เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 29
  พิมพ์  
อ่าน: 113493 ๑๐๐ คำถามเรื่องรามเกียรติ์ (สำหรับแฟนพันธุ์แท้) ๑
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 09:43

เริ่มการแข่งขัน ยิงฟันยิ้ม


คำถามข้อที่ ๑. ถ้าเอ่ยถึงประติมากรรมที่เกี่ยวกับเรื่องรามเกียรติ์แล้ว 
หลายคนคงนึกถึงประติมากรรมรูปปั้นยักษ์ที่ประตูทางเข้าในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม   
คำถามคือ   รูปปั้นยักษ์ที่ประตูทางเข้าในวัดพระศรีรัตนศาสดารามในปัจจุบัน   มีทั้งหมดกี่ตน     
จงบอกชื่อ  ลักษณะรูปร่าง สี เครื่องแต่งกายของยักษ์แต่ละตน   
พร้อมจับคู่และบอกตำแหน่งประตูที่ยักษ์แต่ละคู่ยืน    ยังไม่หมดเท่านั้น   
จงเล่าด้วยว่า ในการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามในสมัยรัชกาลที่ ๕ 
มีเจ้านายพระองค์ใดบ้างที่ทรงรับหน้าที่บูรณะและสร้างรูปปั้นยักษ์
(ตอบให้ครบนะครับ)


คำถามข้อที่ ๒. จงดูภาพแล้วตอบคำถามต่อไปนี้ 
ภาพจิตรกรรมนี้เป็นเรื่องรามเกียรติ์ตอนใด   จงเล่าเรื่อง   
ภาพจิตรกรรมนี้อยู่ในห้องลำดับที่เท่าใดในพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม 
ใครเป็นผู้แต่งโคลงรามเกียรติ์ห้องนี้    โคลงรามเกียรติ์ห้องนี้ยาวกี่บท
ใครเป็นผู้เขียนภาพนี้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๓   
และใครเป็นผู้มาเขียนซ่อมในปี พ.ศ. ๒๕๑๙



บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 10:02

ภาพจิตรกรรมนี้เป็นเรื่องรามเกียรติ์ตอนใด   จงเล่าเรื่อง  
ภาพจิตรกรรมนี้อยู่ในห้องลำดับที่เท่าใดในพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ใครเป็นผู้แต่งโคลงรามเกียรติ์ห้องนี้    โคลงรามเกียรติ์ห้องนี้ยาวกี่บท
ใครเป็นผู้เขียนภาพนี้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๓  
และใครเป็นผู้มาเขียนซ่อมในปี พ.ศ. ๒๕๑๙


ห้อง ๑๑๕  อัศกรรณมาลาแตกตัวมากมาย

อัศกรรณมาลา หรือ อัศกรรณมาลาสูร   เป็นสัมพันธมิตรของทศกัณฐ์  ครองกรุงดุรัม
หน้าม่วงแก่สองชั้น  เจ็ดหน้า
นำทศคิรีวันและทศคิรีธรลูกทศกัณฐ์ที่เกิดด้วยช้างพังไปเลี้ยง  
เมื่อทราบว่าบุตรบุตรธรรมทั้งสองตายด้วยข้าศึก  ก็ยกทัพไปรบกับพระราม
มีฤทธิ์คือเมื่อตัวขาดออกจากกัน  ก็กลายเป็นสองคน  และขาดจากสองคนเป็นสี่คน แปดคน  จนถึงพัน ตามพรพระอิศวร
ซึ่งลงท้ายว่าถ้าใครตัดหัวขาดแล้วกวาดลงน้ำคงคาเสีย  จึ่งจะตาย   พระรามจึงแผลงศรพรหมมาสตร์ไปตัดหัวอัศกรรณทั้งพัน  
แล้วเกิดลมกรดพัดหอบร่างไปทิ้งที่แม่คงคา

ผู้เขียน ในปี ๒๔๗๓ คือ ร.ต. เขมี  ตาละลักษณ์
ผู้ซ่อมใน ๒๕๑๙ คือ พ.ต.ท. อำพัน  ศิรสงเคราะห์

