เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 18550 สาวชาวกรุง ๒๔๕๕
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 07 ธ.ค. 10, 22:09


       เมื่อฉันอยู่ ม.๕  ครูถามว่าใครอยากจะเป็นครูบ้าง      ถ้าอยากจะเป็นก็ให้สมัครครูมูลได้

ถ้าใครสอบ ม.๕ และสมัครครูมูลได้  ก็จะออกไปทำงานได้เงินเดือน ๓๐ บาท      เงิน ๓๐ บาทสมัยนั้นไม่ใช่เงินน้อย  สามารถ

ครองชีพได้อย่างไม่ฝืดเคืองนักสำหรับผู้ที่มีภาระต้องเลี้ยงดูครอบครัว    หรือสามารถอยุ่ได้อย่างสบายถ้าเป็นคนโสด  ยิ่งเป็นผู้หญิงอยู่กับพ่อแม่

ก็ยิ่งนับว่าเป็นรายได้ที่สวยพอดู  เพราะราคาค่าครองชีพยังถูกมาก  อาหารกลางวันมื้อหนึ่งก็ประมาณ ๖ สตางค์ ถ้ารับประทานดีหน่อยก็ ๑๐ สตางค์

ถ้ารับประทานผลไม้  เงาะ ๒๕ ​ผลก็ประมาณ ๖ สตางค์หรือสองไพ       การซื้อผลไม้เขานิยมต่อกันเป็นไพหรือเฟื้องอย่างมากก็สลึง   เช่นจะซื้อเงาะ

ก็ตกลงกันว่ากี่ใบไพ  หรือกี่ใบเฟื้อง   การใช้มาตราเงินในห้องตลาดแม้จะใช้มาตราบาทละ ๑๐๐ สตางค์แล้วก็ตาม   ผู้คนยังนิยมใช้ไพ  เฟื้อง

บาทอยู่เสมอ

       นักเรียนที่มาจากต่างจังหวัดหลายคนสมัครเรียนเพราะอยากกลับบ้านเร็ว  ถ้าได้เงินเดือน ๓๐ บาทก็ถือว่าไม่น้อยแล้ว         พอฉันเลื่อนขึ้นไป ม.​๖

ทางโรงเรียนก็บรรจุวิชาครูประถมไว้ชั่วโมงสุดท้าย  เป็นเชิงบังคับกราย ๆ ให้คนเรียน



     ในปีนั้นเองฉันซึ่งเป็นนักเรียนมัธยมได้ไปดูละครนอกเรื่องมณฑาลงกระท่อม  ผู้แสดงเป็นนิสิตชายคณะต่าง ๆ       ขุนพาจพิทยากรเป็นผู้ซ้อม   

ตัวท่านเองก็เล่นเป็นนางมณฑาด้วย  ขุนพาจนี้ลูกศิษย์เรียกว่าคุณย่า   ฉันยังจำได้ว่าเจ้าเงาะแสดงโดยคุณแถว  อินทรสูต    หอวังนั้นตั้งอยู่ที่สนามกีฬา

วันที่ฉันไปดูละครแต่งตัวชนิดที่เรียกว่าสวยเต็มที่(ตามแบบสมัยนั้น)  นุ่งผ้าซิ่นสีม่วง  ลายขวางสีทอง  สวมเสื้อให้เข้าชุดกับสีม่วง  ถักเปีย  ผูกโบวใหญ่

ฉันต้องนั่งรถรางไปลงยศเส  แล้วเดินไปจนถึงหอวังเพราะไม่มีรถโดยสารชนิดใดในย่านนั้น      ก่อนเปิดฉากมีดนตรีทำเพลงห่วงอาลัย  กำลังเป็นที่นิยม

       "อิเหนาหรือจะมาตามด้วยความรัก          ข้อนี้ไม่ประจักษ์ยังสงสัย"
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 07 ธ.ค. 10, 22:21


       ปีที่ฉันสมัครสอบเข้าเป็นนิสิตในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นเป็นปีที่ ๒  ที่จุฬาเปิดรับนิสิตหญิง

