เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 10494 ลอยกระทง มาจากเขมร หรือ ไทยคิดขึ้นเอง ?
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


 เมื่อ 19 พ.ย. 10, 09:50

"ข้าน้อยนพไหว้วันทา พระแม่คงคา ที่ใช้น้ำดื่มกิน ใช้น้ำท่า หุงข้าวหาปลา ข้าน้อยขอขมาพระแม่คงคา กราบไหว้บูชาที่มีน้ำไว้ใช้"

ภาพสลักหินนูนต่ำ ปราสาทบายน สร้างขึ้นก่อนกรุงสุโขทัย  มีสลักประจักษ์ไว้บนแผ่นหินในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งตัวปราสาทมีมาก่อนกรุงสุโขทัย เลยอยากทราบว่าเรารับวัฒนธรรมการขอขมาพระแม่คงคาจากเขมร หรือว่า ไทยคิดเองครับ


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 19 พ.ย. 10, 12:42

หน้าตาเหมือนกระทงนะครับ แต่อาจเป็นถาดก็ได้ ถ้ามีภาพแวดล้อมด้วยก็อาจจะระบุได้ชัดเจนขึ้นนะครับ

ถ้าเป็นลอยกระทงจริงก็ถือว่าน่าสนใจทีเดียว

ปราสาทที่เสียมเรียบมีอะไรแปลกๆ เยอะ อย่างภาพนี้ครับ


บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 19 พ.ย. 10, 13:22

หรือภาพนี้



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 19 พ.ย. 10, 15:40

แหง่ม .. ท่านเสฐียรโกเสสท่านเขียนเรื่องลอยกระทงนี้เอาไว้ อ่านผ่านๆ มา
ท่านว่ามีกำเนิดมาจากอินเดีย ทางลัทธิพราหมณ์ แล้วคงจะแพร่หลายเข้ามาอุษาคเนย์สมัยอาราจักรขอมรุ่งเรือง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 19 พ.ย. 10, 16:16

ขอให้ชาวเรือนไทยทุกท่าน

สุขสันต์วันลอยกระทง

 ยิงฟันยิ้ม

ลอยกระทง : วิถีแห่งสายน้ำ วัฒนธรรมแห่งเอเชีย
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/11/K4850074/K4850074.html
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 21 พ.ย. 10, 11:04

ดิฉันค่อนข้างจะเชื่อว่า ขอม ในเขมร คือ คนที่มาจากอินเดียพร้อมวัฒนะธรรมที่รุ่งเรืองมาก่อนแล้ว
และเป็นต้นสายของระบบความเชื่อเรื่องเทพเจ้า ไม่ใช่นับถือผี แบบคนพื้นเมืองแถบนี้
ดังนั้น แม่น้ำ ภูุเขา และ พระอาทิตย์ ล้วนมีเทพเจ้าอยู่ ถึงเวลาต้องแสดงการบูชา ขอขมา หรือ ขอบพระคุณกัน

เมืองขอมเรืองอำนาจ แผ่อิทธิพลมาครอบคลุมพื้นที่สุโขทัย เห็นได้จากสิ่งก่อสร้างและ วัฒนะธรรมตกค้าง
เช่นปรางค์ปราสาท และ การเผาเทียนเล่นไฟ บูชาเทพเจ้า รวมทั้งเรื่องน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องขนส่งไปเมืองขอม
ชื่อกระทรวง "กลาโหม" หากจำไม่ผิด มีผู้บอกว่า ความหมายคือ ผู้บูชาไฟ

ปัญหามีว่า ลอยกระทง กับเผาเทียนเล่นไฟ อันไหน เป็นของใครคิด หรือว่า มาพร้อมกัน

นางนพมาศ อาจจะเปลี่ยนการบูชาแม่พระคงคาให้เป็นการบูชาด้วยดอกไม้แทนไฟก็เป็นได้
มีใครทราบบ้างไหมคะว่า ในเขมร(ที่อาจจะไม่ใช่คนขอม) มีประเพณีนี้ด้วยหรือไม่
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 22 พ.ย. 10, 08:32

๑. ขอม  

คุณสุจิตต์  วงษ์เทศ สรุปลำดับความเคลื่อนไหวของคำว่า ขอม ดังนี้

(๑) เขมร ไม่ได้เรียกตัวเองว่า ขอม และไม่รู้จัก ขอม แต่เรียกตัวเองว่า เขมร มาแต่ดั้งเดิมเริ่มแรก เพราะมีศิลาจารึกยืนยัน

(๒) ขอม เป็นชื่อทางวัฒนธรรม ไม่ใช่ชื่อชนชาติ และสมัยแรก ๆ หมายถึงพวกนับถือฮินดูหรือพุทธมหายาน ที่มีหลักแหล่งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น พวกละโว้

(๓) ต่อมาสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ.๑๘๙๓ แล้วชื่อ ขอม มีความหมายเปลี่ยนไปเป็นพวกเขมรเท่านั้น สืบมาจนถึงทุกวันนี้

๒. กลาโหม

คุณจิตร ภูมิศักดิ์ ให้ความเห็นเกี่ยวกับความหมายของกระลาโหมไว้

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/02/K5115945/K5115945.html#56

๓. ลอยกระทง, เผาเทียนเล่นไฟ และนางนพมาศ

คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ (อีกแล้ว) เขียนบทความเรื่อง "ลอยกระทงขอขมาธรรมชาติ" ตอนหนึ่งดังนี้

หลังจากรับศาสนาพุทธ-พราหมณ์จากอินเดียเมื่อราว ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ราชสำนักโบราณในสุวรรณภูมิก็ได้ปรับพิธีกรรม “ผี” เพื่อขอขมาน้ำและดินให้เข้ากับศาสนาที่รับเข้ามาใหม่ ทำให้ความหมายเดิมเปลี่ยนไป กลายเป็นการลอยกระทงเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าและเทวดา ซึ่งในส่วนนี้มีพยานหลักฐานเก่าสุด คือ รูปสลักพิธีกรรมทางน้ำคล้ายลอยกระทงที่ปราสาทหินบายนในนครธม ทำขึ้นราวหลัง พ.ศ. ๑๗๐๐ แต่สำหรับชุมชนชาวบ้านทั่วไปก็ยังเข้าใจเหมือนเดิม คือ ขอขมาแม่พระคงคาและแม่พระธรณี ดังมีหลักฐานปรากฏอยู่ในเอกสารของลาลูแบร์ชาวฝรั่งเศส ที่บันทึกพิธีชาวบ้านในกรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเอาไว้หลายตอน เช่น “ประชาชนพลเมืองจะแสดงความขอบคุณแม่คงคาด้วยการตามประทีปโคมไฟขนาดใหญ่ (ในแม่น้ำ) อยู่หลายคืน...เราจะได้เห็นทั้งลำแม่น้ำเต็มไปด้วยดวงประทีปลอยน้ำ......” เป็นต้น

สำหรับราชสำนักกรุงศรีอยุธยา ที่อยู่บริเวณที่ราบลุ่มน้ำ และมีน้ำท่วมนานหลายเดือนก็เป็นศูนย์กลางสำคัญที่จะสร้างสรรค์ประเพณีเกี่ยวกับน้ำขึ้นมาให้เป็น “ประเพณีหลวง” ของราชอาณาจักร ดังมีหลักฐานการตราเป็นกฎมนเทียรบาล ว่าพระเจ้าแผ่นดินต้องเสด็จฯ ไปประกอบพิธีกรรมทางน้ำ เพื่อความมั่นคงและมั่งคั่งทางกสิกรรมของราษฎร และยังมีกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารคเพื่อประกอบพระราชพิธีโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังมีเอกสารบันทึกอย่างเป็นทางการอยู่ในตำราพระราชพิธีกับวรรณคดีโบราณ เช่น โคลงทวาทศมาสที่มีการกล่าวถึงประเพณี “ไล่ชล” หรือไล่น้ำเพื่อวิงวอนให้น้ำลดเร็ว ๆ เป็นต้น ซึ่งประเพณีหลวงอย่างนี้ ไม่มีหลักฐานใด ๆ ปรากฏว่ามีอยู่ในเมืองที่อยู่เหนือกรุงศรีอยุธยาขึ้นไป เช่น สุโขทัย ที่ตั้งอยู่บนที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง จึงไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค ส่วนตระพังหรือสระน้ำในสุโขทัยก็มีไว้เพื่อกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการบริโภคอุปโภคของวัดและวังที่อยู่ในเมือง และมิได้มีไว้เพื่อกิจกรรมสาธารณะอย่างเช่น ลอยกระทง ฯลฯ

ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นช่วงที่บ้านเมืองมั่นคง การศึกสงครามลดลงเกือบหมด การค้าก็มั่งคั่งขึ้น โดยเฉพาะกับจีน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้ฟื้นฟูประเพณีพิธีกรรมสำคัญเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของราชอาณาจักร และด้วยความจำเป็นในด้านอื่น ๆ อีก จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ ตำราท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือ นางนพมาศ ขึ้นมา โดยสมมุติให้ฉากของเรื่องเกิดขึ้นในยุคพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย ซึ่งตำราดังกล่าวได้พูดถึงนางนพมาศว่าเป็นพระสนมเอกของพระร่วง ที่ได้คิดประดิษฐ์กระทงใบตองเป็นรูปดอกบัวกมุทขึ้น ด้วยเห็นว่าเป็นดอกบัวพิเศษที่บานในเวลากลางคืนเพียงปีละครั้ง สมควรทำเป็นกระทงแต่งประทีป ลอยไปถวายสักการะรอยพระพุทธบาท ซึ่งเมื่อพระร่วงเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นก็รับสั่งถามถึงความหมาย นางก็ได้ทูลอธิบายจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย พระองค์จึงมีพระราชดำรัสว่า “แต่นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับ กษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน ๑๒ ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน”

ด้วยเหตุนี้จึงเกิดกระทง ทำด้วยใบตองแทนวัสดุ อื่น ๆ แล้วนิยมใช้ลอยกระทงมาแต่คราวนั้นตราบจนทุกวันนี้ ซึ่งตำราท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศนี้ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเชื่อว่าเป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากสำนวนโวหารมีลักษณะร่วมกับวรรณ กรรมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ อีกทั้งยังมีเพราะมีข้อความหลายตอนที่แสดงให้เห็นว่าแต่งสมัยกรุงสุโขทัยไม่ได้ เช่น การอ้างถึงอเมริกัน ปืนใหญ่ เป็นต้น ดังนั้น นางนพมาศ จึงเป็นเพียง “นางในวรรณคดี” มิได้มีตัวตนอยู่จริง

นอกจากนี้ ในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยและเอกสารร่วมสมัย ก็ไม่มีปรากฏชื่อ “ลอยกระทง” แม้แต่ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงก็มีแต่ชื่อ “เผาเทียน เล่นไฟ” ที่มีความหมายอย่างกว้าง ๆ ว่า การทำบุญไหว้พระ โดยไม่มีคำว่า “ลอยกระทง” อยู่ในศิลาจารึกนี้เลย ส่วนเอกสารและวรรณคดีสมัย กรุงศรีอยุธยาสมัยแรก ๆ ก็มีแต่ชื่อ ชักโคม ลอยโคม แขวนโคม และลดชุดลอยโคมลงน้ำ ในพิธีพราหมณ์ของราชสำนักเท่านั้น และแม้แต่ในสมัยกรุงธนบุรีก็ไม่มีชื่อนี้ จนถึงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์จึงมีปรากฏชัดเจนในพระราชพงศาวดารแผ่นดิน รัชกาลที่ ๓ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ และเรื่องนางนพมาศ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๓ ซึ่งก็หมายความว่า คำว่า “ลอยกระทง” เพิ่งปรากฏในต้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/11/K4850074/K4850074.html#8

๔. ประเพณีลอยกระทงในเขมร



Water & Moon Festival
http://www.tourismcambodia.com/tripplanner/events_in_cambodia/water-festival.htm

 ยิงฟันยิ้ม




บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 22 พ.ย. 10, 15:48

ขอบคุณข้อมูลจากคุณเพ็ญชมพูค่ะ ให้ความชัดเจนแก่ดิฉันขึ้นมากมายค่ะ
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 24 พ.ย. 10, 09:49

ข่าวหน้า 1 น.ส.พ. ให้ข้อมูลเทศกาลวันเพ็ญเดือนสิบสองของเขมรเข้ามาพอดี ดังนี้ค่ะ
อ้างถึง
แม่น้ำทุกสายในโลกล้วนย่อมมีความสำคัญ เพราะเป็นเหมือนเส้นเลือดคอยหล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์โลกใหดำรงอยู่รอดได้อย่างปกติสุขมานับตั้งแต่อดีตรุ่นแล้วรุ่นเล่าจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยถ้าคนเราจะมีกิจกรรมทางน้ำสืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณีให้ได้ประพฤติปฏิบัติสืบมา

อย่างเช่นในช่วงวันเพ็ญเดือนสิบสองไทยเราก็มี "ประเพณีลอยกระทง" ที่มีหลายความเชื่อทั้งที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา หรือเชื่อว่าเป็นการขอขมาและแสดงความเคารพต่อพระแม่คงคาเทพเจ้าแห่งสายน้ำที่ได้ชุบเลี้ยงชีวิตมาหลายชั่วอายุคน

แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนี้สำหรับชาวกัมพูชาก็จะมีประเพณีที่สำคัญมากเกี่ยวข้องกับแม่น้ำเช่นกันโดยเรียกกันว่า "เทศกาลน้ำ" (Water Festival) แต่ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับของไทยนั้นกิจกรรมดั้งเดิมของชาวกัมพูชาที่จะมีขึ้นก็คือ การแข่งเรือ

ประเพณีจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงวันเพ็ญเดือน พ.ย. ซึ่งในช่วงเดือนก่อนหน้านี้น้ำในแม่น้ำโขงจะขึ้นสูงและจะไหลไปที่ทะเลสาบ (Tonle Sap) พอถึงในช่วงปลายฤดูฝนในเดือน พ.ย.น้ำในทะลสาบลดต่ำลง ทำให้น้ำไหลลงกลับสู่ลำน้ำโขงอีกครั้ง นำความชุ่มฉ่ำ และความอุดมสมบูรณ์มาสู่คนในท้องถิ่น

ชาวกัมพูชาได้ยึดถือเอาคืนวันเพ็ญร่วมกันลอยทุ่นที่ประดับด้วยดวงไฟไปตามแม่น้ำเพื่อเป็นการระลึกถึงบุญคุณ และแสดงความขอบคุณต่อแม่น้ำโขง และทะเลสาบ งานเทศกาลนี้ปกติจะจัดเป็นเวลาทั้งหมด 3
วัน เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ จนถึงวันแรม 1 ค่ำ ซึ่งทางการประกาศให้เป็นวันหยุดสาธารณะ และในปี 2549 นี้ตรงกับวันที่ 4 - 6 พ.ย.

การจัดให้มีการแข่งเรือก็เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ช่วงศตวรรษที่ 12 ในยุคเมืองพระนคร (Angkorian era) อาณาจักรเขมรที่กำลังรุ่งเรืองได้มีชัยเหนืออาณาจักรจาม (Chams) ในการสู้รบทางเรือ ซึ่งพบหลักฐานเป็นภาพสลักหินเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ที่ผนังปราสาทบายน (Bayon) ในเขตเมืองพระนครหลวง (Angkor Thom) ใกล้กับปราสาทนครวัดนั่นเอง

http://board.palungjit.com/f76/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B9%87%E0%B8%8D%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%A3-56928.html
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 24 พ.ย. 10, 10:24

ขอไว้อาลัยเกือบ ๔๐๐ ชีวิตที่สูญเสียไปในเทศกาลวันเพ็ญเดือนสิบสองที่เขมร

 เศร้า




ในเทศกาลนี้ที่เขมรนอกจากจะมีลอยกระทงเหมือนของไทยแล้ว ยังมีแข่งเรือ ไหว้พระจันทร์ และกินข้าวเม่า ด้วย


บาราย เขียนเล่าไว้ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖

ประเพณีลอยกระทง ไม่ได้มีในเมืองไทย และบ้านเมืองใกล้เคียง เช่น เขมร ลาว เท่านั้น ในจีนและอินเดียก็มี จุดไฟใส่กระทงลอยน้ำเหมือนกัน แต่ เป้าหมายไม่เหมือนกัน

ที่อินเดีย เป็นหนึ่งในพระราชพิธีสิบสองเดือน เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ ในพระราชฐานมีการ เอาไม้ยาวมาทำเสาโคมปัก จุดไฟไว้ ๑๕ วัน แล้วก็ชักโคมลงใส่แพ ลอยไปในแม่น้ำ ปล่อยให้ไหลลงทะเล ดวงไฟในกระทง ถ้าสว่างรุ่งโรจน์ ก็เชื่อกันว่าชะตาจะดี ดวงไฟริบหรี่ ก็เชื่อกันว่าชะตาจะร้าย

วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ พวกผู้หญิงก็จะจุดโคมไฟถือไปบูชาพระวิษณุ

แต่ในเมืองไทย การลอยกระทงเชื่อกันว่าเป็นการบูชาพระพุทธบาท ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทนที แต่อีกตำราก็ว่า เป็นการบูชาพระพุทธเจ้า ในวันที่เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ว่ากันถึงกระบวนการลอยกระทง ของไทยกับลาวก็ต่างกัน ส.พลายน้อย เขียนไว้ในเกร็ด โบราณคดี ประวัติศาสตร์ไทยว่า เริ่มแต่วัน ลอยกระทง ไทยนิยมลอยในวันเพ็ญเดือนสิบสอง แต่ของลาว เริ่มลอยตั้งแต่วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑

กระทงของลาวนิยมทำเป็นรูปเรือ รูปสัตว์ ใหญ่ เพื่อจะได้ใส่เครื่องทำบุญได้มาก ๆ เรือบางลำ ใส่จีวรพระ อาหารการกิน ที่มีศรัทธาถอดสร้อย แหวนทองคำใส่ลงไปก็มี บางลำจุดตะเกียง เจ้าพายุสว่างจ้าไปทั้งแม่น้ำ ลาวเรียกว่า พิธีไหลเรือไฟ

วันรุ่งขึ้น แรม ๑ ค่ำ เป้าหมายบูชาพระพุทธเจ้า เปลี่ยนเป็นบังสุกุลให้ ญาติพี่น้องที่ตายไปแล้ว กระทงรูปเรือเปลี่ยนเป็นน้ำเต้าจุดไฟ เรียกว่าไหลน้ำเต้า

เขมร...มีลอยกระทงเหมือนกัน แต่พิธีรีตอง ต่างกัน เริ่มลอยตั้งแต่วันขึ้น ๑๔ ค่ำ ต่อ ๑๕ ค่ำ ถึงวันแรม ๑ ค่ำ รวมสามวัน ถ้าเป็นในราชสำนัก ก็จัดเป็นพระราชพิธี พระเจ้าแผ่นดินเสด็จ ประทับตำหนักแพ นักร้องสตรีฝ่ายในร้องเพลงแห่ถวาย

ส.พลายน้อยอธิบายว่า เพลงแห่ของเขมร ก็คือเพลงเห่ของไทยนี่เอง ร้องเพลงแห่กันไป จุดพลุ จุดดอกไม้ไฟเฉลิมฉลอง รำๆร้องๆกันไปจนสว่าง

อาจจะเป็นเพราะฉลองกันทั้งคืนนี่เอง คืนลอยกระทงของเขมร จึงต้องมีพิธีไหว้พระจันทร์ด้วย ผู้รู้ยังอธิบายไม่ได้ ธรรมเนียมไว้พระจันทร์ของจีน เชื่อมโยงไปถึงการไหว้พระจันทร์ของเขมร ได้อย่างไร

ลอยกระทงแล้ว ร้องเพลงแห่แล้ว ไหว้ พระจันทร์ ตั้งแต่หัวค่ำจนดึกดื่น ค่อนคืนแล้ว เข้าใจว่าคงจะหิว คืนวันเพ็ญเดือนสิบสองของเขมร จึงมีพิธีออกอำบกด้วย

ออกอำบก ภาษาเขมรแปลเป็นไทย การกินข้าวเม่า

คนไทยก็คุ้นเคยกับข้าวเม่า เริ่มทำกันในช่วงท้ายปี ช่วงเวลาที่เรียกว่าข้าวใหม่ เลือกข้าวจากรวงที่ยังไม่ทันสุกดี ยังมีความหยุ่นเหนียว เอามาตำในครก ก็จะได้ข้าวเม่า นิยมเอาไปคลุกมะพร้าวทึนทึกกับน้ำตาลทราย หรือไม่ก็ใส่ น้ำกะทิ ก็ได้ขนมข้าวเม่า รสอร่อยไปคนละแบบ

แต่ในคืนลอยกระทงของเขมร พิธีออกอำบก เขาไม่มีอะไรยุ่งยาก เงยหน้ามองพระจันทร์ ใช้มือขวากอบข้าวเม่ากรอกเข้าปาก ก็เป็นอันพิธีเสร็จ แต่ถ้าหิวอีกจะกอบเข้าปากอีกจนอิ่ม เข้าใจว่า คงทำได้ ไม่มีใครห้าม

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 25 พ.ย. 10, 07:25

ขอบคุณ คุณเพ็ญชมพูมากเลยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 29 พ.ย. 10, 09:03

นำรูปมาประกอบค่ะ
ลอยกระทงที่พระราชวังบางปะอิน สมัยรัชกาลที่ ๕


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 29 พ.ย. 10, 09:41

น่าจะเป็นงานพระราชทานเพลิงศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี

คุณวิกกี้เล่าไว้ว่า

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี ทรงเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประสูติแต่เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ บุนนาค) ก่อนที่พระองค์จะเสด็จฯ ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ

ทรงเป็นพระราชธิดาคู่ทุกข์คู่ยากของรัชกาลที่ ๕ หลังจากการทรงกรมเป็น "กรมขุนสุพรรณภาควดี "ได้เพียง ๑ ปี ก็สิ้นพระชนม์ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานบำเพ็ญพระราชกุศล ณ พระราชวังบางปะอิน โดยใช้พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์เป็นที่ประดิษฐานพระศพ และโปรดให้จัดงานพระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดนิเวศธรรมประวัติ ซึ่งถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่มาก จนเป็นที่กล่าวขานในหมู่ชาววังว่า ใครไม่ได้มาร่วมงานในครั้งนี้ถือเป็นคนนอกสังคมชาววัง

ในระหว่างการจัดงานพระราชทานเพลิงพระศพนั้น สมเด็จเจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร ซึ่งทรงสนิทกับพระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์มาก เกิดทรงพระประชวรและสิ้นพระชนม์ ณ วรนาฎเกษมสานต์ ภายในพระราชวังบางปะอินนั่นเอง ซึ่งในนวนิยายเรื่อง สี่แผ่นดิน ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ในครั้งนี้ไว้ว่า

"เชิญพระศพพระเจ้าลูกเธอพระองค์หนึ่งขึ้นไป แล้วก็กลับต้องเชิญพระศพอีกพระองค์หนึ่งลงมา"

http://th.wikipedia.org/wiki/พระราชวังบางปะอิน
http://th.wikipedia.org/wiki/พระเจ้าบรมวงศ์เธอ_พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์_สุนทรศักดิกัลยาวดี_กรมขุนสุพรรณภาควดี



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 29 พ.ย. 10, 09:45

ดิฉันก็ไม่แน่ใจนะคะ   เพราะมี ๒ รูปที่เป็นรูปงานลอยกระทงในสระพระราชวังบางปะอิน
รูปหนึ่งน่าจะเป็นรูปในงานพระราชทานเพลิงศพกรมขุนสุพรรณฯ  คือรูปข้างล่างนี้หรือเปล่าคะ มองเห็นผีดิบ เหมือนในกระทงสุดสาครเข้าเมืองผีดิบ ตามที่เล่าไว้ในสี่แผ่นดิน
อีกรูปมีคำบรรยายในกูเกิ้ลว่าเป็นงานลอยกระทง คือรูปที่นำมาลงในกระทู้นี้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 29 พ.ย. 10, 10:16

ยังมีอีกหลายภาพ





ภาพเหล่านี้เป็นฝีมือของ นายพันเอกพระสารสาสน์พลขันธ์ (G.E. Gerini)

นำมาถ่ายทอดโดยคุณหนุ่มสมองเพชร

สมุดภาพ ** บรรยากาศวันลอยกระทง สมัยรัชกาลที่ 5 พระราชวังบางปะอิน **
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2008/11/K7198628/K7198628.html

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 20 คำสั่ง