เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 10938 หลวงวิจารณ์ภัณฑกิจ (แจ๋ว บุนนาค)
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 16 พ.ย. 10, 15:10


บัญชีเบี้ยหวัด  ดูจากเล่มไหนคะ
บันทึกการเข้า
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 16 พ.ย. 10, 15:14

ขอบพระคุณ คุณวันดี ครับ  ยิงฟันยิ้ม



คุณตาเกิดเมื่อปี ๒๔๗๖  และถ้าข้อมูลจากโรงเรียนบางปะอิน "ราชานุเคราะห์ ๑" ถูกต้อง
คุณหลวงน่าจะได้เป็นผู้รักษาพระราชวังบางปะอิน อย่างน้อยก็ระหว่าง ๒๔๗๖-๒๔๗๘  ฮืม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 16 พ.ย. 10, 15:15

ไปสอบเอกสาร เรื่อง โรงเรียนบางปะอิน "ราชานุเคราะห์ ๑ พ.ศ. ๒๔๗๘" มา
(กรุณาอย่าถามว่าเอกสารนี้อยู่ที่ไหน)  

เห็นแต่ชื่อ นายเกษม  อุทยานิน  ปลัดอำเภอบางปะอิน  ในเอกสารตั้งแต่ต้นจนจบ
ไม่เห็นชื่อคุณหลวงวิจารณ์ภัณฑกิจ (แจ๋ว บุนนาค) สักแห่ง

อ้อ  เงินที่ขอพระราชทานเป็นทุนสร้างโรงเรียนนั้น  ๖,๓๐๐  บาท ไม่ใช่  ๖,๐๐๐  บาท
และเก็บค่าสัญญาเช่าที่ดินสร้างโรงเรียน  ปีละ  ๑  บาท  ไม่ใช่ ปีละ  ๒  บาท (ตอนหลังอาจจะเพิ่มก็ได้กระมัง)
อย่างที่เว็บของโรงเรียนเขียนไว้  

ชื่อโรงเรียนที่พระราชทานนั้น  อาศัยตามที่ได้เคยพระราชทานชื่อสะพานข้ามแม้น้ำ ที่เชียงใหม่
ซึ่งได้เคยพระราชทานนามไว้ก่อนหน้านั้นไม่นานว่า  "ราชานุเคราะห์ ๑ พ.ศ. ๒๔๗๘"
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 16 พ.ย. 10, 15:25

อันที่จริงมีเอกสารอีกอย่างที่ใช้สอบได้ คือ ทำเนียบข้าราชการกระทรวงวัง  ทราบว่าผู้ใหญ่ที่รู้จักมีสำเนาอยู่ลางเล่ม  ถ้าผมมีโอกาสไปเยี่ยมท่าน คงจะไปยืมมาอ่านสักสองสามอาทิตย์  (ถ้าท่านยินยอมด้วยความยินดี)  

ที่จะต้องหาข้อมูล คือ  คุณหลวง ได้เป็นหลวงวิจารร์ภัณฑกิจ ปีไหน
ก่อนหน้านั้น  เคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์อะไรมาก่อนหรือไม่
หรือขึ้นเป็นหลวงทีเดียว   เคยบวชหรือเปล่า  
เคยเป็นมหาดเล็กมาก่อนไหม  การศึกษาของคุณหลวงเป็นอย่างไร
เคยได้เครื่องราชฯ อะไรบ้าง  เป็นเสือป่าหรือเปล่า
ตอนถึงแก่กรรมมีหนังสืองานศพหรือไม่  ในหนังสืองานศพของลูกมีการกล่าวถึงคุณหลวงไว้บ้างหรือไม่  
โอย  มีข้อมูลต้องค้นหาอีกเยอะทีเดียว  (ใครที่แอบฉกพานไป  กรุณารับหน้าที่ค้นข้อมูลต่อด้วย  ถือว่าเป็นการชดใช้ค่าพาน) ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 16 พ.ย. 10, 15:34

หลวงวิจารณ์ภัณฑ์กิจ  ผู้รักษาพระราชวังบางปะอิน 

ในพระราชกฤษฎีกา กำหนดอัตราเงินเดือนข้าราชการในกระทรวงวัง (ฉะบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๔๗๗
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงลงพระนาม 
ตำแหน่งผู้รักษาพระราชวังบางปะอิน  เป็นพนักงานในแผนกรักษาพระราชวังบางปอิน สังกัดกองมหาดเล็กชาวที่
ถ้าเป็นหัวหน้าแผนก  ได้รับเงินเดือน ๑๔๐ - ๑๙๐ บาท
พนักงาน มีอัตราเงินเดือน  ๓  ชั้น  คือ  ๒๐-๓๐  บาท  ๓๔-๔๐  บาท และ  ๕๕-๗๕  บาท
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 16 พ.ย. 10, 15:39

ทำเนียบข้าราชการกระทรวงวังฤา

ใครมีเอ่ย

ห้องสมุดที่ดิฉันว่าการอยู่นี้  ปีศาจดุมาก  แอบเอาหนังสือไปซ่อนเสมอๆ

เพิ่งได้สามก๊กจี่กับสามก๊กเอี้ยนหงีคืนมา   หายไปสิบกว่าวัน
บันทึกการเข้า
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 16 พ.ย. 10, 15:54

เคยเห็นในเอกสารผ่านตามาว่า

ท่านได้เป็น ขุน ในราชทินนามเดียวกันมาก่อน

ถ้าเข้าใจไม่ผิด ขุนวิจารณ์ภัณฑกิจ โดยทั่วไปเห็นจะสังกัดกรมชาวที่


ส่วนเรื่องตำแหน่งผู้รักษาพระราชวังบางปะอินนั้น

ผมก็มีข้อมูลแค่จากคำบอกเล่าของคุณตา และเว็บไซต์โรงเรียนเท่านั้นครับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 16 พ.ย. 10, 15:59

การแบ่งราชการของกระทรวงวังสมัยก่อนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
ต้องตรวจสอบดีๆ 

ในต้นรัชกาลก็อย่าง กลางรัชกาลก็อย่าง  ปลายรัชกาลก็อย่าง
เปลี่ยนรัชกาลก็อย่าง  โอย  ปวดศีรษะ ลังเล
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 16 พ.ย. 10, 21:02

ราชทินนาม "วิจารณ์ภัณฑกิจ" นั้น  น่าจะจัดอยู่ในพวกพนักงานรักษาราชพัสดุ  สังกัดกองคลังราชพัสดุ  กระทรวงวัง  หรือกองคลังเครื่องโต๊ะมากกว่าที่จสังกัดกรมชาวที่  แต่การที่ได้ไปเป็นผู้รักษาพระราชวังบางปะอินนั้น  น่าจะมีสาเหตุมาจากเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น  มีการปลดข้าราชการในพระราชสำนักออกไปจำนวนหนึ่ง  รวมทั้งไม่มีการพระราชทานบรรดาศักดิ์ต่อมา  เมื่อมีการเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ราชการจึงยังคงใช้ราชทินนามสำหรับตำแหน่งเดิมต่อมา

เจ้ากรมรักษาพระราชวังบางปะอินในตอนปลายรัชกาลที่ ๖ ต่อต้นรัชกาลที่ ๗ นั้นคือ ขุนวิมานวัชรี (สกุลเดิม อิศรเสนา)
บันทึกการเข้า
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 16 พ.ย. 10, 22:19

กราบขอบพระคุณ คุณ V_Mee เป็นอย่างสูงครับ



ส่วนที่คุณหลวงเล็กถามมานั้น ผมตอบไม่ได้สักอย่าง

ผมเคยฟังมาจากคุณตาแต่เพียงว่า
หลังจากโดนดุลย์ ครอบครัวคุณตาก็มาอยู่ที่สวนนอก (คุณตาเรียกบ้านสามเสน) กับเจ้าจอมก๊กออ

