เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 60103 ฉ - ศัพท์คำนี้มีตำนาน(กรีก) - NC 17
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 19 พ.ย. 10, 11:14

ขออนุญาตเข้าซอยย่อย

สงสัยเป็นหนักหนา เหตุใดบรรดาชาวรักร่วมเพศชาย จึงกลายเป็น "สีม่วง"

 ฮืม
ไม่รู้จริงๆ   ได้แต่เดาว่าสมัยวิคตอเรียน สีชมพูเป็นสีกำหนดให้เด็กหญิง  ฟ้าเป็นสีเด็กผู้ชาย   ยุคนี้  พอถึงเพศที่สาม ไม่จัดเข้าสองสีดังกล่าวเลยไปใช้สีม่วง
สีนี้ กำหนดเฉพาะในประเทศไทย หรือว่าทั่วโลกเป็นที่รู้กันคะ คุณ SILA?

เอารูปวาด นาร์ซิสซัส ฝีมือ John William Waterhouse  ศิลปินคนโปรดของดิฉัน   มาวางเป็นน้ำจิ้ม รอคุณ SILA จะจัดจานหลักมาให้ในโอกาสต่อไป



หลังจากดูไม่ออกอยู่นานหลายปี เมื่ออ่านตำนานนาร์ซิสซัสที่หลงเงาตัวเองจนซูบผอมตรอมใจตาย   ก็เพิ่งมาเฉลียวใจในภายหลังว่าเจ้าหนุ่มเป็นเกย์น่ะเอง  ถึงหลงรักเงาชายหนุ่มรูปหล่อในน้ำ  
มิน่า  นางไม้มาหลงรัก   เจ้าหนุ่มถึงไม่สนใจไยดีเอาเสียเลย

Adonis สุดหล่อในตำนานกรีก ก็อีกคน  ขนาดเทวีวีนัสมาหลงรัก  ก็ไม่แยแส    เมื่อก่อนก็ได้แต่แปลกใจว่าทำไม  เดี๋ยวนี้พอเดาได้แล้ว



ป.ล.ชนกลางอากาศกับคุณ SILA   เรื่องสี ดิฉันเดาได้ใกล้เคียงจริงด้วย
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 19 พ.ย. 10, 11:21

           รักร่วมเพศชาย ไม่ปรากฏนามศัพท์จากตำนานกรีก ทั้งๆ ที่นับได้ว่ากรีกเป็นผู้นำด้านนี้

Homosexual - มาจากคำรวม กรีก homos = "same" + sexual ซึ่งเป็นคำจากละติน (Latin-based)

(Homoerotic ตามมาจาก homosexual + erotic มิใช่ homos = same + eros (gen. erotos) = sexual love)

Sodomy -  มาจากไบเบิ้ล  Sodom เมืองศีลธรรมเสื่อมทรามในแถบปาเลสไตน์โบราณ
                  เมืองนี้ถูกทำลายด้วยไฟจากสวรรค์พร้อมกับเมือง Gomorrah
  
จากกรีกมีคำว่า  

‘pederasty’ - มาจากกรีก  paiderastia - "love of boys,"
               from pais (gen. paidos) "child, boy" + erastes "lover,"
from erasthai "to love."      

'Platonic' - จากนามปราชญ์กรีก Plato ถูกนำมาใช้ในความหมายรักต่างเพศที่ปราศจากกามารมณ์  -
"love (for one of the opposite sex) free of sensual desire"  ทั้งที่แต่แรกนั้น
ไม่ได้หมายถึงรักต่างเพศ เพราะหมายถึงความสนใจ - ความพึงใจในเด็กหนุ่มของ Socrates

เหตุที่นามจากกรีกไม่ได้ถูกนำมาใช้เป็นศัพท์รักร่วมเพศ(ชาย) ทั้งที่มีเรื่องราวแนวนี้พอสมควร
อาจมีเหตุจาก

          พฤติกรรมรักร่วมเพศของบุคคลในตำนานเป็นบทบาทรอง ในขณะที่บทบาทหลัก
เป็นเรื่องอื่น เช่น นาม อคิลิส นำมาใช้เรียกเอ็นร้อยหวาย หรือ จุดอ่อน, จุดตาย

         ค่านิยมในสังคมยุคที่เห็นเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องต้องห้าม จึงไม่ค่อยมีการกล่าวถึงตำนานส่วนนี้,
นักวิชาการมองข้ามไป หรือบ้างก็ไม่อยากหยิบนามมาใช้  
 
        หรืออาจจะเป็นตามที่นักเขียนอังกฤษชื่อดัง E M Forster ผู้เขียนงานต้องห้ามเรื่องรักระหว่างชาย
Maurice (ผลงานถูกตีพิมพ์ หลังการเสียชีวิตของเขาไปแล้ว) ให้ตัวละครในนิยายกล่าวถึงเรื่องรักรูปแบบนี้ว่า
      
                   ‘The unspeakable vice of the Greeks’
  
คำที่มีความหมายรักร่วมเพศที่ใช้ในปัจจุบันจึงเป็นคำในยุคหลัง ได้แก่  
                   gay(1971) bent (ประมาณกึ่งศตวรรษที่แล้ว) เป็นต้น    

E M Forster (A Room with a View, Howards End,A Passage to India)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 19 พ.ย. 10, 11:35

       โห.. ตามอาจารย์เข้าซอยนี้มีการบ้านใหม่ตามมาอีก ไม่ควรเอ่ยคำว่าสีม่วงเล้ย

เปิดกูเกิ้ลดีกว่า มีเว็บนี้ครับ เล่าเรื่อง สีม่วง

http://gay-dontmiss.exteen.com/20100725/entry
       
แต่แรกก็คิดว่าม่วง มาจาก ชมพู ฟ้า แต่กลัวกระเทือนสถาบันศึกษา(สวนกุหลาบ) ครับ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 22 พ.ย. 10, 12:52

มาดึงกระทู้ขึ้น ด้วยภาพ Adonis ของ John William Waterhouse



เมื่ออโดนิสถูกหมูป่าขวิดตายขณะล่าสัตว์   วีนัสช่วยเขาไว้ไม่ทัน  เธอได้แต่พรมน้ำอมฤตลงบนร่างที่ใกล้จะสิ้นใจ  เลือดของเจ้าหนุ่มหยดลงเป็นดอกไม้สีแดง อย่างที่เห็นในภาพวาด
ชื่อดอก Anemone ดอกไม้ชนิดนี้บอบบางมาก  โดนลมเข้ากลีบก็ร่วงหมด
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 22 พ.ย. 10, 14:14

          ยังอยู่ในป่าเขาลำเนาไพร ครับ

บรรดาเทพธิดารักษ์ที่มีนามในศัพท์วิชาการ ได้แก่

                  Syrinx  ซีรินส์  เป็นนางไม้โสภาที่เทพไท้ช่วยแปลงเป็นต้นอ้อ
เพื่อให้รอดพ้นภัย Pan ที่พยายามจะย่ำยีนาง

            แพนไม่สามารถแยกแยะนางไม้ที่กลายเป็นต้นอ้อจากพงอ้อที่ขึ้นอยู่ริมธาร จึงหักกิ่งอ้อมาเป่า
            เนื่องจากโพรงของต้นอ้อเมื่อถูกลมเป่าผ่านจะเกิดเป็นเสียงดนตรี ดังนั้น เครื่องดนตรีประเภท
เครื่องเป่าลักษณะเช่นนี้จึงได้ชื่อว่า panpipe (หรือ pan flute) และ syrinx ซึ่งมีทั้งชนิดท่อเดี่ยว
และท่อเรียงเป็นตับ

รูปปั้นแพนไพพ์ในสวนสวยจาก flickr.com


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 22 พ.ย. 10, 14:19

         นอกจากนี้ยังมีความหมายถึง อวัยวะส่งเสียงของนก - vocal organ of bird
รวมทั้งศัพท์แพทย์   -

       syringomyelia หมายถึง โรคช่องมีน้ำในเนื้อเยื่อประสาทไขสันหลัง
              จากคำกรีก  syrinx - tube + myelos - marrow

         - any of the tubular fluid-filled cavities formed in the nerve tissue
of the spinal cord

และ   syringe กระบอกฉีดยาก็อาจได้ชื่อมาจากนางเช่นกัน
              from Gk. syringa, acc. of syrinx "tube, hole, channel,shepherd's pipe"

Pan and Syrinx by Francois Marot


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 22 พ.ย. 10, 14:27

        Pan  เทพารักษ์ของคนเลี้ยงแกะ สัตว์ป่า การล่าสัตว์ และดนตรีชนบท
มีรูปลักษณ์เหมือนเซเทอร์ และ ฟอน - Faun (เทพารักษ์ถิ่นฐานชนบท ลำเนาไพรในตำนานโรมัน)
        ได้นามจากคำกรีก paein แปลว่า  (ให้)เล็มหญ้า "to pasture." -
            To feed on growing grass; to graze. [1913 Webster]

        รูปลักษณ์เหมือนเซเทอร์ และ ฟอน 
          เป็นสัญญลักษณ์แห่งการเจริญพันธุ์ พลังทางเพศ และวสันตฤดู(ฤดูใบไม้ผลิ;
พรรษากาล  - ฤดูฝน, วัสสานฤดู - ฤดูฝน บางทีก็เขียนเพี้ยนไปเป็น วสันต์)
       
        บุพการีผู้ให้กำเนิดไม่แน่ชัด แล้วแต่ตำนาน
          แรกมีชื่อในทางดลจิตดลใจให้หวาดผวาช่วยนำชัยชนะในเทวยุทธ์ และ
          ต่อมาเป็นนักดนตรีผู้สร้างเสียงทั้งที่บันดาลใจ หรือปลุกอารมณ์ และเสียงชวนผวาในหมู่ฝูงสัตว์
ตลอดจนผู้คนตามที่เปลี่ยวในป่าเขา

ทางจิตเวชนำนามมาใช้ในภาวะ Panic Disorder (episodic paroxysmal anxiety)
       
          panic จากคำกรีก panikon หมายถึง เกี่ยวข้องกับแพน "pertaining to Pan"
โดยนัยหวาดผวา ตื่นตระหนก - "panic, fright"

           ผู้ป่วยจะมีอาการกำเริบ(attack) เป็นๆ หายๆ เกิดความหวาดกังวลรุนแรง(แพนิค)
มักมีใจสั่น แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก มึน ทำให้วิตกว่ากำลังจะสิ้นลม หรือเสียจริต

บางตำนานเล่าเรื่องแพนก่ออาการแพนิคในฝูงเมษบาล(คนเลี้ยงแกะ)แล้วรุมทำร้ายนางไม้เอคโค

Roman copy of a Greek statue from group by Heliodorus of Rhodes C2nd BC


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 23 พ.ย. 10, 11:01

          พล็อตเหตุการณ์หญิงถูกชายรังแกแล้วต้องแปลงร่างเพื่อให้พ้นภัย ยังมีอีกหนึ่งนางคือ
แอมิ(เม)ธิสทอส - Amethystos

           ตำนานเล่าว่า ไดโอไนซัส - Dionysus ไวน์เทวาแห่งความเมามาย หมายปอง Amethystos
แต่นางประสงค์จะครองความบริสุทธิ์ไว้จึงสวดอ้อนวอนเทวีอาร์ทีมิส  - Artemis (โรมัน -Diana)
goddess of the hunt and the moon - เทวีไพรพรานและจันทรา ให้ช่วย
             เทวีจึงแปลงร่างนางให้กลายเป็นอัญมณีสีขาวสะอาด ไดโอไนซัสคิดแค้นที่เสียหน้าจึงเทไวน์
ราดรดทำให้อัญมณีกลายเป็นสีม่วง
          
