เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 60300 ฉ - ศัพท์คำนี้มีตำนาน(กรีก) - NC 17
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 13 ธ.ค. 10, 10:35

             เทวีและทารกน้อยได้ร่วมสร้างตำนานทางช้างเผือก เมื่อจอมเทพซูสหลอกเทวี
ให้กษีรธาราแก่ทารกเฮอร์คิวลิส(คงหวังจะสร้างความสมานฉันท์)
             บางตำนานว่ามารดาเฮอร์คิวลิสหวาดภัยเฮรา จึงนำบุตรชายไปทิ้งไว้ในป่าแล้วเทวีอธีนามาช่วยไว้
                
             แต่เมื่อเทวีรู้องค์(บ้างว่าเฮอร์คิวลิสน้อยกัดอุระพระนาง) จึงดึงเฮอร์คิวลิสออกจากอุระ
กษีรธารพุ่งพาดฟากฟ้าก่อกำเนิดเป็นนภสินธุ์  

(นภสินธุ์ - น. แม่นํ้าคงคา, แม่นํ้าในฟ้า คือ ทางช้างเผือกในตําราดาว)              

The Origin of the Milky Way โดย  Jacopo Tintoretto


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 13 ธ.ค. 10, 10:38

           เมื่อทารกเติบโตเจริญวัยเยาว์ได้นามว่า   Herakles - ฮีระวร 
(วร - น. พร; ของขวัญ) ซึ่งแปลว่า "glorious gift of Hera" - ของขวัญ-พรไพโรจน์จากฮีระ

The Origin of the Milky Way โดย Rubens 


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 13 ธ.ค. 10, 10:41

           ครั้นเติบใหญ่ เฮอร์คิวลิสได้รับการสอนสั่งทั้งศิลปะการต่อสู้และคีตศิลป์
แต่อย่างหลังคงจะไม่ถูกจริต เมื่อศิษย์ไม่ได้ดังใจจึงถูกอาจารย์ทำโทษ ด้วยความโกรธเฮอร์คิวลิส
ใช้เครื่องดนตรีฟาดศีรษะอาจารย์จนถึงแก่ชีวิต จึงจำต้องหลีกลี้ไปไกลถึงชายเขา
             ที่นั่นเฮอรืคิวลิสทรงพลังได้สังหารสิงห์ที่มาทำร้ายสัตว์เลี้ยงด้วยมือเปล่า ภาพวาดและรูปสลัก
บางชิ้นจึงนิยมให้เฮอร์คิวลิสมีหนังสิงห์เป็นอาภรณ์
          
             ต่อมาเฮอร์คิวลิสได้นำนักรบธีบส์ออกเผด็จศึกกับศัตรูได้รับชัยชนะ ราชาจึงประทานธิดา
ให้เป็นบำเหน็จวีรกรรม เฮอร์คิวลิสแต่งงานกับ Megara และมีบุตรด้วยกันสามคน แต่แล้วครอบครัว
กลับต้องแตกสลายในไม่ช้า เมื่อ  
              เทวีฮีระผู้ผูกใจจองเวรได้สาปส่งอาการโกรธคลุ้มคลั่งสิงเฮอร์คิวลิส ทำให้เสียจริตจน
กระทำการสังหารภรรยาและบุตร  เมื่อสติสัมปชัญญะกลับคืนเฮอร์คิวลิสเศร้าโศกระทมด้วยรู้สึก
ผิดมหันต์จากกรรมที่ก่อ

Asteas Painter, 4th century BC Madrid Museum


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 13 ธ.ค. 10, 10:46

            อพอลโล - เทพพยากรณ์ แนะนำให้เฮอร์คิวลิสประกอบวีรกรรมเหนือมนุษย์ 12 อย่าง
เพื่อเป็นการล้างมือที่เปื้อนเลือด ชำระบาปที่ได้ก่อไว้ให้กลับกลายเป็นบริสุทธิ์