ปีแรก พ.ศ.​๒๔๗๐  เปิดรับเฉพาะคณะแพทย์ศาสตร์    ม.จ. พูนศรีเกษมศรีทรงเป็นคณบดีคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์องค์แรก

ฉันเองพ่ออยากให้เข้าแพทย์   ฉันเองก็ตั้งใจเช่นนั้น    แต่พอมาสมัครเข้า  เพื่อน ๆ ที่มาจากโรงเรียนเดียวกันเขาไปสมัครอักษรศาสตร์หมด

พวกสมัครแพทย์มาจากโรงเรียนราชินี   ฉันสอบได้ที่ ๕   เป็นหนึ่งในสิบของ ๑๐ คนที่ได้ทุน  เกือบถูกตัดออกเพราะอายุน้อยเกินไปเพียง ๑๕​ปี ๙ เดือน

จำคนที่หนึ่งที่สอบอักษรศาสตร์ที่หนึ่งได้  คือ คุณเปลื้อง  ณ นคร
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 07 ธ.ค. 10, 22:36



ที่นำมาเล่าด้วยความเคารพเห็นว่าน่าอ่านและมีประโยชน์   คือ  ชีวประวัติ ของ ศาสตราจารย์ พันตรีหญิง  คุณหญิงผะอบ  โปษะกฤษณะ

นามสกุลเดิมของท่าน คือ  วิโรจน์เพ็ชร


เกิดเมื่อวันที่ ๔  สิงหาคม  ๒๔๕๕  ณ บ้านเลขที่ ๑๗๗๘ ถนนวรจักร
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย  กรุงเทพ

ธิดาของ พลตรี พระรณรัฐวิภาคกิจ (อุ่ณห์  วิโรจน์เพ็ชร) อดีตเจ้ากรมแผนที่ทหารบก  และ คุณหญิงผัน (คงศักดิ์)

คุณตาของท่านคือ หลวงอุประถัมภ์หัตถสาร


พี่น้องร่วมบิดามารดา ๗ คน

เจ้าประวัติ

ด.ญ. เล็ก

พันเอกหญิง อุไรโรจน์  วิโรจน์เพ็ชร

นาวาเอก  ณรัฐ  วิโรจน์เพ็ชร

พันเอกหญิง อุบล  ศิริพันธ์

แพทย์หญิง ประยูร  ศาลยาชีวิน

นางพูนสุข  สุประดิษฐ์

นางพูนศรี  วิโรจน์เพ็ชร

(ยังมีต่อค่ะ)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 07 ธ.ค. 10, 22:59


สมรสกับ  นายเกษม  โปษะกฤษณะ  บุตรพระยาเกษตรรักษา(เจียง  โปษะกฤษณะ) กับคุณหญิงเกษตรรักษา(แช่ม)

มีบุตรธิดา ๔ คน คือ


๑.  นางมัทนา     สมรสกับ พ.ต.อ. สุพจน์  เกตุนุติ         มีธิดาสองคน  คือ นางสาวฎาร์ฉวี  กับนางสาวปรียานุช


๒.  นางจันทนา   สมรสกับ  ชาร์ล  ซองเกอร์  มีธิดาสองคนคือ น.ส. มาริสา  และ น.ส. โรจนี  กลางเมือง

๓.  นางสาวอิสสรา  โปษะกฤษณะ

๔.  นายอานนท์  สมรสกับ นางสาว วัฒนา  มั่นบุปผชาติ   มีบุตร คือ  พัชรพล
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 08 ธ.ค. 10, 06:25


คุณหญิงผะอบเริ่มเรียนที่โรงเรียนเสาวภา  แล้วย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนเบญจมราชาลัยซึ่งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู

ในปี ๒๔๗๑  ท่านได้เข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่คณะอักษรศาสตร์  แต่เนื่องจากขณะนั้นคณะอักษรศาสตร์ยังไม่มีการสอนถึงขั้นปริญญา 

เมื่อจบปี ๒   จึงต้องไปเรียนที่แผนกคุรุศาสตร์อีก ๑ ปี  จึงได้รับประกาศนียบัตรครูมัธยม

เมื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดสอนขั้นปริญญาตรี  แผนกอักษรศาสตร์ ในปี ๒๔๗๗  คุณหญิงผะอบจึงสอบเข้าศึกษาและทำงานไปด้วย

จนได้รับปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิตในปี ๒๔๘๗  วิชาเอกภาษาไทยและประวัติศาสตร์
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 08 ธ.ค. 10, 06:38

ได้มีโอกาสสนทนากับคุณหญิงในบั้นปลายชีวิตของท่าน  แม้จะเริ่มป่วยด้วยโรคมะเร็งแล้ว  ท่านก็ยังเป็นคุณครูที่น่ารัก  สามารถเล่าเรื่องเก้าๆ เป็นวิทยาทานให้ผู้เยาว์อย่างผมฟังได้ร่วม ๓ ชั่วโมง  โดยผมได้แต่รับว่า ครับ ไปตลอด  เรื่องที่ท่านเล่าให้ฟังและยังจำติดหูมาตลอดถึงทุกวันนี้ คือ ท่านว่า ภาษาไทยเป็นไม่กี่ภาษาในโลกนี้ที่มีตัวเลขเป็นของตนเอง  เพราะฉะนั้นคนไทยเราต้องรักตัวเลขไทย  อีกเรื่องที่ท่านเล่าคือ เมื่อครั้งท่านยังเป็นนิสิตคณะอักษรศาสตร์นั้น  ท่านยังอายุน้อยมาก  นิสิตที่อายุพอๆ กับท่านคือ ศ.ดร.กัลย์  อิศรเสนา อดีตองคมนตรีและผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย  ท่านเล่าว่า เวลานั้นท่านอายุประมาณ ๑๕ ปีเป็นน้องเล็กในคณะ  หนุ่มวิศวะที่จะมาจีบสาวอักษรจึงมักจะไหว้วานท่านให้เป็นไปรษณีย์ถือจดหมายไปส่ง สาวอักษรที่หมายปอง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 08 ธ.ค. 10, 06:38

ท่านเริ่มรับราชการเป็นครูที่โรงเรียนเบญจมราชาลัย  ย้ายไปโรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์

ย้ายไปสอนที่โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย  โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา


ปี ๒๔๙๗  รับปริญญาครุศาสตร์บัณฑิต(เกียรตินิยมอันดับสอง)   และปีต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นนายทหารหญิงรุ่นแรกของกองทัพบก


ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญรอบรู้ในเรื่องภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยมากคนหนึ่ง

และมีความคิดแน่วแน่ที่จะเผยแพร่ฟื้นฟูความสำคัญของภาษาและวัฒนธรรมไทยอย่างต่อเนื่อง

ท่านได้สร้างสรรค์ผลงานอันมีค่าทางวิชาการออกมาเป็นจำนวนมาก



บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 08 ธ.ค. 10, 07:12

     ขอบคุณคุณวีมีค่ะ  เรื่องนี้ท่านก็เล่าไว้อย่างสนุกสนาน  ในหน้่า  ๑๐๔    "ว่าท่านเดินจดหมายจนบางคนเข้าใจผิดว่าท่านผู้นั้นมาชอบฉัน

จนภายหลังเมื่อเขาจะแต่งงาน  ภรรยาของเขายังสงสัยว่าเรามีอะไรกัน"  พวกนี้มาจากสวนกุหลาบค่ะ



       เมื่อไม่กี่วันมานี้  ได้ไปแวะที่แหล่งหนังสือแห่งหนึ่งเชิงสะพานอรุณอัมรินทร์เพื่อตรวจสอบหนังสือสำคัญ

ปึกหนึ่งที่เดินทางวกวนอยู่ในประเทศไทย    สหายสองคนฝากดูหนังสือต่างประเภทกัน  ดิฉันก็ได้เอกสาร

เกี่ยวกับประเทศฝรั่งเศสมา ๑ เล่ม    รู้สึกเหงามือมาก  จึงคว้าหนังสืออนุสรณ์มาหลายเล่ม  โดยโทรศัพท์ไป

ขอยืมจากเจ้าของที่อยู่ต่างประเทศเพราะไม่ทราบจะตกลงราคากันอย่างไรได้    โบราณทีเดียวค่ะ

อ่านหนังสือของคุณหญิงท่านเล่าไว้อย่างสนุกสนาน    ยังไม่เคยเห็นเรื่องเล่าของเด็กผู้หญิงในช่วงเวลานี้มาก่อน

จึงนำมาฝากเรือนไทย


       เมื่อท่านสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรครูมัธยมจากจุฬา   ท่านได้รับเงินค่าประกันคืน ๒๐ บาท  

ดีใจจนไม่ทราบว่าจะใช้อย่างไรเพราะตลอดมาได้รับค่าใช้จ่ายเดือนละ ๑๐ บาท

เมื่อช่วยกันออกเงินจัดแสดงละครประจำปี  ออกเงินคนละ ๓ บาท


      ครึ้มใจเมื่ออ่าน     และคิดว่าตัวเองยังพอมีสตางค์ออกไปหาหนังสือได้อีกวันนี้  
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 08 ธ.ค. 10, 13:57


ลูกพี่ลูกร้องของคุณหญิงผอบ  คุณสุพรรณ  อุปถัมภ์หัตถสาร   เขียน "คิดถึงพี่"  ในหน้า (๗๒)


       "พี่อบเป็นหลานคนโตของคุณตา (หลวงอุประถ้มภ์หัตถสาร)  คุณตามีลูกชายสองคน  ลูกสาวสองคน

(คนที่ ๒ และคนที่ ๔)   หลานตาจะเกิดและรวมอยู่ที่เดียวกัน  ข้างวัดจางวางดิษฐ์  ถนนวรจักร

   

       พี่เป็นคนเรียนเก่ง  ได้ทุนตั้งแต่ชั้นประถมถึงมหาวิทยาลัย   มีความจำดีเยี่ยม  ใส่ใจในการเรียนรู้

และโอกาสเป็นสิ่งประกอบให้พี่เก่งเพราะคุณลุงผล(พระบรรสิทธิ์วรสาสน์) และ คุณลุงผิน(หลวงเผดิมวิทยาสูง)

เป็นนักเรียน King's scholarship  ทั้งสองคน      คุณลุงผลต้องสละสิทธิ์เพราะคุณยายไม่ให้ไป
 
คุณลุงผินไปเรียนที่อังกฤษ            แม้จะมีอายุสั้น  พี่อบก็โตพอมีเวลาได้เรียนรู้จากคุณลุง   โดยเฉพาะที่บ้่านมีโรงม้า

(ใกล้สะพานแม้นศรี  ฝรั่งชอบเช่าเพราะรถสวย         ภาษาไทยก็ได้ตาแปลก  ภู่ระหงษ์( หลายปู่สุนทรภู่)สามียายละมุน คนเลี้ยงของแม่และข้าพเจ้า"
   

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 09 ธ.ค. 10, 06:52

       คุณหญิงเล่าต่อถึงเพื่อนๆของพี่ข้างบ้านท่านที่เป็นนักเรียนสวนกุหลาบ  ที่ต่อมาเป็นนักประพันธ์กันหลายคน  คือ

ก. พรรธะแพทย์

น. ฤทธาคนี

สันตสิริ   และ

นวนาค


ท่านเล่าว่าหนังสือที่คนติดใจมากคือเกร็ดพงศาวดารจีนที่ลงในหนังสือพิมพ์รายวัน   เป็นเรื่องเหนือมนุษย์ที่คนส่วนมาก

ชอบจินตนาการตามไป   เม่งลี่กุน   เจ็งฮองเฮา   ซิเต็งซัน  อันปังเตี้ยก๊กจี่  ฯลฯ      ชอบกันมากจนเอามาใช้ในชีวิตประจำวัน

