เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 27 28 [29]
  พิมพ์  
อ่าน: 113353 ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้) ๑
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 420  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 16:10

เมื่อคำถามมาครบ ๓๐ ข้อ  ต้องมีคนตั้งคำถาม ถามผม ๑ ข้อ
ตามที่ได้ตกลงกันไว้  ก็ขอให้ใครก็ได้มาตั้งคำถามครับ

ไม่ทราบว่าอยู่ในกติกาของคุณหลวงเล็กหรือเปล่า

ขออนุญาตถามเรื่องรามายณะ ในความเห็นของคุณหลวง แต่งก่อนหรือหลังสมัยพุทธกาล

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 421  เมื่อ 18 ม.ค. 11, 17:36

คณะกรรมการทุกท่านต่างมีชื่อเสียงด้านกวีหรือด้านหนังสือในรัชกาลนั้น
พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ ทรงดำรงตำแหน่งเป็นราชเลขาธิการ
กรมหมื่นพิชิตปรีชากร ใครๆ ก็รู้ว่าทรงสามารถด้านกวีขนาดไหน
ขุนวิสุทธากร ขุนวิสูตรเสนี ต่างแต่งเสภาเรื่องนิทราชาคริตร่วมกับกวีอีกหลายท่าน
พระยาราชสัมภารากร เป็นผู้รจนาโคลงนิราศระยะทางเมืองเชียงใหม่

แต่ทำไมเจ้าคุณศรีสุนทร (น้อย) ไม่ได้เป็นกรรมการ เป็นแค่พนักงานรับส่ง (และเว็บส่วนใหญ่ก็ผิดพลาดในข้อนี้)
ส่วนบุตรชาย (ขุนมหาสิทธิ์ฯ) กลับได้เป็นกรรมการ ฮืม

พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ อีกพระองค์ ไม่เคยได้ยินว่าทรงสามารถทางด้านกวีเลย
ทำไมถึงทรงได้เป็นกรรมการ ฮืม

แล้วพระครูสมุหวรคณิศร (ตามตำแหน่งน่าเป็นที่พระปลัดของสมเด็จพระสังฆราช)
ก็ไม่ปรากฏในรายชื่อผู้แต่งโคลงรามเกียรติ์ หรือท่านจะได้เลื่อนสมณศักดิ์ภายหลัง
และใช้สมณศักดิ์ภายหลังนั้นเป็นนามที่จารึกลงในโคลง ฮืม

เป็นเพียงข้อสงสัยเล็กๆ น้อยๆ ครับ ใครสามารถทำให้ผมกระจ่างแจ้งในข้อสงสัยนี้ได้บ้าง ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 422  เมื่อ 19 ม.ค. 11, 08:28

สมาชิกสั่งข่าวมาพร้อมลั่นกลองรบ ระวังเงียบนิ่ง เดี๋ยวจะมาแบบทอร์นาโด

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 423  เมื่อ 19 ม.ค. 11, 08:29

คณะกรรมการทุกท่านต่างมีชื่อเสียงด้านกวีหรือด้านหนังสือในรัชกาลนั้น
พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ ทรงดำรงตำแหน่งเป็นราชเลขาธิการ
กรมหมื่นพิชิตปรีชากร ใครๆ ก็รู้ว่าทรงสามารถด้านกวีขนาดไหน
ขุนวิสุทธากร ขุนวิสูตรเสนี ต่างแต่งเสภาเรื่องนิทราชาคริตร่วมกับกวีอีกหลายท่าน
พระยาราชสัมภารากร เป็นผู้รจนาโคลงนิราศระยะทางเมืองเชียงใหม่

แต่ทำไมเจ้าคุณศรีสุนทร (น้อย) ไม่ได้เป็นกรรมการ เป็นแค่พนักงานรับส่ง (และเว็บส่วนใหญ่ก็ผิดพลาดในข้อนี้)
ส่วนบุตรชาย (ขุนมหาสิทธิ์ฯ) กลับได้เป็นกรรมการ ฮืม


พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ อีกพระองค์ ไม่เคยได้ยินว่าทรงสามารถทางด้านกวีเลย
ทำไมถึงทรงได้เป็นกรรมการ ฮืม


