เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 11308 นายอำเภอ 2475
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 02 ธ.ค. 10, 08:59


หอสมุดกรมพระยาดำรง ฯ มีหนังสือเรื่องกรมการปกครองมากทีเดียวค่ะ

เมื่อ ๒๐ กว่าปีก่อน เคยไปใช้บริการ ต้องแสดงบัตรประจำตัวและเซ็นชื่อ
เจ้าหน้าที่มองแล้วมองอีก เพราะบัตรข้าราชการเป็นอาจารย์แพทย์ แต่ไปขอดูหนังสือทำเนียบข้าราชการมหาดไทย
ที่สำคัญจำได้ว่าวันนั้นนั่งอ่านอยู่คนเดียว ไม่มีคนไปใช้บริการเลย

เคยไปใช้บริการที่หอสมุดสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ถนนหลานหลวงเหมือนกัน ประมาณ ๒-๓ ครั้ง
หนังสือดีและเก่าหาได้ยากในหอสมุดอื่น  มีมาก  

เช่น  หนังสือเทศาภิบาล (ไม่ใช่เทศาภิบาล พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ นะครับ)
ออกมาตั้งแต่เริ่มตั้งเทศาภิบาลในสมัยรัชกาลที่ ๕  มีเรื่องลงน่าสนใจหลายเรื่อง
ได้แก่  รายงานการประชุมเทศาภิบาล   ข่าวราชการกระทรวงมหาดไทย
การแต่งตั้ง ย้าย สับเปลี่ยน  ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย
รายงานของข้าหลวงมณฑลเทศาภิบาลต่างๆ  ฯลฯ

บางที  ไม่ใคร่มีข่าวราชการอะไร  ก็จะลงเรื่องเอกสารประวัติศาสตร์ดีๆ เก่าๆ
เช่น  พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ  (แพ  ตาละลักษมณ์)
ลงพิมพ์ครั้งแรกก็ในหนังสือนี้   ทำเนียบศักดินาหัวเมืองสมัยกรุงศรีอยุธยา  เป็นต้น

หนังสือเทศาภิบาลนี้ยังคงออกมาจนกระทั่งปัจจุบัน  นับดูก็นานกว่า ๑๐๐ ปีแล้ว
แต่รูปแบบ เนื้อหาในสมัยปัจจุบันย่อมแตกต่างไปจากเทศาภิบาลสมัยแรกๆ มาก
เคยเจอเทศาภิบาลสมัยหลัง  ๒๔๗๕ เป็นต้นมา  ลางเล่ม  ลางปี  เนื้อหาเป็นข่าวราชการหนักๆ ล้วนๆ
ซื้อมาเก็บไว้บ้าง   เพราะเห็นชื่อบรรณาธิการ  เป็น พระยาสัจจาภิรมย์  (สรวง  ศรีเพ็ญ)

ในหอสมุดนี้ยังมี  หนังสือทำเนียบข้าราชการกระทรวงมหาดไทย  จำนวนรายปี
ซึ่งเล่มหนามาก  เพราะข้าราชการมหาดไทยมีทั้งส่วนกลางและหัวเมืองมณฑลต่างๆ
เล่มปีเด็ด ที่ควรหามาอ่าน คือ ปี ร,ศ, ๑๓๑  ซึ่งกระทรวงมหาดไทยรวบรวมข้อมูลข้าราชการ
มหาดไทยทั้งหมด  พร้อมลงสังเขปข้อมูลประวัติข้าราชการแต่ละคนไว้ด้วย
ทั้งนี้เป็นเพราะเริ่มรัชกาลใหม่(รัชกาลที่ ๖) จึงมีรับสั่งให้กระทรวงต่างๆจัดทำทำเนียบและข้อมูลข้าราชการ
ในกระทรวงมาทูลเกล้าฯ ถวาย  เพื่อจะได้ทรงทราบว่ากระทรวงใด มีใครกำกับและทำราชการบ้าง
อันจะเป็นประโยชน์ในการเลื่อนหรือตั้งข้าราชการต่อไปในกาลข้างหน้า


โชคดีว่า  อีกไม่นาน  ตนเองกำลังจะได้เอกสารดังกล่าว  
เพราะผู้ใหญ่ใจดีแถวๆ ท่าวาสุกรี  ท่านมีเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขา
ยอมทำสำเนาเอกสารให้  โดยมีข้อแม้ว่าขอถ่ายสำเนาเอกสารของผมบางเรื่อง