เช่นกินราวกับซิยิ่นกุ้ย  สวยราวกับนางปังเซียนจู

คุณหญิงได้เอ่ยถึงนิยายไทยบางเรื่องที่แสดงฤทธิ์เดช  เช่นวงษ์สวรรค์   จันทวาท


       ใครมีจันทวาท  ช่วยเล่าเรื่องแบบย่อให้ฟังหน่อยเถิดค่ะ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 12 ก.ย. 12, 14:13

ขอบคุณคุณไซมีสค่ะที่กรุณาส่งภาพ


"ฉัน"  เป็นสุภาพสตรีบรรดาศักดิ์ค่ะ   มียศในราชการด้วย


ตอนนี้เรื่องยังยืดอยู่  แต่ท่านเล่าเรื่องได้แปลกค่ะเพราะเป็นข้อมูลต้นรัชกาลที่ ๖

มีบางเรื่องดิฉันก็เคยอ่านในหนังสือภาษาอังกฤษที่ท่านต้มน้ำโดยใช้ตะเกียงลาน

ประมาณคุณแม่บ้านชงน้ำชาเลี้ยงครูสอนหนังสือที่พึ่งย้ายมาใหม่

"... เมื่อฉันเกิดยังใช้ตะเกียงลาน ตะเกียงลานนั้นถ้าต้องการให้ไฟสว่างนวลต้องหมั่นไขลาน ใช้เป้นที่ต้มน้ำได้เสร็จ โดยใส่สามขาซึ่งเป็นเหล็กทำให้พอดีกับบ่าตะเกียงสวมลงไป มีเหล็กแหลมยื่นออกมา ๓ ข้างไว้รับน้ำหนักกา ตอนค่ำๆ คุณทวดท่านชอบต้มน้ำชงชาเลี้ยงคนที่มาอ่านหนังสือให้ฟัง ..."



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 12 ก.ย. 12, 15:38

คุณหญิงฯ ท่านเล่าไว้ว่า

... ในปีที่ฉันได้รับปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิตนั้น มีเพื่อนร่วมรุ่นกันมาแต่เดิมเพียง ๕ คน ฉันเป็นผู้หญิงคนเดียว ... พวกที่จบในปีนั้น นับเป็นอักษรศาสตร์บัณฑิตรุ่นแรก คือ ๒๔๗๘

เมื่อฉันมาทำงานได้ ๓ ปีก็ได้ทราบว่าทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะเปิดชั้นปริญญาตรีแผนกอักษรศาสตร์ และได้เปิดแผนกวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์แล้วในปี ๒๔๗๖ และอนุญาตให้ผู้ที่สำเร็จประโยคครูมัธยมจากจุฬาลงกรณ์ฯ ซึ่งศึกษามาแล้ว ๓ ปีเข้าศึกษาต่อได้แต่ต้องสอบคัดเลือกใหม่ พวกเพื่อนทั้ง ๓ รุ่น หลายคนไปสอบคัดเลือกและลาออกจากราชการเข้าไปศึกษาต่อ จึงรวมเป็นนิสิต ๕ รุ่นที่เข้ามาศึกษาปีที่ ๓ พร้อมกันคือ ตั้งแต่รุ่นที่ ๑-๕ (๒๔๗๑-๒๔๗๕) ...

... ปริญญาบัตรที่ได้รับแปลกกว่ารุ่นอื่นๆ คือทำด้วยหนังหมูและมีใบสีชมพูประทับบนแผ่นปริญญาบัตร ปีต่อๆ มาไม่มีแบบนี้เลย ...

...

