เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 13590 ช่างจีน ในไทย
san1
อสุรผัด
*
ตอบ: 48


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 08 พ.ย. 10, 11:44

ภาพบนคืออาคารปริยัติธรรมที่วัดเกาะ
ภาพล่างคือ คำประกาศสำหรับผู้มาใช้อาคาร
ผู้ลงนามท้ายประกาศคือเจ้าอธิการยิด วัดเกาะ


ยังมีภาพเก่าของอาคารหลังนี้ที่นายครองถ่ายร่วมกับจีนเปงส้ง และจีนเกา
ขอเวลาค้นสักหน่อยนะครับ แล้วจะนำภาพมาให้ชม
บันทึกการเข้า
san1
อสุรผัด
*
ตอบ: 48


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 08 พ.ย. 10, 12:00

ภาพบนคือตึกของนายครอง วาดเวียงไชย
ภาพล่างคือตึกของหมื่นศุขประสารราษฎร์(ป้าน ศุขพานิช)



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 08 พ.ย. 10, 12:42

กระแสอพยพของชาวจีนเกิดขี้นเรื่อยๆ ตามแต่กระแสลมทางการเมืองในจีนจะพัดผ่านไปทางใด

ช่วงหนึ่ง (ข้ออภัยไม่มีเวลาค้นมากพอ) ประมาณเกือบสี่ร้อยปีก่อน ชาวจีนก็อพยพกันยกใหญ่ เนื่องด้วยหนีภัยแมนจู

โดยเฉพาะชาวจีนทางตอนใต้แถบฮกเกี้ยน กวางตุ้ง เพราะอยู่ใกล้ทะเล

เมื่อหนีออกมาก็กระจัดกระจายไปทั้วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะพม่า ไทย เวียดนนาม และแถบมะละกา

ทั้งนี้พวกขุนนางจากทางเหนือก็ได้หนีเช่นกัน อาทิ เสนาบดีบางท่านหนีไปยังเวียดนาม (เวียดนามบันทึกไว้) ขุนพลแทบยูนนาน ได้หนีอยู่ตอนเหนือของพม่า ส่วนในไทย จากบันทึกของทูตชาวอิหร่าน (มาจากหนังสือเรื่องสำเภากษัตริย์สุไลมานลองไปอ่านดูละกัน) ได้กว่าว่าพบชาวจีนที่มาจากตระกูลเสนาบดีจีนลี้ภัยมาและเข้ารับราชการอยู่ในราชสำนักสยาม ภายหลังถ้าจำไม่ผิดหนังสือเรื่องอภินิหารบรรบุรุษได้กล่าวว่าตระกูลขุนนางสยามบางตระกูลสืบสายมาจากเสนาบดีชาวปักกิ่ง

แต่ว่าช่วงการอพยพก็หายเงียบไปพักใหญ่เพราะราชวงศ์ชิงห้ามชาวจีนเดินเรือและปิดประเทศไป เพื่อป้องกันการกบฏ

อย่างไรก็ตามสุดท้ายคลื่นการอพยพครั้งใหญ่ก็เกิดอีกครั้งในยุค ค.ศ. ๑๘๕๐ เนื่องจากประเทศจีนในยุคนั้นมีปัญญาทุกภิขภัย เรื่อยไปจนถึงการกบฏต่างๆ และราชวงศ์ชิงเองยกเลิกกฎหมายออกเดินเรื่อย ตลอดจนชาวตะวันตกเข้ามาทำการค้า และเปิดเส้นทางการเดินทางโดยเรือกลไฟ ทำให้การอพยพยิ่งเกิดง่ายขึ้น

คิดไปในช่วงที่ชาวจีนอพยพกันมากมายจะเป็นช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึง รัชกาลที่ ๓

หลังจากนั้นก็อพยพมาเรื่อยๆ จนกระทั่งจีนปิดประเทศอีกรอบยุคปฏิวัติวัฒนธรรมประมาณปี ๑๙๖๐ กว่าๆ

นี้มาจากความจำล้วนๆ จึงอาจผิดพลาดได้ ขอทุกท่านอย่าได้ไว้วางใจ ไว้ว่างๆจะค้นมาเขียนลง

สวัสดี

บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 08 พ.ย. 10, 17:03

ขอบคุณ คุณ han_bing มากครับ
ที่ไล่เรียงเรื่องการอพยพครั้งสำคัญให้เราได้อ่านกัน
พูดถึงช่างจีนในไทย ไม่พูดถึงงานอพยพ
ก็เหมือนพูดถึงดอกทิวลิป แต่ไม่มีต้น ไม่มีหัว
อ่านไปถึงรู้จักดอกไม้ก็ปลูกไม่ได้ เลี้ยงไม่รอดครับ

ผมไม่เห็นด้วยเลยกับนักวิชาการหลายๆท่าน
ที่ลุกขึ้นเขียนเรื่องศิลปะจีนในไทย
โดยไม่มีข้อมูลประวัติศาสตร์จีนเลยสักนิด

บางครั้งอะไรที่ 'ดูเป็น' จีน ที่จริงก็ไม่ใช่จีน
หรือจีนรับมาจากแหล่งอื่นๆอีกต่อหนึ่งก็มี

อาจารย์ผู้ใหญ่ที่ผมเคารพมากท่านหนึ่ง
เคยสรุปว่าลายฝาผนังโบสถ์แบบรัตนโกสินทร์เป็นลายจีน
ท่านคิดท่านเดาไปอย่างนั้น เพราะเผอิญมันไปเหมือนลายโบราณวัตถุจีน
สมัยราชวงศ์หยวน หรือหมิงตอนต้นอยู่หลายชิ้น และของส่วนหนึ่งก็สั่งมาจากจีน...

