เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 3843 ผมสมาชิกใหม่ มีเรื่องอยากจะถามนิดหน่อยน่ะครับ
kuprentra
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


 เมื่อ 25 ธ.ค. 10, 00:35

   ก่อนอื่นขอสวัสดีทุกๆคนเลยนะครับ ผมชื่อปัง อายุ17 ปี เพิ่งเป็นสมาชิกได้ไม่นานครับ
พอดีว่าสนใจเกี่ยวกับวิธีการนุ่งผ้าแบบโบราณน่ะครับ อยากทราบว่า ใครพอรู้ช่วยสอนได้มั้ยครับ
รบกวนนิดนึง ถ้ามีภาพประกอบแต่ละขั้นตอนจะดีมากเลยครับ
เพราะบอกตามตรงเลยว่าผมไม่ค่อยเข้าใจศัพท์เวลาแต่งตัวซักเท่าไหร่อะครับ แหะๆ
ขอบพระคุณพี่ๆทุกคนนะครับ ^_^
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 25 ธ.ค. 10, 06:09

สวัสดีค่ะ  คุณ kuprentra   ขอต้อนรับด้วยความยินดีและชื่นชม

เมื่อคุณมีความสนใจในเรื่องราวของเรือนไทย   ดิฉันก็จะพยายามตอบคำถามเท่าที่พอจะทำได้

เพื่อนสมาชิกท่านอื่นก็คงจะเข้ามาแบ่งปันความรู้ต่อไป


       ดิฉันเป็นนักอ่านค่ะ   ขอแนะนำหนังสืออนุสรณ์เล่มหนึ่ง ชื่อ  อยุธยาอาภรณ์  แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ

พันตรี  หลวงจบกระบวนยุมธ(แช่ม  กระบวนยุทธ) ในปี พุทธศักราช ๒๕๒๐    คุณสมภพ  จันทรประภา เป็นผู้เขียน

เป็นหนังสือที่ให้ความรู้อย่างกว้างขวาง  และลึกเนื่องจากได้อธิบายเรื่องการนุ่งผ้าขี่ช้าง เพราะ พระตำหรับนี้หาอ่านยาก

คุณ kuprentra  อาจจะคิดว่า  ไม่ได้ต้องการทราบเรื่องนี้  เพราะไม่สนใจ   ที่ยกมากล่าวเพราะเป็นข้อมูลที่ปกปิด

บอกเล่ากันตัวต่อตัวจากครูผู้ใหญ่กับศิษย์ผู้เรียนเรื่องการบังคับช้างเท่านั้น


       หนังสือเล่มนี้คงพอหาได้ตามห้องสมุดมหาวิทยาลัย  เข้าใจว่ามีในห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แน่นอน


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 25 ธ.ค. 10, 06:42


       คำถามออกจะกว้างอยู่สักหน่อย    วิธีนุ่งผ้าแบบโบราณ  เรื่องนี้ไว้คุยกันต่อไป

เรื่องศัพท์นั้น  เป็นเรื่องที่ง่ายที่สุด เพราะสามารถใช้พจนานุกรมช่วยได้

การที่คุณ  kuprentra  เป็นนักเรียนนักศึกษา  ก็ต้องหาหนังสือมาอ่าน และเปิดพจนานุกรมได้คล่องแคล่ว

เรือนไทยคงช่วยคุณทำรายงานไม่ไหว  แต่พอจะนำทางคุณไปหาเอกสารได้


       ในบท พัสตราภรณ์  คุณสมภพ  จันทรประภาได้รวบรวมเรื่องผ้าที่ใช้ในอยุธยามาจากท่านผู้รู้ ๓ ท่าน

เอกสารของท่านเหล่านี้มีอยู่ในห้องสมุดทั่วไป

       หนังสือบันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศ​ฯ และพระยาอนุมานราชธน  

และหนังสือเรื่องภูมิศาสตร์วัดโพธิ์ของกาญจนาคพันธ์


       เรื่องที่สนุกที่สุดคือ ลักษณะของผ้า  หน้า ๑๕ - ๒๒   อย่าพลาดเป็นอันขาด  ถ้าอ่านยังไม่เข้าใจ

อ่านบ่อย ๆ  ก็จะซึมซับได้เอง    


ขอยกตัวอย่างเรื่องผ้าลาย   กาญจนาคพันธ์  สันนิษฐานว่า

"ฉีก"  คือผ้่ลายที่มาจากอินเดีย ๆ เรียกว่า ชิต หรือชินต์    ทำทางตะวันออกของอินเดีย คือเมือง มาสุลิปะตัม  เมืองบาบุดมัมดัด

"ลายฉีกบ้าดัด"  คือผ้าลายเมืองบาบุดมัมดัด

"ลายสุหรัด"  มาจากเมืองสุหรัด  ราคาแพงกว่าผ้าลายที่อื่น

"ฉีกวิลาศ"  หมายถึงผ้าลายจากต่างประเทศ  (วิลาศ เป็นภาษาบังกลา  ใช้เรียกอังกฤษ)


       รูปผ้าลายสวย ๆ หาได้จากหนังสือ สาแหรกสกุลบุนนาค
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 25 ธ.ค. 10, 07:00


ขอเอ่ยถึงผ้าขาวม้าไว้นิดหนึ่ง

คุณสมภพ  เขียนไว้ว่า   มีผ้านุ่งชั้นในของญี่ปุ่นอยู่ชิ้นหนึ่ง   ญี่ปุ่นเรียก  "หักขะม้า"

ขนาดกว้างยาวได้ ๆ กันกับผ้าขาวม้าของไทย

วิธีนุ่งแทนกางเกงในของญี่ปุ่นคือพับทบที่หน้าท้องทอดยาวไประหว่างขา   ดึงลอดหว่างขามาที่ง่ามก้นเพียงเอว

แล้วคาดเชือกที่เอว  ปล่อยชายลงคล้ายเลาะเตี้ยของพวกเงาะ

สันนิษฐานว่าแพร่หลายเข้ามาแต่แผ้นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 25 ธ.ค. 10, 07:08



       การนุ่งผ้าแบบดั้งเดิมจริง ๆ ในแหลมทองย่อมจะเป็นแบบ "เลาะเตี้ยะ"  ที่พวกเงาะนุ่งอยู่ในปัจจุบัน

เพราะพวกข่าทางอิสาณอันเป็นเผ่าโบราณก็นุ่งแบบเดียวกัน


การศึกษาเรื่องเครื่องแต่งกายสมัยอยุธยา  อาศัยจิตรกรรมเป็นหลัก   


ที่ คุย  มานี้ก็พอเป็นการนำทางให้คุณปัง  ศึกษาด้วยตนเองต่อได้

กลับมาสนทนากันใหม่นะคะ       สวัสดีค่ะ
บันทึกการเข้า
kuprentra
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 26 ธ.ค. 10, 00:06

     ขอบคุณพี่Wandeeมาๆเลยครับ ที่ช่วยแนะนำ
ผมเองก็เพิ่งมาศึกษาเรื่องนี้ไม่นานมานี้เองครับ
หนังสือแต่ละเล่มยอมรับเลย ว่าผมไม่เคยได้ยินชื่อเลย แหะๆ
แต่จะพยายามหามาอ่านให้ได้ครับ ^^
ขอบคุณมากๆครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
lalulalalulalala
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 26 ธ.ค. 10, 03:35

ขอบคุณด้วยคนค่ะ มาเก็บความรู้  อายจัง

หนูนุ่งเป็นแต่โจงกระเบน กับจีบหน้านาง อย่างอื่นไม่รู้เรื่องเลยสักอย่าง  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 26 ธ.ค. 10, 05:52

