เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 2900 อยากทราบเรื่องเวลาที่มีหน่วยเป็นบาทครับ
surapong__
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


 เมื่อ 05 ธ.ค. 10, 20:11

เคยอ่านหนังสือจดหมา่ยเหตุรัชกาลที่ 4 สวรรคต วันสุดท้ายของกษัตริย์นักปราชญ์ ของ สำนักพิมพ์มติชนครับ
ในบทแรกที่กล่าวถึงเวลาที่รัชกาลที่ 3 สวรรคตครับ ข้อความนี้ถูกคัดมาจากพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่3 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์. เฉพาะตอนปัจฉิมโอวาทเกี่ยวกับรัชทายาท ความว่า
"ครั้น ณ วันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ เวลา 8 นาฬิกา 5 บาทเศษเสด็จสวรรคต"
พออ่านแล้วก็ไม่เข้่าใจครับ ว่า เวลา 5 บาทเศษหมายความว่าอะไร ไม่อยากจะคาดเดาเอาเอง เลยเก็บเอามาถามท่านผู้รู้ในเรือนไทยครับ ขอบคุณครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
surapong__
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 05 ธ.ค. 10, 20:14

อ่อ แล้วก็เรื่องคำราชชาศัพท์ด้วยครับ ฉายาของพระมหากษัตริย์ คำราชาศัพท์ไช้ว่าอะไรครับ?
อย่างเช่น "ตอนที่รัชกาลที่ 4 ทรงผนวช พระองค์ทรงได้รับฉายาว่า "พระวชิรญาณเถระ" อย่างนี้ เราควรที่จะใช้คำว่าอะไรจึงจะเหมาะสมครับ ขอบคุณอีกรอบ อายจัง
บันทึกการเข้า
bert631
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 06 ธ.ค. 10, 10:36

ผมจำได้รางๆนะครับ แต่จะหาหลักฐานมายืนยันให้อีกครั้งครับ
เท่าที่จำได้คือ หนึ่งบาท จะเท่ากับหกนาที สิบบาทจะเป็นหกสิบนาที
ก้ลองคูณดูครับว่ากี่นาที เด๋วรอผู้รู้มาตอบอีกทีครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 06 ธ.ค. 10, 13:18

วันหนึ่งนั้นแปดยามยำ        กลางวันท่านกำหนดไว้สี่ยามมี
กลางคืนก็นับยามสี่            วันกับราตรีจึ่งเปนแปดยามตามใช้

ยามหนึ่งสามนาลิกาไซร้     นาลิกาท่านใช้ กลางวันเรียกว่าโมงนา
กลางคืนเรียกว่าทุ่มหนา      นาลิกาหนึ่งราได้สิบบาดท่านบอกไว้

บาดหนึ่งสี่นาฑีไทย           นาฑีหนึ่งได้สิบห้าเพชะนาฑี
เพชะนาฑีหนึ่งนี้                หกปราณด้วยดีปราณหนึ่งสิบอักษรไซร้

ที่มา  :   หม่อมเจ้าทองบรรณาการ ทองแถม   พิมพ์ในการศพ  มหาอำมาตยตรี  หม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ ทองแถม  ท.จ.,
            เรื่องพระไชยสุริยา  และวิธีนับ  มาตรา - ตวง  ชั่ง, วัด, ของเก่า. พระนคร :  โรงพิมพ์อักษรนิติ,  ๒๔๗๙


๘  ยาม            เท่ากับ        ๑  วัน
(กลางวัน  ๔  ยาม  กลางคืน  ๔  ยาม)

๓  นาฬิกา        เท่ากับ        ๑  ยาม

(กลางวัน เรียกว่า  โมง   กลางคืน  เรียกว่า  ทุ่ม)

๑๐  บาท          เท่ากับ        ๑  นาฬิกา

๔    นาที          เท่ากับ        ๑  บาท
(น่าจะเป็น  ๖ นาที  เท่ากับ  ๑  บาท  เพราะบอกไว้ว่า 
นาลิกาหนึ่งรา  ได้สิบบาดท่านบอกไว้ - คงจะพิมพ์ผิดก็เป็นได้)

๑๕  เพชะนาที    เท่ากับ        ๑  นาที

๖    ปราณ         เท่ากับ        ๑  เพชะนาที
๑๐  อักษร         เท่ากับ        ๑  ปราณ


และพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒  ได้ให้ความหมาย 
"บาท"  ว่า  ช่วงเวลาเท่ากับ  ๑ ใน  ๑๐ ของชั่วโมง  เท่ากับ  ๖ นาที
บันทึกการเข้า
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 06 ธ.ค. 10, 16:36

๔    นาที          เท่ากับ        ๑  บาท
(น่าจะเป็น  ๖ นาที  เท่ากับ  ๑  บาท  เพราะบอกไว้ว่า 
นาลิกาหนึ่งรา  ได้สิบบาดท่านบอกไว้ - คงจะพิมพ์ผิดก็เป็นได้)

๑ บาท เท่ากับ ๔ นาที นั้นน่าจะถูกต้องแล้วครับ

แต่เป็น ๔ นาที (นาฑี) ไทย (ในบทกลอนก็กล่าวไว้ว่า "บาดหนึ่งสี่นาฑีไทย")



ส่วน ๑ บาท  เท่ากับ ๖ นาที นั้น เป็นนาทีฝรั่ง (Minute)
บันทึกการเข้า
surapong__
อสุรผัด
*
ตอบ: 12


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 06 ธ.ค. 10, 19:45

เย่.... ได้ความรู้เยอะเลย ขอบคุณทุกๆคนครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 19 คำสั่ง