แต่ท่านดันลืมไปว่าของที่ท่านพูดถึงมันร่วมสมัยกับราชวงศ์ชิงตอนปลาย
พอเอาหลักฐานจากส่วนอื่นๆของโลกมาเทียบเข้า... งานวิจัยก็ตายหงายท้อง
แม่ลายพวกนั้นทั้งหมดเหมือนลายร่วมสมัยเดียวกันของมุสลิมจากอินเดียใต้มากที่สุด
แต่แทบไม่มีความเหมือนกับศิลปะจีนในยุคนั้นเลยสักกะนิด... เอวัง




ปล. จะว่าไปหลังยุคสมัยของกรมพระยาดำรงฯ ลงมาแล้ว
ผมก็ยังไม่เห็นนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะไทยท่านไหน
เขียนงานที่แสดงให้เห็นว่ามีความเข้าใจว่า มองโกล = โมกุล เลยซักกะท่าน
แม้แต่พระโอรสของเสด็จในกรมพระองค์นั้นเอง
อย่าง ศ. ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล...  รูดซิบปาก
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 08 พ.ย. 10, 19:15

กำลังพูดถึงช่างจีนที่ทำงานในไทยค่ะ
เอางานฝีมือและทักษะของตนมาใช้ในงานอาชีพ
อย่างงานเครื่องเงินเครื่องทองนั้น  ช่างจีนเขียนลายไทยไม่เป็น แต่อาศัยช่างไทยเขียนลายและนำมาเข้ากระบวนการต่อ
อย่างชามตราไก่หรือโอ่งมังกร ก็ไม่ใช่ศิลปะจีนแท้ ประยุกต์เข้ากับยุคสมัย
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 08 พ.ย. 10, 19:20

งานช่างนั้น ฝึกฝนกันราวกับอยู่ในสำนักตักกศิลา
ความเชี่ยวชาญเกิดจากความใส่ใจและการทำงานหนัก

ลูกหลานช่างจีนก็ไม่ได้ประกอบอาชีพอย่างบรรพบุรุษอีก
อาจเป็นเพราะเป็นงานหนัก  และต่างก็เรียนหนังสือกันหมด
ถ้าสืบทอดกิจการต่อ ก็ไม่ใช่ช่างอีกต่อไป  กลับเป็นเถ้าแก่เจ้าของร้าน
ให้ลูกน้อง (ปัจจุบันก็อาจเป็นพวกต่างด้าว) ทำงานช่างแทน
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 09 พ.ย. 10, 23:02

อ้างถึง
เพราะโดยส่วนตัวผมเห็นว่าการอพยพคงไม่ได้เกิดเพราะชาวจีน
อยากเดินทางท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว
แต่น่าจะมีเหตุปัจจัยอื่นๆที่กระตุ้นให้เกิดการย้ายถิ่นขึ้นนะครับ

คงไม่ใช่เพราะชาวจีนชอบเที่ยวหรอกค่ะ คุณติบอลองอ่านเรื่องราวของขันที เจิ้งเหอ หรือ ซำปอกง สิคะ
นอกจากจะเดินทางรอบโลกเมื่อปี ค.ศ.1421 ก่อน โคลัมบัสหลายร้อยปี ในบันทึกของท่าน กล่าวถึง การเดินเรือตามคำบอกเล่า และ แผนที่ที่เคยมีคนจีนเดินเรือไปไกล ๆ มาก่อนหน้านั้นเสียอีก แปลว่า คนจีน มีความเจริญทางวิทยาศาสตร์มาก ๆ และ เป็นนักผจญภัย นักสำรวจ ฯลฯ

กองเรือของเจิ้งเหอ จะเอาผู้หญิงติดไปด้วยจำนวนหนึ่ง และ จะปล่อยให้เธอลงไปอยู่ในแผ่นดินใหม่ เพื่อสืบเผ่าพันธุ์กับคนพื้นเมือง และทำจุดนัดหมายว่าจะมารับกลับอีกครั้ง เมื่อกองเรือเดินทางมาที่นั่นอีก

ทำให้ปัจจุบัน มีการตรวจ DNA พบว่า คนพื้นเมืองหลายแห่งในโลก มี DNA ของคนจีน มีหน้าตาเหมือนคนจีน (ดู เอสกิโม ชาวโพลีนีเซียน ฯลฯ)