แล้วพระครูสมุหวรคณิศร (ตามตำแหน่งน่าเป็นที่พระปลัดของสมเด็จพระสังฆราช)
ก็ไม่ปรากฏในรายชื่อผู้แต่งโคลงรามเกียรติ์ หรือท่านจะได้เลื่อนสมณศักดิ์ภายหลัง
และใช้สมณศักดิ์ภายหลังนั้นเป็นนามที่จารึกลงในโคลง ฮืม

เป็นเพียงข้อสงสัยเล็กๆ น้อยๆ ครับ ใครสามารถทำให้ผมกระจ่างแจ้งในข้อสงสัยนี้ได้บ้าง ยิงฟันยิ้ม

ขอตอบเป็นรายประเด็นดังนี้

ประเด็นที่ ๑  ทำไมเจ้าคุณศรีสุนทร (น้อย) ไม่ได้เป็นกรรมการ
เป็นแค่พนักงานรับส่ง (และเว็บส่วนใหญ่ก็ผิดพลาดในข้อนี้)
ส่วนบุตรชาย (ขุนมหาสิทธิ์ฯ) กลับได้เป็นกรรมการ ฮืม

ตรงนี้  ผมขอตั้งคำถามถามผู้สงสัยกลับว่า  คุณทราบหรือไม่ว่า
ในขณะนั้น  เจ้าคุณศรีสุนทรโวหารมีหน้าที่ราชการมากเพียงไร
ถ้าไม่ทราบ  ผมจะเล่าให้ฟังอย่างย่อๆ ดังนี้
เจ้าคุณศรีสุนทรโวหาร นอกจากจะมีหน้าที่เจ้ากรมในกรมพระอาลักษณ์
อันเป็นหน้าที่เกี่ยวกับหนังสือและหนังสือราชการทั้งปวงแล้ว
ท่านยังต้องดูแลกิจการโรงพิมพ์หลวงในพระบรมมหาราชวังเป็นอีกภาระหนึ่ง
มาตั้งแต่ปี ๒๔๑๒

ภาระต่อมา คือ หน้าที่ครูสอนหนังสือไทยที่กรมทหารมหาดเล็ก
ในพระบรมมหาราชวัง  ซึ่งทำมาตั้งแต่ปี ๒๔๑๓

ภาระต่อไป  คือ มีตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนหลวง
ในพระบรมมหาราชวัง  และมีหน้าที่เป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษร
แก่พระบรมวงศานุวงศ์และบุตรหลานข้าราชการในโรงเรียนหลวง
พร้อมกันนั้นยังได้แต่งแบบเรียนภาษาไทยต่างๆ ด้วย

ปี ๒๔๑๘ ท่านได้รับตำแหน่ง เจ้ากรมพระอาลักษณ์แทนพระยาศรีสุนทรโวหาร(ฟัก)
ที่ถึงแก่อนิจกรรม  

นอกจากนี้ท่านยังได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรีที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
และเป็นเลขานุการของสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและองคมนตรีสภาด้วย
ตั้งมีหน้าที่ในการเชิญพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มาประชุม
ตามที่มีพระบรมราชโองการ

ท่านเจ้าคุณยังมีหน้าที่เป็นกรรมการจัดการโรงเรียนที่สวนนันทอุทยาน
เป็นกรรมการสอบไล่หนังสือไทยชั้นสูง  เป้นกรรมการหอพระสมุดวชิรญาณ
เป็นกรรมการจัดพิมพืพระไตรปิฎก  

ฉะนั้น แค่งานประจำของท่านก็นับว่ามากพอดูแล้ว  โดยเฉพาะงานเลขานุการนั้น
เป็นงานราชการสำคัญที่ท่านมีบทบาทมาก  และงานที่กรมพระอาลักษณ์ก็มีไม่น้อย

งานตรวจโคลงรามเกียรติ์นั้นเป็นงานเร่งมาก  เพราะจวนเจียนจะใกล้พระราชพิธีสมโภชพระนครแล้ว
ทั้งโคลงนั้นมีหลายห้อง  กว่าจะตรวจครบหมดแล้วคัดขึ้นถวายและนำไปจารึกแผ่นหินได้
ย่อมกินเวลาหลายเดือน   จากหมายจะเห็นได้ว่า  เป็นงานที่เร่งกันทำมาก
ท่านเจ้าคุณเองก็รับหน้าที่แต่งอยู่แล้ว  จะให้มาตรวจด้วยเห็นจะเหนื่อยเกินตัว
อีกทั้งท่านก็อายุมาก งานก็มาก ในหลวงคงทรงเห็นการณ์ดังนี้ จึงให้ท่านเป็นผู้ประสานงานแทน
(ซึ่งไม่ได้เบากว่าการเป็นกรรมการตรวจเลย)

การที่ลูกชายท่านได้เป็นกรรมการตรวจก็เหมาะอยู่
เพราะขุนมหาสิทธิโวหาร (ห่วง) ก็มีความสามารถทางกวีเหมือนบิดา

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 424  เมื่อ 19 ม.ค. 11, 08:48

ประเด็นที่ ๒  พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ อีกพระองค์
ไม่เคยได้ยินว่าทรงสามารถทางด้านกวีเลย
ทำไมถึงทรงได้เป็นกรรมการ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ ทรงพระปรีชาด้านหนังสืออยู่ไม่น้อย
คุณคงเคยอ่านหนังสือดรุโณวาท และข่าวคอร์ต  เจ้านายที่เป็นพระราชโอรส
ในรัชกาลที่ ๔ ทรงศึกษาอักขรสมัยเชี่ยวชาญทุกพระองค์   
การจะทรงมีชื่อเสียงในทางกวีนิพนธ์หรือไม่นั้น  คุณพิจารณาจากอะไร
ถ้าพิจารณาจากชื่อเสียงในปัจจุบัน ก็คงจะไม่ได้  เพราะสมัยนั้นกับสมัยนี้ต่างกัน
สมัยก่อนการสื่อสารมีน้อย  การพิมพ์ยังอยู่ในวงแคบๆ
การเผยแพร่ผลงานของใครสักคนต้องอาศัยความสามารถเป็นที่ประจักษ์เอง
พระองค์เจ้าเกษมสันต์ฯ ทรงเป็นเจ้านายที่ทรงเชี่ยวชาญด้านหนังสือ   
ถ้าเป็นคนเล่นหนังสือเก่าจะทราบดีว่า ได้โปรดให้พิมพ์หนังสือเก่าๆ ดีๆ หลายเรื่อง
สำหรับประทานในโอกาสต่างๆ

และถ้าไปอ่านในคำประกาศโปรดเกล้าฯ ตั้งกรมหมื่นพรหมวรานุรักษ์ เมื่อ ปี ๒๔๒๖
ก็จักทราบว่า  ได้ทรงรับราชการในกิจการโรงพิมพ์ของหลวงมาก่อน
และยังได้ทรงรับหน้าที่เป็นผู้จารึกโคลงรามเกียรติ์ลงแผ่นศิลาสำหรับประดับ
เสาพระระเบียงวัดพระแก้วด้วย  การที่ได้เป็นกรรมการตรวจโคลงด้วยพระองค์หนึ่งก็เหมาะอยู่
เพราะเป็นงานที่เกี่ยวเนื่องกันทั้งการตรวจและการจารึกลงแผ่นศิลา
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 425  เมื่อ 19 ม.ค. 11, 09:26

ประเด็นที่ ๓ พระครูสมุหวรคณิศร (ตามตำแหน่งน่าเป็นที่พระปลัดของสมเด็จพระสังฆราช)
ก็ไม่ปรากฏในรายชื่อผู้แต่งโคลงรามเกียรติ์ หรือท่านจะได้เลื่อนสมณศักดิ์ภายหลัง
และใช้สมณศักดิ์ภายหลังนั้นเป็นนามที่จารึกลงในโคลง

การเลือกใครมาดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจโคลงรามเกียรติ์
เป็นเป็นไปโดยพระบรมราชวินิจฉัยของในหลวงรัชกาลที่ ๕
คนที่ทรงเลือกมา  ย่อมต้องมีความรู้ความสามารถเป็นที่ประจักษ์แล้ว
เพราะการตรวจโคลงรามเกียรติ์ตามที่เนื้อความในหมายรับสั่งนั้น
ก็บ่งชี้ชัดเจนอยู่ว่า  ต้องรีบทำให้ทันการณ์ชักช้าอยู่ไม่ได้
การตรวจเป็นอย่างวันต่อวัน   เพราะโคลงมีหลายห้อง
ถ้าไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องนั้น ๆ ต่อให้มาทำก็คงฉลองพระเดชพระคุณไม่ทันการ
และจะยิ่งล่าช้าลงไปอีก   ส่วนเรื่องชื่อเสียงนั้น
ผมได้ตอบไปแล้ว   ว่าเอาความรับรู้ของคนปัจจุบันไปพิจารณาไม่ได้
คนรุ่นเราอาจจะไม่รู้จักท่าน  แต่สมัยก่อนท่านอาจจะได้มีชื่อพอสมควร


