เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26 27 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 113550 ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้) ๑
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 360  เมื่อ 14 ม.ค. 11, 23:22

คุณหลวง ขอทิ้งทวนสักเล่มเถิด คิดเสียว่าเอาบุญให้แก่ผู้ด้อยความรู้อย่างกระผม

ทำไมรัชกาลที่ 5 ถึงดำริให้แต่งโคลงรามเกียรติ์พระระเบียงวัดพระแก้วครับ

ระหว่างรอคุณหลวงเล็กมาตอบ ผมนึกขึ้นได้มาข้อหนึ่งคือ เมื่อคราวซ่อมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อฉลองให้ทันการพระนครครบ ๑๐๐ ปี ในพ.ศ. ๒๔๒๕ นั้น ทรงกะเกณฑ์บรรดาเจ้าฟ้าและเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ร่วมใจ แบ่งงานกันเป็นส่วนๆให้จัดการรับผิดชอบซ่อมแซม ปฐิสังขรณ์บูรณะให้งดงามและดีดังเดิม

ในส่วนตัวคิดว่า หากว่าผนังมีแต่ภาพ ก็คงพากันตีความผิด หรือ ดูแล้วไม่รู้ที่มาที่ไป ซึ่งการจารึกความรู้ประดับบนแผ่นหินก็มีตัวอย่าง ที่วัดพระเชตุพนเป็นหลัก จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์และร่วมกับเจ้านายแต่งกลอนประดับไว้ เพื่อให้ได้รับความรู้ทั้งอักษะ และจินตะไปพร้อมๆกัน


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 361  เมื่อ 14 ม.ค. 11, 23:25

เนื่องจากต้องการทราบถึงคติการวาดภาพที่พระระเบียง ว่ารัชกาลที่ ๑ ทรงได้เค้าหรือแบบอย่างมาได้อย่างไร

อธิบายยาก  เพราะไม่มีอะไรยืนยันพระราชดำรินั้นได้ชัดเจนว่ามีพระราชดำริประการใด
ผมเองไม่แน่ใจว่า ภาพจิตรกรรมที่วัดพระแก้วนี้วาดในรัชกาลใดแน่ รัชกาลที่ ๑ ? หรือรัชกาลที่ ๓?
ต้องไปดูในจดหมายเหตุการปฏิสังขรณ์วัดพระแก้วในรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๕ ประกอบ

แต่ถ้าให้อธิบายตามความเข้าใจ   คงต้องอิงกับเรื่อง
พระมหากษัตริย์เป็นหลัก  เพราะพระรามเป็นกษัตริย์ตามคติไทยด้วยเหมือนกัน
อีกทั้งเรื่องพระรามก็เป็นนิยายประจำราชสำนักมายาวนานตั้งแต่สมัยอยุธยา
การวาดเรื่องพระรามในวัดพุทธแม้จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา  
แต่อาจจะหมายถึงกษัตริย์ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาได้กระมัง

จะว่าไปแล้ว รัชกาลที่ ๑ ทรงเห็นว่าเรื่องพระรามเป็นนิยายไสย  ไม่มีแก่นสาร
ถึงจะทรงพระราชนิพนธ์ไว้ หรือวาดภาพไว้ ก็เพื่อรักษาเรื่องรามเกียรติ์
ให้สมบูรณ์เพื่อลูกหลานภายหลังจะได้รู้จักเรื่อง  อันนี้เป็นพระบรมราโชบาย
ที่จะฟื้นฟูวิทยาการความรู้ต่างๆ ที่ขาดหายไปในระหว่างสงครามเสียกรุงศรีอยุธยา
สืบต่อจากสมัยธนบุรีที่ได้เริ่มทำไว้บ้างบางส่วน ให้สมบูรณ์  เนื่องสภาพบ้านเมือง
เป็นปึกแผ่นมากขึ้น  แม้จะมีศึกสงครามก็เป็นหัวเมืองห่างไกลจากพระนคร
และมีน้อยลงมาก (ดูกลอนเพลงยาวท้ายเรื่องบทละครรามเกียรติ์)

อธิบายอย่างนี้  คงพอฟังได้กระมัง  ใครมีความรู้ดีกว่านี้เชิญเกทับบลัฟกันได้
ไม่ว่ากัน  ยินดีเสียด้วยสิ ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 362  เมื่อ 14 ม.ค. 11, 23:25

ถ่ายภาพแผ่นที่ ๑ มาให้ชม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 363  เมื่อ 14 ม.ค. 11, 23:33

เนื่องจากต้องการทราบถึงคติการวาดภาพที่พระระเบียง ว่ารัชกาลที่ ๑ ทรงได้เค้าหรือแบบอย่างมาได้อย่างไร

ผมเองไม่แน่ใจว่า ภาพจิตรกรรมที่วัดพระแก้วนี้วาดในรัชกาลใดแน่ รัชกาลที่ ๑ ? หรือรัชกาลที่ ๓?
ต้องไปดูในจดหมายเหตุการปฏิสังขรณ์วัดพระแก้วในรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๕ ประกอบ


อธิบายความเพิ่มเติมจากจดหมายเหตุซ่อมวัดพระแก้ว สมัยรัชกาลที่ ๓ เขียนไว้ว่า "เขียนใหม่ทั้งหมด" ย่อมหมายถึงของเดิมมีอยู่แล้ว


บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 364  เมื่อ 14 ม.ค. 11, 23:36

ผมเองไม่แน่ใจว่า ภาพจิตรกรรมที่วัดพระแก้วนี้วาดในรัชกาลใดแน่ รัชกาลที่ ๑ ? หรือรัชกาลที่ ๓?
ต้องไปดูในจดหมายเหตุการปฏิสังขรณ์วัดพระแก้วในรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๕ ประกอบ


ผมเคยเห็นสมุดไทยที่วาดภาพร่างก่อนการเขียนภาพรามเกียรติ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 อยู่เหมือนกัน รู้สึกจะเป็นรูปปราสาทมีต้นไม้ พร้อมพลวานร

เรื่องจดหมายเหตุปฏิสังขรณ์วัดพระแก้วในรัชกาลที่ 3 นั้น ก็ได้ความว่าจะจารึกลงในศิลาเหมือนของวัดพระเชตุพน แต่ไม่ได้ทำ
ความก็ไม่ครบถ้วน มีพรรณาเพียงพระอุโบสถเท่านั้นเอง (แต่รายละเอียดดีมากๆ บอกกระทั่งว่าตั้งเครื่องประดับอะไร เขียนภาพอะไรตรงไหน)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 365  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 00:03

คุณหลวง ขอทิ้งทวนสักเล่มเถิด คิดเสียว่าเอาบุญให้แก่ผู้ด้อยความรู้อย่างกระผม

ทำไมรัชกาลที่ 5 ถึงดำริให้แต่งโคลงรามเกียรติ์พระระเบียงวัดพระแก้วครับ

ตอนแรก   ยังบอกว่ามีแต่มีดสั้น  เดี๋ยวพัฒนามามีทวนเล่มโตทิ้งกันแล้วครับท่าน
(ย้อนไปดู ค.ห.ที่ ๒)

ข้อนี้ต้องตอบยาว ขอไปตอบมื้ออื่นนะครับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 366  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 06:55

ทำไมรัชกาลที่ 5 ถึงได้มีพระราชดำริโปรดเกล้าฯ ให้แต่งโคลงรามเกียรติ์พระระเบียงวัดพระแก้วครับ


ขอตอบย้อนไปถึงคำถามคุณไซมิสด้วยว่า  การที่รัชกาลที่ ๑ มีพระราชดำริให้วาดภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์
ที่พระระเบียงวัดพระแก้วนั้น   คงเป็นเพราะพื้นที่ผนังพระระเบียงวัดพระแก้วยาวมาก  ถ้าจะเลือกเขียนภาพ
อะไรที่ผนังแล้ว  คงต้องพิจารณาความยาวของเรื่องให้เหมาะสมกับพื้นที่ด้วย   ถ้าเลือกที่ยาวไม่มากพอ
ก็จะวาดได้ไม่เต็มตลอดพื้นที่พระระเบียง   และอาจจะต้องวาดภาพให้มีรายละเอียดใหญ่มากขึ้น
ซึ่งนั่นไม่ใช่ลักษณะของจิตรกรรมไทย   จิตรกรรมไทยวาดภาพละเอียด เล็ก จึงต้องเดินเข้าไปดูใกล้ๆ
ไม่เหมือนภาพจิตรกรรมฝรั่งที่ใหญ่  ต้องยืนดูห่างๆ ภาพจะได้เห็นทั่ว


เมื่อพิจารณาเรื่องที่น่าจะนำมาวาดที่พระระเบียงวัดพระแก้วให้ตลอดความยาวนั้น
พระพุทธประวัติ  ชาดก ประวัติพระสาวก   หรือตำนานพุทธศาสนา 
เรื่องเหล่านี้เหมาะที่อยู่ในพระอุโบสถมากกว่า  เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ภายใน
พระระเบียงถือว่าเป็นพื้นที่ภายนอก  ไม่จำเป็นต้องวาดภาพที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาก็ได้

ก็มาพิจารณาวรรณคดี   วรรณคดีไทยที่มีเนื้อเรื่องยาวมากๆ มีไม่กี่เรื่อง (นับเฉพาะสมัยรัชกาลที่ ๑)
ถ้าเอาเฉพาะเรื่องเอก คือ รามเกียรติ์  อิเหนา  ดาหลัง  ขุนช้างขุนแผน อุณรุท
ขุนช้างขุนแผน ดูไม่เหมาะที่จะวาดที่ผนังพระระเบียง  เพราะเรื่องสั้นไป  และเป็นเรื่องชาวบ้าน
อิเหนากับดาหลังก็เป็นนิยายที่เพิ่งจะแพร่หลายในสยามมาไม่นานนัก  และไม่ใช่เรื่องที่มีอิทธิพลต่อคนไทยมาก
รามเกียรติ์ที่แหละเหมาะสุด  เพราะเรื่องยาวมาก  เป็นเรื่องที่อยู่กับสังคมไทยมานาน  มีอิทธิพลกับคนไทยมาก
และเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์  เพราะพระรามก็เป็นหนึ่งกษัตริย์ในอุดมคติของไทยมาช้านาน
อุณรุท  เรื่องนี้ถึงจะแพร่หลาย  แต่ยังไม่เท่ารามเกียรติ์ แถมเนื้อเรื่องไม่สู้ยาวนัก

เรื่องรามเกียรติ์มีรายละเอียดเหตุการณ์มาก  เมื่อแบ่งห้องหรือตอนสำหรับวาดแล้วก็คงยาวพอดีเรื่อง
ถ้าจะพิจารณาดูอีก  ก็จะเห็นได้ว่า  วัดพระแก้วนั้น  ในพระอุโบสถเป็นเรื่องพุทธศาสนาล้วน
มีเรื่องพระมหากษัตริย์แทรกปะปนอยู่บ้าง   แต่ภายนอกนี้เป็นเรื่องพระมหากษัตริย์ล้วนๆ เกือบทั้งหมดทีเดียว

เมื่อจิตรกรรมแล้ว จากการชมมหรสพต่างๆ  ที่จะเลือกเอาบางตอนของรามเกียรติ์มาแสดงเท่านั้น
เนื้อเรื่องหลายส่วน มหรสพไม่นิยมเอามาแสดงหรือ เอาแสดงน้อย  ทำให้คนรู้จักรามเกียรติ์ไม่ตลอดเรื่อง
แม้จะมีการพิมพ์รามเกียรติ์ในสมัยต่อมา  (ครูสมิทพิมพ์ก่อนเป็นคนแรก   
โดยเอาฉบับของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มาพิมพ์)  ก็ใช่ว่าจะแพร่หลายเสียเมื่อไร
และคงหาคนหอบรามเกียรติ์ไปเปิดพลางเดินดูจิตรกรรมไปด้วยได้ยาก  เพราะไม่สะดวก

ครั้นมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๕  อาจจะทรงพระราชดำริว่า  เมื่อภาพรามเกียรติ์แล้ว
ก็น่าจะมีเรื่องย่อๆ พอให้คนดูภาพแล้วไม่เข้าใจเรื่องหรือจำไม่ได้ตลอดมาอ่านเพื่อจะได้เข้าใจภาพห้องนั้นๆ
แต่ครั้นจะเขียนเป็นร้อยแก้วความเรียงติดไว้  ก็ดูไม่มีฝีมือ  ควรจะแต่งเป็นคำร้อยกรองสั้นๆ
สรุปความเล่าเรื่องแต่ละตอนไว้  ในสมัยนั้นเจ้านายและข้าราชการที่มีฝีมือด้านกวีนิพนธ์ก็มีมากอยู่
เพราะเป็นสมัยที่บ้านเมืองเจริญมากแล้ว   และอาจจะทรงระลึกถึงสมัยที่รัชกาลที่ ๓
โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมวัดพระเชตุพน  ได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายขุนนางต่างๆ ช่วยกันแต่ง
กาพย์โคลงกลอน  ชำระตำรับตำราอันเป็นประโยชน์แล้วมาจารึกลงแผ่นศิลาประดับไว้รอบวัดพระเชตุพน
เพื่อเป็นพุทธบูชาประการหนึ่ง  และเป็นวิทยาทานแก่ผู้ที่สนใจศึกษาเอาความรู้ประการหนึ่ง

รัชกาลที่ ๕ จึงทรงพระราชดำริให้จารึกโคลงรามเกียรติ์ติดที่พระระเบียงนั้น  เพื่อเป็นพุทธบูชา
เพื่อเป็นการประกวดฝีมือ  และเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ได้ชมภาพจิตรกรรมจะได้ทราบเรื่องเมื่อมาชม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 367  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 07:23

รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้แต่งโคลงรามเกียรติ์เพื่อจารึกลงแผ่นศิลาประดับพระระเบียง
อยู่ในระยะเวลาที่กำลังมีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระแก้วให้เสร็จทันการสมโภชพระนครครบ ๑๐๐ ปี
ในปี ๒๔๒๕  (ถ้าสนใจ  ไปหาหนังสืองานศพท้าววรคณานันท์ (หม่อมราชวงศ์แป้ม  มาลากุล) มาอ่าน
หรือหนังสือจดหมายเหตุการบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อตอนฉลองพระนคร ๒๐๐ ปี ก็ได้)

การบูรณะวัดพระแก้วครั้งนั้น  เป็นการทำต่อเนื่องจากที่รัชกาลที่ ๔ ได้ทรงทำไว้ 
แต่ยังค้างอยู่และสิ้นรัชกาลเสียก่อน  และช่วงต้นรัชกาลที่ ๕ ก็ได้ทำการบูรณะต่อบ้าง
แต่ยังไม่แล้ว   ด้วยยังมีงานอีกมากที่ยังไม่ได้เริ่มทำ  ครั้นพอรัชกาลที่ ๕ ผ่านพระราชพิธี
บรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ ในปี ๒๔๑๖ แล้ว  ได้มีพระราชดำริให้เร่งงานบูรณธต่อเติมวัดพระแก้ว
ขนานใหญ่  โดยระดมเจ้านายข้าราชบริพารมาช่วยกันทำการ  งานจึงลุล่วงไปด้วยความเร็ว


คำถามข้อที่  ๒๖.  ในการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายข้าราชการแต่งโคลงรามเกียรติ์จารึกลงแผ่นศิลา
ประดับที่พระระเบียงในสมัยรัชกาลที่ ๕  มีเจ้านายและข้าราชบริพารคนใดบ้างที่ได้แต่งโคลงดังกล่าว
ใครแต่งโคลงห้องใดบ้าง  กี่บท  จงบอกชื่อยศในขณะนั้นและชื่อยศในกาลต่อมาที่ได้รับครั้งหลังสุด
ข้อนี้  ๓๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์


คำถามข้อที่  ๒๗.  ใครบ้างที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจโคลงรามเกียรติ์
จงบอกชื่อยศในขณะนั้นและชื่อยศในกาลต่อมาที่ได้รับครั้งหลังสุด
ข้อนี้  ๒๐  คะแนน  ตอบที่หน้าไมค์


คำถามข้อที่  ๒๘.  แม่น้ำคงคาลงมาสู่พื้นโลกมนุษย์ได้อย่างไร? 
จงเล่าสาเหตุและตำนานนั้นอย่างละเอียด  พร้อมบอกด้วยว่าเกี่ยวกับเรื่องพระรามอย่างไร
ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์


คำถามข้อที่  ๒๙.  ทำไมคนไทยจึงรู้จักและนิยมเรื่องรามเกียรติ์อันมีต้นเค้ามาจากรามายณะ
มากกว่าเรื่องมหาภารตะ  จงอธิบายและตัวอย่างประกอบ
ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์


คำถามข้อที่  ๓๐.  มีตัวละครใดบ้างที่หนุมานและเหล่าวานรได้ช่วยปลดคำสาปให้
จงเล่าเรื่องทีละตัวละคร  พร้องบอกเหตุที่ถูกสาป และวิธีการแก้คำสาป
ข้อนี้  ๒๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 368  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 08:22

คำถามข้อที่  ๒๘.  แม่น้ำคงคาลงมาสู่พื้นโลกมนุษย์ได้อย่างไร? 
จงเล่าสาเหตุและตำนานนั้นอย่างละเอียด  พร้อมบอกด้วยว่าเกี่ยวกับเรื่องพระรามอย่างไร
ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์
++

ตำนานนี้มีอยู่ด้วยกัน ๒ ตำนาน แต่ก็สรุปรวมได้ไปทางเดียวกันคือ น้ำมาจากพระแม่คงคา ไหลผ่านพระเกศาแห่งองค์พระศิวะ แล้วค่อยๆไหลรินสู่พื้นโลก ดังตำนานดังนี้

คัมภีร์ภควัตปุราณะและมหากาพย์มหาภารตะเล่าว่า ครั้งหนึ่งกษัตริย์สาคร ซึ่งมีโอรสหกหมื่นองค์
(จากชายาองค์ที่สอง) และพระราชโอรสหนึ่งองค์จากอัครมเหสี ได้ประกอบพิธีอัศวเมธ (ปล่อยม้าอุปการ)
เพื่อสร้างมงคลและประกาศบุญญาภินิหาร แต่พระอินทร์ทรงเกรงว่ากษัตริย์สาครจะมีอำนาจยิ่งใหญ่กว่าพระองค์
จึงทรงขโมยม้าไปผูกไว้ที่อาศรมฤๅษีกบิล

โอรสของกษัตริย์สาครเสด็จออกติดตามหาม้า พบว่าอยู่ที่อาศรมของฤๅษี จึงเข้าไปด่าว่าและทำร้าย
ฤๅษีกบิลโกรธ สาปให้ไฟเผาโอรสทั้งหมดจนกลายเป็นขี้เถ้า

กษัตริย์สาครส่งหลานชื่ออังศุมัต (Amsumat) ออกตามหาโอรสและม้าอุปการจนพบ ฤาษีได้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้น
และอนุญาตให้นำม้ากลับไปพร้อมกับบอกวิธีที่จะทำให้เหล่าโอรสทั้งหมดไปสู่สวรรค์
คือต้องให้แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ (คงคา) ไหลมาชำระเถ้าถ่านอัฐิของโอรสเหล่านั้น

เหล่ากษัตริย์ในตระกูลท้าวสาครได้เริ่มพิธีสวดอ้อนวอน จนถึงรุ่นหลานของอังศุมัต นามว่า ท้าวภคีรส
(Bhagirath) พระองค์ทรงบำเพ็ญอย่างหนัก จนพระนางคงคาทรงยินยอมลงมายังโลก
และการนี้ต้องหาผู้รองรับกระแสน้ำไว้ก่อน เพราะหากกระแสน้ำตกมายังโลกโดยตรงจะทำให้แผ่นดินสลาย

ท้าวภคีรสจึงทรงสวดอ้อนวอนพระศิวะขอให้ทรงช่วยรองรับ พระศิวะก็ทรงยินยอม
โดยให้พระแม่คงคาไหลลงมายังชฎามกุฏ และเวียนอยู่ในมุ่นมวยพระเกศาของพระองค์เพื่อลดความรุนแรงลงก่อน
จากนั้นจึงทรงปล่อยให้ไหลสู่พื้นโลก

ในที่สุด ท้าวภคีรสก็นำพระแม่คงคาไปชำระล้างพระอัฐิบรรพบุรุษของพระองค์ได้สำเร็จ

ตำนานบางเล่มของอินเดียเล่าถึงเรื่องราวการเสด็จลงมาจากสวรรค์ของพระนางคงคาแปลกออกไปว่า

ครั้งหนึ่ง มีอสูรซึ่งชอบกลั่นแกล้งรบกวนฤาษีที่กำลังปฏิบัติกิจพิธี
และเมื่อถูกขับไล่ก็จะหลบหนีลงไปอยู่ในมหาสมุทร แล้วย้อนมากลั่นแกล้งอีกในเวลากลางคืน เหล่าฤาษีอคัสตยะ
(Agastya) ช่วยเหลือ

พระอคัสตยะใช้วิธีกลืนมหาสมุทรเข้าไปทั้งหมด (รวมถึงอสูรเหล่านั้นด้วย)
แต่วิธีดังกล่าวทำให้น้ำเหือดแห้ง ผู้คนไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้
จึงไปอ้อนวอนมุนีภคีรสให้ช่วยแม่น้ำสวรรค์ลงมาสู่โลกมนุษย์

พระมุนีก็ยินยอม โดยปฏิบัติโยคะบูชาขอพรต่อพระพรหมเป็นเวลานับพันปี
จนพระพรหมทรงพอพระทัยในการบำเพ็ญเพียรของภคีรส จึงพากันไปเฝ้าพระศิวะขอให้ทรงช่วยเหลือ
เนื่องจากปล่อยกระแสน้ำตกลงมาบนโลกโดยตรง พลังและน้ำหนักอันมหาศาลก็จะทำให้โลกเกิดภัยพิบัติ

พระศิวะจึงทรงยินยอมให้พระนางคงคาไหลลงมาสู่มุ่นมวยพระเกศาของพระองค์ก่อน แล้วปล่อยลงมาสู่พื้นโลก
เพื่อให้เป็นที่ชำระล้างบาปบรรเทาความเจ็บปวด อำนวยโชคและความสำเร็จ

พระศิวะในภาคคงคามูรติ; มีสี่กร ทรงถือขวาน กวางเผ่น
และอีกสองกรทรงทำท่าประทานอภัยและวิตรรกะ (แสดงการสั่งสอน) ยืนเหยียดพระบาทขวาตรง งอพระบาทซ้ายเล็กน้อย
บางครั้งอาจประทับร่วมกับพระนางปารวตี โดยพระศิวะทรงใช้พระกรซ้ายหน้าตระกองกอด
และพระหัตถ์ขวาเชยพระหนุของพระนางปารวตี

สำหรับพระหัตถ์ขวาด้านหลังทรงถือขวานที่ยกขึ้นระดับมุ่นมวยพระเกศาอันเป็นที่สถิตของพระแม่คงคา
ส่วนพระหัตถ์ซ้ายหลังทรงถือกวางเผ่น

พระนางปารวตีทรงถือดอกไม้ไว้ในพระหัตถ์ซ้าย พระกรขวาแนบลำพระองค์

นอกจากนี้ ด้านซ้ายยังมีรูปท้าวภคีรสรวมอยู่ในกลุ่มของฤาษี ผู้บูชาพระศิวะด้วย

คัดมาจากหนังสือ - ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู
โดย - อรุณศักดิ์ กิ่งมณี
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 369  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 08:35

คุณไซมีสนี่เร็วจริงๆ

รวดเร็ว ทันใจ ฉับไว ยอดเยี่ยม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 370  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 08:38

คำถามข้อที่  ๓๐.  มีตัวละครใดบ้างที่หนุมานและเหล่าวานรได้ช่วยปลดคำสาปให้
จงเล่าเรื่องทีละตัวละคร  พร้องบอกเหตุที่ถูกสาป และวิธีการแก้คำสาป
ข้อนี้  ๒๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์



ปักหลั่น  เดิมเป็นเทวดารับใช้ของพระอืศวร  ทำชู้กับนางฟ้าชื่อเกสรมาลาถูกสาปให้เฝ้าสระพันตา
สระนี้มีอาณาเขตกว้างใหญ่  สัตว์ใดหลงเข้ามาในอาณาเขต  ปักหลั่นมีสิทธิ์ที่จะจับกินได้   เมื่อพบทหารพระนารายณ์ลูบกายจะพ้นสาบ
เมื่อเจอองคต  จะจับกิน  องคตชักพระขรรค์ไล่ฟัน  ปักหลั่นกลัวร้องขอชีวิตและเล่าประวัดให้ฟัง  องคตก็เอามือลูบหลัง   ยักษ์ก็พ้นคำสาบ
กลายเป็นเทวดาเหาะไปยังฟากฟ้า



นางบุษมาลี
เป็นอัปสร  ได้ชักสื่อท้าวตาวันเจ้าเมืองมายันให้ได้กับอัปสรชื่อรัมภา  พระอิศวรกริ้ว  ฆ่าท้าวตาวันแล้วปล่อยให้เมืองมายันร้าง
สาปให้นางบุษมาลีไปอยู่คนเดียวที่มายัน สามหมื่นปี
จนกว่าจะพบทหารพระราม  และบอกทางไปลงกาแล้วจึงจะพ้นสาบ
หนุมานไปถวายแหวนเจอนางก่อน      นางบอกทางให้
หนุมานแอ้มนางเสีย(ได้นางเป็นเมีย)
แล้วส่งนางขึ้นสวรรค์



สัมพาที
พญานกสีแดงชาต  พี่นกสดายุ
เมื่ออยู่ที่เขาอัศกรรณกับน้อง  สดายุยังไม่รู้ความ
วันหนึ่งสดายุเห็นดวงอาทิตย์อุทัยคิดว่าเป็นผลไม้สุกลอยอยู่  บินถลาขึ้นไปจับจิกรถทรง
พระอาทิตย์กริ้ว เปล่งแสงร้อนจัดยิ่งขึ้น  
สัมพาทีขึ้นไปบังน้อง  ถูกความร้อนจัด  ขนหลุดหมด  พระอาทิตย์สาบซำ้ว่าไม่ให้ขนขึ้นอีกเลย
ให้อยู่ที่ถ้ำเหมติวัน  ต่อเมื่อทหารพระรามผ่านมาจะไปถวายแหวนที่ลงกา  พักอยู่ที่เขาเหมติวันโห่ขึ้นสามลา  
จึงพ้นสาบ  ขนก็งอกงามตามเดิม
หนุมานก็จัดการตามประสงค์


นางวานริน
นางฟ้าผู้มีหน้าที่ตามประทีป ณ ท้องพระโรงพระอิศวร  ครั้นไฟดับ  พระอิศวรเรียกตัว  นางมิได้ไปจุดเพราะมัวคุยกับเพื่อนเสีย
พระอิศวรสาบให้ไปอยู่ที่เขาอังกาศหรืออากาศคีรี  มีกำหนดจนทหารพระราผ่านมา  นางได้บอกทางแล้วจึงพ้นสาป


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 371  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 08:59

คำถามข้อที่  ๒๙.  ทำไมคนไทยจึงรู้จักและนิยมเรื่องรามเกียรติ์อันมีต้นเค้ามาจากรามายณะ
มากกว่าเรื่องมหาภารตะ  จงอธิบายและตัวอย่างประกอบ
ข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์

ไทยนำมาแต่งเป็นบทละคอน
เป็นพระราชนิยม  คนจึงเห็นสอดคล้อง
คนดูเรียงลำดับได้  เข้าใจเพราะมีท่าร่ายรำมาอธิบาย
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 372  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 09:33

คำถามข้อที่  ๒๖.  ในการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายข้าราชการแต่งโคลงรามเกียรติ์จารึกลงแผ่นศิลา
ประดับที่พระระเบียงในสมัยรัชกาลที่ ๕  มีเจ้านายและข้าราชบริพารคนใดบ้างที่ได้แต่งโคลงดังกล่าว
ใครแต่งโคลงห้องใดบ้าง  กี่บท  จงบอกชื่อยศในขณะนั้นและชื่อยศในกาลต่อมาที่ได้รับครั้งหลังสุด
ข้อนี้  ๓๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์


พระนามและนามที่จารึกไว้ท้ายโคลง


กากนาสูร                                 หลวงฤทธิ์พลไชย
กุมภกรรณ                                ขุนพิสนทสังฆกิจ
ภุมิตัน                                     พระเทพกวี
เกสรทมาลา                               พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร
โกมุท                                      พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค
จักรวรรดิ                                  พระยาราชวรานุกูล
ชมพู                                       ขุนภักดีอาษา
ชมพูพาน                                  พระยาราชวรานุกูล
ชามพูพานวราช                          ขุนภักดีอาษา
ชิวหา                                     ขุนโอวาทวรกิจ
ไชยยามพวาน                           พระเทพกวี
ตรีเศียร                                  กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช
ทศกัณฐ์                                  พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์
ทศคิรีธร, ทศคีรีธร                      พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ
นิลขัน                                     ขุนวิสูตรเสนี
นิลนนท์                                   หมื่นพากย์โวหาร

นิลปานัน                                  พระยาศรีสิงหเทพ
นิลปาสัน                                  ขุนวิสูตรเสนี
นิลพัท                                     ขุนศรีราชอักษร
นิลราช                                    พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค
นิลเอก                                    พระยาศรีสิงหเทพ

เบญกาย                                  หมื่นพากย์โวหาร(เริก)
ผีเสื้อสมุทร                               หมื่นพากย์โวหาร
พาลี                                       กรมหมื่นเทวะวงษ์วโรปการ
พิเภก                                     นายทัด  กุเรเตอร์
พิราพ                                     พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย)
มังกรกัณฐ์                                พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร


มัจฉานุ                                    กรมหมื่นพิชิตปรีชากร
มัยราพณ์, มายูร                         หลวงอินทรอาวุธ
มารัน, มารีศ                             พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค

มาลุนทเกสร                              พระองค์เจ้าโสณบัณพิต
วายุพักตร์                                 สมเด็จกรมพระยาบำราบปรปักษ์

วิมล                                        ขุนมหาสิทธิโวหาร
วิรุญจำบัง                                 หลวงบรรหารอรรถคดี
วิรูปักษ์                                    พระองค์เจ้าดิศวรราชกุมาร
วิสันตราวี                                 กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช

ไวยบุตร                                   ขุนพิสนทสังฆกิจ
สดายุ                                      พระยาราชสัมภารากร
สกัสสเชะ                                  พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์
สัตพลี                                     หลวงอินทรอาวุธ
สำมนักขา                                 ขุนมหาสิทธิวหาร

สุครีพ                                      กรมหมื่นเทวะวงษ์วโรปการ
สุพรรณมัจฉา                             ขุนพิสนท์สังฆกิจ
สุรกานต์                                  พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร
สุรเสน                                     ขุนวิสูตรเสนี
สุริยาภพ                                  พระยาศรีสิงหเทพ


แสงอาทิตย์                               หลวงอินทรอาษา
หนุมาน                                    หลวงบรรหารอัตถคดี
องคต                                      ขุนวิจิตรวรสาตร
อสุรผัด                                    กรมหมื่นพิชิตปรีชากร
อัศกรรณมาราสูร                         กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช
อัศธาดา                                   นายทัดกุเรเตอร์
อากาศประลัย                             พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต
อินทรชิต                                   พระยาศรีสิงหเทพ

สมญาภิธาน       นาคะประทีป
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 373  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 09:34

ถามข้อที่  ๒๖.  ในการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายข้าราชการแต่งโคลงรามเกียรติ์จารึกลงแผ่นศิลา
ประดับที่พระระเบียงในสมัยรัชกาลที่ ๕  มีเจ้านายและข้าราชบริพารคนใดบ้างที่ได้แต่งโคลงดังกล่าว
ใครแต่งโคลงห้องใดบ้าง  กี่บท  จงบอกชื่อยศในขณะนั้นและชื่อยศในกาลต่อมาที่ได้รับครั้งหลังสุด
ข้อนี้  ๓๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์
+++++
(ข้อนี้ไม่น่าจะให้ ๓๐ คะแนน น่าจะให้มากกว่านี้)

