เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 18564 สาวชาวกรุง ๒๔๕๕
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 01 ธ.ค. 10, 12:29

ขอมอบเรื่องที่น่าอ่านที่สุดเรื่องหนึ่งเป็นของขวัญต่อเรือนไทย



       ฉันเป็นเด็กหญิงชาววรจักรย่านใจกลางพระนคร    สมัยนั้นมีสภาพเป็นชานเมือง


       แม่ของฉันเป็นลูกขุนนาง  เมื่อเล็ก ๆหนีคุณตาไปอยู่ในรั้วในวังเป็นที่โปรดปรานของเจ้านาย 

ไม่ยอมไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนแหม่มโคล์ หรือโรงเรียนวังหลังเพราะเดิมตั้งอยู่ที่ตำบลวังหลังหรือที่โรงพยาบาลศิริราชเดี๋ยวนี้

     แม่ไปอยู่ในวังเมื่ออายุ ราว ๑๕  ในสมัยรัชกาลที่ ๕  นาน ๆ ได้กลับบ้านเสียที   พ่อมาพักอยู่กับอาผู้หญิงที่บ้านติดกัน

พ่อเล่าว่า  เมื่อมากรุงเทพใหม่ ๆ  แม่ยังไว้จุก    ฐานะของครอบครัวร่ำรวยกว่าพ่อมาก  จนพ่อไม่กล้าจะสนิทสนมด้วย

พ่อเป็นราชนิกูลก็จริง  แต่คุณย่าเป็นชาวต่างจังหวัดแท้
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 01 ธ.ค. 10, 16:47


       คุณตาฉันต้องออกจากราชการเพราะท่านทำงานพลาดในบางอย่าง  และถือว่าเพื่อแสดง

ความจงรักภักดีควรลาออกเป็นตัวอย่างทั้ง ๆ ที่เจ้านายท่านก็ไม่ถือว่าเป็นผิด      ท่านได้อยู่กับบ้านทำการค้าส่วนตัว

พอท่านเสียภรรยาไป  ท่านก็ทุ่มเททุกอย่างมาที่ลูกคือแม่ของฉัน  ลุง และน้า ๆ       แต่ท่านก็ได้สิ่งที่ชดเชยคือคือ

น้าชายสอบทุนเล่าเรียนหลวงได้  ซึ่งนับว่าเป็นเกียรติมากในเวลานั้น      น้าเดินทางไปศึกษาต่อที่อังกฤษราว ๗ - ๘

ปี   ลุงก็ได้ตำแหน่งดี  ลุงเป็นนายทหารจึงสนิทสนมกับพ่อ         ฉันเป็นลูกคนที่หนึ่งของพ่อ  หลานคนแรกของปู่ย่า

ตาและยาย  ลุงและน้าด้วย


       ฉันจำได้ว่า  เมื่อเล็ก ๆ พ่อแต่งตัวนายทหารไปทำงานทุกวัน      ฉันมองดูด้วยความสนใจในความผึ่งผายของนายทหารสมัยนั้น

แม่เป็นคนสวย  ผิวบางแบบชาววัง     สมัยนั้นตัดผมสั้นมีจอนทัดหูเหมือนที่นิยมกันเดี๋ยวนี้      การแต่งตัวของหญิงไทยขณะ

อยู่กับบ้านก็นุ่งผ้าลาย  ห่มผ้าแถบ   ฉันยังต้องช่วยจีบผ้าแถบเป็นกลีบแบบกระโปรงพลีทสมัยนี้  แต่การจับผ้าแถบนั้นใช้วิธีจีบด้วยมือ

เพราะผ้าแถบกว้างประมาณ ๑๖ - ๑๘ นิ้ว   ยาวสองหลา   เมือจีบแล้วหักกลางเป็นรูปพัดมัดให้แน่นแล้วนำไปใส่ในก้อปปี้

ซึ่งทำด้วยไม้สองแผ่นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตรงกลางเป็นรู  มีเหล็กเกลียวขันขึ้นลงได้เหมือนแม่แรงรถยนต์  เมื่อขันให้ไม้ทั้งสองห่างกัน