จากหนังสือย้อนรอยเจ้าจอมก๊กออ ในรัชกาลที่ ๕ ของ กัณฑาทิพย์ สิงหะเนติ
ทำให้ทราบว่า ลูกสาวคนโตของคุณหลวงวิจารณ์ภัณฑกิจ คือ ยายเจรง บุนนาค พี่สาวต่างมารดาของคุณตา
อยู่กับเจ้าจอมเอื้อน จนกระทั่งเจ้าจอมถึงแก่อนิจกรรม เมื่อ ๒๔๗๐ จึงได้ย้ายไปอยู่กับเจ้าจอมเอี่ยม


ยายเจรง แต่งงานกับตาโชค บุนนาค บุตรพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค)
และตาโชคนี้เอง ที่ดูแลคุณตาทำนองผู้ปกครอง หลังจากที่คุณพ่อของคุณตาเสีย
ตาโชคเป็นคนจัดงานบวชให้คุณตาที่วัดสุทัศน์
กราบเรียนเชิญท่านเจ้าพระยารามราฆพ มาในงานแต่งงานของคุณตา
(ในงานนี้ คุณพระบำราศนราดูร ซึ่งมีศักดิ์เป็นคุณตาของคุณยายก็มาด้วย)

ตาโชค กะ ยายเรง (เจรง) จึงเป็นผู้มีพระคุณต่อคุณตาอย่างสูง


คุณตาเล่าว่า หลังจากที่คุณหลวงถูกดุลย์ มาอยู่ที่บ้านสามเสน
ภายหลังให้มีเรื่องขัดใจกันอย่างรุนแรงกับท่าน ๑ ในเจ้าจอมก๊กออ (ซึ่งตามศักดิ์ก็เป็นพี่สาวต่างมารดา)

คุณตาเคยเล่าถึงชีวิตช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ต้องวิ่งหลบระเบิดเวลาหวอดัง
ครั้งหนึ่งไปซื้อข้าวเหนียวมะม่วง พอหวอดังก็วิ่งหลบ
หลังจากระเบิดเงียบไป ร้านข้าวเหนียวมะม่วงก็หายไปแล้ว มีเศษกระดาษปลิวว่อน
เวลาสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดก็ร้อยโซ่เป็นพรวนทิ้งลงมา
บ้านพี่สาวท่านหนึ่ง (คุณตาเรียกว่าพี่) ก็โดนระเบิดลง ถึงแก่ชีวิต
ได้พาสชั้นเพราะสงคราม

เมื่อคุณตายังเด็ก ไม่ค่อยยอมกินข้าว
จะกินข้าวที ต้องมีคนมาห้อมล้อมเกลี้ยกล่อม (ใช้คำทำนองว่ามีบ่าวสามสี่คนมาตั้งขบวนแห่ตีฆ้องร้องป่าว)
คุณตาเคยวิ่งไปตามหมอตำแยมาทำคลอดให้คุณแม่ด้วย

วันหนึ่ง ขณะอายุ ๑๒-๑๓ อยู่ที่โรงเรียน ก็มีคนมาตาม บอกว่าคุณพ่อเสีย
คุณตาก็วิ่งกลับบ้านมากราบศพคุณพ่อ

ครานั้นเหมือนบ้านแตก  คุณตาและน้อง ๆ ต้องแยกกันไปอยู่บ้านญาติ
คุณแม่ของคุณตา (ธารี เทศรักษ์) เป็นลูกคุณหลวง และมีศักดิ์เป็นน้องพระยาศรีวิกรมาทิตย์
คุณตาได้ไปอยู่บ้านเจ้าคุณศรีวิกรม์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นเจ้าคุณลุง โดยบอกว่าจะส่งคุณตาไปเรียนเมืองนอก

คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก

ไม่นานนักคุณตาก็หนีกลับบ้าน

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 17 พ.ย. 10, 05:48



       ดูสาแหรกสกุลบุนนาคหน้่า ๑๑๑ อยู่เมื่อหัวค่ำ   วางแผนว่าจะแนะนำคุณภานุเมศไปพูดคุยเยี่ยมเยือน

คุณลุงและคุณป้าหรือคุณน้า  ที่เหลืออยู่ ๔ คน  บุตรของคุณตาโชค และ คุณยายเจรง ที่บ้านตีนสะพานพุธ  เพราะในบริเวณติดต่อกัน

น้องๆของคุณตาโชคปลูกบ้านอยู่ใกล้กันหลายคนและได้โปรดปรานเลี้ยงดูหลานๆมาอย่างแย่งไปเลี้ยงและเลี้ยงแบบรักใคร่ใยดี


       คุณหลวงเล็กผู้มีปัญญาเฉียบแหลมอยู่เสมอก็มีความคิดว่าน่าจะไปเยี่ยมคุณกัณฑาทิพย์บ้าง

ว่าแล้วเราก็ต่อสู้สนทนาแย่งกันคุยเรื่องเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ และบุตร ๓๑ คนของท่าน


       เรื่องคับที่อยู่ได้  คับใจอยู่ยากนั้น  เป็นธรรมดาอยู่เอง  เพราะบางบ้านมีความมัธยัสถ์ถี่ถ้วนเป็นที่เลื่องลือไปทั้งถิ่น

หมายความว่าหลายถนน         

       

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 17 พ.ย. 10, 08:44

ราชทินนาม "วิจารณ์ภัณฑกิจ" นั้น  น่าจะจัดอยู่ในพวกพนักงานรักษาราชพัสดุ  สังกัดกองคลังราชพัสดุ  กระทรวงวัง  หรือกองคลังเครื่องโต๊ะมากกว่าที่จสังกัดกรมชาวที่  แต่การที่ได้ไปเป็นผู้รักษาพระราชวังบางปะอินนั้น  น่าจะมีสาเหตุมาจากเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น  มีการปลดข้าราชการในพระราชสำนักออกไปจำนวนหนึ่ง  รวมทั้งไม่มีการพระราชทานบรรดาศักดิ์ต่อมา  เมื่อมีการเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ราชการจึงยังคงใช้ราชทินนามสำหรับตำแหน่งเดิมต่อมา

เจ้ากรมรักษาพระราชวังบางปะอินในตอนปลายรัชกาลที่ ๖ ต่อต้นรัชกาลที่ ๗ นั้นคือ ขุนวิมานวัชรี (สกุลเดิม อิศรเสนา)

คุณ V_Mee สันนิษฐานได้น่าฟัง  แต่หลักฐานมียืนยันอยู่ว่า  ขุนวิจารณ์ภัณฑกิจ  เป็นข้าราชการสังกัดกรมมหาดเล็กมาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๕ ต่อต้นรัชกาลที่ ๖
อันนี้ข้อมูลจากหนังสืออักขรานุกรมขุนนางสำหรับมหาดเล็ก

ส่วนปรับเปลี่ยนอัตรากำลังและตำแหน่งหน้าที่ของข้าราชการกระทรวงวังจนมาเป็นสำนักพระราชวัง สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วนั้น
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นเริ่มรัชกาลที่ ๗ ด้วยมีปัญหาด้านเศรษฐกิจ จึงปลดข้าราชการชั้นสัญญาบัตรบางตำแหน่งออกรับพระราชทานเบี้ยบำนาญ
จากนั้นก็มีการปรับปรุงกรมมหาดเล็กและกระทรวงวังอีกหลายครั้ง  เช่น  ลดจำนวนเวรมหาดเล็กให้เหลือ ๒ เวร  ปลดข้าราชการชั้นสัญญาบัตรที่รับราชการมานาน
และที่มีอายุมากออกรับพระราชทานบำนาญ   เป็นต้น 