ตอนนี้ผมยังไม่สามารถตามได้ว่า พระครูสมุหวรคณิศร ที่เป็นกรรมการตรวจโคลงรามเกียรติ์
เป็นใคร  มีประวัติอย่างไร  ได้เลื่อนสมณศักดิ์อีกหรือไม่   แต่เท่าที่ทราบในตอนนี้
ตำแหน่งพระครูสมุหวรคณิศร เป็นตำแหน่งปกครองสำคัญในหนกลาง
และเข้าใจว่า พระครูสมุหวรคณิศร ที่เป็นกรรมการคงจะมีความรู้หนังสือไม่น้อย
น่าจะเป็นพระเปรียญและเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมด้วย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 426  เมื่อ 19 ม.ค. 11, 15:46

เมื่อคำถามมาครบ ๓๐ ข้อ  ต้องมีคนตั้งคำถาม ถามผม ๑ ข้อ
ตามที่ได้ตกลงกันไว้  ก็ขอให้ใครก็ได้มาตั้งคำถามครับ

ไม่ทราบว่าอยู่ในกติกาของคุณหลวงเล็กหรือเปล่า

ขออนุญาตถามเรื่องรามายณะ ในความเห็นของคุณหลวง แต่งก่อนหรือหลังสมัยพุทธกาล

 ยิงฟันยิ้ม



หากคุณหลวงเล็กว่างจากปริศนารามเกียรติ์ภาค ๒ แล้ว

กรุณาพิจารณาคำถามนี้ด้วย

 ขยิบตา

บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 427  เมื่อ 20 ม.ค. 11, 18:26

คำถามข้อที่ ๑๔.  เพลงตับเรื่องรามเกียรติ์มี ๔ ตอน  รวม ๕  เพลงตับ
คำถามคือ มีตอนอะไรบ้าง ใครเป็นคนแต่ง ใช้บรรเลงครั้งแรกในโอกาสใด  และแต่ละเพลงตับมีเพลงลูกบทอะไรบ้าง
: คำตอบยังไม่ครบ
เพลงตับตอนนารายณ์ปราบนนทุก ใครแต่ง และเล่นครั้งแรกในโอกาสใด และเพลงลูกบทที่ประกอบอยู่ในเพลงตับนี้มีอะไรบ้าง

เพลงตับพระนารายณ์ปราบนนทุก
แต่งขึ้นโดยสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์
เพื่อใช้แสดงในการต้อนรับผู้สำเร็จราชการอินโดจีน พ.ศ. 2469
เพลงลูกบท
1. เพลงพระทอง
2. เพลงเบ้าหลุด
3. เพลงสมิงทองมอญ
4. เพลงแขกบรเทศ
5. เพลงสระสม
6. เพลงนาคราช
7. เพลงเหาะ
8. เพลงสีนวล
9. เพลงเทพทอง
10. เพลงชมโฉม
11. เพลงโอ้โลม
12. เพลงลมพัดชายเขา
13. เพลงพราหมณ์ดีดน้ำเต้า
14. เพลงเขนง
15. เพลงชมตลาด
16. เพลงกระบอกทอง
17. ร้องร่าย
18. เพลงแขกต่อยหม้อ
19. ร้องร่าย
20. เพลงนางนาค
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 428  เมื่อ 20 ม.ค. 11, 18:34

^
เยี่ยมมากครับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 429  เมื่อ 21 ม.ค. 11, 15:24

เฉลย

คำถามข้อที่  ๑๓.  ในปี ร.ศ. ๑๒๘ มีการเปิดโรงเรียนนายร้อย (ทหารบก) ชั้นมัธยม
ในครั้งนั้น  ได้มีการจัดแสดงโขนสมัครเล่นด้วย 
คำถามคือ  ในการแสดงโขนครั้งนั้น  มีใครแสดงบ้าง และแต่ละคนแสดงบทบาทใด

๑.หม่อมเจ้าชัชชวลิต  (เกษมสันต์) ในพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพรหมวรานุรักษ์
(พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์)  แสดงบท พระ (พระราม)

๒.หม่อมเจ้าแววจักร  (จักรพันธ์) ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ
แสดงบท พระ  (พระราม)

๓.หม่อมราชวงศ์โป๊ะ (มาลากุล) ในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์
(ต่อมาเป็น พระยาชาติเดชอุดม)  แสดงบท  พิเภก

๔.หม่อมราชวงศ์มานพ (เกษมสันต์) ในหม่อมเจ้าทัศโนภาศ  (เกษมสันต์)
ต่อมาเป็น นายขรรค์ หุ้มแพร  แสดงบท  เขน (วานร)

๕.หม่อมหลวงเฟื้อ (พึ่งบุญ) บุตรพระยาประสิทธิ์ศุภการ (หม่อมราชวงศ์ลม้าย  พึ่งบุญ)
ต่อมาเป็น พลเอก เจ้าพระยารามราฆพ  แสดงบท  พระอรชุน

๖.หม่อมหลวงฟื้น (พึ่งบุญ) บุตรพระยาประสิทธิ์ศุภการ (หม่อมราชวงศ์ลม้าย  พึ่งบุญ)
ต่อมาเป็น พลตรี พระยาอนิรุทธเทวา  แสดงบท  พระลักษมณ์

๗.หม่อมหลวงอุรา (คเนจร) บุตรหม่อมอมรวงศ์วิจิตร (หม่อมราชวงศ์ปฐม คเนจร)
ต่อมาเป็น พระยานเรนทรราชา  แสดงบท  องคต

๘.นายคลาย (บุนนาค) บุตรเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธ (เทศ บุนนาค)
ต่อมาเป็น หลวงวิสูตรอัศดร  แสดงบท  หนุมาน

๙.นายพราว (บุนนาค) บุตรเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (เวก บุณยรัตพันธุ์)
ต่อมาเป็น จมื่นทรงสุรกิจ  แสดงบท  เขน (วานร)

๑๐.นายเฉิด (บุนนาค) บุตรนายพันตรี พระยาไกรเพ็ชรรัตน์สงคราม (แฉ่  บุนนาค)
แสดงบท  ลิงเล็ก

๑๑.นายสุนทร (สาลักษณ์) บุตรพระยาศรีภูริปรีชา 
(กมล  สาลักษณ์  ต่อมาเป็นพระยาศรีสุนทรโวหาร)
ต่อมาเป็น พระสุนทรวาจนา  แสดงบท  เสนายักษ์

๑๒.นายประณีต (บุนนาค) บุตรพระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค)
ต่อมาเป็น จมื่นเทพสิรินทร์  แสดงบท  รามสูร  ตัวรบ

๑๓.นายประสิทธิ์ (บุนนาค) บุตรพระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค)
ต่อมาเป็น จ่าแกว่นประกอบการ  แสดงบท  เสนายักษ์

๑๔.นายประเสริฐ (บุนนาค) บุตรพระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค)
ต่อมาเป็น  นายสุดจำลอง  แสดงบท  นาง

๑๕.นายประดิษฐ์ (บุนนาค) บุตรพระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค)
แสดงบท  เขน  (วานร)

๑๖.นายอู๊ด (สุจริตกุล) บุตรพระยารัตนโกษา (เล็ก  สุจริตกุล)
ต่อมาเป็น พระยาสุจริตธำรง  แสดงบท  วานรสิบแปดมงกุฎ

๑๗.นายสมบุญ (ศิรินธร) บุตรพระยาศิรินธรเทพสัมพันธ์
ต่อมาเป็น พระสนิทราชการ  แสดงบท  เขน (วานร)

๑๘.นายโถ  (สุจริตกุล) บุตรพระอรรถการประสิทธิ์
(ปลื้ม  สุจริตกุล ต่อมาเป็นเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี)
ต่อมาเป็น พระยาอุดมราชภักดี  แสดงบท  อินทรชิต

๑๙.นายใช้ (อัศวรักษ์) บุตรหลวงธุรการกำจัด (เทียม  อัศวรักษ์)
ต่อมาเป็น  พระยาราชอักษร  แสดงบท  จำอวด

๒๐.นายเล็ก  (สุเรนทรานนท์) บุตรนายพันตรี หลวงสรสิทธิยานุการ
ต่อมาเป็น หมื่นทรงพลหาญ  แสดงบท  วานรสิบแปดมงกุฎ