แล้วก็สอดผ้าที่พับแล้วเข้าไป  แล้วขันให้แน่น  ทิ้งไว้นานตามความต้องการที่จะให้เรียบหรือเป็นกลีบขนาดไหน   ผ้าที่จะเข้าอัดต้องพรม

น้ำให้ชื้นทั่วกันเสียก่อน  แล้วจึงนำเข้าก๊อปปี้  เมื่อได้ที่แล้วจะต้องนำมาผึ่งให้แห้งแล้วจับกลีบอีกครั้ง  นำไปอัดอีกครั้งที่ ๒

ผ้าแถบเหล่านี้มีสีต่าง ๆ กัน  โดยมากเป็นสีตามวัน  ถ้าสีซีดก็ย้อมกันเอง   ผ้านุ่งก็เหมือนกัน  ต้องลงแป้งแข็งแล้วพรมน้ำจนชื้น 

ปูลงบนเสื่อ  รีดให้เรียบแล้วพับเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพอดีกับอัดก๊อปปี้แล้วอัดวิธีเดียวกัน   สมัยนั้นยังไม่มีเตารีด
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 01 ธ.ค. 10, 16:55

..


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 01 ธ.ค. 10, 17:06

       บ้านฉันไม่ได้อยู่ริมถนนต้องเดินเข้าทางวัดจางวางดิษฐหรือวัดดิศานุการาม      บ้านเป็นแบบใต้ถุนสูง

นับว่าเป็นบ้านใหญ่พอดู    อยู่ระหว่างวัดจางวางดิษฐกับวัดจางวางพ่วง  มีคลองหน้าบ้านคั่นระหว่างวัดจางวางดิษฐกับ

บ้านฉัน       ตอนเด็กฉันชอบออกไปนั่งริมถนนดูรถราวิ่งผ่านไปมา  บางวันก็หอบข้าวมากินด้วย   ฉันชอบนั่งบนรถเจ๊กที่เขาจอดไว้

คุณตาฉันต้องพาออกมาเอง       ท่านตามใจฉันมาก  ฉันสนิทสนมกับคุณตามากกว่าพ่อของฉันเองเพราะพ่อต้องออกหัวเมืองปีละ ๙ เดือน

ฉันต้องกินข้าวกับคุณตาทุกวัน   ถ้ามิฉะนั้นก็จะออกมานั่งรถเจ๊กกินข้าวที่นั่น  รถที่จอดริมถนนนั้นเป็นของคุณตา  ตอนเย็นเขาจะนำรถมาส่ง

และหลังจากทำความสะอาดแล้วก็เก็บเข้าโรง          ถนนเป็นหินโรยบนลูกรัง  ต้องรดน้ำบ่อย ๆ   คนรดน้ำจะหาบน้ำที่บรรจุอยู่ในอยู่

ในถังไม้  มีพวยยาว  ปากพวยมีเหล็กทาบแบนเปิดช่องเล็ก ๆยาวไว้   พอหาบมาถึงที่ที่ต้องการจะรดก็เอียงถังทั่งสองข้างให้ออกตามพวยฉีดไปเป็นฝอยตามถนน

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 01 ธ.ค. 10, 17:18


โอ   ขอบคุณค่ะคุณ:D ยิ้มกว้างๆ

     สหายเจ้าของร้านหนังสือเก่ามีแท่งไม้ปนเหล็กมหึมาวางไว้ที่มุมห้อง   เป็นแท่นอัดหนังสือที่ซ่อมแล้ว

อยากได้ของเขาอยู่เหมือนกัน  เพราะมีหนังสือต้องซ่อมมากมาย  ยังประมาณตนอยู่จึงไม่ได้ขอบริจาคมา

หนังสือโบราณหายากนั้น  เราจะไม่เปลี่ยนสภาพหนังสือเลย        หนังสือบางชุดขนาดของเล่มหนาบาง

ไม่เท่ากัน  เจ้าของนักสะสมมีมีแต่เงินก็สั่งทำปกหนังเดินทองใหม่  แต่หนุนขนาดให้หนาเท่ากันเสียจะได้ดูดี

ในตู้โชว์  ราคาปกกระดาษจากร้านโบราณประมาณ ๖๐๐ บาทค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 02 ธ.ค. 10, 07:56


       ก๊อกประปาสาธารณะรูปทรงคล้ายตู้ไปรษณีย์  สีเขียวมีพวยยื่นออกมา

มีที่เปิดเป็นเดือยข้างบนเมื่อชักขึ้น  นำ้จะไหลทางก๊อกซึ่งเป็นพวย   ในตอนเย็นจะมีผู้คอยรองน้ำกันเป็นแถว

มีปี๊บน้ำมันก๊าดซึ่งเปิดฝา  มีไม้คานกลาง  วางเรียงมากมาย  เมื่อได้น้ำ ๒ ปี๊บก็หาบกลับบ้าน   บางคนก็ใช้ถัง

ที่แย่งรองน้ำกันจนทะเลาะทุ่มเถียงก็มี   ตอนค่ำเดือนมืดมีคนมาอาบน้ำที่นั้นเลยก็มี


       ถนนวรจักรสมัยนั้นนับว่าเป็นถนนสายใหญ่มาก   มีรถรางสายแดงผ่าน  รถรางมีสองสายคือสีแดงกับสีเหลือง

รถสีแดงสายรอบเมืองที่ผ่านวรจักรไม่มีรถพ่วง  ถ้าสายหัวลำโพง - บางลำภูมีรถพ่วงด้วย เห็นจะเป็นเพราะมีผู้โดยสารมาก

และเป็นระยะสั้นด้วย         ค่าโดยสารชั้นหนึ่ง ๑๐ สตางค์  ชั้นสอง ๖ สตางค์
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 02 ธ.ค. 10, 08:10


       คุณตาเป็นนายช่าง  รูปบ้านจึงออกมาสมัยใหม่กว่าบ้านอื่นที่มีอายุเดียวกัน     เสาใช้ซุงทั้งต้น

ขนาดผู้ใหญ่โอบรอบ    พื้นกระดานแผ่นใหญ่เป็นไม้สักล้วน  ส่วนมากเป็นปีกไม้กว้าง ๑ ฟุต   ถ้าเป็นกระดาน

ที่ไม่ใช่ปีกไม้บางแผ่นก็กว้าง ๒ ฟุต  แข็งแรงมาก  ฉันจำได้ว่าแม่ใช้ให้ถูเรือนยังใช้ผ้าขี้ริ้วจุ่มน้ำในถังขวางกระดานแผ่นแล้ว

ถูพรืดไป  สนุกมากและเร็วดี   ฝาเป็นไม้สักอัดและผนึกแน่นทาสีสวยตั้ง ๕๐ ปีแล้วไม่ต้องทาใหม่      หน้าจั่วทำเป็นรูป

กระต่าย  หมายถึงปีเกิดของคุณตา         บันไดใหญ่และกว้าง  ลูกบันไดชั้นหนึ่งหนาประมาณ ๓ นิ้วกว้าง ๑ ฟุต

ยาว ๕ เมตรเท่ากับความกว้างของนอกชาน   บันไดนี้เป็นที่นั่งเล่นไปในตัว      เรือนแฝดมีนอกชานแล่นกลาง  เรือนครัวอยู่ต่างหาก

หลังครัวเป็นคูซึ่งขุดต่อจากคลองหน้าบ้านไปทะลุคลองมหานาคและคลองวัดจักรวรรดิไปออกแม่น้ำ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 02 ธ.ค. 10, 08:36

"ฉัน"  คนนี้เป็นใครหนอ ฮืม
ดูท่าทางน่าจะเกิดในตระกูลมีอันจะกิน ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 02 ธ.ค. 10, 09:48

"ก๊อกประปาสาธารณะรูปทรงคล้ายตู้ไปรษณีย์  สีเขียวมีพวยยื่นออกมา มีที่เปิดเป็นเดือยข้างบนเมื่อชักขึ้น  นำ้จะไหลทางก๊อกซึ่งเป็นพวย"


บันทึกการเข้า
tony_hui
อสุรผัด
*
ตอบ: 32

เป็นพนักงานบัญชีครับ


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 02 ธ.ค. 10, 10:00

ปูเสื่อรออยู่ครับ ระหว่างรอขอแวบไปซื้อหมึกปิ้งกับเมี่ยงคำก่อนนะครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 02 ธ.ค. 10, 10:00

ขอบคุณคุณไซมีสค่ะที่กรุณาส่งภาพ


"ฉัน"  เป็นสุภาพสตรีบรรดาศักดิ์ค่ะ   มียศในราชการด้วย


ตอนนี้เรื่องยังยืดอยู่  แต่ท่านเล่าเรื่องได้แปลกค่ะเพราะเป็นข้อมูลต้นรัชกาลที่ ๖

มีบางเรื่องดิฉันก็เคยอ่านในหนังสือภาษาอังกฤษที่ท่านต้มน้ำโดยใช้ตะเกียงลาน

ประมาณคุณแม่บ้านชงน้ำชาเลี้ยงครูสอนหนังสือที่พึ่งย้ายมาใหม่
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 02 ธ.ค. 10, 10:08



เมื่อชงน้ำชาแล้ว  เราก็จะกินแซนวิชแตงกวากัน  หรือบิสกิตแห้งๆค่ะ


       ในงานประชุมผู้สะสมหนังสือเก่าเมื่อสิบวันที่แล้ว      สมาชิกท่านหนึ่งง่วงนอนมาก

แจ้งกับประธานกลุ่มซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่ว่า  กระผมขาดคาเฟอินขอรับ     ท่านประธานผู้สง่างาม

กำลังขบขันวาทะของผู้ร่วมประชุมท่านหนึ่งอยู่  ได้ยิน คาเฟอิน  เป็น เฮโรอิน  ไปได้อย่างไรก็ไม่ทราบ

นึกในใจว่า    หา...เราจะไปสั่งเฮโรอินที่ไหนล่ะนี่  ปากซอยคงไม่มีขายมั๊ง

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 03 ธ.ค. 10, 07:02


       เมื่อฉันเกิดนั้นยังใช้ตะเกียงลาน   ถ้าต้องการให้ไฟสว่างนวลต้องหมั่นไขลาน  ใช้เป็นที่ต้มน้ำได้เสร็จ 

โดยใส่สามขาซึ่งเป็นเหล็กทำให้พอดีกับบ่าตะเกียงสวมลงไป   มีเหล็กแหลมยื่นออกมา ๓ ข้างไว้รับน้ำหนักกา

ตอนค่ำ ๆคุณทวดชอบต้มน้ำชาชงชาเลี้ยงคนที่มาอ่านหนังสือให้ฟัง          ฉันเกิดทันคุณทวดซึ่งตอนนั้นอายุ

๗๐ แล้ว  แต่ยังแข็งแรงมาก  ชอบไปดูสวนเอง  ลงมือเก็บผลไม้นำมาขายตลาด
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 03 ธ.ค. 10, 07:21


       เมื่อน้าชายสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงได้  จะต้องไปประเทศอังกฤษ    ต้องลงเรือใหญ่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา

ที่ท่าวัดพระยาไกร  ทุนเล่าเรียนหลวงสมัยนั้นสอบได้ยากและมีปีละ ๒ ทุน   น้าอยู่โรงเรียนสวนกุหลาบ    ปีนั้นสวนกุหลาบ

ได้ทั้ง ๒ ทุน   การชิงทุนสมัยนั้นมีเฉพาะนักเรียนชาย  ถ้าใครอายุเกิน ๑๘ ปี  สอบม.๘ ได้ที่หนึ่งและที่ ๒  ก็ได้รับทุน



       ฉันอยู่กับคุณตาจนกระทั่งเข้ามหาวิทยาลัย   ท่านเป็นทั้งพ่อทั้งพี่เลี้ยง   ท่านขยันช่วยคนใช้หุงข้าวเพราะตื่นแต่เช้า

เมื่อตื่นก่อนก็จะติดไฟตั้งหม้อข้าวไว้ให้  หน้าหนาวก็ผิงไฟไปเสร็จ   สมัยนั้นยังใช้เตาฟืนอยู่  เตามีสามขา  เมื่อใส่ฟืนต้องมีวิธีก่ายฟืนให้ดี

บ้านฉันอยู่ริมคลอง  เรือฟืนจะมาส่งปีละมาก ๆ  เราใช้ฟืนแสม  นับกันเป็นพัน ๆ   เวลาโยนฟืนสนุกมาก  เขาจะโยนไว้ที่ท่าน้ำ 

เราเด็ก ๆ ก็ช่วยกันขนไปกองเรียงให้เป็นระเบียบ   โดยมากเป็นหน้าที่ของคุณทวด  คือน้าสาวของยายฉัน  เป็นผู้ควบคุมให้

พวกเราเรียงให้สวยสะดวกในการใช้
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 03 ธ.ค. 10, 07:50



       พอตั้งข้าวแล้วคุณตาก็สอนให้ฉันท่องสูตรคูณ   วิธีสอนของท่านพิถีพิถันมาก

การเรียนหนังสือก็ต้องจำ ก. ข. ให้ได้จน ฮ.       นอกจากจะจำตัวแล้วยังต้องเขียนให้ถูกแบบ

ท่านใช้วิธีนำกระดานมาสลักเป็นตัวหนังสือ  โดยสลักลึกลงไปเป็นร่อง   ท่านเป็นช่างจึงนำวิธีช่างมาใช้

ฉันต้องหัดเขียนหนังสือโดยวิธีลากก้านธูปไปตามร่องที่กำหนดไว้  จนจำได้หมด   ฉันเกิดความคิดเปรียบเทียบ

กับการเขียนหนังสือภาษาอื่นเช่นภาษาอังกฤษ  ภาษาญี่ปุ่นที่ฉันได้เรียนเมื่อโตแล้ว  เขามีวิธีสอนคือจะต้องตั้งต้นเส้นไหน 

เส้นไหนเป็นเส้นแรก  เส้นที่สอง  เส้นที่สามฯลฯ  ระยะช่องไฟก็ต้องเขียนให้ถูก     จึงจะนับว่าเขียนเป็น


       ในสมัยนั้นมีแบบเรียนเร็วแล้ว  แต่คุณตาบอกว่าเรียนมูลบทหลักแน่นดี  จึงเรียนมูลบทก่อนที่จะไปเข้าโรงเรียน

การเรียนอ่านหนังสือในมูลบทฯ เสียเวลาหน่อย  เพราะจะต้องผันวรรณยุกต์และแจกลูกไปด้วย      ใช้วิธีฝึกที่เรียกว่า drill

พระยาศรีสุนทรโวหาร  ศาลฎีกาด้านภาษาไทยของเมืองไทยท่านใช้มานานแล้ว   ต่อไปก็จะต้องอ่านแจกลูก   แล้วผสมวรรณยุกต์

แบบนี้ทุกตัว       เด็กจะรู้ว่าไหนเป็นคำตายตัวไหนผันได้กี่เสียง   เมื่อจบแล้วจะให้อ่านข้อความสนุกสนานเป็นเรื่องราวคือกาพย์พระไชยสุริยา

เริ่มต้นด้วยแม่ก.กา  แล้วจึงถึงมาตราตัวสะกด  ก็ต้องแจกลูกก่อน  แล้วเข้ารูปวรรณยุกต์เรียงกันไปตั้งแต่แม่กนจนจบทั้งแปดมาตรา 

หรือเรียกตามภาษาชาวบ้านว่าแปดแม่  ก็พอจบเรื่องพระไชยสุริยาพอดี

       หนังสือมูลบทนี้ ทั้งชุดมี ๖ เล่ม


       ฉันเองอ่านไม่จบทั้ง ๖ เล่ม  ก็ต้องไปเข้าโรงเรียน       คุณตาเห็นว่าควรจะส่งไปโรงเรียนได้แล้วเมื่อจบมูลบท  มิฉะนั้นจะช้าไป
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.04 วินาที กับ 19 คำสั่ง