เนื่องจากต้องการทราบถึงคติการวาดภาพที่พระระเบียง ว่ารัชกาลที่ ๑ ทรงได้เค้าหรือแบบอย่างมาได้อย่างไร
อธิบายยาก เพราะไม่มีอะไรยืนยันพระราชดำรินั้นได้ชัดเจนว่ามีพระราชดำริประการใด
ผมเองไม่แน่ใจว่า ภาพจิตรกรรมที่วัดพระแก้วนี้วาดในรัชกาลใดแน่ รัชกาลที่ ๑ ? หรือรัชกาลที่ ๓?
ต้องไปดูในจดหมายเหตุการปฏิสังขรณ์วัดพระแก้วในรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๕ ประกอบ
แต่ถ้าให้อธิบายตามความเข้าใจ คงต้องอิงกับเรื่อง
พระมหากษัตริย์เป็นหลัก เพราะพระรามเป็นกษัตริย์ตามคติไทยด้วยเหมือนกัน
อีกทั้งเรื่องพระรามก็เป็นนิยายประจำราชสำนักมายาวนานตั้งแต่สมัยอยุธยา
การวาดเรื่องพระรามในวัดพุทธแม้จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา
แต่อาจจะหมายถึงกษัตริย์ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาได้กระมัง
จะว่าไปแล้ว รัชกาลที่ ๑ ทรงเห็นว่าเรื่องพระรามเป็นนิยายไสย ไม่มีแก่นสาร
ถึงจะทรงพระราชนิพนธ์ไว้ หรือวาดภาพไว้ ก็เพื่อรักษาเรื่องรามเกียรติ์
ให้สมบูรณ์เพื่อลูกหลานภายหลังจะได้รู้จักเรื่อง อันนี้เป็นพระบรมราโชบาย
ที่จะฟื้นฟูวิทยาการความรู้ต่างๆ ที่ขาดหายไปในระหว่างสงครามเสียกรุงศรีอยุธยา
สืบต่อจากสมัยธนบุรีที่ได้เริ่มทำไว้บ้างบางส่วน ให้สมบูรณ์ เนื่องสภาพบ้านเมือง
เป็นปึกแผ่นมากขึ้น แม้จะมีศึกสงครามก็เป็นหัวเมืองห่างไกลจากพระนคร
และมีน้อยลงมาก (ดูกลอนเพลงยาวท้ายเรื่องบทละครรามเกียรติ์)
อธิบายอย่างนี้ คงพอฟังได้กระมัง ใครมีความรู้ดีกว่านี้เชิญเกทับบลัฟกันได้
ไม่ว่ากัน ยินดีเสียด้วยสิ