๒๑.นายโชน (บุนนาค) บุตรนายสรรพวิไชย (เชน บุนนาค)
แสดงบท  วานรสิบแปดมงกุฎ

๒๒.นายทองแล่ง (สุวรรณภารต)  บุตรขุนนัฏกานุรักษ์
(ทองดี  สุวรรณภารต ต่อมาเป็นพระยานัฏกานุรักษ์)
ต่อมาเป็น หลวงไพจิตรนันทการ  แสดงบท  นาง

ผู้แสดงโขนเหล่านี้เป็นบุตรข้าราชการที่ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๖
เมื่อยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด้จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร
ผู้ฝึกสอนการแสดง คือ ขุนระบำภาษา (ครูยักษ์)  ขุนนัฏกานุรักษ์ (ครูพระและครูนาง)
และขุนพำนักนัจนิกร (ครูวานร)

บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 430  เมื่อ 25 ม.ค. 11, 08:36

ขอแก้ไข

คำถามข้อที่ ๑๔.  เพลงตับเรื่องรามเกียรติ์มี ๔ ตอน  รวม ๕  เพลงตับ
คำถามคือ มีตอนอะไรบ้าง ใครเป็นคนแต่ง ใช้บรรเลงครั้งแรกในโอกาสใด  และแต่ละเพลงตับมีเพลงลูกบทอะไรบ้าง
: คำตอบยังไม่ครบ
เพลงตับตอนนารายณ์ปราบนนทุก ใครแต่ง และเล่นครั้งแรกในโอกาสใด และเพลงลูกบทที่ประกอบอยู่ในเพลงตับนี้มีอะไรบ้าง

เพลงตับพระนารายณ์ปราบนนทุก
แต่งขึ้นโดยสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์
เพื่อใช้แสดงในการต้อนรับผู้สำเร็จราชการอินโดจีน พ.ศ. 2469

ขอเปลี่ยนผู้แต่งเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ครับ
อย่างอื่นคงเดิม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 431  เมื่อ 25 ม.ค. 11, 08:54

คำถามข้อที่ ๑๔.  เพลงตับเรื่องรามเกียรติ์มี ๔ ตอน  รวม ๕  เพลงตับ
คำถามคือ มีตอนอะไรบ้าง ใครเป็นคนแต่ง ใช้บรรเลงครั้งแรกในโอกาสใด  และแต่ละเพลงตับมีเพลงลูกบทอะไรบ้าง
: คำตอบยังไม่ครบ
เพลงตับตอนนารายณ์ปราบนนทุก ใครแต่ง และเล่นครั้งแรกในโอกาสใด และเพลงลูกบทที่ประกอบอยู่ในเพลงตับนี้มีอะไรบ้าง

เพลงตับพระนารายณ์ปราบนนทุก
แต่งขึ้นโดยสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์
เพื่อใช้แสดงในการต้อนรับผู้สำเร็จราชการอินโดจีน พ.ศ. 2469
เพลงลูกบท
1. เพลงพระทอง
2. เพลงเบ้าหลุด
3. เพลงสมิงทองมอญ
4. เพลงแขกบรเทศ
5. เพลงสระสม
6. เพลงนาคราช
7. เพลงเหาะ
8. เพลงสีนวล
9. เพลงเทพทอง
10. เพลงชมโฉม
11. เพลงโอ้โลม
12. เพลงลมพัดชายเขา
13. เพลงพราหมณ์ดีดน้ำเต้า
14. เพลงเขนง
15. เพลงชมตลาด
16. เพลงกระบอกทอง
17. ร้องร่าย
18. เพลงแขกต่อยหม้อ
19. ร้องร่าย
20. เพลงนางนาค

ขอแก้ไข

เพลงตับพระนารายณ์ปราบนนทุก
แต่งขึ้นโดยสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์
เพื่อใช้แสดงในการต้อนรับผู้สำเร็จราชการอินโดจีน พ.ศ. 2469

ขอเปลี่ยนผู้แต่งเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ครับ
อย่างอื่นคงเดิม

ถูกต้อง เอาไป ๑๐ คะแนน ตรงผู้แต่งผมสงสัยอยู่
เพราะเอกสารที่ถือบอกว่าเป็นสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ
แต่เข้าใจว่าน่าจะผิดพลาดอะไรเป็นแน่ 
คนแต่งน่าจะเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศฯ มากกว่า
นี่ตรวจไปเอกสารก่อน  เพราะยังหาที่สอบไม่ได้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 27 28 [29]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 20 คำสั่ง