ส่วนคุณภาณุเมศร์  เมื่อวานผมลืมนึกถึงหนังสือ เจ้าจอมก๊กออ  ของคุณกัณฑาทิพย์ สิงหะเนติ ไป เลยไม่ได้แนะนำ
แต่ถึงอย่างไรคุณก็คงอ่านแล้ว  ก็ไม่จำเป็นต้องกล่าวอีก  เว้นแต่มีประเด็นที่พึงนำมาถกเถียงและตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องกันต่อไป

นักอ่านหนังสือเก่าบางคน (เน้นว่าบางคนเท่านั้น  เพราะผมรู้จักเฉพาะบางคน) ถือเรื่องข้อมูลและการอ้างอิงเป็นสำคัญ 

ส่วนคุณวันดี  อย่ามาสรรเสริญเยินยอกันเลย  จะทำให้ผมกลายเป็นตำบลกระสุนตกเปล่าๆ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 17 พ.ย. 10, 09:25



ทราบเรื่องเอกสารราชการน้อยมาก    ปะติดปะต่อเริ่องเป็นแน่นอน

แต่ไม่ทราบแหล่งข้อมูลนี่นา


ใครจะยิงกระสุนมาตกที่เดียวตลอด   
บันทึกการเข้า
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 17 พ.ย. 10, 10:44


      ดูสาแหรกสกุลบุนนาคหน้่า ๑๑๑ อยู่เมื่อหัวค่ำ  


ในหนังสือนั้นมีข้อมูลผิดพลาดหลายประการครับ ถ้าเข้าไปที่ลิงก์นี้จะอัปทูเดตมากกว่าครับ
(แต่ก็ยังมีผิดพลาดอยู่ เพราะบางท่านเปลี่ยนชื่อ บางท่านแต่งงาน มีบุตรธิดา)
http://www.bunnag.in.th/pdf/a064.pdf




วางแผนว่าจะแนะนำคุณภานุเมศไปพูดคุยเยี่ยมเยือน

คุณลุงและคุณป้าหรือคุณน้า  ที่เหลืออยู่ ๔ คน  บุตรของคุณตาโชค และ คุณยายเจรง ที่บ้านตีนสะพานพุธ  เพราะในบริเวณติดต่อกัน

น้องๆของคุณตาโชคปลูกบ้านอยู่ใกล้กันหลายคนและได้โปรดปรานเลี้ยงดูหลานๆมาอย่างแย่งไปเลี้ยงและเลี้ยงแบบรักใคร่ใยดี




โอ้  ขอบพระคุณมากครับ  ยิ้ม
แต่ผมรู้สึกกล้า ๆ กลัว ๆ อย่างไรไม่ทราบ  แหะ ๆ ลังเล
บันทึกการเข้า
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 13 มี.ค. 12, 18:41

ได้รับความกรุณา จาก คุณหลวงเล็ก อุตสาหะตรากตรำค้นราชกิจจานุเบกษาให้
จนพบ พระบรมราชโองการ พระราชทานบรรดาศักดิ์ แก่คุณตาทวดของผม
ต้องขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๕ หน้า ๒๖๘๙ วันที่ ๕ มกราคม ๒๔๖๑ ท้ายหน้าชื่อสุดท้าย  (เมื่อคลิกลิ้งแล้วจะขึ้นเป็นไฟล์ PDF จะอยู่ที่หน้า ๕๑ ครับ)

"วันที่ ๒๘ ธันวาคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๑
มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้า ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์แก่ข้าราชการ คือ ...
... ให้มหาดเล็กวิเศษ แจ๋ว บุนนาค เปนขุนวิจารณ์ภัณฑกิจ มีราชการในกรมชาวที่ ถือศักดินา ๓๐๐ ..."


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.083 วินาที กับ 20 คำสั่ง