โคลงมี     ๒๘    บท
ผู้แต่งคือ  ขุนท่องสื่อคนเก่า
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 10:07

สหายชาวปากน้ำ

ทิ้งข้อแรกไว้ด้วยเถิด ใกล้จะเสร็จแล้ว
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 10:26

สมบูรณ์หรือยังคะ

เดี๋ยวต้องไปตรวจ หนังสือเก่าสยามประเภท เล่ม ๕    ที่สหายจะนำมาตอน ๑๑๐๐ น.
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 10:41


คำถามข้อที่ ๑. ถ้าเอ่ยถึงประติมากรรมที่เกี่ยวกับเรื่องรามเกียรติ์แล้ว 
หลายคนคงนึกถึงประติมากรรมรูปปั้นยักษ์ที่ประตูทางเข้าในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม   
คำถามคือ   รูปปั้นยักษ์ที่ประตูทางเข้าในวัดพระศรีรัตนศาสดารามในปัจจุบัน   มีทั้งหมดกี่ตน     
จงบอกชื่อ  ลักษณะรูปร่าง สี เครื่องแต่งกายของยักษ์แต่ละตน   
พร้อมจับคู่และบอกตำแหน่งประตูที่ยักษ์แต่ละคู่ยืน    ยังไม่หมดเท่านั้น   
จงเล่าด้วยว่า ในการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามในสมัยรัชกาลที่ ๕ 
มีเจ้านายพระองค์ใดบ้างที่ทรงรับหน้าที่บูรณะและสร้างรูปปั้นยักษ์
(ตอบให้ครบนะครับ)



คำตอบ
ยักษ์ที่ประตูทางเข้าวัดพระศรีรัตนศาสดารามมี 12 ตน 6 คู่

คู่แรก สุริยาภพ กายสีแดงชาด สวมมงกุฎยอดกาบไผ่ สวมแหวนทอง ๑ วง บุตรท้าวจักรวรรดิ แห่งกรุงมลิวัน
กับ อิทรชิต กายสีเขียว ปากขบตาโพลง เขี้ยวคุด ชฎายอดกาบไผ่ บุตรทศกัณฐ์ แห่งกรุงลงกา
ประตูด้านทิศตะวันออก (ประตูเกยเสด็จหน้า)

คู่สอง มังกรกัณฑ์ กายสีเขียว ปากขบตาจระเข้ สวมมงกุฎยอดนาค บุตรพญาขร พญายักษ์แห่งโรมคัล
กับ วิรุฬหก กายสีขาบหรือสีน้ำเงินแก่ นัยน์ตาเหมือนจระเข้ ปากแสยะตาโพลง สวมมงกุฎยอดนาค พญารากษส แห่งมหาอันธกาลนคร
ประตูหน้าพระอุโบสถ

คู่สาม ทศคิรีธร กายสีหงดิน หรือสีหม้อใหม่ ปากขบตาจระเข้ สวมมงกุฎกาบไผ่ ปลายจมูกเป็นงวงช้าง บุตรทศกัณฐ์กับนางช้าง
กับ ทศคิรีวัน กายสีเขียว ปลายจมูกเป็นงวงช้าง บุตรทศกัณฐ์ พี่น้องฝาแฝดกับทศคิรีธร
ประตูทิศใต้หลังพระอุโบสถ ติดกับประตูที่ผ่านเข้าไปในเขตพระราชฐานชั้นกลาง

คู่สี่ จักรวรรดิ พญายักษ์ผู้ครองกรุงมลิวัน กายสีขาว ๔ เศียร สวมมงกุฎยอดหางไก่ สวมแหวนประดับนิ้วก้อยขวาหนึ่งวง
กับ อัศวมารา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอัศวกรรณมาราสูร กายสีม่วงแก่ เศียร ๒ ชั้นสวมมงกุฎยอดหางไก่ สวมแหวนประดับ ๒ วง พญายักษ์ครองเมืองดุรัม
ประตูพระฤษีด้านหลังพระอุโบสถ

