SILA
|
ความคิดเห็นที่ 90 เมื่อ 14 ธ.ค. 10, 11:03
|
|
- อันตราคนี (ผู้มีไฟไม่สิ้นสุด) นามนี้มีระบุว่า ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ แปลงให้สำหรับละครเวทีชื่อเดียวกัน กำกับโดย อ.มัทนี รัตนิน ณ ม.ธรรมศาสตร์
ภาพปกหนังสือละครอันตรคนี ผลงานอ.จักรพันธุ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 91 เมื่อ 14 ธ.ค. 10, 11:14
|
|
อันตราคนีและพี่สาวหัสมนี  ภาพถ่ายโดยคุณอันตราคนี 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 92 เมื่อ 14 ธ.ค. 10, 11:16
|
|
ในเวลาต่อมา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ก็ได้จัดแสดงละครเวทีเรื่อง อีดิปุส จอมราชันย์ จำได้ว่า คุณจิ๊ - อัจฉราพรรณ รับบทเป็นราชินี Jocasta พระมารดา
อ.เจตนา นาควัชระ เขียนถึงละครครั้งนี้ไว้ที่
http://www.artbangkok.com/detail_page.php?sub_id=168
ประเด็นที่พล็อตเรื่อง อีดิพัส ช่างตรงกับตำนานพญากง พญาพานของบ้านเรานั้น อ.เจตนากล่าวไว้ด้วยว่า
ตำนานพระปฐมเจดีย์ ที่เกี่ยวกับ "พญากง-พญาพาน" ก็เป็นที่รู้จักกันทั่วไป (ส่วนประเด็นที่ว่าอิทธิพลของปกรณัมเรื่องอีดิปุสเดินทางเข้ามาสู่สุวรรณภูมิได้อย่างไร ยังเป็นปมปัญหาที่นักวิชาการจะต้องค้นคว้าหาคำตอบกันต่อไป ซึ่งก็คงเดินทางผ่านมาทางตักสิลา)
เรามีวิธีสร้าง " catharsis" (ความโล่งอารมณ์) ในแบบที่วัฒนธรรมกรีกต้นกำเนิด ไม่รู้จัก ความสำนึกผิดของพญาพานที่นำไปสู่การสร้างเจดีย์สูงเท่านกเขาเหินเป็นการสร้างความผ่อนคลาย ด้วยแรงบุญที่ผูกอยู่กับพระศาสนา อีดิปุส "ฉบับนครปฐม" ยอมให้แต่เพียงลูกฆ่าพ่อ แต่ไม่ยอมให้ลูก สมสู่กับแม่ เรารับความรุนแรงของต้นแบบอย่างเต็มรูปไม่ได้ อีดิปุสฉบับกรีกไปไกลกว่านั้นมาก เพราะนอกจากปิตุฆาตแล้วยังมีบาปอันมหันต์ที่มาจาก การสมสู่กับมารดาเข้ามาทบอีกในตอนท้ายเรื่อง อีดิปุสได้กล่าวรำพันถึงความโหดร้ายแห่งชะตากรรม ที่ทำให้เขากับลูกของเขาเองเกิดมาจากแม่เดียวกัน ละครของซอเฟอคลีสจึงเต็มไปด้วยความโหดเหี้ยม ซึ่งเกินเลยไปจากตำนานของไทย แต่เราก็จำเป็นจะต้องรับกติกาของประเพณีโศกนาฏกรรมกรีก ว่าความรุนแรงที่กล่าวถึงนี้เป็นไปในลักษณะของความโหดเหี้ยมทางปรัชญาด้วย.
จากที่อ.เจตนากล่าวว่า ไทยเราไม่ยอมรับความรุนแรงของต้นแบบอย่างเต็มรูป คือให้ลูกสมสู่กับแม่ อาจเป็นไปได้ว่า การที่กำหนดบทให้ พญาพานฆ่ายายหอมผู้มีพระคุณที่เลี้ยงดูตนมา ก็คือ ความรุนแรง "เลี่ยงหรือชดเชย" ความรุนแรงของต้นแบบกรีกนั่นเอง - คหสต. ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 93 เมื่อ 14 ธ.ค. 10, 11:19
|
|
ขอบคุณภาพเพิ่มเติมจากคุณเพ็ญ ครับ
ซิกมันด์(มุนด์) ฟรอยด์ Sigmund Freud นักจิตวิทยาชาวออสเตรเลีย ผู้ได้รับสมญา ว่าเป็น บิดาแห่งวิชาจิตวิเคราะห์ นำนามอิดีพัสมาใช้เรียกว่า ปมอีดิพัส - Oedipus complex/Oedipus conflict จากละครของ Sophocles เรื่อง Oedipus Tyrannus(Rex - latin) ที่ได้รับความนิยม อย่างสูงทั้งในเยอรมันและฝรั่งเศสช่วงทศวรรษ 1880 เป็นหนึ่งในกระบวนพัฒนาการของเด็กชายที่เกิดขึ้นเป็นปกติ พร้อมๆ กับพัฒนาการ ทางจิตใจและเพศ เมื่ออายุประมาณ 5-6 ปี เด็กชายจะเกิดความรัก(ใคร่ - อีโรติค)แม่ และไม่ชอบพ่อของตัวเอง จะหวงแม่และต้องการที่จะแทนที่ในตำแหน่งของพ่อ Sigmund Freud Time 29 November 1993 Magazine Cover Photo
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 94 เมื่อ 14 ธ.ค. 10, 12:27
|
|
เพิ่งอ่านทวน และพบว่าพิมพ์ผิดอย่างจัง ฟรอยด์ เป็นชาว ออสเตรีย(น) ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 95 เมื่อ 14 ธ.ค. 10, 16:33
|
|
ซิกมุนด์ ฟรอยด์ นักประสาทวิทยาชาวออสเตรียน เป็นผู้ให้กำเนิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์ การใช้จิตวิเคราะห์ในการบำบัดผู้ป่วย ฯ ซึ่งเมื่อถึงกาลปัจจุบันหลายทฤษฎีของเขาก็ไม่ได้รับ ความนิยมแล้ว และบางทฤษฎีก็ถูกพบว่ามีข้อบกพร่องด้วยองค์ความรู้จิตวิทยาสมัยใหม่ แต่ถึงอย่างไร ผลงานและความคิดของฟรอยด์ที่ได้มีอิทธิพลต่อผู้คนมากมาย ทำให้ เขาเป็นหนึ่งในบรรดาผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดมากที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20
เกิดในครอบครัวชาวยิวเมื่อ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2399 เสนอทฤษฎีจิตวิเคราะห์ในปีพ.ศ.2433 งานของเขาที่หลายคนคุ้นเคยที่สุดนอกจากปมอีดิพัสแล้ว น่าจะเป็น การแบ่งโครงสร้าง ของจิตใจตามหน้าที่เป็น 3 ส่วน ได้แก่ Id, Ego และ Super-ego บั้นปลายชีวิต ฟรอยด์ป่วยด้วยมะเร็งในช่องปาก ซึ่งเป็นผลจากการสูบบุหรี่จัด ต้องเดินทางหลบภัยนาซีออกจากออสเตรียมาอังกฤษในปีพ.ศ. 2481 เมื่ออาการมะเร็งกำเริบหนักเกินรักษา ฟรอยด์ต้องอยู่อย่างทรมานจากทั้งความเจ็บปวด และกลิ่นที่รุนแรง เพราะความเจ็บปวดที่เกินทน ฟรอยด์ได้ขอให้แพทย์ผู้เป็นเพื่อนด้วยช่วยการุณยฆาตเขา ฟรอยด์จากไปในวันที่ 23 กันยายน 2482 ด้วยมอร์ฟีนขนาดสูงติดต่อกันข้ามวัน
ฟรอยด์กับสุนัขตัวโปรด Jofi ที่ตายจากนายไปก่อน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 96 เมื่อ 14 ธ.ค. 10, 16:41
|
|
นามของเขาถูกนำมาใช้ว่า Freudian slip (หรือ parapraxis จาก
Mod.L. para - contrary + Gk. praxis "a doing, transaction, business")
- หมายถึง การผิดพลาดหรือหลุดในคำพูด,การกระทำ และ ความจำ ซึ่งเกิดจาก การแทรกเข้ามาของความต้องการ,ความขัดแย้ง หรือขบวนความคิดแห่งจิตใต้สำนึก เป็นการหลุดที่เผยจุดมุ่งหมายที่อยู่ในจิตใต้สำนึก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 97 เมื่อ 15 ธ.ค. 10, 10:17
|
|
คู่กับปมอีดิพัสของเด็กชาย เด็กหญิงก็มีปมอีเล็คทรา
เป็นปมความรัก(ใคร่) ที่ลูกสาวมีต่อพ่อ และความเกลียดแม่
ศัพท์นี้ได้มาจากนามเจ้าหญิง อีเลคทรา - Electra (Elektra)
ธิดาของแอกะเมมนาน - Agamemnon กับ ไคลเทมเนสทระ - Clytemnestra
แอกะเมมนานผู้เป็นเชษฐาของสวามีที่เฮเลน(ณ กรุงทรอย)นอกใจ แต่งกองเรือ เพื่อจะยกพลไปกรุงทรอย แต่ครั้นถึงวันยาตราทัพ คลื่นลมกลับไม่เป็นใจ ขบวนเรือไม่อาจเคลื่อนออกนอกฝั่ง แอกะเมมนานสั่งให้จัดพิธีการสังเวยขอขมาเทวี Artemis เพื่อวอนให้กระแสลมโบกพัดทัพเรือ โดยการสังหารอิฟิกไนอะ - Iphigenia ธิดาของตนเองตามคำแนะนำของผู้มีญาณหยั่งรู้ การณ์ครั้งนี้สร้างความสะเทือนใจและความโกรธแค้นเคืองแก่ชายา - ราชินีไคลเทมเนสทระเป็นอย่างยิ่ง
The Sacrifice of Iphigenia - Francois Perrier
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 98 เมื่อ 15 ธ.ค. 10, 10:22
|
|
ในขณะที่สวามีรณรงค์สงคราม ณ กรุงทรอยอย่างยืดเยื้อยาวนาน พระนางก็คบหามีชู้ชม คือเจ้าชาย เอกิสธัส - Aegisthus (ลูกพี่ลูกน้องของแอกะเมมนาน ที่พี่น้องถูกพระบิดา ของแอกะเมมนานสังหารจนสิ้นยกเว้นตน) บางตำนานว่าเพราะคำสาปจากอโฟไดรทีพิโรธที่พระบิดาของพระนางเคยละเลย การสังเวยบวงสรวงเทวี จึงสาปให้ธิดาทุกนางต่างมีชู้(ซึ่งรวมถึงเฮเลนที่เป็นพี่น้องต่างมารดาด้วย) เจ้าหญิงอีเลคทรารับรู้พฤติกรรมน่าละอายนี้อย่างผิดหวังและขุ่นเคืองใจพระมารดา
หลังจากสงครามกรุงทรอยสิ้นสุด ราชินีร่วมมือกับชู้รักเอกิสธัสสังหารแอกะเมมนาน เมื่อเดินทางกลับมาถึง บางตำนานกล่าวว่าพระนางเป็นผู้ลงมือเอง
The Murder of Agamemnon - Pierre-Narcisse Guerin
Agamemnon หลับใหล Clytemnestra ลังเล Aegisthus เร่งเร้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 99 เมื่อ 15 ธ.ค. 10, 10:27
|
|
หลังจากนั้นเอกิสธัสก็ขึ้นครองบัลลังก์ อีเลคทรารีบจัดการให้อนุชาโอเรสทิส - Orestes หลบหนีไปจากวัง เพื่อให้พ้นจากการถูกกำจัดโดยบิดาเลี้ยง (บางตำนานกล่าวว่า) เอกิสธัสไม่ไว้ใจอีเลคทรา จึงจัดให้นางสมรสแล้วออกไปอยู่กับ สามัญชนนอกนคร ด้วยหวังว่าสามีและบุตรภูธร(ที่อาจจะมี) คงไม่กล้าคิดการใหญ่แก้แค้น อีเลคทรากล้ำกลืนฝืนทนอยู่ต่อไปอย่างตรอมตรมและอาดูรสูญเสีย มีไฟแค้นและ ไฟชังสุมจิตวิญญาณ รอวันกลับมาของอนุชาเพื่อการล้างแค้น Electra at Tomb of Agamemnon - Frederic Leighton
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 100 เมื่อ 15 ธ.ค. 10, 10:30
|
|
ภาพจาก Salzburg Festival ปีนี้ มีการแสดง Opera เรื่อง Electra
อีเลคทราสวมภูษาของบิดา อาลัยรักเจ้าของฉลององค์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 101 เมื่อ 15 ธ.ค. 10, 10:35
|
|
ปฏิบัติการสังหารชำระแค้น มีเรื่องเล่าเหตุการณ์แตกต่างกันออกไป
หลากภาพที่ศิลปินถ่ายทอดเรื่องราวตอนนี้
Orestes slaying Aegisthus and Clytemnestra - Bernardino Mei
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 102 เมื่อ 15 ธ.ค. 10, 10:38
|
|
อีกภาพจาก Salzburg Festival ปีนี้
ร่าง Clytemnestra ถูกจับแขวนห้อย เลือดสีแดงสดสาดผนังอยู่เบื้องหลัง Orestes
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 103 เมื่อ 15 ธ.ค. 10, 10:41
|
|
เอกิธัสมาดูศพ(ที่คิดว่าเป็นโอเรสทิส) แต่กลับพบร่างชายาชู้ชมของตน
Charles Auguste van den Berghe
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SILA
|
ความคิดเห็นที่ 104 เมื่อ 15 ธ.ค. 10, 10:46
|
|
เมื่อความแค้นได้ชำระด้วยน้ำมือของโอเรสทิสแล้ว Erinyes (Furies) - ทัณฑเทพธิดาลงโทษทัณฑ์ผู้กระทำผิด ได้ออกไล่ล่าโอเรสทิส จนแทบเสียจริต หากแต่รอดมาได้โดยการหลบเข้าไปในวิหาร นางถือกำเนิดมาจากโลหิตขององคาพยพเพศของยูเรนัสที่ถูกโอรสตัดแล้ว ตกต้องพื้นธรณี (อโฟไดรที กำเนิดจากโลหิตและอสุจิธารส่วนที่ตกลงท้องทะเล) ความผิดรุนแรงมหันต์ที่กระทำต่อบุพการีเช่นนี้ คือภารกิจลงทัณฑ์ที่สำคัญยิ่งสำหรับนาง
Orestes Pursued by the Furies - John Singer Sargent
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|