เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 13558 อยากทราบที่มาของคำว่า บุญมา และ วิวัศ
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 15 ธ.ค. 10, 15:24

อืมม์ ผมคงจำผิดไป  ไม่ได้อ่านรามายณะนานๆ เข้าชักลืมโคตรวงศ์พระราม

ที่ว่า
อ้างถึง
ป.ล. แต่พระนาม พญาศรีสูรยพงศรามมหาธรรมราชาธิราช
บางที รามในที่นี้ อาจจะหมายถึง พ่อขุนรามราช หรือ พญารามราช (พ่อขุนรามคำแหง) ก็ได้นะครับ
เพราะพญาฦๅไทย (ลิทยฺย-ลิไทย) ท่านเป็นหลานปู่

ก็รับฟังได้อยู่

อ้างถึง
ส่วนทางเมืองพระนคร (ศรียโศธรปุระ) ก็น่าจะใช้ สันสกฤต ในหมู่ชนชั้นสูงอยู่แล้ว (จากที่เคยอ่านมานะครับ)
พระนามของกษัตริย์ขอม คำว่า อาทิตย์ ก็ไม่ค่อยเป็นที่นิยมนัก เห็นมีแค่ อุทัยทิตย์วรมัน (ที่ ๑ และ ที่ ๒)  ตรีภูวนาทิตยวรมัน

ผมไม่ได้เน้นที่พระนามกษัตริย์เขมร  เพราะพระนามกษัตริย์เขมรมักมีรูปแบบคล้ายๆ กัน ซ้ำกันก็มาก
จนคนสมัยปัจจุบันต้องใส่ ที่ ๑ ที่ ๒ ตามหลังพระนาม เพื่อกันสับสน
แต่ผมสนใจคือ พระนามเจ้านายที่ไปปกครองหัวเมืองต่างๆ ของเขมร รวมไปถึงพระนามเจ้านายชั้นรองๆ
ซึ่งอันนี้ต้องไปอ่านจารึกจึงจะเห็นรายชื่อเหล่านั้น  อาจจะเหนื่อยหน่อย  แต่ก็ต้องทำ

ส่วนคำว่า วรมัน  (วรฺมนฺ) เป็นคำที่สำหรับลงท้ายชื่อ ที่แสดงวรรณะกษัตริย์โดยเฉพาะ
อันมีที่มาจากอินเดีย  โดยเฉพาะทางอินเดียใต้โบราณมีกษัตริย์ที่ชื่อลงท้าย วรฺมนฺ หลายพระองค์
วรฺมนฺ แปลว่า  เกราะ อันเป็นของสำคัญแสดงความเป็นนักรบของกษัตริย์

ส่วนวรรณะพราหมณ์ ลงท้ายชื่อว่า ศรมัน วรรณะแพศย์ ลงท้ายชื่อว่า คุปต์   และวรรณะศูทร ลงท้ายชื่อว่า ทาส
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง