เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 113339 ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้) ๑
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 285  เมื่อ 13 ม.ค. 11, 11:46

สาเหตุที่ทำให้ขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภคคืออะไร
และมีวิธีการจัดการปัญหาอย่างไร  ฮืม  จงอธิบายให้ละเอียด


น้ำที่ไหลไปเขามรกต  ถูกกุมภกรรณไปทดน้ำทางเหนือน้ำ  ปิดทางน้ำไหลลง

กุมภกรรณได้แปลงร่างให้สูงใหญ่เท่าภูเขา  ลงกั้นทางอยู่ใต้น้ำ  มองไม่เห็นจากด้านบน
หรือบริเวณใกล้เคียง       บริกรรมไปด้วย  คือหายใจน่ะ
กุมภกรรณถึงจะตัวใหญ่และนอนได้นานแสนนาน  แต่ก็ต้องหายใจ
ที่ปิดไม่หมดนี้ก็คงมีน้ำไหลบ้างเล็กน้อย  แต่คงกระจายไป จนแห้งผากในที่สุด
น้ำแห้งหมด กองทัพลิงไม่มีอาบกิน

หนุมานได้แปลงร่างเป็นนางกำนัลเก็บดอกไม้เพื่อลวงถามว่ากุมภกรรณอยู่ที่ไหน
ได้ข้อมูลเบื้องต้นว่า  ที่ตั้งของการทดน้ำรู้กันระหว่าง นางคันธมาลีกับสี่นางกำนัลที่เก็บดอกไม้
หนุมานแปลงเป็นเหยี่ยว บินไปดูรอบๆ
จับนางคนหนึ่งไปไปขยี้ในท้องฟ้าแล้วแปลงตัวเป็นนางนั้น  กลับมาร่วมกลุ่ม
นางอีก ๔ คนไม่สงสัย    ตอนบ่ายก็พากันยกพานดอกไม้ไปร่วมบูชา

หนุมานตามไปในกลุ่ม  สังเกตเห็นที่น้ำไม่ไหลวน  จึงแปลงตัวโตเท่าภูเขา  แหวกน้ำลงไป  
ต่อสู้กุมภกรรณด้วยตรีเพขร  โดยการเหยียบเข่า ดึงหัวลง

เมื่อเขื่อนหาย  คือว่า ยุบคืนตัวไปในตอนนี้น้ำก็ไหลแล้ว
กุมภกรรณหนีเข้านครไม่อยากตายในมือลิง

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 286  เมื่อ 13 ม.ค. 11, 11:48


ริบเรือนไม่เท่าไร    ริบสวนส้มที่บางมด ยอมไม่ได้
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 287  เมื่อ 13 ม.ค. 11, 12:03


ริบเรือนไม่เท่าไร    ริบสวนส้มที่บางมด ยอมไม่ได้

อืมม์  นั่นเป็นจุดหัวใจสำคัญทางยุทธศาสตร์
สายรายงานมาว่า  ถ้าถุกยึดได้จะทำให้คู่ต่อสู้บางคนเดือดร้อนมาก ถึงมากที่สุด
ริบเรือน ริบสวนก็เท่านั้น  ผมถนัดกวาดต้อนเชลยมากกว่า
บางทีก็หาเชลยเข้าพวกปักสะดึงด้วย ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 288  เมื่อ 13 ม.ค. 11, 12:12


ริบเรือนไม่เท่าไร    ริบสวนส้มที่บางมด ยอมไม่ได้

อืมม์  นั่นเป็นจุดหัวใจสำคัญทางยุทธศาสตร์
สายรายงานมาว่า  ถ้าถุกยึดได้จะทำให้คู่ต่อสู้บางคนเดือดร้อนมาก ถึงมากที่สุด
ริบเรือน ริบสวนก็เท่านั้น  ผมถนัดกวาดต้อนเชลยมากกว่า
บางทีก็หาเชลยเข้าพวกปักสะดึงด้วย ยิงฟันยิ้ม

จะขึ้นสะดึง ปักดิ้นละคร แข่งกระนั้นหรือ ตกใจ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 289  เมื่อ 13 ม.ค. 11, 12:35

