ผมเกิดในชนบทแถวภาคใต้ พังงา กระบี่ ตอนเด็กเคยเขียนลายไทย ทันงานแทงหนก (แทงกนก) กรุกระดาษเยอะหลายงาน ส่วนงานแทงหยวกประดับงานศพ ไม่เกิน 2 งาน จำได้ไม่ถนัดครับ
เรื่องลายพอแทงตามได้ แต่น่องสิงห์กลายเป็นขาสัง (มุดสัง = อีเห็น) ขาดความน่ายำเกรง และที่สำคัญคือ หยวกบอบช้ำ เพราะแทงอืดช้าไม่เนียน ไม่ทันรุ่นลุงรุ่นปู่...
งานประดับโลงทำกันตอนเช้าสองสามชั่วโมงเสร็จ หามศพไปวัดตอนสาย แทงลายประดับเมรุต่ออีก คนดูได้ความรู้ ช่างได้อวดเชิง ทำเสร็จสวยงามพอแค่พระสวดจบ..
กลายเป็นธรรมเนียมแกมติติงว่าช่างหนกโลง เริ่มวันอาบน้ำศพเสร็จจบวันปลง
แล้วก็เผาทิ้ง
ถึงพ.ศ.นี้ หาดูยาก ความเชื่อประจำถิ่นคือใช้ในงานอัปมงคล ถ้าหาคนแก่ๆแถวบ้านมาแทงหยวกให้ดูได้ ก็คงไม่ง่ายที่จะได้ดู

เชื่อว่าพ่อครูส่วนมากยอมแทงให้ดู แต่ผบทบ. ของพ่อครูจะตีหัวเอาตามความเชื่อส่วนบุคคล
ส่วนมากจะเป็นนายหนังหรือแวดวงคนแกะหนัง(ตะลุง)
ส่วนลายพื้นเมืองออกแนวแขก บางส่วนลายคล้ายผ้าปาเต๊ะ วาดคล้ายลายไทยก็มีใบมีดอกแทรกอยู่ชัดกว่าลายภาคกลาง ดูแล้วก็ค่อนข้างลงตัว ถึงตอนนี้จำไม่ได้เสียแล้วว่าลวดลายต้นแบบเป็นอย่างไรบ้าง
เคยดูๆหนังสือหลายเล่มก็มีแต่ลายไทยภาคกลาง ผมแค่คนเคยเล่น ไม่ได้แก่พรรษาพอจะรวบรวมจัดหมู่อ้างอิงเอาเองได้ อีกอย่างลายนั้นมีวิถีของลาย มีเอกลักษณ์หน้าที่ในการใช้ ตามคติของสังคมสมัยนั้นๆ
ไม่ใช่จะใช้ได้ทุกงานทุกลาย ทุกรูป ทุกเวลา ทุกสถานที่
จึงขอรบกวนเพื่อนสมาชิกเรื่อง "แม่ลาย" (ไทยหรือแขก)ทางภาคใต้หน่อยครับ