               หลังผ่านพ้นวิบากวีรกรรมทั้งสิบสองแล้ว เฮอร์คิวลิสยังผจญภัยต่อไปอีก ทั้งปรากฏบทสมทบ
ในตำนานมีชื่อเรื่อง  Jason and the Argonauts - อภินิหารขนแกะทองคำ, ถูกกล่าวถึงใน  
Trojan War - สงครามกรุงทรอย และ พบกับ Odysseus ในใต้หล้ายมโลก ซึ่งขัดกับตำนานของเฮอร์คิวลิส
เนื่องจาก
 
                เมื่อวาระสุดท้ายบนโลกมนุษย์มาถึง จอมเทพซูสได้รับเขาขึ้นไปอยู่บนสวรรค์เป็นอมตะ
และประทานเทพธิดาฮีบีให้เป็นชายา

The Apotheosis of Hercules - Louis Cheron

             พิธีเทวสถาปนาและเทวาเสกสมรสของเฮอร์คิวลิส โดยมีจอมเทพซูสเป็นประธาน
ขวามือจอมเทพคือธิดาฮีบี เคียงซ้ายด้วยเทวีเฮรา พร้อมเชษฐาซูส - โพไซดอนและเฮดีส
อีกทั้งทวยเทพใหญ่น้อยมากมาย เช่น อโฟไดรที แอรีส  เฮอร์มีส อพอลโล
               เฮอร์คิวลิสนั่งอยู่บนรถม้าเบื้องล่าง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 13 ธ.ค. 10, 10:53

            ศัพท์หยิบจากนามนี้มาใช้ ได้แก่

Herculean - of extraordinary power, extent, intensity, or difficulty
           
                 <Herculean tasks> <Herculean proportions>

Herculean disease - Hercules morbus (morbus - latin = sickness)
               – ศัพท์โบราณ ปัจจุบันคือ epilepsy - โรคลมชัก
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 14 ธ.ค. 10, 09:58

             สามตำนานต่อไปนี้ เล่าเรื่องราวดรามาเข้มข้น ตัวละครซึ่งมิใช่สามัญชน
ได้ก่อกรรมกระทำเหตุการณ์รุนแรงโหดร้ายเกินปกติวิสัย ชาวการละครเวทีนิยมหยิบยก
ไปตีความนำเสนอเป็นโศกนาฏกรรมสั่นสะเทือนอารมณ์ผู้ชมทั้งหลาย   

                                Oedipus       
   

            ราชาเลอัส - Laius  ผู้ครองนครธีบส์ - Thebes บัญชาให้บริวารจับโอรสองค์น้อย
มัดข้อเท้า(บ้างว่าใช้เข็มกลัดหรือหมุดเสียบตรึงข้อเท้า) แล้วนำไปทิ้งไว้บนภูเขาเพื่อให้สิ้นชีวิต
เนื่องจากมีคำทำนายว่าโอรสจะกระทำปิตุฆาตเมื่อเจริญวัย

        ชะตากรรมตามคำทำนายนี้เป็นวิบากรรมจากเมื่อครั้งเลอัสยังเป็นเจ้าชายถูกเนรเทศ
ออกจากนัครา เลอัสได้ข่มขืนยุวโอรสของราชาที่ให้การอุปถัมภ์ตน เป็นเหตุให้เทวีฮีระ(เฮระ)
พิโรธจึงลงโทษบัญชาไม่ให้เลอัสมีโอรส ต่อมาเมื่อเลอัสเสกสมรสแล้วได้ฝ่าฝืนคำห้ามเพราะ
ความเมามาย
        นอกจากบัญชานี้แล้วเทวียังส่งนางสฟิงซ์มาคุกคามเมืองธีบส์อีกด้วย

              แต่บริวารกลับนำไปมอบให้กับเมษบาล(คนเลี้ยงแกะ) ผู้ซึ่งได้นำไปถวายราชา
แห่งเมืองคอรินท์ - Corinth (บ้างว่าบริวารของราชามาพบ) แล้วทรงรับไว้เป็นบุตรบุญธรรม
และให้ชื่อว่า อีดิพัส (เอดิพัส) - Oedipus ตามรอยบวมปรากฏที่ข้อเท้า(จากการถูกมัด)
มาจากคำกรีกว่า oedema

ประติมากรรม เมษบาลอภิบาล ทารกอีดิพัสรอดตาย ผลงานของ Antoine Denis Chaudet


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 14 ธ.ค. 10, 10:10

           อังกฤษรับคำนี้มาใช้

        oedema - (British English) (North American English - edema)
คงความหมายว่า บวม - a condition in which liquid collects in the spaces inside
                          the body and makes it swell

- Oxford Advanced Learner's Dictionary

ส่วน Merriam-Webster ก็นิยามว่า chiefly British variant of edema
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 14 ธ.ค. 10, 10:11

            นามเมืองนี้เป็นที่มาของ Corinthian order หนึ่งในสามรูปแบบสถาปัตยกรรม
คลาสสิคของกรีกและโรมัน (Doric, Ionic และ Corinthian) ที่วิวัฒน์ ณ กรุงเอเธนส์
ในช่วงศตวรรษที่ 5 BC


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 14 ธ.ค. 10, 10:14

             ตำนานเล่าว่า ประติมากรได้ภาพรูปแบบมาจากหลุมฝังศพเด็กหญิงที่มีตะกร้าบรรจุ
ของเล่นพร้อมแผ่นหินปิดด้านบนวางไว้เหนือหลุมศพ เมื่อเวลาผ่านไปต้น acanthus ได้งอกงาม
แตกกิ่งใบโอบตะกร้าและตีโค้งตรงมุมของแผ่นหินเกิดเป็นภาพอ่อนช้อยงดงาม เป็นที่มา
ของหัวเสาที่คุ้นตา corinthian column พบในสิ่งก่อสร้างของโรมันมากกว่ากรีก

ภาพ The origin of the Corinthian Order, illustrated in Claude Perrault's Vitruvius, 1684


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 14 ธ.ค. 10, 10:21

            ครั้นเติบใหญ่ อีดิพัสได้ยินคำคนอื่นกล่าวเกิดความสงสัยว่าตนอาจมิใช่ลูกที่แท้จริง
ของราชาแห่งคอรินท์ เมื่อไปทูลถามพระบิดา(หรือพระมารดา)ก็ได้รับคำปฏิเสธ เขาจึงออกเดินทาง
ไปปรึกษานักพยากรณ์ แต่กลับได้รับคำตอบแต่เรื่องคำทำนาย(ปิตุฆาต) อีดิพัสจึงเดินทางออก
จากคอรินท์เพื่อที่จะหนีคำทำนายนี้

             เมื่อมาถึงจุดบรรจบของทางสามแพร่งมุ่งสู่ทางสายเดียว อีดิพัสได้พบกับพระบิดา
(องค์จริง - เลอัส) ทรงราชรถม้ามุ่งไปทางเอกเช่นกัน
            บ้างว่า เมื่อออกมาจากสำนักพยากรณ์บนถนนสายแคบ อีดิพัสสวนกับราชรถของราชาเลอัส
ที่เดินทางมาถามเรื่องคำทำนายปิตุฆาตซึ่งผู้หยั่งรู้ทักว่าใกล้จะถึงเวลานั้นแล้ว
            ทั้งสองโต้แย้งกันอย่างรุนแรงเรื่องผู้ใดจะได้ใช้เส้นทางต่อไปก่อน จนเกิดการต่อสู้กัน
และอีดิพัสได้สังหารราชาเลอัสโดยเป็นการป้องกันตัว - เป็นปิตุฆาตตรงตามคำทำนาย
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 14 ธ.ค. 10, 10:30

          อีดิพัสเดินทางมาถึงธีบส์และได้เผชิญกับนางสฟิงซ์ (Sphinx) ที่กำลังคุกคามขวางทาง
เข้านคร (เป็นโทษทัณฑ์จากเทวีฮีระดังได้กล่าวไปแล้ว) ผู้ที่จะผ่านเข้าไปต้องตอบปริศนา
ให้ได้ก่อน หากตอบผิดจะถูกนางรัดจนสิ้นใจ
          อนุชาราชินีผู้ครองเมืองธีบส์แทนราชาเลอัสได้ตั้งรางวัลให้กับผู้ที่สามารถไขปริศนานี้ได้
โดยจะยกบ้านเมืองและตำแหน่งราชาให้แก่ผู้นั้น
          (บางตำนานกล่าวว่าอีดิพัสทราบข่าวรางวัลนี้จึงเดินทางมาธีบส์)
          