             อีกตำนานกล่าวถึง ไดโอไนซัส กริ้วที่มนุษย์บังอาจเหยียดหยัน จึงหมายจะสังหารมนุษย์คนแรก
ที่ผ่านทางเข้ามา Amethystos ซึ่งกำลังมุ่งหน้าจะไปสักการะเทวีอาร์ทีมิสคือเหยื่อรายนั้น
นางได้รับการปกป้องจากเทวีแปลงร่างนางกลายเป็นรูปปั้นอัญมณี ไดโอไนซัสมาเห็นรูปปั้นแสนงาม
รู้สึกเสียใจจนน้ำตาซึ่งเป็นไวน์สีม่วงร่วงรดเปลี่ยนสีรูปปั้น

              quartz สีม่วงนี้จึงมีชื่อตามตำนานนามกรีกที่มีความหมายว่า
                          a - "not" + methustos - "intoxicated"  (methys - Wine)
 
             ปราศพิษภัย คือ ไม่มึนเมา ด้วยเชื่อว่าผู้ที่สวมอัญมณีชนิดนี้ หรือดื่มเหล้าด้วยจอกอัญมณีนี้แล้ว
จะไม่เมามาย    


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 23 พ.ย. 10, 11:21

            Echo คือ สิงขรเทพธิดาผู้ปลาบปลื้มภูมิใจในน้ำเสียงของตนยิ่งนัก
นางจึงช่างเจรจาและ(บ้างว่า) มักพูดขัดคู่สนทนาโดยผูกขาดการพูดคำสุดท้ายอยู่ฝ่ายเดียว  
        
           วันหนึ่ง เทวีเฮรา(ฮีรา) - Hera (หรือ Juno) เสด็จลงมากลางไพรด้วยไฟหึง
เพื่อตามหา ซูส เทพบดีสวามีจอมเจ้าชู้ที่กำลังเริงสำราญกับเหล่านางไม้
           เอคโค รับหน้าที่มารับหน้าเทวี แจ้วจำนรรจาเล่าเรื่องราวสนุกสนานเพื่อให้เทวีเพลิดเพลิน
จนเกือบลืมเรื่องสำคัญ ครั้นเทวีรู้องค์จึงกริ้วโกรธาสาปนางให้ไม่สามารถพูดได้อีก นอกจาก
การพูดทวนซ้ำคำพูดสุดท้ายของคนอื่น กลายเป็นเทวีก้องกำทวน (ว. สนั่น, หวั่นไหว, ก้อง)

           เมื่อนางตกหลุมรักนาร์ซิซัส นางจึงมิอาจเอ่ยบอกความนัย ได้แต่พูดทวนคำเขาร่ำไป
จนถึงวันเกินสะกดกลั้น เอคโคผลันเข้าโอบกอดนาร์ซิซัส แต่ถูกเขาผลักไสไล่ส่ง
             ด้วยความเศร้าผิดหวังนางจึงหันหลังให้ไพรกว้างแล้วไปสถิตอยู่ในคูหาถ้ำส่งเสียงก้องกังวาน
บางตำนานว่าเธอกู่ก้องร้องครวญจนร่างกลายเป็นหินผาแต่ยังคงเสียงร้องก้องโลก

ภาพวาดโดย Placido Costanzi


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 23 พ.ย. 10, 11:29

            ส่วนเรื่องแพนกับเอคโคนั้น ไม่พ้นกรณีแพนผู้มักมากโกรธแค้นที่เอคโคไม่ยอมร่วมภิรมย์รัก
จึงใช้วิชามารก่ออาการแพนิคในหมู่เมษบาล(คนเลี้ยงแกะ) ให้รุมทำร้ายนาง เอคโคถูกจับฉีกร่าง
ออกเป็นชิ้นๆ แล้วโยนทิ้งกระจายไปทั่ว โดยมีเทวีพสุธา - Gaia รับชิ้นส่วนร่างของนางพร้อมกับ
เสียงที่ยังก้องร้องอยู่ 

นามถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ ได้แก่

Echolalia (Gk. ekho + lalia -"talk, prattle, a speaking") 
             อาการพูดซ้ำคำหรือวลีที่ได้ยินโดยอัตโนมัติ

Echopraxia (praxis - "action")
             อาการทำเลียนแบบกิริยาเคลื่อนไหวของคนอื่นโดยไม่ได้ตั้งใจ

Echocardiography การตรวจภาพและการเคลื่อนไหวของหัวใจโดยใช้เครื่องส่งเสียงสะท้อน (ultrasound)

ภาพวาดโดย Alexandre Cabanel


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 23 พ.ย. 10, 11:35

ภาพ Echo กับ Narcissus ผู้หลงรักเงาตัวเองค่ะ
จาก Walker Art Gallery at Liverpool
โดย John William Waterhouse ปี 1903


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 23 พ.ย. 10, 12:22

          พล็อตเหตุการณ์หญิงถูกชายรังแกแล้วต้องแปลงร่างเพื่อให้พ้นภัย ยังมีอีกหนึ่งนางคือ
แอมิ(เม)ธิสทอส - Amethystos
           

มีอีกหลายนางในเทพนิยาย 
ทำให้สงสัยว่าในสังคมกรีก  ผู้ชายจะถืออำนาจบาตรใหญ่เหนือสตรีมากเอาการ
เสิฟภาพ Daphne ที่ถูก Apollo ไล่ล่า จนเธอกลายเป็นต้นลอเรลไป   รายละเอียดคุณ SIlA คงจะมาเล่าต่อไป


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 24 พ.ย. 10, 10:32

           ชวนชม  Metamorphosis กันต่อ ครับ

          Gk. metamorphosis - "a transforming," from metamorphoun
"to transform," from
           meta- "change" + morphe "form"  (see Morpheus - จะได้กล่าวถึงต่อไป)

เหยื่ออีกหนึ่งรายที่ต้องกลายร่างคือ Daphne

           เทพอพอลโลเห็นกามเทพถือคันศรจึงเย้าเย้ยว่า เด็กน้อย เจ้าจักจับอาวุธไปไย
จงมอบให้กับผู้ที่คู่ควร  "เด็กเล็ก" จึงแผลงศรสุวรรณ(ทอง - รัก) ต้องอพอลโล ส่งผลให้เทพ
หลงรักนิมฟ์นามว่า แดฟนี - ธิดาของสินธุเทพที่ผ่านมา แต่นางถูกศรสีสะ(ตะกั่ว -ไม่รัก) ของกามเทพ
โดยบังเอิญ นางจึงไม่ผูกสมัครรักใคร
            เมื่อนางจวนจะเสียทีอพอลโล เทพบิดาของนางได้ปกป้องโดยทำการเปลี่ยนแปรนาง
เป็นต้น - laurel

          รูปสลักเสลาเล่าเหตุการณ์กลายร่าง ประติมากรรมของ Gian Lorenzo Bernini

            ผิวนางกลายเป็นเปลือก  ผมแปรเป็นใบ แขนนิ้วเปลี่ยนเป็นกิ่งก้าน และรากงอกจากนิ้วเท้า


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 24 พ.ย. 10, 10:37

          แม้เมื่อนางกลายเป็นต้นไม้ไปแล้วแต่พิษศรรักยังคง อพอลโลโอบกอดลำต้นแทนตัวนางไว้
แล้วจึงตัดกิ่งใบไปทำหรีด ทั้งยังประกาศให้เป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์

Laurel wreath - crown สวมเศียรอพอลโล


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 24 พ.ย. 10, 10:51

เสริมอีกนิดเรื่อง ชัยพฤกษ์ (ที่ไม่ใช่สีชมพู)

ใครจะทราบบ้างว่า ชัยพฤกษ์ที่เป็นช่อในเครื่องหมายยศของนายพลหรือบนอินทรธนูของข้าราชการพลเรือน หาใช่ต้นไม้ในสกุล Cassia ไม่  แท้จริงแล้วเป็นต้นไม้ของฝรั่งที่ชื่อ http://en.wikipedia.org/wiki/Bay_laurel Laurus nobilis




ช่อชัยพฤกษ์  =  laurel wreath มีประวัติมายาวนานตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ผู้ชนะในการแข่งขันกีฬาโอสิมปิกในสมัยนั้นจะได้รับช่อชัยพฤกษ์นี้เป็นรางวัลแห่งชัยชนะ

ตำนานต้นชัยพฤกษ์ อยู่ในเรื่องเกี่ยวกับนาง Daphne ซึ่งเป็นนางอัปสร รูปงามธิดาของ Peneus เทพประจำแม่น้ำตามเรื่องเล่าว่า Apollo ได้พบนางในกลางป่า ให้บังเกิดความพิสมัย จึงเยื้องกรายเข้าหาหมายจะแทะโลม แต่ไม่ทันถึงนางก็วิ่งหนีไปเสียแล้ว ฝ่าย Apollo อารามที่ลืมไม่ว่าอะไรอื่นทั้งสิ้นจึงวิ่งตาม วิ่งพลางร้องเรียกให้นางแดฟนีหยุดแม้ชั่วขณะหนึ่ง เท่านั้นก็ตามที เธอสัญญาว่าจะไม่ทำอันตรายเลย

นางอัปสรไม่ยอมฟังคำสัญญาหรือวิงวอน ตั้งหน้าแต่รุดหนีอย่างเดียว ฝ่าย Apollo ก็วิ่งกวดตามไปโดยไม่ลดละ จนนาง  Daphne เริ่มอ่อนกำลังและตระหนักว่า ฝ่ายไล่กำลังรุกกระชั้นเข้าไปทุกที นางจึงวิ่งหนีกระหืดกระหอบอกสั่นลงยังริมฝั่งแม่น้ำของบิดา ขอให้แปลงร่างนางเสียหรือบันดาลให้นางจมลงไปในปฐพี ยังมิทันที่นางจะถึงริมฝั่งน้ำดี นางก็รู้สึกเหมือนหนึ่งตัวเองถูกตรึงติดกับพื้น ด้วย เท้าหยั่งลงในดินเป็นราก ผมและมือก็งอกออกเป็นใบ ส่วนเครื่องคลุมกายกลายเป็นเปลือกไม้ ปกคลุมร่างอันสั่นเทาของนางไป บิดาของนางตอบสนองการที่นางร้องให้ช่วยแล้ว โดยเปลี่ยนนางเป็น ต้นชัยพฤกษ์ ( Bay Laurel ) อยู่ ณ ที่นั้น

ฝ่าย Apollo ตามมาทันไม่เห็นนาง เห็นแต่ต้นไม้ครั้งแรกเธอไม่รู้สึกเลยว่า สาวเจ้าลับจาก เธอไปแล้วโดยไม่มีวันจะได้พบอีก แต่เมื่อความจริงเป็นที่ปรากฏดังนั้น เธอจึงมีเทพบรรหารว่า นับแต่บัดนี้ต้นชัยพฤกษ์ จงเป็นต้นไม้ที่โปรดปรานของเธอ อันคนหลายคนพึงเด็ดช่อใบร้อยพวงมาลา เป็นรางวัลแก่กวีและนักดนตรีสืบไป



http://xchange.teenee.com/index.php?showtopic=54321&mode=linearplus

http://www.liza-kliko.com/laurel-wreath/



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 19 คำสั่ง