กลุ่มที่ ๑

พระศรีสุนทรโวหาร  แผ่นที่ ๑-๑๒ บทที่ ๑-๘๔ จำนวน ๘๔ บท
หลวงฤทธิพลไชย แผ่นที่ ๑๓ – ๒๐ บทที่ ๘๕ – ๑๔๐ จำนวน ๕๖ บท
พระยาสุนทรนุรักษ แผ่นที่ ๒๑ – ๓๒ บทที่ ๑๔๑ – ๒๔๔ จำนวน ๑๐๔ บท
ขุนท่องสื่อคนเก่า แผ่นที่ ๓๓ – ๓๖ บทที่ ๒๔๖ – ๒๕๒ จำนวน ๗ บท
ขุนโอวาทวรกิจ แผ่นที่ ๓๗ – ๔๔ บทที่ ๒๕๓ – ๓๐๒ จำนวน ๕๐ บท
หมื่นนิพนธ์ไพเราะห์ แผ่นที่ ๔๕ – ๕๒ บทที่ ๓๕๗ – ๓๖๓ จำนวน ๗ บท
ขุนมหาสิทธิโวหาร แผ่นที่ ๕๓ – ๖๔ บทที่ ๓๖๔ – ๔๔๘ จำนวน ๘๕ บท
นายเสถียรรักษา แผ่นที่ ๖๕ – ๖๘ บทที่ ๔๔๙ – ๔๖๗ จำนวน ๑๙ บท
พระเทพกระวี แผ่นที่ ๖๙ – ๗๖ บทที่ ๔๗๗ – ๕๓๒ จำนวน ๕๖ บท
พระเจ้าราชวรวงษเธอพระองค์เจ้าบุตรี แผ่นที่ ๗๗ – ๘๐ บทที่ ๕๓๓ – ๕๖๐ จำนวน ๒๘ บท
นายโตเปรียญ แผ่นที่ ๘๑ – ๘๔ บทที่ ๕๖๑ – ๕๘๘ จำนวน ๒๘ บท
หม่อมเจ้าชายดำ แผ่นที่ ๘๕ – ๘๘ บทที่ ๕๘๙ – ๖๑๖ จำนวน ๒๘ บท
จมื่นทิพยเสนา แผ่นที่ ๘๙ – ๙๒ บทที่ ๖๑๗ – ๖๔๔ จำนวน ๒๘ บท
พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าวรวรรณากร แผ่นที่ ๙๓ – ๑๐๐ บทที่ ๖๔๕ – ๖๙๙ จำนวน ๕๖ บท
ขุนวิจิตรวรสาสน์ แผ่นที่ ๑๐๑ – ๑๐๔ บทที่ ๗๐๑ – ๗๒๘ จำนวน ๒๘ บท
หลวงภาษีวิเสศ แผ่นที่ ๑๐๕ – ๑๐๘ บทที่ ๗๒๙ – ๗๕๖ จำนวน ๒๘ บท
นายเสถียรรักษา แผ่นที่ ๑๐๙ – ๑๑๖ บทที่ ๗๕๗ – ๘๑๒ จำนวน ๕๖ บท
นายทัดกุเรเตอร์ แผ่นที่ ๑๑๗ – ๑๒๔ บทที่ ๘๑๓– ๘๖๘ จำนวน ๕๖ บท
หม่อมราชวงษวิน แผ่นที่ ๑๒๕ – ๑๓๒ บทที่ ๘๖๙– ๙๒๔ จำนวน ๕๖ บท
พระยาศรีสิงหเทพ แผ่นที่ ๑๓๓ – ๑๔๘ บทที่ ๙๒๕– ๑๐๓๖ จำนวน ๑๑๒ บท
ขุนพิสนท์สังฆกิจ แผ่นที่ ๑๔๙ – ๑๕๖ บทที่ ๑๐๓๗– ๑๐๙๒ จำนวน ๕๖ บท
พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค แผ่นที่ ๑๕๗ – ๑๖๔ บทที่ ๑๐๙๓– ๑๑๔๘ จำนวน ๕๖ บท
พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าจิตรเจริญ แผ่นที่ ๑๖๕ – ๑๗๒ บทที่ ๑๑๔๙– ๑๒๐๔ จำนวน ๕๖ บท
นายเริกหมื่นพากยโวหาร แผ่นที่ ๑๗๓ – ๑๘๐ บทที่ ๑๒๐๕ – ๑๒๖๐ จำนวน ๕๖ บท
พระยาราชสัมภารากร แผ่นที่ ๑๘๑ – ๑๘๘ บทที่ ๑๒๖๑ – ๑๓๑๖ จำนวน ๕๖ บท
พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นอดิศรอุดมเดช แผ่นที่ ๑๘๙ – ๑๙๒ บทที่ ๑๓๑๗  – ๑๓๔๔ จำนวน ๒๘ บท
พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม แผ่นที่ ๑๙๓ – ๒๐๐ บทที่ ๑๓๔๕  – ๑๔๐๐ จำนวน ๕๖ บท
พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร แผ่นที่ ๒๐๑ – ๒๐๔ บทที่ ๑๔๐๑  – ๑๔๒๘ จำนวน ๒๘ บท
พระยาราชสัมภารากร แผ่นที่ ๒๐๕ – ๒๒๐ บทที่ ๑๔๒๙  – ๑๕๔๐ จำนวน ๑๑๒ บท
หม่อมเจ้าอลังการ แผ่นที่ ๒๒๑ – ๒๓๒ บทที่ ๑๕๔๑  – ๑๖๒๔ จำนวน ๘๔ บท   
พระยาราชวรานุกูล แผ่นที่ ๒๓๓ – ๒๔๔ บทที่ ๑๖๒๕  – ๑๗๐๘ จำนวน ๘๔ บท
ขุนปฎิภาณพิจิตร แผ่นที่ ๒๔๕ – ๒๔๘ บทที่ ๑๗๐๙  – ๑๗๓๖ จำนวน ๒๘ บท
พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นเทวะวงษวโรประการ แผ่นที่ ๒๔๙ – ๒๕๖ บทที่ ๑๗๓๗  – ๑๗๙๒ จำนวน ๕๖ บท
หลวงอินทรอาวุธ แผ่นที่ ๒๕๗ – ๒๖๔ บทที่ ๑๗๓๗  – ๑๘๔๘ จำนวน ๑๑๒ บท
พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ แผ่นที่ ๒๖๕ – ๒๖๘ บทที่ ๑๘๔๙  – ๑๘๗๖ จำนวน ๒๘ บท
พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าโสณบัณฑิตย์ แผ่นที่ ๒๖๙ – ๒๗๖ บทที่ ๑๘๗๗  – ๑๙๓๒ จำนวน ๕๖ บท
ขุนวิสุทธากร แผ่นที่ ๒๗๗ – ๒๙๒ บทที่ ๑๙๓๓  – ๒๐๔๔ จำนวน ๑๑๒ บท   
สมเด็จพระเจ้าบรมวงษเธอเจ้าฟ้ามหามาลากรมพระบำราบปรปักษ แผ่นที่ ๒๙๓ – ๓๐๔ บทที่ ๒๐๔๕  – ๒๑๒๘ จำนวน ๘๔ บท
ขุนวิสูตรเสนี แผ่นที่ ๓๐๕ – ๓๑๒ บทที่ ๒๑๒๙  – ๒๑๘๔ จำนวน ๕๖ บท
ขุนพินิจจัย แผ่นที่ ๓๑๓ – ๓๒๐ บทที่ ๒๑๘๕  – ๒๒๔๐ จำนวน ๘๔ บท
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 374  เมื่อ 15 ม.ค. 11, 09:49

คำถามข้อที่  ๒๘.  แม่น้ำคงคาลงมาสู่พื้นโลกมนุษย์ได้อย่างไร?  
จงเล่าสาเหตุและตำนานนั้นอย่างละเอียด  พร้อมบอกด้วยว่าเกี่ยวกับเรื่องพระรามอย่างไรข้อนี้  ๑๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์
++

ตำนานนี้มีอยู่ด้วยกัน ๒ ตำนาน แต่ก็สรุปรวมได้ไปทางเดียวกันคือ น้ำมาจากพระแม่คงคา ไหลผ่านพระเกศาแห่งองค์พระศิวะ แล้วค่อยๆไหลรินสู่พื้นโลก ดังตำนานดังนี้

คัมภีร์ภควัตปุราณะและมหากาพย์มหาภารตะเล่าว่า ครั้งหนึ่งกษัตริย์สาคร ซึ่งมีโอรสหกหมื่นองค์
(จากชายาองค์ที่สอง) และพระราชโอรสหนึ่งองค์จากอัครมเหสี ได้ประกอบพิธีอัศวเมธ (ปล่อยม้าอุปการ)
เพื่อสร้างมงคลและประกาศบุญญาภินิหาร แต่พระอินทร์ทรงเกรงว่ากษัตริย์สาครจะมีอำนาจยิ่งใหญ่กว่าพระองค์
จึงทรงขโมยม้าไปผูกไว้ที่อาศรมฤๅษีกบิล

โอรสของกษัตริย์สาครเสด็จออกติดตามหาม้า พบว่าอยู่ที่อาศรมของฤๅษี จึงเข้าไปด่าว่าและทำร้าย
ฤๅษีกบิลโกรธ สาปให้ไฟเผาโอรสทั้งหมดจนกลายเป็นขี้เถ้า

กษัตริย์สาครส่งหลานชื่ออังศุมัต (Amsumat) ออกตามหาโอรสและม้าอุปการจนพบ ฤาษีได้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้น
และอนุญาตให้นำม้ากลับไปพร้อมกับบอกวิธีที่จะทำให้เหล่าโอรสทั้งหมดไปสู่สวรรค์
คือต้องให้แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ (คงคา) ไหลมาชำระเถ้าถ่านอัฐิของโอรสเหล่านั้น

เหล่ากษัตริย์ในตระกูลท้าวสาครได้เริ่มพิธีสวดอ้อนวอน จนถึงรุ่นหลานของอังศุมัต นามว่า ท้าวภคีรส
(Bhagirath) พระองค์ทรงบำเพ็ญอย่างหนัก จนพระนางคงคาทรงยินยอมลงมายังโลก
และการนี้ต้องหาผู้รองรับกระแสน้ำไว้ก่อน เพราะหากกระแสน้ำตกมายังโลกโดยตรงจะทำให้แผ่นดินสลาย

ท้าวภคีรสจึงทรงสวดอ้อนวอนพระศิวะขอให้ทรงช่วยรองรับ พระศิวะก็ทรงยินยอม
โดยให้พระแม่คงคาไหลลงมายังชฎามกุฏ และเวียนอยู่ในมุ่นมวยพระเกศาของพระองค์เพื่อลดความรุนแรงลงก่อน
จากนั้นจึงทรงปล่อยให้ไหลสู่พื้นโลก

ในที่สุด ท้าวภคีรสก็นำพระแม่คงคาไปชำระล้างพระอัฐิบรรพบุรุษของพระองค์ได้สำเร็จ

ตำนานบางเล่มของอินเดียเล่าถึงเรื่องราวการเสด็จลงมาจากสวรรค์ของพระนางคงคาแปลกออกไปว่า

ครั้งหนึ่ง มีอสูรซึ่งชอบกลั่นแกล้งรบกวนฤาษีที่กำลังปฏิบัติกิจพิธี
และเมื่อถูกขับไล่ก็จะหลบหนีลงไปอยู่ในมหาสมุทร แล้วย้อนมากลั่นแกล้งอีกในเวลากลางคืน เหล่าฤาษีอคัสตยะ
(Agastya) ช่วยเหลือ

พระอคัสตยะใช้วิธีกลืนมหาสมุทรเข้าไปทั้งหมด (รวมถึงอสูรเหล่านั้นด้วย)
แต่วิธีดังกล่าวทำให้น้ำเหือดแห้ง ผู้คนไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้
จึงไปอ้อนวอนมุนีภคีรสให้ช่วยแม่น้ำสวรรค์ลงมาสู่โลกมนุษย์

พระมุนีก็ยินยอม โดยปฏิบัติโยคะบูชาขอพรต่อพระพรหมเป็นเวลานับพันปี
จนพระพรหมทรงพอพระทัยในการบำเพ็ญเพียรของภคีรส จึงพากันไปเฝ้าพระศิวะขอให้ทรงช่วยเหลือ
เนื่องจากปล่อยกระแสน้ำตกลงมาบนโลกโดยตรง พลังและน้ำหนักอันมหาศาลก็จะทำให้โลกเกิดภัยพิบัติ

พระศิวะจึงทรงยินยอมให้พระนางคงคาไหลลงมาสู่มุ่นมวยพระเกศาของพระองค์ก่อน แล้วปล่อยลงมาสู่พื้นโลก
เพื่อให้เป็นที่ชำระล้างบาปบรรเทาความเจ็บปวด อำนวยโชคและความสำเร็จ

พระศิวะในภาคคงคามูรติ; มีสี่กร ทรงถือขวาน กวางเผ่น
และอีกสองกรทรงทำท่าประทานอภัยและวิตรรกะ (แสดงการสั่งสอน) ยืนเหยียดพระบาทขวาตรง งอพระบาทซ้ายเล็กน้อย
บางครั้งอาจประทับร่วมกับพระนางปารวตี โดยพระศิวะทรงใช้พระกรซ้ายหน้าตระกองกอด
และพระหัตถ์ขวาเชยพระหนุของพระนางปารวตี

สำหรับพระหัตถ์ขวาด้านหลังทรงถือขวานที่ยกขึ้นระดับมุ่นมวยพระเกศาอันเป็นที่สถิตของพระแม่คงคา
ส่วนพระหัตถ์ซ้ายหลังทรงถือกวางเผ่น

พระนางปารวตีทรงถือดอกไม้ไว้ในพระหัตถ์ซ้าย พระกรขวาแนบลำพระองค์

นอกจากนี้ ด้านซ้ายยังมีรูปท้าวภคีรสรวมอยู่ในกลุ่มของฤาษี ผู้บูชาพระศิวะด้วย

คัดมาจากหนังสือ - ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู
โดย - อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

คุณไซมิสตอบมานั้น  ละเอียดดี
แต่ชื่อบางชื่อ เอกสารทีอ้างนั้นเขียนไม่ถูก
กษัตริย์สาคร ที่ถูกคือ  ท้าวสัคร  
เมื่อพระคงคาได้เกิดเพราะท้าวสัคร จึงได้ชื่อ สาคร

ท้าวภคีรส  ที่ถูกต้อง  ท้าวภคีรถ
เมื่อพระคงคาได้เกิดเพราะท้าวภคีรถ จึงได้ชื่อ ภคีรถี

เรื่องฤษีกบิล  หรือฤษีตาไฟนั้น
เป็นเพราะโอรสท้าวสัครขุดแผ่นดินอย่างบ้าคลั่ง
หาม้าอุปการที่พระอินทร์ขโมยไป
พระเป็นเจ้าเกรงว่าโอรสท้าวสัครจะขุดแผ่นดินวินาสหมด
จึงให้พระวิษณุไปห้าม  
พระวิษณุจึงแปลงเป็นฤษีไปว่อนตัวอยุ่ในแผ่นดิน
โอรสท้าวสัครขุดมาเจอก็จะรุมทำร้าย
ฤษีกบิลจึงเอาไฟจากตาเผาโอรสท้าวสัครกลายเป็นกระดูกหมด
ไม่มีเอกสารอ้างอิง เพราะอ่านแล้วจำได้เอง

ที่คุณไซมิสยังไม่ได้ตอบว้าตำนานนี้เกี่ยวกับพระรามอย่างไรนะครับ

ตอนนี้เอาไปก่อน  ๗ คะแนน  (หักที่เขียนชื่อผิดด้วย)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 23 24 [25] 26 27 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 20 คำสั่ง