แต่การเดินเรือก็ต้องยุติลง เพราะสิ้นเปลืองมาก แต่เพื่อป้องกันคนจีนที่อยากจะเดินทางไปหาโลกใหม่อีก หลักฐานต่างๆ จึงถูกเผาทำลายจนแทบไม่เหลืออะไรให้ค้นหา นอกจากส่วนที่ ถูกแอบซ่อนไว้เท่านั้น

อย่างน้อย เรื่องราวของเจิ้งเหอ ต้องมีการเล่าขานกันต่อ ๆ มาไม่ขาดสาย ทำให้คนจีนฝันที่จะเดินทางไปสู่โลกใหม่เมื่อมีโอกาส

เรื่องการอพยพเพราะทุกภิกขภัย ภัยสงคราม หรือ การกดขี่ทารุณ นั่นเป็นตัวช่วยอีกแรงเท่านั้นเอง
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 09 พ.ย. 10, 23:10

เอาภาพนี้มาจากกระทู้สัตว์ประหลาดค่ะ เพราะภาพนี้ สวยมาก

แต่ที่ทำให้ดิฉันประทับใจ แปลกใจ ก็เพราะคนวาดภาพนี้บนปก เป็น "ช่างจีนในไทย" ค่ะ ชื่อ จีนจู เกิดในประเทศไทย

ในกระทู้ตุ๊กตาหิน อับเฉาจากจีน หรือ Made In Thailand ก็มีรูปตุ๊กตาจีนที่แปลกตา บางตัวน่าจะทำในจีน บางตัว คงเป็นช่างจีนในไทยค่ะ


บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 10 พ.ย. 10, 10:17

ดีจังค่ะ ที่รู้ชื่อช่างเขียนด้วย น่าจะเป็นคนมีฝีมือดี และมีชื่อเสียงมาก

เราไม่ค่อยให้เครดิตแก่ช่าง  แม้แต่ในปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 10 พ.ย. 10, 11:14

ดีจังค่ะ ที่รู้ชื่อช่างเขียนด้วย น่าจะเป็นคนมีฝีมือดี และมีชื่อเสียงมาก

เราไม่ค่อยให้เครดิตแก่ช่าง  แม้แต่ในปัจจุบัน


ดีใจมากๆครับ ที่ชาวเรือนไทยสนใจประเด็นเล็กๆแบบนี้กัน
หลายครั้ง ช่างเป็นคนที่สูญหายไปจากประวัติศาสตร์... แม้แต่ผู้ออกแบบ 'นครวัด'
(ซึ่งแน่ล่ะว่า พระบาท สมเด็จ สุริยะวรมันที่ 2 ไม่ได้ออกแบบเองแน่ๆ)

มีข้อมูลงานช่างอีกนับร้อยนับพัน
ที่กำลังสูญไปอยู่ในทุกลมหายใจของวันนี้
ถ้าเราไม่รีบทำงานกันเสียก่อน...
ของที่ต้องสูญหายไปในวันพรุ่งนี้
ก็จะไม่เหลือไปถึงวันมะรืนครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 10 พ.ย. 10, 20:41

วัดกุฏิ    บางเค็ม อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี  มีภาพสลักไม้ฝีมือช่างจีน ชื่อเจ๊กโฮ่ง (หรือโค่ง บางแห่งสะกดว่าโคร่ง)
บอกว่า

http://www.osotho.com/th/content/indexdetail.php?ContentID=1204&myGroupID=7
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 10 พ.ย. 10, 20:58

พระที่นั่งอนันตสมาคม ในลานพระราชวังสวนดุสิต ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ เสร็จสิ้นในรัชกาลที่ ๖ แม้ว่าจะเป็นการออกแบบโดยสถาปนิกชาวยุโรป แต่แรงงานที่สำคัญในการสร้างคือ แรงงานชาวจีน ครับ


บันทึกการเข้า
san1
อสุรผัด
*
ตอบ: 48


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 11 พ.ย. 10, 14:28

หาภาพเจอแล้วครับ ช่างจีนที่สร้างอาคารที่วัดเกาะ
คนขวาคือจีนเกาผู้ทำแบบก่อสร้าง  คนซ้ายคือจีนเปงส้งผู้รับเหมาก่อสร้าง  คนกลางคือนายครอง วาดเวียงไชย ผู้ออกทรัพย์ก่อสร้าง
อาคารหลังนี้สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๔


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 11 พ.ย. 10, 16:13

ภาพนี้มาจากนิทรรศการ “The Gallileo Chini Exhibition @ Central Chidlom
100 ปี มรดกศิลป์ กาลิเลโอ คีนี จิตรกรสองแผ่นดิน ผู้รังสรรค์งานศิลป์ในพระที่นั่งอนันตสมาคม” ค่ะ



บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 12 พ.ย. 10, 09:21

เป็นไปได้ไหม  ที่ขาดแคลนแรงงาน
คนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
อีกส่วนหนึ่ง ก็อยู่ในสังกัดเจ้านายต่าง ๆ
เลยต้องอิมพอร์ตแรงงานต่างชาติเข้ามา
ที่เข้ามาได้มากๆ ก็เป็นชาวจีน 

คล้าย ๆ กับในปัจจุบัน  ผิดกันแต่เชื้อชาติ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 19 คำสั่ง