คู่ห้า ทศกัณฐ์ หรือพญาราพณ์ กายสีเขียว ใบหน้ามี ๓ ชั้น ชั้นแรกเป็นหน้าปกติ ๑ หน้า และมีหน้าเล็กๆ ตรงท้ายทอยอีก ๓ หน้า ชั้นที่ ๒ เป็นหน้าเล็กๆ ๔ หน้า เรียง ๔ ด้าน ชั้นที่ ๓ เป็นหน้าพรหมด้านหน้า และหน้ายักษ์ด้านหลัง ทุกหน้าจะมีลักษณะ ปากแสยะตาโพลง สวมมงกุฎยอดชัย พญายักษ์เจ้ากรุงลงกา
กับ สหัสเดชะ กายสีขาว ปากแสยะโพลง สวมมงกุฎยอดชัย ใบหน้ามีสีขาว และเรียงหน้าเป็น ๔-๕ ชั้น ชั้นแรกเป็นหน้าปกติ ๑ หน้า และหน้าเล็กๆ เรียงกัน ตรงท้ายทอยด้านหลัง ๓ หน้า ส่วนชั้นที่ ๒ ๓ และ ๔ ทำเป็นหน้าเล็กๆ เรียงลดหลั่นกันไป ชั้นสุดท้ายหน้าพรหม พญารากษส ครองเมืองปางตาล
ประตูหลังพระศรีรัตนเจดีย์

คู่หก มัยราพณ์ กายสีม่วงอ่อน ๑ พักตร์ ๒ กร ใบหน้า และลำตัวมีสีม่วงอ่อน ปากขบจระเข้ มงกุฎหางไก่ พญายักษ์ครองเมืองบาดาล
กับ วิรุฬจำบัง กายสีมอหมึก หรือสีขาวเจือดำ ๑ พักตร์ ปากขบตาจระเข้ สวมมงกุฎหางไก่ พญายักษ์ครองเมืองจารึก
ประตูหลังพระศรีรัตนเจดีย์

ส่วนเจ้านายที่ปฏิสังขรณ์และบูรณะในคราวฉลองพระนครครอบ 100 ปีนั้น มีปรากฏคือ
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร (กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา)
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต (กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา)
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ (สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์)
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร (กรมพระนราธิปประพันธพงศ์)
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ (กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์)
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 10:53

เพิ่มเติม คำตอบข้อ 2 ของคุณวันดีครับ

โคลงรามเกียรติ์ในห้องนี้มีสี่แผ่น จารึกบนหินอ่อนติดอยู่ตรงเสาระเบียงคดครับ

ส่วนผู้วาดภาพเมื่อครั้งฉลองกรุง 150 ปี นั้น คือนายร้อยตรี เขมี ตาละลักษณ์ อยู่กรมยุทธศึกษาทหารบก (ข้อมูลปี 2469)
เป็นบุตรคนที่สาม ของพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ) กับคุณหญิงวาด
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 11:00

โอ้โฮ  ตกใจ  ฝุ่นตลบทีเดียว
ผู้แข่งขันห้อกันสุดฤทธิ์จริงๆ 

ผมให้เวลาคุณ art47 แก้ไขตัวสะกดและชื่อยักษ์ให้ถูกต้องก่อน
เดี๋ยวบ่ายๆ จะมาตรวจคำตอบ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 11:01


เพิ่มเติมแบบนี้  คำนับรับไว้ด้วยความนับถือ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 11:07

อินทรชิต

มังกรกัณฐ

วิรูฬหก
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 11:36

จากคำถามข้อที่ ๒ ผมขอซักผู้ตอบคำถามข้อนั้นต่อดังนี้

รูปปั้นยักษ์ในวัดพระแก้วสร้างด้วยคติอะไร 
และมีลักษณะแตกต่างจากรูปปั้นยักษ์ที่อื่นๆ อย่างไร

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 12:47

ขออภัย ขอแก้ไขเป็น

จากคำถามข้อที่ ผมขอซักผู้ตอบคำถามข้อนั้นต่อดังนี้

รูปปั้นยักษ์ในวัดพระแก้วสร้างด้วยคติอะไร 
และมีลักษณะแตกต่างจากรูปปั้นยักษ์ที่อื่นๆ อย่างไร
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 13:56

คุณวันดีตอบคำถามข้อที่ ๒. ถูกครบถ้วน

คำถามข้อที่ ๒. เป็นของคุณวันดี

ส่วนคุณอาร์ต ซึ่งตอบข้อที่ ๑  และผมขอซักต่อ
หากไม่มาตอบก่อนตะวันตกดินวันนี้  และหากมีผู้อื่นมาตอบได้
ผมจะยกประโยชน์แก่ผู้ที่มาตอบได้ภายหลังนะครับ
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 04 ม.ค. 11, 15:47

จากคำถามซักไซ้ของคุณหลวง กระผมขอตอบตามความรู้ (และความเดา) ว่า

1. รูปปั้นยักษ์ในวัดพระแก้วสร้างด้วยคติเรื่องทวารบาล  ที่เชื่อกันว่ายักษ์จะทำหน้าที่ช่วยปกป้องรักษา ขับไล่ภูติผี ความชั่วร้ายต่างๆ และปกป้อง
พระพุทธศาสนา โดยมีเรื่องเล่าว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์ มียักษ์สองตนชื่อ สาตาเศียร กับ เหมวัตสิง
ซึ่งมีถิ่นอาศัยอยู่ในกลุ่มภูเขาตอนเหนือแม่น้ำคงคา ได้นำบริวารยักษ์มาเข้าเฝ้า และสนทนาข้อปัญหาธรรมต่างๆ ในที่สุดได้เกิดศรัทธายอมนอบน้อม
เป็นข้าพระพุทธองค์ ดังนั้นจึงมีคติการสร้างรูปยักษ์เฝ้าวัด ขณะเดียวกันอีกความหมายหนึ่ง รูปปั้นยักษ์ยังอาจหมายถึงท้าวกุเวร ผู้เป็นหัวหน้าของยักษ์
ซึ่งจัดเป็นหนึ่งในสี่ของจตุโลกบาลผู้ปกป้องดูแลโลกและทิศทั้งสี่อีกด้วย

2. ลักษณะที่แตกต่างของยักษ์วัดพระแก้วกับยักษ์ที่อื่นนั้นคือ ยักษ์วัดพระแก้วหันหน้าเข้าวัด ส่วนยักษ์วัดอื่นเช่นที่วัดอรุณหันหน้าออกนอกพระอุโบสถ

ปล. ขอเพิ่มเติมคำตอบของตัวเองครับ
1. ยักษ์วัดพระแก้วทำขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่ 3
2. ตำแหน่งที่ยักษ์แต่ละคู่ยืนเฝ้านั้นมีชื่อประตูดังนี้
คู่แรก สุริยาภพ และ อินทรชิต เฝ้าประตูเกยเสด็จ (หน้า)
คู่สอง มังกรกัณฐ์ และ วิรูฬหก เฝ้าประตูหน้าวัว
คู่สาม ทศคีรีธร และ ทศคีรีวัน เฝ้าประตูพระศรีรัตนศาสดา
คู่สี่ ทศกัณฐ์ และ สหัสเดชะ เฝ้าประตูเกยเสด็จ (หลัง)
คู่ห้า ไมยราพณ์ และ วิรุญจำบัง เฝ้าประตูสนามไชย
คู่หก จักรวรรดิ และ อัศกรรณมารา เฝ้าประตูพระฤๅษี (หมอชีวกโกมารภัจจ์)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 05 ม.ค. 11, 09:05

คำถามข้อที่ ๑. เป็นของคุณart47

มีผู้ร้องเรียนว่า   คำถาม ๒ ข้อแรก  ยากเหลือเกิน
อ้าว  ก็บอกแล้วว่า คำถามสำหรับแฟนพันธุ์แท้
ถามง่ายๆ ก็ไม่ใช่แฟนพันธุ์แท้สิครับ   แต่เมื่อร้องเรียนมา
เราก็รับฟัง  และจะพยายามตั้งคำถามให้ง่ายขึ้น
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 05 ม.ค. 11, 09:07


ไม่ได้ร้องเรียนค่ะ    บ่นดัง ๆ เท่านั้น


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 29
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.113 วินาที กับ 19 คำสั่ง