เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 25 26 [27] 28 29
  พิมพ์  
อ่าน: 113331 ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้) ๑
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 390  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 10:38

ข้อ ๒๖ คงต้องยกให้ ขุนหมู่ทะลวงฟัน หนุ่ม Art47 นำหน้าไปก่อน มาไวกว่ามาก เราจักไปส่องบนเชิงเทินก่อนว่าจะมาไม้ไหนอีก

(ขอหลบไปซดยาหอม ไม่ไหวๆๆ ตาลายไปหมดกับการนับจำนวนบท)
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 391  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 10:53

คำถามข้อที่  ๒๗.  ใครบ้างที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจโคลงรามเกียรติ์
จงบอกชื่อยศในขณะนั้นและชื่อยศในกาลต่อมาที่ได้รับครั้งหลังสุด
ข้อนี้  ๒๐  คะแนน  ตอบที่หน้าไมค์
+++

๑. พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 392  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 11:01

คำถามข้อที่  ๒๙.  ทำไมคนไทยจึงรู้จักและนิยมเรื่องรามเกียรติ์อันมีต้นเค้ามาจากรามายณะ
มากกว่าเรื่องมหาภารตะ  จงอธิบายและตัวอย่างประกอบ
ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์

ไทยนำมาแต่งเป็นบทละคอน  
แสดงเป็นระยะยาวนาน  ตัวละคอนถ่ายทอดท่ารำ

เป็นพระราชนิยม ของพระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ คนจึงเห็นสอดคล้อง
เพราะใครเล่าจะไม่เห็นงามตามเสด็จ

บทกวีเป็นภาษาเรียบง่ายแต่ให้อรรถรสลึกซึ้งทุกแง่มุมทั้งบทรัก โศก โกรธ  สะเทือนใจ
ทศกัณฑ์เมื่อขอหัวใจคืนจากหนุมานนั้น  แสดงธรรมชาติของการต้องการมีชีวิตอยู่

ภาษากระชับ   สวยงาม  กินใจ
ไมยราพณ์ด่าพิเภก      พิเภกตอบว่า ข้ามันจน


คนดูเรียงลำดับได้  เข้าใจเพราะมีท่าร่ายรำมาอธิบาย
ทศกัณฐ์เมื่อศิลปินชั้นครูสวมบท ก็ สวมบทจนหน้ายักษ์มียิ้ม  ระเรี่ย  มีโกรธาราวร่างจะใหญ่โตขึ้น

ความนิยมได้แพร่ไปถึงดนตรี และการละเล่นอื่นๆ  เป็นการสร้างศิลปมาสนับสนุนศิลป
หนังใหญ่    หุ่น    

สร้างงานและรายได้ให้ประชาชนในการแสดง  สร้างเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ

ยกฐานะสตรีที่เป็นห้ามให้มีงานทำโดยฝึกร่ายรำ  เรียกว่าใช้เวลาให้เป็นประโยชน์

สะท้อนหลักการปกครองที่ยุติธรรม  มีกฎหมายที่ยังไม่มีการเขียนไว้  เช่นตามท้าวมาลีวราชมาตัดสิน

สร้างและสนับสนุนงานจิตรกรรม    สร้างศิลปินให้เป็นเกียรติของประเทศ  

ศิลปินอุทิศฝีมือบูชาคติธรรมที่ผู้ปกครองต้องรักษาไว้

จินตนาการในการอ่านและชม  สร้างความรักและหวงแหนศิลปะไทย  ที่เราคนไทยต้องร่วมกันรักษา ศึกษา และอนุรักษ์

(น่าจะพอทนแล้วนา)
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 393  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 11:11

คำถามข้อที่  ๒๙.  ทำไมคนไทยจึงรู้จักและนิยมเรื่องรามเกียรติ์อันมีต้นเค้ามาจากรามายณะ
มากกว่าเรื่องมหาภารตะ  จงอธิบายและตัวอย่างประกอบ
ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์
+++
อยากลองตอบดูว่า เป็นเพราะลักษณะเนื้อหา "ถูกจริต" กับนิสัยชาวสยาม มีเนื้อเรื่องที่ชาวสยามจำง่าย เช่น ลูกเล่นการต่อสู้ต่างๆ หรือ กระบวนการหาความรัก การผิดหวังในความรัก และได้เล่นเป็นบทละครตัวหนังมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา อีกทั้งลักษณะเนื้อหาเป็นอย่างพระนารายณ์อวตารลงมา เพื่อสยบเหล่ามารร้าย จึงเข้ากับคติอย่างไทยได้เป็นอย่างดี แต่สำหรับเรื่องมหาภาระ เรื่องราวยืดไปจึงไม่นิยม

เพิ่มเติม

และเป็นที่นิยมด้วยเพราะว่า รัชกาลที่ ๑ ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ต่างไปจากรามายณะ ตรงที่ทรงให้เนื้อเรื่องไปเชื่อมเข้าได้กับนิทานที่มีชาวสยามรู้จักกันมาอยู่ก่อนแล้ว คือ เกร็ดเรื่องนนทก และเรื่องรามสูร เมขลา ทำให้เกิดเป็นบทละคร จัดเล่นตอนได้เยอะขึ้น จุดนี้น่าเป็นอีกจุดหนึ่งที่ทำให้รามเกียรติ์เข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 394  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 11:18


คำถามข้อที่  ๒๖.  ในการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายข้าราชการแต่งโคลงรามเกียรติ์จารึกลงแผ่นศิลา
ประดับที่พระระเบียงในสมัยรัชกาลที่ ๕  มีเจ้านายและข้าราชบริพารคนใดบ้างที่ได้แต่งโคลงดังกล่าว
ใครแต่งโคลงห้องใดบ้าง  กี่บท  จงบอกชื่อยศในขณะนั้นและชื่อยศในกาลต่อมาที่ได้รับครั้งหลังสุด
ข้อนี้  ๓๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์


เอาใหม่ ทำให้เรียบร้อย ยิงฟันยิ้ม

                           
รายชื่อผู้แต่งโคลงรามเกียรติ์            

ห้องที่ 1-3 จำนวน 84 บท                                 พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
ห้องที่ 4,5,114 จำนวน 84 บท                          หลวงฤทธิพลชัย (บัว จันทรวณิก) (พระราชเดชภักดี)
ห้องที่ 6-8,153 จำนวน 112 บท                        พระยาสุนทรนุรักษ์ (เผื่อน พรหมปิณฑะ) (พระยาพระราชโยธา)
ห้องที่ 9,115-117,171,177 จำนวน 168 บท      ขุนท่องเสื่อคนเก่า (ช่วง ไกรฤกษ์) (หลวงมงคลรัตน์)
ห้องที่  10,11 จำนวน 56 บท                       ขุนโอวาทวรกิจ (แก่น โอวาทสาร) (พระยาโอวาทวรกิจ)
ห้องที่ 12,13 จำนวน 56 บท                        หมื่นนิพนธ์ไพเราะ
ห้องที่ 14-16 จำนวน 84 บท                        ขุนมหาสิทธิโวหาร (พ่วง อาจารยางกูร) (หลวงมหาสิทธิโวหาร)
ห้องที่ 17,28,29 จำนวน 84 บท                    นายเสถียรรักษา (ศิริ เอมะศิริ) (พระยามนูศาสตร์บัญชา)
ห้องที่ 18,19 จำนวน 56 บท                        พระเทพกวี (นิ่ม)
ห้องที่ 20,110,111 จำนวน 84 บท                พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุตรี (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา)
ห้องที่ 21,125,126 จำนวน 84 บท                 นายโต เปรียญ (ขุนปรีชานุสาสน์)
ห้องที่ 22 จำนวน 28 บท                            หม่อมเจ้าชายดำ นพวงศ์
ห้องที่ 23 จำนวน 28 บท                            จมื่นทิพยเสนา (เจริญ เศวตนันทน์) (พระยาอภิชิตชาญยุทธ)
ห้องที่  24,25 จำนวน 56 บท                       พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธพงศ์)
ห้องที่ 26,154 จำนวน 56 บท                         ขุนวิจิตรวรสาสน์ (แกล้ว โอวาทสาร)
ห้องที่ 27,112 จำนวน 56 บท                      หลวงภาษีวิเศษ (เต๊า)
ห้องที่ 30,31,118 จำนวน 84 บท                   นายทัด (ศิริสัมพันธ์) กุเรเตอร์ (พระยาสโมสรสรรพการ)
ห้องที่ 32,33 จำนวน 56 บท                      หม่อมราชวงศ์วิน อิศรางกูร (หลวงราชพงศ์ภักดี)
ห้องที่ 34-37,109 จำนวน 140 บท               พระยาศรีสหเทพ (หรุ่น ศรีเพ็ญ) (พระยามหาอำมาตย์)
ห้องที่ 38,39,140,141 จำนวน 112 บท          ขุนพิสนฑ์สังฆกิจ
ห้องที่ 40,41 จำนวน 56 บท                        พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ)
ห้องที่ 42,43 จำนวน 56 บท                     พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์)
ห้องที่ 44,45,138,139 จำนวน 112 บท        หมื่นพากยโวหาร (ฤกษ์) (หลวงจักรปราณี)  
ห้องที่ 46,47,52-55 จำนวน 168 บท            พระยาราชสัมภารากร (เลื่อน สุรนันทน์)
ห้องที่ 48 จำนวน 28 บท                          พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นอดิสรอุดมเดช (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมลวงอดิสรอุดมเดช)
ห้องที่ 49,50 จำนวน 56 บท                      พระเจ้าน้องยาเธอ กรหมมื่นประจักษ์ศิลปาคม (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมลวงประจักษ์ศิลปาคม)
ห้องที่ 51,161 จำนวน 56 บท                    พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ)
ห้องที่ 56-58 จำนวน 84 บท                    หม่อมเจ้าอลังการ ประภากร (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ)
ห้องที่ 59-61 จำนวน 84 บท                    พระยาราชวรานุกูล (เวก บุณยรัตพันธุ์) (เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช)
ห้องที่ 62 จำนวน 28 บท                        ขุนปฎิภาณพิจิตร (หรุ่น)
ห้องที่ 62,64 จำนวน 56 บท                     พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นเทววะวงศ์วโรปการ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ)
ห้องที่ 65,66,123,124 จำนวน 112 บท        หลวงอินทรอาวุธ  
ห้องที่ 67,169 จำนวน 56 บท                     พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์)
ห้องที่ 68,69 จำนวน 56 บท                     พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา)
ห้องที่ 70-73,159,160 จำนวน 168 บท         ขุนวิสุทธากร (หม่อมราชวงศ์หนู อิศรางกูร) (พระยาอิศรพันธุ์โสภณ)
ห้องที่ 74-76 จำนวน 84 บท                       กรมพระบำราบปรปักษ์ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์)
ห้องที่ 77,78,142 จำนวน 84 บท                 ขุนวิสูตรเสนี (จาง)
ห้องที่ 79,80,135,136,178 จำนวน 140 บท    ขุนพินิจจัย (อยู่) (หลวงภิรมย์โกษา)          
ห้องที่ 81 จำนวน 28 บท                          พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์)
ห้องที่ 82 จำนวน 28 บท                          สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงภาณุพันธุวงศวรเดช (สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุขฯ)
ห้องที่ 83,84 จำนวน 56 บท                   หม่อมเจ้าศรีโสภณ
ห้องที่ 85,86 จำนวน 56 บท                       หม่อมเจ้าสวัสดิ์
ห้องที่ 87 จำนวน 28 บท                         นายแช่ม (บุนนาค) นักเรียน (พระยาประชากิจกรจักร)
ห้องที่ 88,89 จำนวน 56 บท                    หลวงอินทรโกษา (เฉื่อย สุรนันทน์)
ห้องที่ 90,94,102-107 จำนวน 224 บท       พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ห้องที่ 91-93   จำนวน 84 บท                  พระพินิตพินัย (ปาน) (พระอุบาลคุณูปมาจารย์)
ห้องที่ 95,96,108 จำนวน 84 บท              พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร)
ห้องที่ 97-99 จำนวน 84 บท                   พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ (พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์)
ห้องที่ 100,101 จำนวน 56 บท                พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมขุนบดินทร์ไพศาลโสภณ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ)
ห้องที่ 113 จำนวน 28 บท                     พระครูอภัยสังฆกิจจานุกร
ห้องที่ 119,173 จำนวน 56 บท                พระพิบูลย์ไอสวรรย์ (นิล)
ห้องที่ 120-122 จำนวน 84 บท                พระมหาคำ เปรียญ (พระญาณสมโพธิ)
ห้องที่ 127-129 จำนวน 84 บท                 พระปลัดสิง
ห้องที่ 130,131 จำนวน 56 บท                 พระพหลพลพยุหเสนา (กลาง สุจริตจันทร์) (พระยาวจีสัตยารักษ์)
ห้องที่ 132-134 จำนวน 84 บท                  พระครูพิเชต
ห้องที่ 137 จำนวน 28 บท                       หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันท์ (หม่อมเจ้าทัด เสนีย์วงศ์) (สมเด็จพระพุฒาจารย์)
ห้องที่ 143 จำนวน 28 บท                        นายสิงโต มหาดเล็ก
ห้องที่ 144,145 จำนวน 56 บท                   นายประภาษามณเฑียร (ยัง) (พระยาบำรุงราชฐาน)
ห้องที่ 146,147,175,176 จำนวน 112 บท      หลวงบรรหารอรรถคดี (สุด สามะสุทธิ) (พระภิรมย์ราชา)
ห้องที่ 148-150 จำนวน 84 บท                  ขุนภักดีอาสา (นก) (พระอมรสินธพ)
ห้องที่ 151,152 จำนวน 56 บท                   พระวิสูตรเสนี
ห้องที่ 155,156 จำนวน 56 บท                พระสาธุศีลสังวร (กล่อม) (พระสุวรรณวิมลศรี)
ห้องที่ 157,158 จำนวน 56 บท                   หม่อมราชวงศ์พระเจริญ (หม่อมราชวงศ์เจริญ อิศรางกูร) (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์)
ห้องที่ 162 จำนวน 28 บท                         นายจิตร เสมียนมิวเซียม
ห้องที่ 163,164 จำนวน 56 บท                   หม่อมเจ้าภุชงค์ (พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรศิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)
ห้องที่ 165-167 จำนวน 84 บท                  พระธรรมกิติ (แจ้ง)
ห้องที่ 168 จำนวน 28 บท                       หลวงรัฐยาธิบาลบัญชา
ห้องที่ 170 จำนวน 28 บท                     ขุนหลวงพระไกรศรี
ห้องที่ 172,174 จำนวน 56 บท                 หม่อมเจ้าพระประภากรบวรวิสุทธวงศ์ (หม่อมเจ้าประภากร มาลากุล)
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 395  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 11:24

คุณวันดี ..สงสัยคุณหลวง หายไปซ่อนในก้านบัวกระมัง ..แบบนี้จับมาทำ ต้มสายบัวปลาทูเสียให้นิ่มดีใหม...ว่าไงละคุณอาท 47
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 396  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 11:37

คิดสั้นไปแล้วมั๊ง

ท่านสั่งเสียไว้แล้ว  ว่าถ้าท่านจะหายหน้าไป  ใครอยากเล่นอะไรก็เล่นนี่นา
มิน่าสั่งไว้

บ่นไว้ว่าอยากไปไหว้นางรำ..เอ้ย...ศาลที่คุณไซมีสเป็นดอน


ท่านอาจไปจตุจักร  แต่ คิดว่าไปท่าช้างมากกว่า
ท่านว่าจะต้องไปหาหนังสือเก่าโบราณของแม่ยายผู้หลักผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง

คิดหรือว่าจะหาได้  หนังสือเก่าน่ะไม่เดินจนรองเท้าสึก  วาสนาไม่มีเป็นไม่เจอ


ป่านนี้ตกน้ำตกท่าป๋อมแป๋มไปแล้ว
เรื่องชนอ่างกะปิไม่มีวันเกิดขึ้น     ท่านเดินสง่ามากแบบนโปเลียนไง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 397  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 11:44