คุณปังคะ

       ชื่นใจที่คุณบอกว่าจะพยายามหาอ่าน     หนังสืออ่านง่ายและสนุกค่ะ

ดิฉันอาจจะตอบไม่ตรงคำถามนัก  แต่หนังสือที่เอ่ยมาก็เป็นหนังสืออ้างอิงที่สมบูรณ์

เมื่อคุณนับญาติกับดิฉันแล้ว  ดิฉันก็จะคอยเฝ้าดูคุณเป็นพิเศษเลยทีเดียว


คุณหนูลาลูคะ

       เรื่องนุ่งโจงและนุ่งจีบเป็น  ไม่ใช่เรื่องง่าย   ดิฉันแน่ใจว่าคุณต้องเดินได้งดงามเป็นกุลสตรี

นานมากมาแล้ว  ในงานสำคัญงานหนึ่ง  ได้เห็นเสด็จในกรมพระองค์หนึ่งทรงผ้าม่วง  ฝรั่งมังค่าระดับเอกอัครราชทูตก็คำนับ

เมื่อเสด็จในกรมประทานพระหัตถ์จับมือ       ความเป็นไทยในตัวก็สำแดงฤทธิ์   รู้สึกภูมิใจ  กลับบ้านก็เรียนผู้ปกครองว่า

ผ้าม่วงนี่คนนุ่งเป็น  เดินเป็น   สง่างามจับตา
บันทึกการเข้า
lalulalalulalala
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 26 ธ.ค. 10, 16:34

คุณปังคะ

       ชื่นใจที่คุณบอกว่าจะพยายามหาอ่าน     หนังสืออ่านง่ายและสนุกค่ะ

ดิฉันอาจจะตอบไม่ตรงคำถามนัก  แต่หนังสือที่เอ่ยมาก็เป็นหนังสืออ้างอิงที่สมบูรณ์

เมื่อคุณนับญาติกับดิฉันแล้ว  ดิฉันก็จะคอยเฝ้าดูคุณเป็นพิเศษเลยทีเดียว


คุณหนูลาลูคะ

       เรื่องนุ่งโจงและนุ่งจีบเป็น  ไม่ใช่เรื่องง่าย   ดิฉันแน่ใจว่าคุณต้องเดินได้งดงามเป็นกุลสตรี

นานมากมาแล้ว  ในงานสำคัญงานหนึ่ง  ได้เห็นเสด็จในกรมพระองค์หนึ่งทรงผ้าม่วง  ฝรั่งมังค่าระดับเอกอัครราชทูตก็คำนับ

เมื่อเสด็จในกรมประทานพระหัตถ์จับมือ       ความเป็นไทยในตัวก็สำแดงฤทธิ์   รู้สึกภูมิใจ  กลับบ้านก็เรียนผู้ปกครองว่า

ผ้าม่วงนี่คนนุ่งเป็น  เดินเป็น   สง่างามจับตา

ขอบคุณท่าน Wandee ค่ะ โดนชมด้วย เขินจัง
พอดีหนูเป็นนาฏศิลป์น่ะค่ะ ก็เลยแต่งชุดไทยค่อนข้างบ่อย  อายจัง
ชอบนุ่งโจงที่ไม่ใช่โจงสำเร็จ เดี๋ยวนี้ชุดไทยมีขายทั้งโจงสำเร็จ ทั้งจีบหน้านางแบบสำเร็จ ไม่ชอบเลยอ่ะค่ะ หนูว่าไม่สวยเลย จีบพับๆ แบนๆ การขยับตัวก็สู้ผ้าโจงไม่ได้ ยังไงมันก็แค่กางเกง นุ่งผ้าเองจับจีบเองดูเป็นธรรมชาติกว่าตั้งเยอะ หนูชอบแบบนั้นอ่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
kuprentra
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 31 ธ.ค. 10, 01:13

     ตัวผมเองก็นุ่งเป็นแต่โจงกระเบนเหมือนกันเลยครับ แหะๆ
เคยได้ทำพวกงานแสดงส่งครูอยู่บ้างอะครับ
มีพวกที่แต่งชุดไทยแสดงด้วย
     แต่ก็แค่เอาผ้าต่างๆ ที่มีความยาวมากๆมาประยุกต์ทำอะครับ
ปรากฏคือ เวลาจับจีบที่ผ้านุ่งอะครับ จีบด้านล่างจะคลี่ออก ไม่ค่อยสวยเลย
อยากรู้ว่าเป็นเพราะชนิดของผ้า หรือเพราะผมกับเพื่อนๆยังทำไม่ชำนาญอะครับ
ปล.ผ้าที่ใช้ผมก็ไม่แน่ใจนะครับ ว่าเป็นผ้าอะไร รู้แต่ว่า เขาเอาไว้ทำผ้าม่านอะครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 31 ธ.ค. 10, 02:52

