เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 24 25 [26] 27 28 29
  พิมพ์  
อ่าน: 113469 ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้) ๑
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 375  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 09:52

คำถามข้อที่  ๒๘.  แม่น้ำคงคาลงมาสู่พื้นโลกมนุษย์ได้อย่างไร?
จงเล่าสาเหตุและตำนานนั้นอย่างละเอียด  พร้อมบอกด้วยว่าเกี่ยวกับเรื่องพระรามอย่างไร
ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์


ท้าวสัครมีนางเกศินี  มีลูกชื่อ อสะมัญชะ  อสะมัญชะมีลูกชื่อ อังศุมาน  นางสุมดีมีลูก หกหมื่นองค์เลี้ยงไว้ในออบแช่น้ำมันเนยตั้งแต่ประสูติออกมาเป็นน้ำเต้่า
ทำพิธีอัศวเมธที่หว่างเขาวินธัยกับหิมพาน     พระอินทรจำแลงเป็นรากษสมาลักม้า
ท้าวสัครสั่งให้โอรสหกหมื่นออกค้นหา       พระกุมารก็ขุดโลกเสียพรุน      พระนารายณ์แปลงเป็นพระกบิลคอยอยู่  มีม้าอยู่ใกล้ๆ
พระกุมารก็เข้าไปพยายามจะต่อสู้ซึ่งไม่น่าจะเป็นความผิดอะไร  พระกบิลแผลงฤทธิเผาพระกุมารหมด
พระอังศุมานไปตาม  ไม่มีน้ำพอจะรด  เมื่อตายด้วยพระกบิล  ควรใช้น้ำมหาคงคามาล้างบาป

ท้าวสัคร  ท้าวอังศุมาน  ท้าวทิลิป   ท้าวภคีรถ   ได้บำเพ็ญภาวนาต่อกันมาหลายชั่วตนเพื่อเชิญพระคงคาให้เสด็จ

พระพรหมเสด็จ    
ภคีรถราชฤษีทูลขอให้พระคงคาล้างอังคารพระสาครกุมารทั้งหกหมื่นและขอพระโอรสด้วย
พระพรหมประทานพรแต่เตือนให้ขอพระอิศวรรับพระคงคาเมื่อลงมาจากสวรรค์  ไม่เช่นนั้นโลกจะพินาศ

ท้าวภคีรถบำเพ็ญตบะต่อไปจนพระอิศวรโปรด  รับว่าจะช่วย
เมื่อพระคงคาเสด็จมา  พระอิศวรก็นับไว้ด้วยพระเกศา(จึงทรงนามว่าควคาธร)
พระคงคาเข้าไปไหลวนระหว่างพระเกศา  จนท้าวภคีรสไปทูลขอให้ปล่อย

จึงปล่อยพระคงคาให้ไหลไปทางสระวินทุ  แยกออกเป็น ๗ สาขา  ไปทางบูรพาทิศ ๓ สาขา
กับแม่น้ำจักษุ ๑  แม่น้ำสีดา ๑  พระสินธุ ๑  รวมสาททางไหลไปทางปรัศจิม

สายกลางที่เรียกว่าพระคงคามหานที ไหลตามรอยรถที่นั่งท้าวภคีรส
ฤษีชีพราหมณ์ ประชาชน เทวดาต้องสาป  ได้ผลบุญไปตามกัน

ไหลผ่านมณฑลพิธีของพระชหุณดาบส  ท่านโกรธกลืนพระคงคาไว้  เทวดาช่วยกันอ้อนวอน  พระดาบสจึงปล่อย
ให้ไหลออกทางหู  พระคงคาจึงชื่อชานหวี คือบุตรีพระชหุณ

น้ำก็ไหลไปจนที่อังคารพระสาครกุมารทั้หกหมื่นกองอยู่  ได้ขึ้นสวรรค์

เกี่ยวข้องอย่างไร
เมื่อจองถนนพระสาคีช่วยให้เสด็จถึงลงกาโดยสะดวกเพราะบรรพบุรุษของพระรามมีบุญคุณต่อพระสาครเหมือนผู้ให้กำเนิด
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 376  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 09:53

ชุดที่ ๒

พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ แผ่นที่ ๓๒๑ – ๓๒๔ บทที่ ๒๒๔๑  – ๒๒๖๘ จำนวน ๒๘ บท
พระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษกรมหลวงภาณุพันธุวงษวรเดช แผ่นที่ ๓๒๕ – ๓๒๘  บทที่ ๒๒๖๙  – ๒๒๙๖ จำนวน ๒๘ บท
พระเจ้าศรีโสภณ แผ่นที่ ๓๒๙ – ๓๓๖  บทที่ ๒๒๙๗  – ๒๓๕๒ จำนวน ๕๖ บท
หม่อมเจ้าสวัสดิ์ แผ่นที่ ๓๓๗ – ๓๔๔  บทที่ ๒๓๕๓  – ๒๔๐๗ จำนวน ๕๖ บท
นายแช่มนักเรียน แผ่นที่ ๓๔๕ – ๓๔๗  บทที่ ๒๔๐๙  – ๒๔๓๖ จำนวน ๒๘ บท
หลวงอินทรโกษา แผ่นที่ ๓๔๙  –๓๕๖ บทที่ ๒๔๕๑ – ๒๔๙๒ จำนวน ๔๒ บท
พระราชนิพนธ์ แผ่นที่ ๓๕๗-๓๖๐ บทที่ ๒๔๙๓ – ๒๕๒๐ จำนวน ๗๔ บท
พระพินิตพินัย แผ่นที่ ๓๖๑ – ๓๗๒ บทที่ ๒๕๒๑- ๒๖๐๔ จำนวน ๘๔ บท
พระราชนิพนธ์ แผ่นที่ ๓๗๓ – ๓๗๖ บทที่ ๒๖๐๕- ๒๖๓๒ จำนวน ๒๘ บท
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร แผ่นที่ ๓๗๗ – ๓๘๔ บทที่ ๒๖๓๓ – ๒๖๘๘ จำนวน ๕๖ บท
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 377  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 09:58

คุณวันดี ตอบข้อ ๓๐ ได้ครบถ้วนดีมาก
เอาไป ๒๐ คะแนน

ส่วนข้อ  ๒๙ ตอบน้อยไป  ไม่มีตัวอย่างประกอบคำอธิบาย
ให้ตามเนื้อผ้า  ๓ คะแนน

ส่วนที่ใครบางคนตัดพ้อว่า  
(ข้อนี้ไม่น่าจะให้ ๓๐ คะแนน น่าจะให้มากกว่านี้)

เปิดหนังสือลอกมาลงขนาดนี้ยังเอาคะแนนให้มากขนาดไหน
อย่านึกว่าผมไม่รู้นะ   นี่ก็ถืออยู่ในมือตั้ง ๒-๓ เล่ม
คะแนนเท่านี้พอแล้ว  ถ้าให้มากกว่านี้  จะดูเหลื่อมล้ำมากไป
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 378  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 10:07

คำถามข้อที่  ๒๘.  แม่น้ำคงคาลงมาสู่พื้นโลกมนุษย์ได้อย่างไร?
จงเล่าสาเหตุและตำนานนั้นอย่างละเอียด  พร้อมบอกด้วยว่าเกี่ยวกับเรื่องพระรามอย่างไร
ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์

ท้าวสัคร  ท้าวอังศุมาน  ท้าวทิลิป   ท้าวภคีรถ   ได้บำเพ็ญภาวนาต่อกันมาหสยชั่วตน

พระพรหมเสด็จ    
ภคีรถราชฤษีทูลขอให้พระคงคาล้างอังคารพระสาครกุมารทั้งหกหมื่นและขอพระโอรสด้วย
พระพรหมประทานพรแต่เตือนให้ขอพระอิศวรรับพระคงคาเมื่อลงมาจากสวรรค์  ไม่เช่นนั้นโลกจะพินาศ

ท้าวภคีรถบำเพ็ญตบะต่อไปจนพระอิศวรโปรด  รับว่าจะช่วย
เมื่อพระคงคาเสด็จมา  พระอิศวรก็นับไว้ด้วยพระเกศา(จึงทรงนามว่าควคาธร)
พระคงคาเข้าไปไหลวนระหว่างพระเกศา  จนท้าวภคีรสไปทูลขอให้ปล่อย

จึงปล่อยพระคงคาให้ไหลไปทางสระวินทุ  แยกออกเป็น ๗ สาขา  ไปทางบูรพาทิศ ๓ สาขา
กับแม่น้ำจักษุ ๑  แม่น้ำสีดา ๑  พระสินธุ ๑  รวมสาททางไหลไปทางปรัศจิม

สายกลางที่เรียกว่าพระคงคามหานที ไหลตามรอยรถที่นั่งท้าวภคีรสฤษีชีพราหมณ์ ประชาชน เทวดาต้องสาป  ได้ผลบุญไปตามกัน

ไหลผ่านมณฑลพิธีของพระชหุณดาบส   ท่านโกรธกลืนพระคงคาไว้  เทวดาช่วยกันอ้อนวอน  พระดาบสจึงปล่อย
ให้ไหลออกทางหู  พระคงคาจึงชื่อชานหวร คือบุตรีพระชหุณ

น้ำก็ไหลไปจนที่อังคารพระสาครกุมารทั้หกหมื่นกองอยู่  ได้ขึ้นสวรรค์

พร้อมบอกด้วยว่าเกี่ยวกับเรื่องพระรามอย่างไร
เอาไป ๗ คะแนนก่อน ที่ขีดเส้นใต้เขียนชื่อผิด  ต้องหักคะแนน
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 379  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 10:09


คำถามข้อที่  ๒๖.  ในการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายข้าราชการแต่งโคลงรามเกียรติ์จารึกลงแผ่นศิลา
ประดับที่พระระเบียงในสมัยรัชกาลที่ ๕  มีเจ้านายและข้าราชบริพารคนใดบ้างที่ได้แต่งโคลงดังกล่าว
ใครแต่งโคลงห้องใดบ้าง  กี่บท  จงบอกชื่อยศในขณะนั้นและชื่อยศในกาลต่อมาที่ได้รับครั้งหลังสุด
ข้อนี้  ๓๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์


ตอบว่า (ตอนที่ 1)

พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)                                     ห้องที่ 1-3                       จำนวน 84 บท
หลวงฤทธิพลชัย                                                                 ห้องที่ 4,5,114                 จำนวน 84 บท
พระยาสุนทรนุรักษ์ (เผื่อน พรหมปิณฑะ) (พระยาพระราชโยธา)               ห้องที่ 6-8,153                   จำนวน 112 บท
ขุนท่องเสื่อคนเก่า (ช่วง ไกรฤกษ์) (หลวงมงคลรัตน์)                          ห้องที่ 9,115-117,171,177      จำนวน 168 บท
ขุนโอวาทวรกิจ (แก่น โอวาทสาร) (พระยาโอวาทวรกิจ)                      ห้องที่  10,11                        จำนวน 56 บท
หมื่นนิพนธ์ไพเราะ                                                              ห้องที่ 12,13                        จำนวน 56 บท
ขุนมหาสิทธิโวหาร (พ่วง อาจารยางกูร) (หลวงมหาสิทธิโวหาร)                ห้องที่ 14-16                    จำนวน 84 บท
นายเสถียรรักษา (ศิริ เอมะศิริ) (พระยามนูศาสตร์บัญชา)                      ห้องที่ 17,28,29                   จำนวน 84 บท
พระเทพกวี                                                                      ห้องที่ 18,19                                     จำนวน 56 บท
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุตรี (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา)   ห้องที่ 20,110,111             จำนวน 84 บท
นายโต เปรียญ (ขุนปรีชานุสาสน์)                                                    ห้องที่ 21,125,126              จำนวน 84 บท
หม่อมเจ้าชายดำ นพวงศ์                                                         ห้องที่ 22                                จำนวน 28 บท
จมื่นทิพยเสนา (เจริญ เศวตนันทน์) (พระยาอภิชิตชาญยุทธ)                     ห้องที่ 23                              จำนวน 28 บท
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธพงศ์)        ห้องที่  24,25    จำนวน 56 บท
ขุนวิจิตรวรสาสน์ (แกล้ว โอวาทสาร)                                         ห้องที่ 26,154                             จำนวน 56 บท
หลวงภาษีวิเศษ (เต๊า)                                                                            ห้องที่ 27,112        จำนวน 56 บท
นายทัด (ศิริสัมพันธ์) กุเรเตอร์ (พระยาสโมสรสรรพการ)                                      ห้องที่ 30,31,118       จำนวน 84 บท
หม่อมราชวงศ์วิน                                                                               ห้องที่ 32,33            จำนวน 56 บท
พระยาศรีสหเทพ (หรุ่น ศรีเพ็ญ)                                                             ห้องที่ 34-37,109       จำนวน 140 บท
ขุนพิสนฑ์สังฆกิจ                                                                             ห้องที่ 38,39,140,141                 จำนวน 112 บท

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 380  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 10:10

ไม่เคยอ้อนวอนขอคะแนนที่ไม่ได้ทำ      ไม่ต่อว่า  แต่อาฆาตไว้ดังๆ

เจอกันชาตินี้ชาติเดียว



งานหนังสือปีนี้จะไปกับชมรมนักสะสม

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 381  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 10:15

ไม่เคยอ้อนวอนขอคะแนนที่ไม่ได้ทำ      ไม่ต่อว่า  แต่อาฆาตไว้ดังๆ

เจอกันชาตินี้ชาติเดียว



ความอาฆาตพยาบาทอย่างนี้  ย่อมผูกคนคนนั้น
ให้วนเวียนมาเจอกันกับเขาไปอีกนานหลายกัปกัลป์พุทธันดร 555
ไม่เป็นไร  แผ่เมตตาแล้ว  คงจะพบเจอกันน้อยชาติลงบ้าง ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 382  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 10:16

ชุดที่ ๓

พระวงษเธอพระองค์เจ้าขจรจรัสวงษ์ แผ่นที่ ๓๘๕ – ๓๙๖ บทที่ ๒๖๘๙ – ๒๗๘๑ จำนวน ๙๓ บท
พระเจ้าราชวงษเธอกรมขุนบดินทรไพศาลโสภณ แผ่นที่ ๓๙๗ – ๔๐๔ บทที่ ๒๗๗๓-๒๘๒๘ จำนวน ๕๖ บท

พระราชนิพนธ์ แผ่นที่ ๔๐๕ – ๔๒๘ บทที่ ๒๘๒๙-๒๙๙๖ จำนวน ๑๖๘ บท
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร แผ่นที่ ๔๒๙ – ๔๓๒ บทที่ ๒๙๙๗-๓๐๒๔ จำนวน ๒๘ บท
พระยาศรีสิงหเทพ แผ่นที่ ๔๓๓ – ๔๓๖ บทที่ ๓๐๒๕-๓๐๕๒ จำนวน ๒๘ บท

พระเจ้าราชวรวงษเธอพระองค์เจ้าบุตรี แผ่นที่ ๔๓๗ – ๔๔๔ บทที่ ๓๐๕๓-๓๑๐๘ จำนวน ๕๖ บท
หลวงภาษีวิเศศ แผ่นที่ ๔๔๕ – ๔๔๘ บทที่ ๓๑๐๙-๓๑๓๖ จำนวน ๒๘ บท
พระครูอภัยสังฆกิจจานุกร แผ่นที่ ๔๔๙ –๔๕๒  บทที่ ๓๑๓๗-๓๑๖๔ จำนวน ๒๘ บท
หลวงฤทธิพลไชย แผ่นที่ ๔๕๓ – ๔๕๖ บทที่ ๓๑๖๕ – ๓๑๙๒ จำนวน ๒๘ บท
ขุนท่องสื่อคนเก่า แผ่นที่ ๔๕๗ – ๔๖๘ บทที่ ๓๑๖๕- ๓๒๔๘ จำนวน ๘๔ บท
กุเรเตอร์ทัด แผ่นที่ ๔๖๙ – ๔๗๒ บทที่ ๓๒๗๗-๓๓๐๔ จำนวน ๒๘ บท
พระพิบูลย์ไอยสวรรค์ แผ่นที่ ๔๗๓ – ๔๗๖ บทที่ ๓๓๐๕-๓๓๓๒ จำนวน ๒๘ บท
พระมหาคำเปรียญ แผ่นที่ ๔๗๗ – ๔๘๘ บทที่ ๓๓๓๓-๓๔๑๖ จำนวน ๘๔ บท
หลวงอินทรอาวุธ แผ่นที่ ๔๘๙ – ๔๙๖ บทที่ ๓๔๑๗-๓๔๗๒ จำนวน ๕๖ บท
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 383  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 10:19

คุณอาร์ตเก่ง  ประสาทอาวุธหอกแก้วนิลกาลแดงสลัวเพทายให้



สงครามครั้งนี้ทำไมยืดเยื้อมาวันอาทิตย์

ปล่อยข่าวลือว่าป่วย

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 384  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 10:22

คุณอาร์ตเก่ง  ประสาทอาวุธหอกแก้วนิลกาลแดงสลัวเพทายให้



สงครามครั้งนี้ทำไมยืดเยื้อมาวันอาทิตย์

ปล่อยข่าวลือว่าป่วย



สมองกับนิ้วมือยังใช้การได้ดี 
(แพทย์ให้ใบยืนยันการตรวจมา)
กลศึกนั้นลึกล้ำ   ประมาทนิดเดียว
ก็เสียกำลังไพร่พล  แถมต้องปรับขบวนรบใหม่
รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งขนะร้อยครั้ง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 385  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 10:22

คุณอาร์ตเก่ง  ประสาทอาวุธหอกแก้วนิลกาลแดงสลัวเพทายให้



สงครามครั้งนี้ทำไมยืดเยื้อมาวันอาทิตย์

ปล่อยข่าวลือว่าป่วย

+++

ใช่ๆๆ แบบนี้เราต้องร่วม Joint Venture ร่วมค้ากันถล่ม 5555
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 386  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 10:26

ตอบ (ตอนที่ 2)

พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ)      ห้องที่ 40,41   จำนวน 56 บท
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์)   ห้องที่ 42,43   จำนวน 56 บท
นายฤกษ์ หมื่นพากยโวหาร (หลวงจักรปราณี (ฤกษ์))               ห้องที่ 44,45,138,139จำนวน 112 บท   
พระยาราชสัมภารากร (เลื่อน สุรนันทน์)                  ห้องที่ 46,47,52-55   จำนวน 168 บท
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นอดิสรอุดมเดช (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมลวงอดิสรอุดมเดช)      ห้องที่ 48      จำนวน 28 บท
พระเจ้าน้องยาเธอ กรหมมื่นประจักษ์ศิลปาคม (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมลวงประจักษ์ศิลปาคม)      ห้องที่ 49,50   จำนวน 56 บท
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ)      ห้องที่ 51,161   จำนวน 56 บท
หม่อมเจ้าอลังการ ประภากร (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ)                         ห้องที่ 56-58   จำนวน 84 บท
พระยาราชวรานุกูล (เวก บุณยรัตพันธุ์) (เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช)            ห้องที่ 59-61   จำนวน 84 บท
ขุนปฎิภาณพิจิตร (หรุ่น)                        ห้องที่ 62      จำนวน 28 บท
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นเทววะวงศ์วโรปการ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ)   ห้องที่ 62,64   จำนวน 56 บท
หลวงอินทรอาวุธ                        ห้องที่ 65,66,123,124จำนวน 112 บท   
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์)      ห้องที่ 67,169   จำนวน 56 บท
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา)      ห้องที่ 68,69   จำนวน 56 บท
ขุนวิสุทธากร (หม่อมราชวงศ์หนู อิศรางกูร) (พระยาอิศรพันธุ์โสภณ)            ห้องที่ 70-73,159,160 จำนวน 168 บท
กรมพระบำราบปรปักษ์ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์)         ห้องที่ 74-76   จำนวน 84 บท
ขุนวิสูตรเสนี (จาง)                        ห้องที่ 77,78,142   จำนวน 84 บท
ขุนพินิจจัย (อยู่) (หลวงภิรมย์โกษา)                  ห้องที่ 79,80,135,136,178 จำนวน 140 บท   
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์)      ห้องที่ 81      จำนวน 28 บท
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงภาณุพันธุวงศวรเดช (สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุขฯ)      ห้องที่ 82      จำนวน 28 บท
พระเจ้าศรีโสภณ (?)                                                                                   ห้องที่ 83,84   จำนวน 56 บท
หม่อมเจ้าสวัสดิ์                        ห้องที่ 85,86   จำนวน 56 บท
นายแช่ม (บุนนาค) นักเรียน (พระยาประชากิจกรจักร)               ห้องที่ 87      จำนวน 28 บท
หลวงอินทรโกษา (เฉื่อย สุรนันทน์)                     ห้องที่ 88,89   จำนวน 56 บท
พระราชนิพนธ์                        ห้องที่ 90,94,102-107 จำนวน 224 บท
พระพินิตพินัย (ปาน) (พระอุบาลคุณูปมาจารย์)                  ห้องที่ 91-93   จำนวน 84 บท
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร)         ห้องที่ 95,96,108   จำนวน 84 บท
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ (พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์)         ห้องที่ 97-99   จำนวน 84 บท
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมขุนบดินทร์ไพศาลโสภณ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ)   ห้องที่ 100,101   จำนวน 56 บท
พระครูอภัยสังฆกิจจานุกร                     ห้องที่ 113      จำนวน 28 บท
พระพิบูลย์ไอสวรรย์ (นิล)                     ห้องที่ 119,173   จำนวน 56 บท
พระมหาคำ เปรียญ (พระญาณสมโพธิ)                  ห้องที่ 120-122   จำนวน 84 บท
พระปลัดสิง                           ห้องที่ 127-129   จำนวน 84 บท
พระพหลพลพยุหเสนา (กลาง สุจริตจันทร์) (พระยาวจีสัตยารักษ์)            ห้องที่ 130,131    จำนวน 56 บท
พระครูพิเชต                        ห้องที่ 132-134   จำนวน 84 บท
หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันท์ (หม่อมเจ้าทัด เสนีย์วงศ์) (สมเด็จพระพุฒาจารย์)                   ห้องที่ 137      จำนวน 28 บท
นายสิงโต มหาดเล็ก                        ห้องที่ 143      จำนวน 28 บท
นายประภาษามณเฑียร (ยัง) (พระยาบำรุงราชฐาน)               ห้องที่ 144,145   จำนวน 56 บท
หลวงบรรหารอรรถคดี (สุด) (พระภิรมย์ราชา)                  ห้องที่ 146,147,175,176 จำนวน 112 บท
ขุนภักดีอาสา (นก) (พระอมรสินธพ)                  ห้องที่ 148-150   จำนวน 84 บท
พระวิสูตรเสนี                        ห้องที่ 151,152   จำนวน 56 บท
พระสาธุศีลสังวร (กล่อม) (พระสุวรรณวิมลศรี)                  ห้องที่ 155,156   จำนวน 56 บท
หม่อมราชวงศ์พระเจริญ (หม่อมราชวงศ์เจริญ อิศรางกูร) (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์)         ห้องที่ 157,158   จำนวน 56 บท
นายจิตร เสมียนมิวเซียม                        ห้องที่ 162      จำนวน 28 บท
หม่อมเจ้าภุชงค์ (พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรศิริวัฒน์)               ห้องที่ 163,164   จำนวน 56 บท
พระธรรมกิติ (แจ้ง)                        ห้องที่ 165-167   จำนวน 84 บท
หลวงรัฐยาธิบาลบัญชา                        ห้องที่ 168      จำนวน 28 บท
ขุนหลวงพระไกรศรี                        ห้องที่ 170      จำนวน 28 บท
หม่อมเจ้าพระประภากรบวรวิสุทธวงศ์ (หม่อมเจ้าประภากร มาลากุล)            ห้องที่ 172,174   จำนวน 56 บท
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 387  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 10:27

มาเถิดสหาย  คำถามยังเหลือเป็นกระบุงยุ้งฉาง
นี่ก็ตั้งรบคนเดียวมาตั้งแต่ต้น  จะกี่คนก็ปรี่เข้ามาเถิด

อ้อ  บอกไว้ก่อนว่า  พิมพ์ผิดตรงไหน
คนตรวจจะตัดคะแนนด้วย 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 388  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 10:31

เปิดหนังสือลอกมาลงขนาดนี้ยังเอาคะแนนให้มากขนาดไหน
อย่านึกว่าผมไม่รู้นะ   นี่ก็ถืออยู่ในมือตั้ง ๒-๓ เล่ม
คะแนนเท่านี้พอแล้ว  ถ้าให้มากกว่านี้  จะดูเหลื่อมล้ำมากไป

มิอยากตัดพ้อแลต่อว่า อันตำรามีอยู่ทุกหนแห่ง
คว้าได้เป็นคว้ามาสำแดง มิได้แจ้งเจื้อยแจ้วอย่างขุนทอง
อ่านคำถามขนลุกสะดุ้งหยอง ตัวละครมากมายขยายเหลือ
จึ่งต้องอ้างตามเนื้อผ้ามิให้เฝือ ด้วยทาเกลือมากไปนั้นไม่งาม  ร้องไห้
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 389  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 10:33

หน้า ๒๔    บ่อเกิดรามเกียรติ์  ๒๕๑๓   สะกดแบบนี้ชหุน เหนือตัว น มีอะไรก็ไม่รู้ ม้วน ๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 24 25 [26] 27 28 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 20 คำสั่ง