คำถามข้อที่ ๒๓  คุณวันดีตอบได้วิตถารมาก  เอาไปเต็มที่ ๓๐ คะแนน
คุณsiamese ตอบมาอย่างย่อๆ เอาไป ๑๐ คะแนน
(เนื่องจากนายแพทย์ผู้ให้คำถามบอกว่า
สาเหตุ อาการ  ตัวยาและวิธีการรักษาไม่ละเอียด
จึงไม่อาจจะเจียดคะแนนให้ได้ทั้งหมด)

ส่วนคำถาม ข้อที่ ๒๑. คุณวันดีได้ไป ๑๐ คะแนน
ส่วนอีกสองท่านที่ตอบเพิ่มเติมมา  ไม่มีผลให้เพิ่มคะแนนได้
(เจ้าหน้าที่กรมชลฯ ฝากบอกมาว่า
นี่แสดงให้เห็นว่า  ผู้เข้าร่วมทำศึกอ่านตำราพิชัยสงครามเล่มหลักไม่ครบ
จึงตอบได้เฉพาะในระดับน้ำผิวดินเท่านั้น)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 290  เมื่อ 13 ม.ค. 11, 12:51

พลาดท่าเสียรู้เจ้าหน้าที่กรมชลประทานไปแล้วครั้งหนึ่ง หวังว่าคงไม่พลาดท่ากับคนจากกรมพระอุเทนอีกนะ อายจัง

คำถามข้อที่  ๒๒.  คำถามนี้  เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรส่งเข้าประกวด
ถ้านาย ก  อยากจะตั้งคณะละครหรือโขนรับจ้างแสดงทั่วราชอาณาจักรสยาม ในสมัย ร,ศ, ๑๑๓
เขาอยากทราบกฎเกณฑ์และอัตราการเก็บอากรมหรสพในสมัยรัชกาลที่ ๕
ว่ามีรายละเอียดอย่างไรบ้าง  พร้อมอ้างอิงเอกสารหลักฐานประกอบ
ข้อนี้  ๒๐  คะแนน  ตอบหน้าไมค์

ถ้านาย ก. อยากจะเป็นนายโรง ต้องไปศึกษาอัตราการเก็บภาษีโขนละคร พ.ศ. 2402 ในสมัยรัชกาลที่ 4
(ปรากฏอยู่ในตำนานเรื่องละครอิเหนา)

ละครโรงใหญ่เล่นเรื่องละครใน
เล่นเรื่องรามเกียรติ์ เล่นวันกับคืน 1 หรือวัน 1 ภาษี 20 บาท
เล่นเรื่องอิเหนา เล่นวันกับคืน 1 หรือวัน 1 ภาษี 16 บาท
เล่นเรื่องอุณรุท เล่นวันกับคืน 1 หรือวัน 1 ภาษี 12 บาท
ละครเล่นเรื่องละครนอก
ละครกุมปนี คือเลือกคัดแต่ตัวดีเล่นประสมโรงกัน เล่นวัน 1 ภาษี 4 บาท
ละครสามัญ เล่นงานปลีก เล่นวันกับคืน 1 ภาษี 3 บาท
ละครสามัญ เล่นงานปลีก เล่นวัน 1 ภาษี 2 บาท
ละครสามัญ เล่นงานปลีก เล่นคืน 1 ภาษี 1 บาท
ละครเล่นงานเหมา เล่นวันกับคืน 1 ภาษี 1 บาท 50 สตางค์
ละครเล่นงานเหมา เล่นวัน 1 ภาษี 1 บาท
ละครเล่นงานเหมา เล่นคืน 1 ภาษี 50 สตางค์

ละครหลวง และละครที่เกณฑ์เล่นงานหลวง ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี

โขน เล่นวัน 1 ภาษี 4 บาท
ละครหน้าจอหนัง เล่นเรื่องรามเกียรติ์ ตัวละครตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไป เล่นคืน 1 ภาษี 2 บาท 50 สตางค์
ละครชาตรีและละครแขก เล่นวัน 1 ภาษี 50 สตางค์
เพลง เล่นวัน 1 ภาษี 1 บาท
แคน มอญรำ ทวายรำ เล่นวัน 1 ภาษี 50 สตางค์
กลองยาว เล่นวัน 1 ภาษี 12 สตางค์ครึ่ง
หุ่นไทย เล่นวัน 1 ภาษี 1 บาท
หนังไทย เล่นคืน 1 ภาษี 50 สตางค์
งิ้ว เล่นวัน 1 ภาษี 4 บาท
หุ่นจีน เล่นวัน 1 ภาษี 1 บาท
หนังจีน เล่นวัน 1 ภาษี 50 สตางค์

ต่อมาในรัชกาลที่ 5 มีการออกประกาศแก้ไขภาษีโขนละคร เมื่อวันที่ 1 มีนาคม รศ. 111 (พ.ศ. 2435)
ซึ่งในครั้งนี้เปลี่ยนการเรียก "ภาษีโขนละคร" มาเป็น "อากรมหรสพ" แทน
และยังเพิ่มเติมการเล่นต่างๆ ในชั้นหลังอีกเช่น
ละครชาตรี ที่เล่นเทียมละครนอก      ภาษีวันละ 4 บาท
หนังตะลุง                                  ภาษีคืนละ 50 สตางค์
สักวา                                       ภาษีคืนละ 1 บาท
เสภา                                        ภาษีคืนละ 50 สตางค์
ลิเก                                          ภาษีคืนละ 2 บาท
ปี่พาทย์ มโหรี กลองแขกเครื่องใหญ่  ภาษีวันละ 1 บาท
ปี่พาทย์ มโหรี กลองแขกเครื่องเล็ก   ภาษีวันละ 50 สตางค์
จำอวดสวดศพ                             ภาษีคืนละ 8 บาท

(อ้างอิงจากแหล่งเดียวกัน เพราะหาในราชกิจจานุเบกษาแล้วไม่เจอ)

โถ  พ่อคุณ  พ่ออุตส่าห์คัดสำเนามาตอบตามหนังสือเป๊ะๆ เทียว
ไอ้ที่ไม่ได้ถามก็ลอกเอามาให้ด้วย  (แต่เสียใจว่า  ไม่สามารถให้คะแนนได้)
ส่วนที่ถามก็ตอบมาไม่ครบไม่ละเอียด  จึงให้ได้ ๔ คะแนน
สงสัยใจไปอยู่ที่สวนส้ม  (กลัวถูกริบกระมัง ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม)
เรียกขวัญกลับมาสู่กายเถิด  ช่วงนี้ยังไม่มีฤกษ์ไปยึดสวนส้มดอก
กะว่าไปเล็งๆ ยึดแถวเอราวัณก่อน ยิ้มกว้างๆ
ถ้าตอบไม่ได้  อาจจะต้องมีการริบ LL.B. แทนกระมัง
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 291  เมื่อ 13 ม.ค. 11, 12:53


ริบเรือนไม่เท่าไร    ริบสวนส้มที่บางมด ยอมไม่ได้

อืมม์  นั่นเป็นจุดหัวใจสำคัญทางยุทธศาสตร์
สายรายงานมาว่า  ถ้าถุกยึดได้จะทำให้คู่ต่อสู้บางคนเดือดร้อนมาก ถึงมากที่สุด
ริบเรือน ริบสวนก็เท่านั้น  ผมถนัดกวาดต้อนเชลยมากกว่า
บางทีก็หาเชลยเข้าพวกปักสะดึงด้วย ยิงฟันยิ้ม

เกรงว่าสายของคุณหลวงคงยังมิทราบ

เชลยที่คุณหลวงหมายตาไว้ให้ปักสะดึงขึงผ้านั้น ตอนนี้ถูกกองเกียกกายกวาดต้อนจากสวนส้มเข้าอาศัยในเมืองแล้ว
หากคุณหลวงต้องการจริง คงต้องปีนกำแพงระเนียดยึดเมืองเสียให้ได้ก่อน แลบลิ้น
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 292  เมื่อ 13 ม.ค. 11, 12:58


เกรงว่าสายของคุณหลวงคงยังมิทราบ

เชลยที่คุณหลวงหมายตาไว้ให้ปักสะดึงขึงผ้านั้น ตอนนี้ถูกกองเกียกกายกวาดต้อนจากสวนส้มเข้าอาศัยในเมืองแล้ว
หากคุณหลวงต้องการจริง คงต้องปีนกำแพงระเนียดยึดเมืองเสียให้ได้ก่อน แลบลิ้น

ถนอมไว้ปานไข่ในหิน  ไม่เป็นไร  ไม่เอาก็ได้  ไปเกณฑ์แถวๆ ปากน้ำมาก็ได้
ได้ข่าวว่าขยันดี ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 293  เมื่อ 13 ม.ค. 11, 13:14

แก้ตัวจากคำถามฝากมาของคนกรมพระอุเทน ยิงฟันยิ้ม

ตามพระราชบัญญัติอากรมหรสพ ร.ศ. 111
1. นาย ก. ต้องได้รับอาชญาบัตรจากเจ้าพนักงานออกอาชญาบัตรเสียก่อน มิฉะนั้นจะเล่นมหรสพทั้งปวงมิได้ (มาตรา 3)
2. อาชญาบัตรจะออกโดยเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ สามารถออกอาชญาบัตรได้ทั่วพระราชอาณาเขต (มาตรา 4)
3. นาย ก. ต้องไปขอรับอาชญาบัตรจากเจ้าพนักงาน และจ่ายเงินภาษีอากรตามตารางพิกัด เมื่อจ่ายแล้วถือว่าเรียบร้อย (มาตรา 5)
4. ถ้านาย ก. เล่นมหรสพโดยไม่มีอาชญาบัตร จะถูกปรับ 300 บาท (มาตรา 6)

พิกัดเงินค่าอาชญาบัตรเล่นมหรสพ (ตามมาตรา 5)
โขนเจรจา                 วันหนึ่ง 4 บาท คืนหนึ่ง 4 บาท ทั้งวันทั้งคืน 4 บาท
ละครเรื่องรามเกียรติ์      วันหนึ่ง 20 บาท คืนหนึ่ง 20 บาท ทั้งวันทั้งคืน 20 บาท
ละครเรื่องอิเหนา     วันหนึ่ง 16 บาท คืนหนึ่ง 16 บาท ทั้งวันทั้งคืน 16 บาท
ละครเรื่องอนิรุทธ      วันหนึ่ง 12 บาท คืนหนึ่ง 12 บาท ทั้งวันทั้งคืน 12 บาท
ละครเหมาเรื่องเบ็ดเตล็ด วันหนึ่ง 1 บาท คืนหนึ่ง 1 บาท ทั้งวันทั้งคืน 1 บาท 50 สตางค์
...และอื่นๆ อีกมากมายตามตารางท้ายพระราชบัญญัติ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 294  เมื่อ 13 ม.ค. 11, 13:24

แก้ตัวจากคำถามฝากมาของคนกรมพระอุเทน ยิงฟันยิ้ม

ตามพระราชบัญญัติอากรมหรสพ ร.ศ. 111
1. นาย ก. ต้องได้รับอาชญาบัตรจากเจ้าพนักงานออกอาชญาบัตรเสียก่อน มิฉะนั้นจะเล่นมหรสพทั้งปวงมิได้ (มาตรา 3)
2. อาชญาบัตรจะออกโดยเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ สามารถออกอาชญาบัตรได้ทั่วพระราชอาณาเขต (มาตรา 4)
3. นาย ก. ต้องไปขอรับอาชญาบัตรจากเจ้าพนักงาน และจ่ายเงินภาษีอากรตามตารางพิกัด เมื่อจ่ายแล้วถือว่าเรียบร้อย (มาตรา 5)
4. ถ้านาย ก. เล่นมหรสพโดยไม่มีอาชญาบัตร จะถูกปรับ 300 บาท (มาตรา 6)

พิกัดเงินค่าอาชญาบัตรเล่นมหรสพ (ตามมาตรา 5)
โขนเจรจา                 วันหนึ่ง 4 บาท คืนหนึ่ง 4 บาท ทั้งวันทั้งคืน 4 บาท
ละครเรื่องรามเกียรติ์      วันหนึ่ง 20 บาท คืนหนึ่ง 20 บาท ทั้งวันทั้งคืน 20 บาท
ละครเรื่องอิเหนา     วันหนึ่ง 16 บาท คืนหนึ่ง 16 บาท ทั้งวันทั้งคืน 16 บาท
ละครเรื่องอนิรุทธ      วันหนึ่ง 12 บาท คืนหนึ่ง 12 บาท ทั้งวันทั้งคืน 12 บาท
ละครเหมาเรื่องเบ็ดเตล็ด วันหนึ่ง 1 บาท คืนหนึ่ง 1 บาท ทั้งวันทั้งคืน 1 บาท 50 สตางค์
...และอื่นๆ อีกมากมายตามตารางท้ายพระราชบัญญัติ
 

แนบเอกสารมาด้วยซิ จะเพิ่มคะแนนให้
แต่เดี๋ยวก่อน  จงตอบคำถามต่อไปนี้ด้วย

๑.เจ้าพนักงานออกอาชญาบัตร  หมายถึงใคร?
๒.เงินค่าปรับ ไม่เกิน ๓๐๐ บาท เมื่อปรับแล้วเอาไปไหน?
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 295  เมื่อ 13 ม.ค. 11, 13:31

จัดให้หนักเลยคุณ Art47 เนี่ยจัดปักเสาพร้อมแล้ว ผู้คนมาแล้ว รอแต่อาญาบัตร

ภาพโรงมหรสพสมัยรัชกาลที่ ๕


บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 296  เมื่อ 13 ม.ค. 11, 13:33

เอกสารอ้างอิงเอามาจาก ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 10 หน้า 71 เรื่อง "พระราชบัญญัติอากรมหรสพ รัตนโกสินทร์ศก 111"

และจงตอบคำถามต่อไปนี้ด้วย
๑.เจ้าพนักงานออกอาชญาบัตร  หมายถึงใคร?
เจ้าพนักงานออกอาชญาบัตร หมายถึง เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตให้ประกอบการค้าขายหรือกระทำการต่างๆ
ตามที่พระราชบัญญัติได้ให้อำนาจไว้ เช่น กรณีของอากรมหรสพ คือเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร

๒.เงินค่าปรับ ไม่เกิน ๓๐๐ บาท เมื่อปรับแล้วเอาไปไหน?
เงินค่าปรับนั้น ถ้าปรับในเขตแขวงที่มิได้ตั้งนายอากรไว้ ก็ให้เงินปรับไหมตกเป็นพินัยหลวงทั้งหมด
แต่ถ้าเขตนั้นมีนายอากร เงินปรับไหมก็จะเป็นของนายอากรครึ่งหนึ่ง พินัยของหลวงครึ่งหนึ่ง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 297  เมื่อ 13 ม.ค. 11, 13:35


การทดสอบฝีมือ ณ ที่นี้ต้องสอบพิไชยสงครามด้วยฤา

ครูผู้ดุเดือดเลือดสาดของข้าพเจ้า     ได้สั่งว่า  จงสอบพอผ่านเหมือนศิษย์ผู้พี่ เสมา ช่างเหล็กเถิด

งำประกายไว้บ้างเพราะมูลนายจะชัง     และที่สำคัญจะมาแอบแฝงลอบยืมตำราทั้งปวงที่ท่านได้ประสิทธิ์ประสาทไว้

ชะ ชะ  พิชัยสงครามฉบับหลัก

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 298  เมื่อ 13 ม.ค. 11, 14:01

เอกสารอ้างอิงเอามาจาก ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 10 หน้า 71 เรื่อง "พระราชบัญญัติอากรมหรสพ รัตนโกสินทร์ศก 111"

และจงตอบคำถามต่อไปนี้ด้วย
๑.เจ้าพนักงานออกอาชญาบัตร  หมายถึงใคร?
เจ้าพนักงานออกอาชญาบัตร หมายถึง เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตให้ประกอบการค้าขายหรือกระทำการต่างๆ
ตามที่พระราชบัญญัติได้ให้อำนาจไว้ เช่น กรณีของอากรมหรสพ คือเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร


กฎหมายท่านระบุไว้มิใช่หรือว่า ได้แก่ใครบ้าง
ผมอยากได้ หน้า ๗๓ มาลงด้วย  คะแนนเต็มผมจัดลงพานรอไว้แล้ว
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 299  เมื่อ 13 ม.ค. 11, 14:10

เรียบร้อยแล้วกระมั้งขอรับ ยิงฟันยิ้ม

* พระราชบัญญัติอากรมหรสพ.pdf (203.27 KB - ดาวน์โหลด 328 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 20 คำสั่ง