เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 22845 คติธรรม ส่งท้ายปีเก่า ๒๕๕๓ ต้อนรับปีใหม่ ๒๕๕๔
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 29 พ.ย. 10, 13:47

..


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 29 พ.ย. 10, 13:56

..ปีใหม่..


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 29 พ.ย. 10, 14:07

"เราทั้งหลายทำบุญแล้วไม่เห็นตัวมัน อยากรู้จักตัวมัน เออ....ตัวบุญก็คือคนเรานี่แหละ   ศีรษะมันดำ คอมันกิ่วๆ
ลักษณะของบุญ คือ ใจเราดีมีความสุข ใจเรามีความสบาย เย็นอกเย็นใจ ไม่ทุกข์ ไม่ร้อน ไม่วุ่นวาย
นี่แหละบุญเป็นอย่างนี้ อยู่ที่ใจนี้
ส่วนลักษณะของบาป คือ ใจชั่ว เป็นทุกข์ เป็นร้อน นี่แหละบาปเป็นอย่างนี้ อยู่ที่ใจเหมือนกัน"


วาทะธรรม....หลวงปู่ฝั้น   อาจาโร     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 30 พ.ย. 10, 10:02

นักบุญ

การทำบุญก็ดี การทำสิ่งใดก็ดี ถ้าเป็นการทำตนให้ละทิฏฐิมานะ ทำเพื่อให้จิตเบิกบาน ย่อมเสวยบุญนั้นในปรภพ มนุษย์ทุกวันนี้ทำแบบมีกิเลส ดังนั้น บางคนนึกว่าเขาสร้างโบสถ์เป็นหลังๆ แล้วเขาจะไปสวรรค์หรือเปล่า เขาตายไปอาจจะต้องตกนรก เพราะอะไรเล่า เพราะถ้าเขาสร้างด้วยเจตนาไม่บริสุทธิ์ เป็นการทำเพื่อเอาบุญบังหน้าในการเสวยความสุขส่วนตัวก็มี บางคนอาจเรียกได้ว่าหน้าเนื้อใจเสือ คือข้างหน้าเป็นนักบุญ ข้างหลังเป็นนักปล้น

ละความตระหนี่มีสุข

ดังนั้นบุญที่เขาทำนี้ถือว่า ไม่เป็นสุข หากมาจากการก่อกรรม บุญนั้น จึงมีกระแสคลื่นน้อยกว่าบาปที่เขาทำเอาไว้หากมีใครเข้าใจคำว่า บุญ นี้ดีแล้ว การทำบุญนี้จุดแรกในการทำก็เพื่อไม่ให้เรานี้เป็นคนตระหนี่ รู้จักเสียสละเพื่อความสุขของผู้อื่น ธรรมดาเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เมื่อมีทุกข์ก็ควรจะทุกข์ด้วย เมื่อมีความสุขก็ควรสุขด้วยกัน

จากหนังสือ เรียนธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน เล่มของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 30 พ.ย. 10, 10:08

การปฏิบัติก็เพื่อให้รู้ว่า ต้องเอาชนะใจ จะได้ชื่อว่าเรามาปฏิบัติ ถ้าใจมันคิดอะไร อย่าไปตามใจ ถ้าตามใจ ไม่ได้ปฏิบัติ
สมมติว่าความโกรธ ความไม่ชอบใจ มันจะเกิดขึ้น ก็ต้องติเตียนเลยว่า ไปไม่ชอบใจเขาทำไม การไม่ชอบใจมันดีตรงไหน
เรานั่งอยู่เฉยๆ พอไม่ชอบใจเกิดขึ้น ใจเราก็เร่าร้อน เป็นทุกข์กระวนกระวาย
เราก็ต้องปฏิบัติ คือ ต้องติเตียนใจตนเองเลยทีเดียว เอาธรรมะติเตียนเลย ว่ามันไม่ดี มันเป็นทุกข์ ทำให้ใจตัวเองเศร้าหมองถ้าขาดสติ
มันเกิดที่ใจ  ประเดี๋ยวออกทางปาก ถ้าขาดสติแล้วไม่มีศีลห้ามอีกด้วย เดี๋ยวก็ออกทางวาจาพุ่งเป็นท่อออกไปเลย
ทั้งๆ ที่มันเกิดที่ใจ มันก็ไม่น่าเร่าร้อนขนาดนั้น เดี๋ยวเดียวควันมันออกทางปากเป็นลมพุ่งออกไปเลย
นี่ลองคิดดูสิ อำนาจของมันขนาดไหน เพราะเราไปหลงมันนิดเดียว
แต่พอเราไม่หลงมัน มันเกิดที่ใจ พอเห็นก็เฉย ภาวนาเลย มันก็ดับไปเอง


คำสอน หลวงพ่อสำรวม สิริภัทโท
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 30 พ.ย. 10, 21:10

บุญนั้นเป็นแก้วสารพัดนึก     ความทุกข์บางอย่าง ถ้าไม่มีบุญแล้ว ช่วยไม่ได้จริงๆ
ส่วนความทุกข์ธรรมดา ทุกข์หนาว ทุกข์ร้อน เป็นต้น ดังนี้ คนจนเขาก็ช่วยตนเองได้
บุญนี้ไม่เป็นของที่จะซื้อขายได้ หรือขอกันได้   เป็นของประจำใจทุกๆ คน


ธารแห่งธรรม หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 01 ธ.ค. 10, 09:44

                ขออนุญาตแยกเข้าซอย ครับ

โดนใจคำสอนหลวงพ่อชาชิ้นนี้มานานแล้ว

อ้างถึง
เธอจงระวังความคิดของเธอ
เพราะความคิดของเธอ
จะกลายเป็นความประพฤติของเธอ

ต่อมาได้ท่องเน็ทแล้วพบว่ามี quotation ในภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาคล้ายกัน คือ

       'Carefully watch your THOUGHTS, for they become your WORDS.

      Manage and watch your WORDS, for they will become your ACTIONS.

      Consider and judge your ACTIONS, for they have become your HABITS.

      Acknowledge and watch your HABITS, for they shall become your VALUES.

      Understand and embrace your VALUES, for they become YOUR DESTINY.'

- Mahatma Gandhi
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 01 ธ.ค. 10, 09:46

และ           'Watch your thoughts, they become words.
              Watch your words; they become actions.
              Watch your actions; they become habits.
              Watch your habits; they become character.
              Watch your character; it becomes your destiny.'

           quotation ที่สองนี้ บางแห่งระบุว่าเป็นของคุณแฟรงค์ Frank Outlaw
แต่บางแห่งก็บอกว่าไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นคุณแฟรงค์ โดยอ้างหนังสือ Quotations ต่างๆ 
ไม่ปรากฏคำคมนี้ บ้างว่าคุณแฟรงค์ ไม่มีตัวตนจริง

            หนึ่งคำตอบว่าเป็นของ  Charles Reade (1814-1884) ซึ่งพบว่าเนื้อความเป็น

           Sow an act and you reap a habit.
         Sow a habit and you reap a character.
         Sow a character and you reap a destiny.

และอีกหนึ่งว่า   a saying in Thai by a famous Thai monk, Achann Chaa of Wat Po Pong
(1918-1992). Many of his sayings were known abroad during 1960s and 1970s.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 01 ธ.ค. 10, 10:11

อ้างถึง
quotation ที่สองนี้ บางแห่งระบุว่าเป็นของคุณแฟรงค์ Frank Outlaw
แต่บางแห่งก็บอกว่าไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นคุณแฟรงค์ โดยอ้างหนังสือ Quotations ต่างๆ
ไม่ปรากฏคำคมนี้ บ้างว่าคุณแฟรงค์ ไม่มีตัวตนจริง
นามสกุลคุณแฟรงค์ แปลกจริง   น่าจะเป็นนามปากกา มากกว่านามสกุลจริง

ที่มาของคติธรรมนี้ น่าสนใจมาก    ดิฉันไม่สามารถตัดสินลงไปได้ว่าเป็นของใคร  ขอฝากให้พิจารณากันเอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 01 ธ.ค. 10, 10:31

คำสอน หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

มีคนกรุงกราบถามหลวงปู่มั่นว่า "หลวงปู่รักษาศีลองค์เดียว ไม่ได้รักษาถึง ๒๒๗ องค์ เหมือนพระทั้งหลายที่รักษากันใช่หรือไม่"?
"ใช่ อาตมารักษาเพียงอันเดียว" หลวงปู่มั่นตอบ
คนกรุงกราบถามท่านอีกว่า "ที่หลวงปู่รักษาเพียงอันเดียวนั้นคืออะไร"?
หลวงปู่มั่นตอบสั้นๆ คือ "ใจ"!
คนกรุงยังไม่แจ่มแจ้ง กราบถามหลวงปู่มั่นว่า..
"แล้วศีล ๒๒๗ นั้น หลวงปู่ไม่ได้รักษาหรือ"?
หลวงปู่มั่นตอบว่า... "อาตมารักษาใจ  ไม่ให้คิด พูด ทำ ในทางผิด อันเป็นการล่วงเกินข้อห้ามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ จะเป็น ๒๒๗ หรือมากกว่านั้นก็ตาม บรรดาที่เป็นข้อบัญญัติห้าม อาตมาก็เย็นใจว่า ตนมิได้ทำผิดต่อพุทธบัญญัติ    ส่วนท่านผู้ใดจะว่าอาตมารักษาศีล ๒๒๗ หรือไม่นั้น สุดแต่ผู้นั้นจะคิดจะพูดเอาตามความคิดของตน    เฉพาะอาตมาได้รักษาใจ อันเป็นประธานของกายวาจาอย่างเข้มงวดกวดขันตลอดมา   นับแต่เริ่มอุปสมบท"
คนกรุงกราบถามอีกว่า "การรักษาศีลต้องรักษาใจด้วยหรือ"?
หลวงปู่มั่นตอบว่า
"... ถ้าไม่รักษาใจจะรักษาอะไร ถึงจะเป็นศีลเป็นธรรมที่ดีงามได้ นอกจากคนที่ตายแล้วเท่านั้นจะไม่ต้องรักษาใจ   แม้กายวาจาก็ไม่จำต้องรักษา แต่ความเป็นเช่นนั้นของคนตาย  นักปราชญ์ท่านไม่ได้เรียกว่าเขามีศีล เพราะไม่มีเจตนาเป็นเครื่องส่องแสดงออก ถ้าเป็นศีลได้ ควรเรียกได้เพียงว่าศีลคนตาย ซึ่งไม่สำเร็จประโยชน์ตามคำเรียกแต่อย่างใด    ส่วนอาตมามิใช่คนตายจะรักษาศีลแบบคนตายนั้นไม่ได้    ต้องรักษาใจให้เป็นศีลเป็น
ธรรม   สมกับใจเป็นผู้ทรงไว้ทั้งบุญทั้งบาปอย่างตายตัว..."

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 01 ธ.ค. 10, 10:53

คำสอนของหลวงปู่ดุลย์ อตุโล
- เมื่อพูดถึงนิมิต ที่เกิดขึ้นได้สำหรับผู้ทำกรรมฐาน  "ที่เห็นนั้น เขาเห็นจริง  แต่สิ่งที่ถูกเห็น ไม่จริง"
 
- ที่จริงพระอรหันต์ทั้งหลายท่านไม่ได้รู้อะไรมากมายเลย 
เพียงแต่เจริญจิตให้รู้แจ้งใน ขันธ์ ๕,  แทงตลอดในปฏิจจสมุปบาท  หยุดการปรุงแต่ง 
หยุดการแสวงหา  หยุดกริยาจิต  มันก็จบแค่นี้  เหลือแต่  บริสุทธิ์  สะอาด  สว่าง
ว่าง มหาสุญตา ว่างมหาศาล"

-  มีผู้เรียนถามหลวงปู่ว่า "ท่านยังมีโกรธอยู่ไหม?"
    หลวงปู่ตอบสั้นๆว่า "มี  แต่ไม่เอา"
 
 - มีผู้เรียนถามหลวงปู่อีกว่า 
   "หลวงปู่ครับทําอย่างไรจึงจะตัดความโกรธให้ขาดได้"
    หลวงปู่ตอบว่า
    "ไม่มีใครตัดให้ขาดได้หรอก  มีแต่รู้ทัน...
    เมื่อรู้ทันมันก็ดับไปเอง"

-    จิตที่ส่งออกนอกเพื่อรับสนองอารมณ์ ทั้งสิ้นเป็นสมุทัย
      ผลอันเกิดจากจิตส่งออกนอกแล้วหวั่นไหวเป็นทุกข์
      จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค
      ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธ

- มีผู้อยากฟังความคิดความเห็นเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดของหลวงปู่
และยกบุคคลมาอ้างว่าท่านผู้นั้น ท่านผู้นี้ระลึกชาติย้อนหลังได้หลายชาติ
    หลวงปู่ว่า
    "เราไม่เคยสนใจเรื่องอย่างนี้ 
    แค่อุปจารสมาธิก็เป็นไปได้แล้ว    ทุกอย่างมันออกไปจากจิตทั้งหมด  อยากรู้อยากเห็นอะไร
   จิตมันบันดาลให้รู้ให้เห็นได้ทั้งนั้น   และรู้ได้เร็วเสียด้วย
   หากพอใจเพียงแค่นี้   ผลที่ได้ก็คือ ทําให้กลัวการเวียนว่ายตายเกิดในภพที่ตํ่า แล้วก็ตั้งใจทําดี
   บริจาคทาน รักษาศีล แล้วก็ไม่เบียดเบียนกัน พากันกระหยิ่มยิ้มย่องในผลบุญของตัว 
   ส่วนการที่จะขจัดกิเลสเพื่อทําลาย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เข้าถึงความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงนั้น อีกอย่างหนึ่งต่างหาก"   
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 01 ธ.ค. 10, 11:08

..


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 01 ธ.ค. 10, 13:03

..


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 01 ธ.ค. 10, 13:03

..


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 01 ธ.ค. 10, 15:07

ในทางธรรม ท่านมิได้ถือว่า ความมีอายุยืนนั้นเป็นตัวตัดสินคุณค่าที่แท้จริงของชีวิต เครื่องตัดสินคุณค่าที่แท้จริงของชีวิตนั้น อยู่ที่ว่า ระหว่างที่อายุยังทรงอยู่ ไม่ว่าจะสั้นหรือยาวก็ตาม บุคคลได้ใช้ชีวิตนั้นอย่างไร
คือ  ได้อาศัยชีวิตนั้นก่อกรรมชั่วร้ายเป็นโทษ หรือทำสิ่งที่ดีงามเป็นประโยชน์ พอกพูนอกุศลธรรมหรือเจริญกุศลธรรม
ปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามอำนาจของอวิชชาตัณหา   หรือดำเนินชีวิตด้วยปัญญาและ กรุณา
ชีวิตที่งอกงามด้วยกุศลธรรมอำนวยประโยชน์สุขแก่ตนและผู้อื่น แม้จะสั้นก็ยังประเสริฐกว่าชีวิตซึ่งยืนยาว แต่เป็นที่สั่งสมอธรรมและแผ่ขยายความทุกข์  ดังตัวอย่างพุทธพจน์ในธรรมบทคาถาว่า

“ผู้ ใดเกียจคร้าน หย่อนความเพียร ถึงจะมีชีวิตอยู่ได้ร้อยปีก็ไม่ดีอะไร ชีวิตของผู้มีความเพียรมั่นคง แม้เพียงวันเดียวก็ยังประเสริฐกว่า”
“ผู้ใดทรามปัญญา ไม่มีสมาธิ ถึงจะมีชีวิตอยู่ได้ร้อยปีก็ไม่ดีอะไร    ชีวิตของคนมีปัญญา มีสมาธิ แม้เพียงวันเดียวก็ยังประเสริฐกว่า”
“ผู้ใดไม่เห็นอุดมธรรม ถึงจะมีชีวิตอยู่ได้ร้อยปีก็ไม่ดีอะไร ชีวิตของผู้เห็นอุดมธรรม แม้เพียงวันเดียวก็ยังประเสริฐกว่า”

ชีวิตที่ไร้ธรรมเป็นโทษ ยิ่งอยู่นานก็ยิ่งมีโอกาสพอกพูนอกุศลให้หนาแน่น และแผ่ขยายทุกข์ภัยให้มากมายกว้างขวางยิ่งขึ้น   
ส่วนชีวิตที่ชอบธรรมและบำเพ็ญ คุณประโยชน์ แม้จะอยู่เพียงเวลาสั้น ก็ยังมีคุณค่ามาก    ดังที่เรียกว่าเป็นชีวิตอันประเสริฐ
หากยิ่งอยู่ยาวนานมากขึ้น ก็ยิ่งเป็นกำลังส่งเสริมธรรมให้เข้มแข็ง   และสร้างสรรค์ประโยชน์สุขให้พรั่งพร้อมยิ่งขึ้นแก่พหูชน 


พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต)
วัดญาณเวศกวัน  ต.บางกระทึก  อ.สามพราน  จ.นครปฐม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 19 คำสั่ง