คำถามข้อที่  ๓๐.  มีตัวละครใดบ้างที่หนุมานและเหล่าวานรได้ช่วยปลดคำสาปให้
จงเล่าเรื่องทีละตัวละคร  พร้องบอกเหตุที่ถูกสาป และวิธีการแก้คำสาป
ข้อนี้  ๒๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์
++
ยักษ์ปักหลั่น เดิมเป็นเทวดารับใช้พระอิศวร ต่อมาเป็นชู้กับนางฟ้าชื่อเกสรมาลา พระอิศวรจึงสาปให้เป็นยักษ์ชื่อปักหลั่นอยู่เฝ้าสระโบกขรณี เมื่อใดทหารพระรามได้มาลูบหลังจึงจะพ้นคำสาป คราวที่หนุมาน องคต และชมพูพานไปถวายแหวนให้นางสีดาที่กรุงลงกา ได้พบกับยักษ์ปักหลั่นระหว่างทาง ยักษ์ปักหลั่นรบแพ้องคต องคตจึงไต่ถามเรื่องราว เมื่อทราบความก็ลูบหลังยักษ์ให้พ้นคำสาป กลับเป็นเทวดาได้ดังเดิม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 398  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 11:48

ศึกกุมภัณฑ์นุราช
ยักษ์อีกตนหนึ่งชื่อกุมภัณฑ์นุราช ที่ต้องคำสาปพระอิศวรให้มาอยู่ถ้ำสุรกานต์ ออกมาจากถ้ำพบพระรามพระลักษมณ์และหนุมาน ก็คิดจะจับกิน    หนุมานเข้าต่อสู้ กุมภัณฑ์นุราชถามว่าสองคนนั้นเป็นใคร เมื่อรู้ว่าเป็นพระรามก็ตกใจมาก ขอโทษหนุมาน    หนุมานพาไปพบพระราม พระรามประทานอภัยให้พ้นคำสาป
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 399  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 11:50

คำถามข้อที่  ๒๗.  ใครบ้างที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจโคลงรามเกียรติ์
จงบอกชื่อยศในขณะนั้นและชื่อยศในกาลต่อมาที่ได้รับครั้งหลังสุด
ข้อนี้  ๒๐  คะแนน  ตอบที่หน้าไมค์


๑.    พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)        

เห็นในกูเกิ้ลเหมือนกันนี่
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 400  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 11:51

เอ... นโปเลียนตัวไม่สูงนะครับ.. แต่หากเปรียบอาวุธกันแล้วสองท่านนี้คงพอสูสีกัน ฝีมือเชิงชั้นสู้รบอยู่ในขั้นตำนาน ตกใจ

เราก็ไม่รู้เล่นอะไรกันดี จะมาล่อข้างเดียวกันก็ใช่ที่
มาบำเพ็ญพรตถือศีลภาวนากันเถอะ จะได้มีฌานแก่กล้าไปสู้กับคุณหลวง
(อย่าลืมขอพรพระอิศวรด้วย เอาแบบว่ามีปัญหาหยั่งรู้ปัญหาทุกข้อ ชนิดถามมาตอบได้ทันที)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 401  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 11:55



ข้าพเจ้าขอลาไปกินอาหารเบาๆราคาถูก ที่เพียงพอรักษาชีวิตน้อย ๆ  ไว้ดูคุณ อาร์ต เติบโตเป็นซุปตา
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 402  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 11:56

โอม..บันดาลท่านท้าวมหาพรหม  บันดาลดลให้คุณหลวงนั้นหายดี
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 403  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 12:14

พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ท่านน่าจะเป็นประธานคณะกรรมการ (แม่กอง)

ส่วนกรรมการนั้นคงต้องเป็นกวีมีชื่อเสียงหรือผู้ชำนาญในทางด้านอักษรศาสตร์ในสมัยนั้น
(มีความรู้ความสามารถพอที่จะดูว่าคำนั้นไม่เพราะ คำไหนไม่เหมาะ คำไหนสมควรจะแก้)
แต่จะเป็นใครบ้างนั้น แหะๆๆๆๆ... มิเจอเลย จะหาที่ไหนได้บ้างหนอ ฮืม
สงกะสัยต้องเพิ่งหอจดหมายเหตุแล้วมั้ง ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 404  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 14:41

คำถามข้อที่  ๒๗.  ใครบ้างที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจโคลงรามเกียรติ์
จงบอกชื่อยศในขณะนั้นและชื่อยศในกาลต่อมาที่ได้รับครั้งหลังสุด
ข้อนี้  ๒๐  คะแนน  ตอบที่หน้าไมค์
+++

๑. พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
๒. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์
๓. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 25 26 [27] 28 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 20 คำสั่ง