ขออนุญาตเสริมคุณ Wandee สักหน่อยนะครับ
หวังว่าทั้งคุณ Wandee และผู้อ่านท่านอื่นๆจะไม่ขวางตา
ในสิ่งที่ผมเสริมมาบ้าง

อย่างแรก อยากเรียนให้ท่านผู้อ่านทราบกันก่อนว่า
คุณสมภพ จันทรประภา เป็นครูรุ่นค่อนข้างจะผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง
ท่านเป็นนักวิชาการแบที่ผมเรียกเองว่า 'ปราชญ์ราชสำนัก'
มิใช่นักวิชาการตะวันตกแบบที่เราเห็นกันในปัจจุบัน

ความต่างประการหนึ่งระหว่างนักวิชาการ 2 สายนี้ คือ
นักวิชาการสายราชสำนักมักไม่เคร่งครัดกับการอ้างอิงนัก
ส่วนนักวิชาการสายตะวันตกนิยมนั่นมักจะเคร่งครัดจนกระดิกตัวไม่ออก
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 31 ธ.ค. 10, 02:52

เมื่ออ่านงานเขียน หรือรับฟังเรื่องบอกเล่าของนักวิชาการสายไหน
ผู้อ่านควรต้องนึกไว้ก่อน ว่าตัวเองกำลังอ่านงานในแนวนั้นอยู่
เช่นเป็นต้นว่าเมื่ออ่านงานของคุณสมภพ หรือ กรมพระยานริศฯ
เช่นหนังสือเล่มที่คุณ Wandee กล่าวถึง หรือ สาส์นสมเด็จก็ได้

ท่านผู้เขียนก็อาจจะไม่ได้แยกข้อมูลในส่วนที่เป็นความจริง
และส่วนที่ข้อสันนิษฐานออกจากกันไว้อย่างชัดเจน
บางครั้งข้อมูลที่มาจากการสัมภาษณ์ ก็อาจจะไม่มีชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ด้วยซ้ำ

เหตุเช่นนี้ไม่ใช่ความผิด หรือความบกพร่องของท่านผู้เขียนแต่ประการใด
แต่เป็นบุคลิกของผู้คนในแต่ละรุ่นที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพสังคมรอบตัวของผู้เขียน
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 31 ธ.ค. 10, 03:01

เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้าต้องการทำความเข้าใจคนเขียน
ผู้อ่านก็จะต้องพยายามสืบหาต้นตอให้ถึงที่สุด

เช่นว่าการเทียบคำว่า 'ผ้าขาวม้า' ระหว่างภาษาไทยและญี่ปุ่น
เป็นสิ่งที่สมเด็จฯ กรมพระยานริศ พระยาอนุมานฯ
ได้ทดลองค้นหาที่มาของคำนี้จากภาษาต่างๆ
และได้ทดลองเปรียบเทียบคำนี้กับคำในภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น

ต่อมาคุณสมภพได้นำเอาเค้าโครงนี้มาสันนิษฐานต่อไปอีก
ว่าคำนั้นๆควรจะเข้ามาใช้ในสังคมไทยในช่วงใด-สมัยใด

การจะตัดสินใจเชื่อในข้อมูลชุดนี้
ผู้อ่านจึงควรอ่านทบทวนข้อความเดิมให้ดีเสียก่อน
แล้วจึงตัดสินใจ 'เลือก' ที่จะเชื่อ หรือไม่เชื่อก็ได้
เพราะเป็นข้อมูลที่ได้การสันนิษฐานมาตั้งแต่ต้น


ขออนุญาตฝากไว้เท่านี้นะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง