ขอเลี้ยวซอยแยกหน่อยค่ะ
รอยอิน ท่านมักจะมีคำอธิบายแบบเดียวกับ คราม และ น้ำเงิน แบบนี้ให้งงอยู่อีกหลายคำ เช่น
ใน บ.
ตรงกันข้ามกับ นอก, ไม่ใช่นอก, เช่น ในบ้าน ในเมือง; แห่ง, ของ,
เช่น พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.
(ข. ใน ว่า แห่ง, ของ).
นอก บ.
ตรงข้ามกับใน, ไม่ใช่ใน. ว. พ้นออกไปจากภายในหรือร่วมใน เช่น
นอกเรือนนอกประเทศ นอกกาย นอกตําแหน่ง, ต่างประเทศ เช่น ของ
นอก ไปนอก, เรียกเขตที่พ้นจากเมืองหลวงออกไปว่า บ้านนอก,
เรียก
ประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกาว่า เมืองนอก, เรียกผลไม้ที่เอามาจาก
นอกกรุง เช่น เงาะนอก ทุเรียนนอก, คู่กับ ผลไม้ในกรุง เช่น เงาะสวน
ทุเรียนสวน.
ยังสงสัยคำว่า "เรียกประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกาว่า เมืองนอก" แล้วใครไปเรียนหนังสือที่ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ไม่ถือว่าไปเรียนเมืองนอกหรือ?
กลับเข้าเรื่อง มาเล่าถึง blue ในวรรณกรรมเสียที
เรื่องนี้ชื่อ Bluebeard (เคราสีน้ำเงิน) เป็นตำนานพื้นบ้าน ถ้าแยกสาขาย่อยลงไปจาก วรรณคดี (Literature) ถือว่าเป็นสาขาคติชน (Folklore) เรื่องเดิมอาจจะมีมาตั้งแต่ยุคกลางของยุโรปก็เป็นได้ แต่ว่าชาร์ลส์ เปอร์โรต์ นักเขียนนิทานชาวฝรั่งเศส เขียนไว้ในหนังสือชื่อ Histoires ou Contes du temps passé. (History of Tales in the Past) พิมพ์เมื่อค.ศ. 1697
เป็นเรื่องของขุนนางโหดผู้มีเคราสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นฆาตกรต่อเนื่อง ฆาตกรรมภรรยาคนแล้วคนเล่า แล้วซ่อนศพไว้ในห้องลับในคฤหาสน์ของเขา จนถึงภรรยาคนสุดท้ายที่รอดมาได้อย่างหวุดหวิด
เรื่องนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย จนคำว่า Bluebeard เอ่ยขึ้นลอยๆก็เป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงฆาตกรฆ่าเมีย
แต่ทำไมคนเขียนถึงให้ตาเฒ่ามีเคราสีน้ำเงิน แทนที่จะเป็นเคราสีแดง สีทอง สีน้ำตาล อย่างคนอื่นๆ คำอธิบายยังคลุมเครืออยู่ บางคนให้เหตุผลว่าเป็นเพราะแกไม่ใช่มนุษย์ แต่อาจสืบเชื้อสายมาจากปีศาจหรือพญามาร จึงมีสีเคราผิดจากผู้คนทั่วไป
ภาพที่นำมาลง แสดงถึงวาระสุดท้ายของฒ่าเคราน้ำเงิน ที่ถูกพี่ชายของนางเอกและเพื่อนของพี่ชายสังหาร ช่วยนางเอกให้รอดตายมาได้