การรับปริญญารุ่นแรกโกลาหลมากเพราะทุกคนจะต้องเตรียมเสื้อครุยปริญญาอักษรศาสตร์ เดินเส้นสีเทา ปีนั้นประธานผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป้นผู้ประทานแทนองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งประทับอยูที่โลซานต์

การรับปริญญารับที่เรือนไม้ข้างตึกจักรพงศ์เดี๋ยวนี้ (เดิมเป็นที่รับประทานอาหาร) เพราะยังไม่ได้สร้างตึกจักรพงศ์ จำนวนนิสิตมากจึงใช้สถานที่นี้



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 12 ก.ย. 12, 16:06

ครูฝรั่งในภาพ อาจจะเป็นครูเดวีส์ (Mr. Davies) ที่คุณหญิงผะอบ ท่านกล่าวถีงไว้ก็ได้

"ฉันได้ข้ามตึกมาเรียนวิชาครูที่ตึกอักษรศาสตร์ ...เมื่อเรียนอยู่ ฉันโกรธครู Davies มาก หาว่าเคี่ยวเข็ญ ให้การบ้านมาก ... ครูเดวี่ส์กวดขันพวกเรามากจึงเรียกกันว่าครู Davies คือคล้ายครูไทยปฏิบัติต่อนักเรียน เราก็โกรธในบางครั้ง นินทาบ้าง ..."

ในสมัยที่ท่านเรียนที่คณะอักษรศาสตร์ยังไม่มีเครื่องแบบนิสิตหญิง จะมีปีไหนยังค้นไม่พบ





บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 12 ก.ย. 12, 16:40

พอขึ้นปีที่ ๒ นิสิตทุกคณะย้ายที่เรียนไปอยู่ที่ตึกวิทยาศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เราเรียกกันว่าตึกขาว ขณะนั้นยังสร้างไม่เสร็จเรียบร้อยดี ที่เรียกว่าตึกขาวเพราะทาสีขาว นับว่าเป็นตึกที่ ๒ ที่ได้สร้างขึ้น

นิสิตหญิงอาศัยห้อง Lab ซึ่งยังไม่มีเครื่องมือทางด้านซ้ายของตึกเป็นห้องพัก มีห้องสมุดเล็กๆ เวลาเรียนก็อาศัยห้องบรรยายบ้าง ห้อง Lab ที่มีม้านั่งบ้าง คณบดีท่านก็ยังเข้มงวดเป็นระเบียบอย่างเดิม พอเปลี่ยนชั่วโมงครั้งหนึ่งก็เปลี่ยนห้องกันครั้งหนึ่งเหมือนปัจจุบันนี้ อาจารย์ภาษาอังกฤษก็เปลี่ยนไปเป็นอาจารย์เดวี่ส์ ซึ่งเคยอยู่เมืองไทยมา เป็นคนขยันมากและเจ้าระเบียบ ให้การบ้านบ่อย



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 15 ก.ย. 12, 01:49

... ส่วนเปลตาข่ายนั้นมีปากเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทำด้วยไม้สัก คือใช้ไม้สี่ท่อนมาต่อกัน เจาะช่องสำหรับสอดด้ายถัก ก้นเปลเป็นไม้สักอีกแผ่นหนึ่งรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเช่นกัน ขนาดย่อมกว่าปากเปลเพื่อให้ก้นเปลสอบนิดหน่อย รอบๆ กระดานแผ่นนั้นเจาะเป็นรูรอบๆ ไว้สอดด้ายถัก ผู้ถักเปลจะถักจากขอบลงมาเป็นลวดลายต่างๆ แล้วมายึดกับก้นเปลทิ้งชายไว้ข้างล่างให้สวยงาม ที่ขอบเปลทางปากสี่มุมจะมีที่ยึดให้ผุกเชือกโยงไปยึดกับตงหรือรอดใต้ถุนบ้านหรือบนเรือน เปลชนิดนี้โปร่งเย็นสบาย ...

... เปลตาข่ายสมัยก่อนนั้นเป็นการส่งเสริมศิลปะไปด้วยในตัว เพราะส่วนมากมักจะถักเองและประกวดประขันลวดลายต่างๆ วิธีถักใช้การพันด้ายโยงไปมาให้เป็นดอกเป็นลวดลาย ของใครสวยก็เป็นการแสดงฝีไม้ลายมือกัน เรียกเปลเรียกเป็นปาก เปลปากหนึ่งๆ บางทีลูกนอนต่อๆ กันได้ถึง ๓-๔ คนยังไม่ขาด ...


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 19 คำสั่ง