สฟิงซ์ เป็นลูกสาวของ Echidna - ครึ่งอสรพิษ ครึ่งอิสตรี เป็นมารดาของอสุรกาย
ในตำนานกรีก
           นางสฟิงซ์มีศีรษะมนุษย์หญิง ร่างสิงห์ ปีกอินทรี และหางสิงห์หรืออสรพิษ
ชื่อมาจากคำกิริยาภาษากรีก sphingo แปลว่า "to strangle"

Oedipus and the Sphinx - Jean Auguste Dominique Ingres


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 14 ธ.ค. 10, 10:36

ปุจฉาสฟิงซ์       

          "What walks on four feet in the morning, two in the afternoon
and three at night?".

หรือ     "What is that which has one voice and yet becomes four-footed
and two-footed and three-footed?"

อีดิพัสวิสัชนา
 
           "Man; as an infant, he crawls on all fours, as an adult, he walks on two legs
and, in old age, he relies on a walking stick".

              อีดิพัสแก้ปริศนานี้ได้สำเร็จ (อาจจะเป็นเพราะประสบการณ์เท้าที่บาดเจ็บและ
การเดินด้วยไม้เท้าในวัยเด็กของตน) นางสฟิงซ์จำทิ้งนคราโจนจากผาลงมาถึงแก่กาลดับ
บ้างว่าโจนลงหุบเหวลึกลับหายไป
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 14 ธ.ค. 10, 10:41

             อนุชาราชินีผู้ครองเมืองแทนราชาเลอัสตอบแทนอีดิพัสตามสัญญา ยกตำแหน่งราชา
ครองนคราและครองราชินีม่าย Jocasta (พระมารดาที่แท้จริงของอิดีพัส) ทั้งสองมีโอรสธิดาด้วยกัน  4 องค์

               ต่อมาเกิดอาเพศในนครา พืชพันธุ์ไม่ออกผล สตรีไม่มีบุตร ทั้งยังเกิดโรคห่า(กาฬโรค)ระบาด
นักพยากรณ์ให้คำแนะนำว่าจงสืบหาผู้ที่ปลงพระชนม์ราชาเลอัสแล้วจับประหารหรือเนรเทศออกไป

              ในที่สุด ความจริงทั้งหมดได้ถูกเปิดเผยเมื่อราชาแห่งคอรินธ์สิ้นพระชนม์แล้วราชินียอมรับ
ว่าอีดิพัสเป็นโอรสบุญธรรม อีกทั้งเมษบาล(คนเลี้ยงแกะ) ผู้ช่วยชีวิตทารกอีดิพัสตอนที่ถูกทิ้งไว้บนเขา
สามารถยืนยันชาติกำเนิดอีดิพัสได้จากตำหนิรอยแผลเป็นที่เท้า

จากโอเปรา ไม่พบภาพถูกใจ เลือกภาพนักแสดงชื่อดัง Ralph Fiennes รับบทอีดิพัส ในละครเวทีปี 2008


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 14 ธ.ค. 10, 10:46

               หลังจากรับรู้เรื่องราวที่แสนโหดร้าย สุดอดสูเจ็บปวดเกินทน อีดิพัสกระชากเข็มกลัด
เครื่องประดับของพระมารดา(และชายาในองค์เดียวกัน) แล้วเสียบเข็มนั้นแทงดวงเนตรทั้งสองข้าง
ของตน ส่วนพระมารดาได้ทำการปลงพระชนม์องค์เองในเวลาต่อมา

ภาพจากภาพยนตร์เรื่อง Oedipus Rex ของผู้กำกับอิตาลีที่เป็นตำนาน - Pasolini


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 14 ธ.ค. 10, 10:50

               อีดิพัสยกบัลลังก์ให้โอรสแล้วเดินทางออกจากธีบส์ไปกับธิดานามว่า Antigone -

อันตราคนีนำบิดาตาบอดดำเนินผ่านชาวพาราที่เจ็บป่วยล้มตายด้วยโรคห่าออกจากธีบส์

Antigone leads Oedipus out of Thebes - Charles Francois Jalabeat


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง