เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
อ่าน: 22853 คติธรรม ส่งท้ายปีเก่า ๒๕๕๓ ต้อนรับปีใหม่ ๒๕๕๔
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 20 ธ.ค. 10, 15:13

ศรัทธาทำให้มีหลักที่ยึดเหนี่ยวให้เกิดความมั่นคงทางจิตใจในระดับหนึ่ง แต่จะมั่นจริงต้องมีปัญญา โดยเกิดความรู้เข้าใจด้วยตนเอง

ศรัทธาเป็นความมั่นใจที่อาศัยหลักข้างนอกคือสิ่งภายนอกหรือสิ่งอื่นมาเป็นเครื่องยึด เหมือนมีคนมาพาคนหลับตาเดิน ถ้าเราเชื่อมั่นในคนที่จูงนำพาเราไป เราก็มี security ได้ แต่ถ้าเราลืมตามองเห็นทางด้วยตนเอง เราจะมีความมั่นใจโดยสมบูรณ์ คือมองเห็นทางนั้นชัดเจน รู้ว่าจะไปถึงจุดหมายนี้ได้ ต้องไปทางนี้

แม้แต่จะตาย คนที่จะตายก็ต้องการ spiritual security คือความมั่นคงทางจิตใจ หรือจิตลึกที่ว่านี้ คนที่ไม่มีหลักยึดเหนี่ยวจิตใจเวลาจะตายจิตใจก็มักฟุ้งซ่าน หวาดกลัว ไม่มีสติ แต่ถ้าเป็นคนมีศรัทธา มีความเชื่อมั่น อย่างชาวพุทธที่ศรัทธาเชื่อมั่น ในบุญ ในกุศล เมื่อเขาได้ทำบุญกุศลไว้ หรือมีจิตศรัทธายึดอยู่กับพระรัตนตรัย พอจิตมีหลักอย่างนี้ ก็สงบได้ใจก็มั่นคงดี

ทีนี้ ก้าวไปอีกขั้นหนึ่งคือ คนที่มีปัญญาเห็นแจ้ง รู้เข้าใจหลักพระไตรลักษณ์ เข้าถึงความจริงของชีวิต และกฎธรรมชาติ อันนี้จะไปเหนือยิ่งกว่าศรัทธาอีก คือคนที่รู้เข้าใจ รู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิตแล้ว จิตยอมรับความจริงนั้น จิตใจของเขาจะสงบได้เลย แล้วก็เป็นอิสระด้วย

ส่วนคนที่อาศัยศรัทธา ยังต้องมีหลักเป็นที่ยึดเพื่อให้เกิดความมั่นใจ ต้องเกาะจึงมั่น ต้องยึดจึงมั่น แต่ถ้าเป็นคนที่มีปัญญารู้แจ้งแล้ว ไม่ต้องเกาะต้องยึดอะไรเลย เป็นอิสระ

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 20 ธ.ค. 10, 16:38

คนที่อยู่ในโลกด้วยความรู้เข้าใจโลกและชีวิตตามเป็นจริง
จิตเจนจบกับโลกและชีวิต วางจิตลงตัวพอดี
ทุกอย่างเข้าที่อยู่ตัวสนิทอย่างนี้ ท่านเรียกว่าเป็นจิตอุเบกขา
เป็น จิตที่สบาย ไม่มีอะไรกวนเลยเรียบสนิท เป็นตัวของตัวเอง ลงตัว
เมื่อทุกสิ่งเข้าที่ของมันแล้ว คนที่จิตลงตัวเช่นนี้ จะมีความสุขอยู่ประจำตัวอยู่ตลอดเวลา
เป็นสุขเต็มอิ่มอยู่ข้างใน ไม่ต้องหาจากข้างนอก และเป็นผู้มีชีวิตที่พร้อมที่จะทำเพื่อผู้อื่นได้เต็มที่
เพราะไม่ต้องห่วงกังวลถึงความสุขของตน และไม่มีอะไรที่จะต้องทำเพื่อตัวเองอีกต่อไป
จะมองโลกด้วยปัญญาที่รู้ความจริง และด้วยใจที่กว้างขวางและรู้สึกเกื้อกูล

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 22 ธ.ค. 10, 08:25

      พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรารู้จักใช้ความสามารถในการปรุงแต่ง แทนที่จะปรุงทุกข์ ก็ปรุงสุข เก็บเอาแต่อารมณ์ที่ดีมาปรุงแต่งใจให้สบาย แม้แต่หายใจ ที่ยังให้ปรุงแต่งความสุขไปด้วย
      ลองฝึกดูก็ได้ เวลาหายใจเข้า ก็ทำใจให้เบิกบาน เวลาหายใจออก ก็ทำใจให้โปร่งเบา ท่านสอนไว้ว่าสภาพจิต ๕ อย่างอย่างนี้ ควรปรุงแต่งให้มีในใจอยู่เสมอ คือ

๑. ปราโมทย์ ความร่าเริงเบิกบานใจ
๒. ปีติ ความอิ่มใจ
๓. ปัสสัทธิ ความสงบเย็น ผ่อนคลายกายใจ ไม่เครียด
๔. ความสุข ความโปร่งโล่งใจ คล่องใจ สะดวกใจ ไม่มีอะไรมาบีบคั้น หรือติดขัดคับข้อง
และ ๕. สมาธิ ภาวะที่จิตอยู่กับสิ่งที่ต้องการ ได้ตามต้องการ ไม่มีอะไรมารบกวน จิตอยู่ตัวของมัน

ขอย้ำว่า ๕ ตัวนี่สร้างไว้ประจำใจให้ได้ เป็นสภาพจิตที่ดีมาก ผู้เจริญในธรรมจะมีคุณสมบัติของจิตใจ ๕ ประการนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า

ตโต ปาโมชฺชพหุโล ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสติ

แปลว่า ภิกษุปฏิบัติถูกต้องแล้ว มากด้วยปราโมทย์ มีจิตใจร่าเริงเบิกบานอยู่เสมอ จักทำทุกข์ให้หมดสิ้นไป


พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 19 คำสั่ง