิ้ตขาวผูกเนคไทสะอาดเรียบร้อย
บันทึกการเข้า
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 14:41

ขอเสริมลิงก์นี้ด้วยครับ

ทำไมคนต่างจังหวัด มองสีฟ้าเป็นสีเขียว

ตัดตอนบางส่วนจากลิงก์

ความคิดเห็นที่ 13   

การแบ่งการจำแนก สิ่งของ หรือแนวคิดในโลก ของภาษาในโลกกว่า ๖พันภาษา ของโลก ล้วนมีเอกลักษณ์ของตนเอง
เช่น พ่อ บิดา ในภาษาไทย

ต่างจากการแบ่งหน่วยและการใช้ Dad Daddy Papa Father ในภาษาอังกฤษ

หน่วยจำแนกของสีก็เช่นกัน มีหลักการเรียก ที่แตกต่าง แต่เดิม ไทเดิม น่าจะใช้เฃียว หมายถึง สีของใบไม้แก่ ซึ่งออก เฃียวเหลือบน้ำเงิน ซึ่ง อาจจะหมายถึง ตั้งแต่ สีเฃียวอ่อน สีเฃียวเข้ม น้ำเงิน จนถึง สีฟ้า

ครั้นเมื่อสังคมไทยได้รับศิลปะวิทยาการจากตะวันตก

โดยเฉพาะทางด้านวิจิตรศิลป์ โดย อาจารย์ ศิลป์ พีระศรี ชาวอิตาลี ได้วางระบบการเรียกสีของไทย เข้ากับทฤษฎีสีของตะวันตกครับ

แก้ไขเมื่อ 11 ธ.ค. 53 00:01:29

จากคุณ : Paphmania   
เขียนเมื่อ : 7 ธ.ค. 53 12:14:12   
ถูกใจ : เจ้าคุณแม่ทัพ, ทินา, Guga

 
 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 14   

ศัพท์เรียก สีฟ้า เป็นคำใหม่ครับ สมัยก่อนไม่มีดอกครับ รายชื่อสีของช่างไทย ไม่มีสีฟ้า มีแต่สีคราม สีหมอกเมฆ กับสีเขียว

้เหมือนกับสำนวนโบราณ (เช่นในกฏหมายตราสามดวง) ใช้คำว่า "สุดหล้าฟ้าเขียว" แสดงว่าคนโบราณเรียกสีฟ้า ว่าเขียว

และอาจจะแปลกใจ ว่าทำไมคนสมัยใหม่ถึงเีรียกฟ้าสีเขียวๆอย่างนั้นว่า "สีฟ้า" (ซึ่งไม่มีความหมายในทางลักษณะบอกสี)

ถ้าไม่ใ่ช่ช่าง สีในสายตาคนโบราณมีเพียงสองชุดเท่านั้น คือ เขียว กับแดง อะไรออกโทนร้อนก็เรียกแดง สีอะไรออกโทนเย็นก็เรียกเขียว

จากคุณ : ปลาทองสยองเมือง   
เขียนเมื่อ : 7 ธ.ค. 53 12:15:37   
ถูกใจ : LegalisM, Roh_Z, เจ้าคุณแม่ทัพ, ทินา, ป้าหนูดา, p_or, kodindy, Antares Kung, Natthanuch1, Dr.Jiang, perspeceviT, อันตราคนี, Noey :p, mute







ความคิดเห็นที่ 28   

ขอเล่าด้วยอีกคนค่ะ คนญี่ปุ่นรุ่นเก่าๆ ก็จะเรียกสีฟ้าเป็นสีเขียวเหมือนกันค่ะ

แต่ก็แปลกดีที่ทำไมถึงเรียกสัญญาณไฟเขียวว่าไฟสีฟ้าก็ไม่รู้ มาอยู่ที่นี่ใหม่ๆ เรียกผิดถูกหัวเราะประจำเลย

อย่างสีในความคิดเห็นที่ 8 เราเรียกสีฟ้าน้ำทะเลค่ะ อันนี้เรียกตามสีประจำคณะ (คณะประมง) ซึ่งดูทีไรก็ออกเป็นสีเขียวทุกที

จากคุณ : ลิปิการ์   
เขียนเมื่อ : วันรัฐธรรมนูญ 53 18:35:36   
 

 
 
 
 
ความคิดเห็นที่ 29   

คนญี่ปุ่น คำว่า Aoi หมายถึงทั้งสีฟ้าและสีเขียว

คนเกาหลียุคก่อน ๆ ก็เรียกสีฟ้าว่าสีเขียว

จากคุณ : เจ้าคุณแม่ทัพ   
เขียนเมื่อ : 12 ธ.ค. 53 14:16:05   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 14:50

ถ้าเป็นสีของดอกไม้  blue  หมายถึงเฉดสีตั้งแต่ฟ้า น้ำเงิน ไปจนม่วง  อย่างในรูป
แวนด้าช่อนี้  คนไทยเรียกว่าสี ม่วง  แต่ฝรั่งเรียกว่า blue

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 14:53

ไฮเดรนเยียสีนี้  ฝรั่งจัดเข้ากลุ่มสีฟ้า  เรียกว่า Blue Hydrangea

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 15:15

กลับมาบอกสำนวนอีกที  เป็นสำนวนเก่าไม่ค่อยคุ้นหูนัก   

scream blue murder   
ฆาตกรรมสีฟ้าในที่นี้ไม่ได้หมายถึงใครฆ่าแกงกันตาย  และไม่ได้เกี่ยวอะไรกับสี   แต่ใครสักคนกรีดร้องว่าฆาตกรรมสีฟ้า   ก็คือตรงกับคำไทยว่า "ร้องแรกแหกกระเชอ"  หรือร้องโวยวายเป็นการใหญ่

คำว่า blue ถ้าใช้กับอารมณ์โกรธ  ไม่ใช่โกรธระคนเศร้า  เป็นโกรธแบบไม่เอ็ดตะโรโวยวาย   หากแต่นิ่งๆ แบบโกรธมากและโกรธลึก
อยู่ในสำนวนว่า to  burn with a low blue flame   
ความหมายอีกอย่างของการเผาไหม้ด้วยเปลวไฟสีฟ้า คือ เมาจนไม่รู้เรื่อง   เมาซมซาน เมาไม่สร่าง  ทำนองนี้   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 19:27

เพชรสีฟ้าที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก คือ Hope  หรือชื่อเดิมว่า Le bleu de France  ( The Blue of France) เป็นเพชรสีฟ้าเข้ม หนัก 45.52 กะรัต  ปัจจุบันอยู่ที่สถาบันสมิธโซเนียนในนิวยอร์ค     
ประวัติของเพชรสีฟ้า ถูกเล่าลือเสริมแต่งให้เป็นเพชรถูกสาป  เพราะเดิมเป็นเพชรประดับเทวรูปของอินเดีย  แต่ถูกขโมยมา  ตกอยู่กับใครเจ้าของก็วิบัติ    แต่ตามหลักฐานแล้ว พ่อค้าฝรั่งเศสซื้อมาจากอินเดีย  แล้วนำมาเจียระไนใหม่ ก่อนขายให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส
เพชรตกทอดไปอีกหลายมือ จนถึงมือพ่อค้าเพชรชื่อแฮรี่ วินสตัน  เขายกให้สถาบันสมิธโซเนียน  เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน  1958  (พ.ศ. 2501)

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 19:38

Evalyn Walsh McLean เศรษฐีนีชาวอเมริกัน ผู้ซื้อเพชรโฮปจากร้านขายเพชรคาเทียร์    ถูกประทับตราในตำนานว่าเป็นเหยื่อรายใหญ่รายหนึ่งของเพชรถูกสาป
เพราะชีวิตเธอประสบความหายนะต่อมาเป็นลำดับ  ลูกชายซึ่งเป็นทายาทตายในอุบัติเหตุเมื่ออายุ 9 ขวบ   สามีมีหญิงอื่น ทิ้งเธอไปแล้วกลายเป็นคนติดเหล้าจนเสียชีวิตในสถานคนไข้โรคจิต     ลูกสาวกินยานอนหลับเสียชีวิตเมื่ออายุ 25  ตัวเธอเองก็ล้มละลายในบั้นปลาย  ต้องขายเพชรไปเพื่อใช้หนี้



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 ก.ย. 12, 19:12 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 05 ม.ค. 11, 08:29

Blue ต่อไปที่จะนำเสนอ  คือ blue ที่นำมาประกอบชื่อแม่น้ำสายยาวอันดับ 2 ของยุโรป   ชื่อแม่น้ำ Danube  (จะออกเสียงว่าดานูป หรือดานยูปก็ได้)  แม่น้ำสายนี้เริ่มต้นที่ป่าดำ ของเยอรมนี  ผ่านมาถึงออสเตรีย  ก่อนจะผ่านไปอีก 8 ประเทศ แล้วไปจบที่ทะเลดำ
แม่น้ำเป็นแรงบันดาลใจให้คีตกวีคนสำคัญของออสเตรียชื่อโจฮัน สเตราส์ แต่งเพลงวอลทซ์ ชื่อ An der schönen blauen Donau, Op. 314 หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า On the Beautiful Blue Danube  
เพลงนี้เลื่องลือไปทั่วโลก  เป็นยอดแห่งเพลงวอลทซ์ และเป็นเพลงโด่งดังที่สุดของสเตราส์ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นราชาแห่งวอลทซ์

นักท่องเที่ยวแห่กันไปจากทั่วโลกมายาวนานกว่าหนึ่งศตวรรษเพื่อจะไปดูแม่น้ำดานูบสีฟ้า     เอาเข้าจริงมันก็ไม่ได้สีฟ้า  เป็นสีตุ่นๆอย่างสีแม่น้ำทั่วไป
แต่ก็มีคนแก้ตัวให้ว่า ถ้าเป็นคนอยู่ในห้วงรัก จะมองเห็นแม่น้ำดานูบเป็นสีฟ้า

รูปนี้  แม่น้ำดานูบเป็นสีฟ้าสมกับเพลง



ถ้าอยากรู้ว่า Blue Danube ไพเราะขนาดไหน  คลิกคลิปวิดีโอเข้าไปฟังได้ค่ะ
(ขอเปลี่ยนคลิปใหม่ จากที่เคยลง    ชุดนี้บรรเลงเพราะกว่า  อยากให้ดูบัลเลริน่าด้วยค่ะ)

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 05 ม.ค. 11, 09:42

จากคีตศิลป์  ขอพามาพบ blue ทางด้านวิจิตรศิลป์กันบ้าง



ภาพนี้ชื่อ Blue Boy   เป็นภาพวาดสีน้ำมันฝีมือโธมัส เกนสโบโร  ได้ชื่อว่าเป็นงานชิ้นเอกของศิลปินผู้นี้
ความสำคัญของภาพไม่ได้อยู่ที่ความวิจิตรของลายเส้น หรือฝีไม้ลายมือว่าประณีตแค่ไหน  แต่อยู่ที่ว่าความเชื่อในสมัยนั้นคือ โทนสีอุ่น(เช่นแดงและเหลือง) ถือเป็นสีเด่นของภาพ   ส่วนโทนสีเย็น(เช่นฟ้า น้ำเงิน เขียว) ถือเป็นส่วนประกอบในแบคกราวน์     จิตรกรไม่เอาโทนสีเย็นขึ้นมาไว้ข้างหน้า  แล้วเอาโทรสีอุ่นไปไว้ข้างหลัง   เพราะสีแบคกราวน์จะข่มจุดเด่นของภาพเสียหมด
แต่เกนสโบโร ท้าทายความคิดนี้ด้วยการเอาสีฟ้าซึ่งเป็นโทนสีเย็น ขึ้นมาเป็นสีเครื่องแต่งกายของเด็กหนุ่มในภาพทั้งชุด   เอาโทนสีสว่างกว่าไว้ข้างหลัง  แต่จัดสีให้ออกมาให้สีฟ้าเป็นภาพโดดเด่นได้สำเร็จ    ผลก็คือกลายเป็นงานโด่งดังไปทั่วโลก

แถมให้อีกภาพ  เป็นฝีมือเกนสโบโรเหมือนกัน   ชื่อ The Pink Boy



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 ก.ย. 12, 19:15 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 05 ม.ค. 11, 11:31



สีฟ้า(หรือน้ำเงิน) ถูกเลือกเป็นสีแห่งเกียรติยศ  ความดีเด่น หรือชัยชนะ    เป็นสีของโบเครื่องหมายรางวัลชนะเลิศ สำหรับคนอเมริกัน     
คนไทยเองก็นำโบสีน้ำเงินมาใช้ในงานประกวดสารพัดอย่างที่มีรางวัลที่หนึ่ง สอง สาม 
โบสีน้ำเงินมีที่มาจากรางวัล Blue Ribend สำหรับเรือเดินสมุทรที่แล่นด้วยสปีดเร็วสุด ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20  เผอิญเสียงของคำนี้ คล้ายๆคำว่า blue ribbon      อเมริกาก็เลยดัดแปลงมาใช้   กลายเป็นโบสีน้ำเงิน  เครื่องหมายชนะเลิศประกวดตั้งแต่งานเล็กๆน้อยๆ ไปจนงานใหญ่   ส่วนรางวัลที่สอง ได้โบสีแดง   
ส่วนในแคนาดา กลับเป็นตรงข้าม  โบแดงคือที่หนึ่ง และโบน้ำเงินคือที่สอง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.039 วินาที กับ 20 คำสั่ง