ผู้สนใจเรื่องเก่าและศึกษาเอกสารเก่า  เวลาสนทนากันจะสนุกสนาน
เพราะบางทีไม่ต้องเอ่ยชื่อหนังสือ  แค่พูดถึงสีปกหรือลักษณะปกก็ร้องอ๋อ
ถ้าใครขาดแคลนข้อมูล  ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงก็ยินดีค้นหาให้ทันที
(แต่ต้องให้เวลากันสักหน่อย)  ทั้งต้องพิจารรษจากมารยาทผู้ขอด้วย
ใจดีเป็นพระเวสสันดรมากนัก  มักจะเจ็บตัวเจ็บใจเหมือนม้าอารีเสมอ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 02 ธ.ค. 10, 09:06

เจ้าหน้าที่ให้บริการดีมาก  ยืนยัน 
แต่คนไปใช้บริการน้อย   คงเป็นเพราะที่ตั้งออกจะลับตาคน
คนไม่รู้จักก็หาทางเข้าไม่ถูก 

เคยไปยืมหนังสือวชิรญาณปีต้นๆ อ่าน
ได้ฟังเจ้าหน้าที่บอกและได้เห็นเล่มหนังสือแล้วก็ใจหาย
เพราะหนังสือบางเล่มหมดสภาพไปตามอายุและการใช้งาน
กระดาษแตกเป็นชิ้นๆ จนไม่สามารถปฏิสังขรณ์ให้คืนมาได้
เห็นแล้วก็ปลงอนิจจัง  สังขาร(หนังสือ)ไม่เที่ยง

แต่การที่มีคนเข้าไปใช้น้อย  ก็ดีเหมือนกัน  คือ
อ่านหนังสือได้สบาย  ไม่มีใครมาเดินไปมาให้รำคาญเสียสมาธิ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 02 ธ.ค. 10, 09:08

คุณหมอ CVT คะ

       เมือวานซืนดิฉันแวะไปรับหนังสือโบราณเล่มหนึ่ง  พิมพ์ ๕ ภาษามีไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส ลาตินและ มคธ

(เมื่อบอกว่าใครเป็นคนพิมพ์หนังสือเล่มนี้    สหายร้องสุดเสียงทั้งที่เขาก็มีหนึ่งฉบับที่พิมพ์คำสวดเป็นตัวโรมัน)


เมื่อตรวจรับหนังสือแล้ว  ก็ยืมหนังสืออนุสรณ์มา ๕ หรือ ๖ เล่มติดมือมาเป็นบำเหน็จให้ตัวเอง


เห็นแว่บ ๆ ว่ามีพงศาวดารเมืองสงขลา ที่พระยาวิเชียรคีรี (ชม  ณ สงขลา)เรียบเรียง  ส่วนนี้ก็เป็นเรื่องที่มีกันถ้วนหน้า

เห็นชื่อ หลวงศรีวรวัตร(พิณ  จันทโรจนวงศ์)เรียบเรียงพงศาวดารเมืองพัทลุง   ซึ่งก็น่าจะพอหาได้

เรื่องสองเรื่องนี้ก็พิมพ์อยู่ในหนังสืออนุสรณ์ของหลวงจรูญบุรกิจ (จรูญ  ณ สงขลา)


       ขอคุณหลวงเล็กอย่าหัวเราะ  เพราะดิฉันเองเพิ่งติดจะเก็บหนังสืออนุสรณ์    มีแต่ประวัตินักประพันธ์บ้างเท่านั้น
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 02 ธ.ค. 10, 09:25


เห็นแว่บ ๆ ว่ามีพงศาวดารเมืองสงขลา ที่พระยาวิเชียรคีรี (ชม  ณ สงขลา)เรียบเรียง  ส่วนนี้ก็เป็นเรื่องที่มีกันถ้วนหน้า

เห็นชื่อ หลวงศรีวรวัตร(พิณ  จันทโรจนวงศ์)เรียบเรียงพงศาวดารเมืองพัทลุง   ซึ่งก็น่าจะพอหาได้

เรื่องสองเรื่องนี้ก็พิมพ์อยู่ในหนังสืออนุสรณ์ของหลวงจรูญบุรกิจ (จรูญ  ณ สงขลา)


หลวงจรูญบุรกิจ(จรูญ ณ สงขลา) ท่านสืบเชื้อสายมา ๒ ทาง พ่อคือพระยาเพชราภิบาลนฤเบศร(พ่วง ณ สงขลา) ส่วนแม่คือคุณหญิงแข จันทโรจนวงศ์
ผมเคยถามหาหนังสือเล่มนี้จากอาเจริญจิตร ณ สงขลา ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทกับพ่อ ท่านบอกว่าย้ายบ้านบ่อยหาหนังสือไม่เจอ เสียดายยิ่งนัก




โชคดีว่า  อีกไม่นาน  ตนเองกำลังจะได้เอกสารดังกล่าว 
เพราะผู้ใหญ่ใจดีแถวๆ ท่าวาสุกรี  ท่านมีเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขา
ยอมทำสำเนาเอกสารให้  โดยมีข้อแม้ว่าขอถ่ายสำเนาเอกสารของผมบางเรื่อง

ผู้สนใจเรื่องเก่าและศึกษาเอกสารเก่า  เวลาสนทนากันจะสนุกสนาน
เพราะบางทีไม่ต้องเอ่ยชื่อหนังสือ  แค่พูดถึงสีปกหรือลักษณะปกก็ร้องอ๋อ
ถ้าใครขาดแคลนข้อมูล  ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงก็ยินดีค้นหาให้ทันที
(แต่ต้องให้เวลากันสักหน่อย)  ทั้งต้องพิจารรษจากมารยาทผู้ขอด้วย
ใจดีเป็นพระเวสสันดรมากนัก  มักจะเจ็บตัวเจ็บใจเหมือนม้าอารีเสมอ

ถ้าจะแบ่งความโชคดีทั้งเป็นของที่ให้ และของที่รับมายังผมบ้างก็น่าจะดีนะครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 02 ธ.ค. 10, 09:32

อ้างถึง
เห็นชื่อ หลวงศรีวรวัตร(พิณ  จันทโรจนวงศ์)เรียบเรียงพงศาวดารเมืองพัทลุง   ซึ่งก็น่าจะพอหาได้

เล่มนี้  เคยเห็นเป็นหนังสือเล่มเล็กๆ บางๆ  เป็นหนังสืองานศพต่างจังหวัด  เห็นที่หอสมุดแห่งหนึ่ง  กะว่าจะไปทำสำเนาเมื่อมีเวลาและเงิน

อ้างถึง
ขอคุณหลวงเล็กอย่าหัวเราะ  เพราะดิฉันเองเพิ่งติดจะเก็บหนังสืออนุสรณ์    มีแต่ประวัตินักประพันธ์บ้างเท่านั้น

ในยุทธจักรนักอ่านหนังสือเก่า   การหัวเราะมีหลายแบบ   บางคนหัวเราะแบบเอ็นดูเมตตา   บางคนหัวเราะเพราะดีใจที่คนอื่นได้หนังสือดีมาครอบครอง   บางคนหัวเราะเพราะได้หนังสือที่นั่งนอนรอมาแรมปี  บางคนก็หัวเราะเพราะได้ฟังใครบางคนเล่าข้อมูลที่ตนเองคิดว่าเด็ดดวง คนอื่นไม่รู้เท่า  ให้ฟัง  แต่หารู้ไม่ว่า  คนฟังเขาก้าวล่วงคนเล่าไป ๓ ช่วงตัวแล้ว  และยังมีการหัวเราะได้อีกหลายแบบ   สำหรับคุณวันดี  ผมย่อมหัวเราะด้วยความยินดีที่คุณได้หนังสือดีที่ต้องการมาอ่าน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 02 ธ.ค. 10, 09:34


     เรื่องข้อมูลและหนังสือหายากนั้น    ดิฉันไม่หยิ่ง  ยินดีพนมมือน้อมนบเพื่อขอความรู้

เพราะฉะนั้น  กรุณาอย่าลืมพาสาวน้อยผู้อ่อนแอยากจนไปด้วยคนนะคะคุณหลวงเล็ก



เมื่อรับปากก็ต้องตอบ(อ้างอิงเดิม  หน้า ๕๘๔)

อำเภอปทุมวัน               ร.อ.ท. หม่อมเจ้าบุญฤทธิ์  เกษมสันต์

อำเถอบ้านทะวาย           อ.ต. หลวงวิบูลย์นรารักษ์


อำเภอตลื่งชันขึ้นกับจังหวัดธนบุรีในเวลานั้นค่ะ

                               ร.อ.ท. ขุนสิทธิบัญชีการ

อำเภอบางพลัด              ไม่ปรากฎรายชื่อนายอำเภอหรือผู้รักษาการค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 02 ธ.ค. 10, 09:48



สามช่วงตัว  ไม่เท่าไร

สนใจแต่กุ้งที่คุณหลวงจะนำไปตกปลากระพง

กุ้งหนึ่งตัว  ถ้าหายาก  ราคาก็แพงกว่า ปลากะพงทั้งบ่อ หรือหลายบ่อรวมกัน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 02 ธ.ค. 10, 10:44

อ.ลำลูกกา  จ.ปทุมธานี
นอภ. คนก่อน  คือ  รองอำมาตย์เอก  หลวงการีสุนทรากร   
ถูกไล่ออกจากตำแหน่งหน้าที่ราชการ  เพราะประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง

นอภ.คนใหม่    คือ  รองอำมาตย์โท  ขุนอดุลถิรเขตต์ 
ซึ่งเป็น นภอ.ป่าโมกข์  จ.อ่างทอง   ย้ายมาประจำเมื่อ ต.ค. ๒๔๗๕


อ.สันกำแพง  จ.เชียงใหม่
นอภ. คนก่อน   คือ รองอำมาตย์เอก  เจ้าไชยวรเชษฐ
ใน ต.ค. ๒๔๗๕  ย้ายไปเป็น นอภ.สะเมิง  จ.เชียงใหม่

นอภ. คนใหม่   คือ  รองอำมาตย์โท  ขุนวรคุตคณารักษ์
ซึ่งเป็น นภอ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน   ย้ายมาประจำเมื่อ ต.ค. ๒๔๗๕
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 02 ธ.ค. 10, 11:12


อ้้างอิงเดิม  หน้า ๖๐๔

โนนลาว                           ร.อ.ท. ขุนวรรณวุฒิวิจารณ์

พิมาย                              ร.อ.ท. ขุนประชาภักดีบริบาล

สูงเนิน                              ร.อ.ท. ขุนประกอบการบุรี



รายชื่ออื่นไม่ปรากฎค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 02 ธ.ค. 10, 11:21


นครศรีธรรมราช  หน้า ๖๒๕

ข้อมูลอำเภอที่ต้องการไม่ปรากฎค่ะ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 02 ธ.ค. 10, 11:33

หน้า ๖๑๔

ฉะเชิงเทรา  ตอนนั้นเป็นจังหวัดแล้ว

อ.เมือง                           อ.ต. หลวงสรรคประศาสน์

อ. บางปะกง                     ร.อ.ท. ขุนประกอบธุระการ


ปราจีณ
มีอำเภอเมือง  ประจันตคาม  ศรีมหาโพธิ์  บ่านสร้าง  กบินทร์บุรี  และ  อรัญญประเทศค่ะ    หน้า ๖๑๓  และ หน้า ๖๑๔
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 02 ธ.ค. 10, 11:56

เชียงดาว                          ร.อ.อ.   ขุนอุปการประชาชน

บ้านแม                            เจ้าราชสัมพันธวงศ

เมืองฝาง                           ร.อ.อ.  หลวงจงรักษ์ราชกิจ

สันกำแพง                          ร.อ.อ.  เจ้าไชยวรเชษฐ์

หางดง                              ร.อ.อ. หลวงประพันธ์กรณี


อ.เมืองแพร่อยู่จังหวัดแพร่         อ.ต. พระไพบูลย์คณารักษ์

อ. เมืองน่านอยู่กับจังหวัดน่าน            ร.อ.อ. ขุนกิจธนสาร

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 02 ธ.ค. 10, 12:07


เท่าที่ตรวจสอบ  ชื่ออำเภอที่จขกทถาม  ไม่สมบูรณ์  เพราะไม่มีบ้าง  อาจเปลี่ยนไปแล้วบ้าง

ข้อมูลที่มีออกมาในต้นปี ๒๔๗๔  น่าจะสมบูรณ์พอใช้แล้ว

โปรดตรวจสอบเบื้องต้นอีกทีจะดีไหมคะ        

เรื่องชื่ออำเภอที่ไม่ได้ถาม  ไม่เดือดร้อนอะไร  แต่ชื่อที่ถามแล้วไม่มี  คนตอบเดือนร้อนแทนมาก เพราะภูมิใจในข้อมุลที่มีอยู่ค่ะ


ยินดีตรวจต่อให้แต่คงต้องขอเวลาสักเจ็ดวัน  เพราะมีการนัดหมายหลายประเภทที่ได้ลั่นวาจารับไปล่วงหน้าแล้ว

มีหนังสือโบราณที่คณะผู้ชำนาญกระดาษจะมาตรวจด้วยในวันพรุ่งนี้       ขออภัยเป็นอย่างสูง
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 03 ธ.ค. 10, 18:41

ก่อนอื่น ต้องขอขอบพระคุณอย่างยิ่งที่ช่วยตรวจสอบให้แม้จะยากเย็นเต็มที ด้วยความที่ข้อมูลไม่สมบูรณ์ (มากถึงมากที่สุด)

ด้านนี้ตรวจสอบข้อมูลมาจากราชกิจจานุเบกษาตั้งแต่ปี 2470-2475 ปรากฏว่า

1. บางแห่งก็ไม่มีรายละเอียดเลย มีชื่อปรากฏว่าเป็นอำเภอสมัยรัชกาลที่ 6 ดังปรากฏในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องเปลี่ยนชื่ออำเภอ ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 31 ปี 2460 แต่อยู่ๆ ก็หายไปเฉยๆ เลย เป็นไปได้หรือไม่ว่าอาจถูกยุบลงก่อนปี 2474 จึงไม่มีข้อมูลในที่ต่างๆ ณ เวลานี้

2. บางแห่งก็เปลี่ยนชื่อ (อีกครั้ง) ในสมัยรัชกาลที่ 8 ปี 2481 เช่น
อำเภอปากบ่อง เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอป่าซาง
อำเภอจะทิ้งพระ เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอสทิงพระ
นั่นทำให้บันทึกข้อมูลขาดตอนได้หรือไม่ เพราะราชกิจจานุเบกษาก็ไม่ได้ลงรายละเอียดการแต่งตั้งนายอำเภอในสมัยนั้นไว้แล้ว (ลงแต่ข้าหลวงประจำจังหวัด)

ปล. ขออภัยอย่างสูงเช่นกันที่ทำให้ลำบากและเดือดร้อนแทนครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 03 ธ.ค. 10, 22:13


หนังสือที่มีอยู่  ถ้าไม่ใช้ประโยชน์  ก็ไม่มีค่าในการเก็บค่ะ


มณฑลภูเก็ต

อ.กระทู้                             ไม่มีชื่อนายอำเภอค่ะ

อ.กะเปอร์                           อยู่ในจังหวัดระนอง  ไม่มีชื่อนายอำเภอค่ะ

อ. ละอุ่น                               "               "                  "





มณฑลพิษณุโลก

จังหวัดพิษณุโลกมี อำเภอพิษณุโลก  บางระกำ  ป่าหมาก  พรหมพิราม  และเมืองนครไทยค่ะ   หน้า ๕๙๔

อ.ท่าปลาอยู่อุตตรดิตถ์         ไม่ปรากฎชื่อนายอำเภอค่ะ        หน่า ๕๙๕

อ. หาดเสี้ยวอยู่  จังหวัดสวรรคโลก        นายอำเภอชื่อ ร.อ.ท. ขุนศิริรัฐการ   หน้า ๕๙๖



มณฑลราชบุรี

จังหวัดราชบุรีมี อำเภอเมืองราชบุรี  โพธาราม  บ้านโป่ง  ท่ามะกา  ดำเนิรสดวก  ปากท่อและ หัวโพ

บางคณฑี  อยู่ จังหสัดสมุทรสงคราม  นายอำเภอชื่อ  ร.อ.อ. หลวงวรรณจารณ์กิจ

บ้านแพ้ว  อยู่ จังหวัดสมุทรสาคร    นายอำเภอชื่อ  อ.ต. หลวงประสารสิริราษฎร์

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 20 คำสั่ง