POJA
|
ช่วงหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมานี้ บรรดาชาวจีนอพยพที่เข้ามาในไทย ไม่ได้แต่จะเข้ามาทำการค้าขายเพียงอย่างเดียว ยังมีบางพวกที่เป็นงานช่าง ประกอบอาชีพอย่างผู้ชำนาญในงานเฉพาะด้าน เช่น ช่างเงิน ช่างทอง ช่างแกะสลัก ช่างปั้น ช่างกระเบื้อง ช่างกลึง ช่างเฟอร์นิเจอร์ ช่างฟิต ช่างก่อสร้าง ช่างตัดเสื้อ หรือกระทำช่างทำอาหารหรือพ่อครัว ฯลฯ ก่อนที่จะถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลา จะขอบันทึกไว้ และขอปันความรู้จากท่านอาจารย์ผู้รู้หรือมีประสบการณ์เกี่ยวข้อง จะช่วยกันบอกกล่าวกัน ณ.ที่นี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
POJA
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 07 พ.ย. 10, 15:35
|
|
ว่ากันว่า คนแต้จิ๋วชอบค้าขาย คนกวางตุ้งเก่งเครื่องยนต์ คนไหหลำทำอาหาร คนจีนอพยพ มักเข้ามาเป็นกลุ่ม มีพวกพ้องที่รู้จักกันแนะนำพาเข้ามา หากใครได้ประกอบวิชาชีพด้านใด หรือมีความรู้เดิมเป็นอาชึพจากบ้านเกิด ก็จะนำมาใช้ในการทำมาหากิน และสืบทอดแก่กันในกลุ่มนั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
POJA
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 07 พ.ย. 10, 16:23
|
|
ช่างเงิน ช่างทอง คนจีนมีความสามารถในการขึ้นรูปโลหะ พวกช่างทองส่วนใหญ่ทำทองเป็นเครื่องประดับ ช่างเงินเป็นช่างที่ทำของประเภทเครื่องใช้ เช่น กรอบรูป เชิงเทียน ชุดน้ำชา ฯลฯ ยุคหนึ่งนั้น เครื่องใช้ทำด้วยเงินเป็นที่นิยมมาก สำหรับเจ้านายในวัง ผู้มีฐานะหรือเป็นของฝากชาวต่างประเทศ ที่ขายกันในร้านจิวเวลรี่แถบสีลมหรือโรงแรมใหญ่ ๆ ส่วนมากเป็นฝีมือช่างจีนกวางตุ้ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
POJA
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 07 พ.ย. 10, 16:38
|
|
ช่างปั้น ช่างกระเบื้อง ชามตราไก่-ลำปาง ชาวจีนแซ่ฉิน แซ่อื๊อ แซ่กว๊อก เป็นผู้ค้นพบว่าที่ลำปางนี้มีดินขาวลักษณะเหมือนที่เมืองจีน สามารถนำมาขึ้นรูปเป็นเครื่องใช้ได้ และพัฒนาต่อมาจนเป็นกระเบื้องดินเผาปูพื้น-ผนังสวย ๆ ที่ใช้กันทุกวันนี้ เช่นเดียวกับ โอ่งมังกร-ราชบุรี ที่ค้นพบโดยขาวจีน แซ๋เตีย แซ่อึ้ง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การนำเข้าจากประเทศจีนยากขึ้น เกิดเป็นการผลิตขึ้นใช้เองในประเทศ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
POJA
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 07 พ.ย. 10, 16:51
|
|
ช่างกลึง ช่างฟิต โรงกลึงต่างๆ โรงสี โรงน้ำแข็ง ต่างก็เป็นผลงานของชาวกวางตุ้ง โรงกลึง ส่วนใหญ่อยู่ในย่านตลาดน้อย เดี๋ยวนี้ถูกรื้อไปเกือบหมดแล้ว อีกที่หนึ่งมีชื่ออยู่หน้าร้านว่า "โรงกลึงกวางตุ้ง" ทุกวันนี้ยังอยู่ที่ถนนอุณากรรณ แถวหลังคุกที่ปัจจุบันเป็น สวนรมณีนาถ โรงสี อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แถวยานนาวา ช่างฟิต ดูเป็นคำโบราณไปเสียแล้ว หมายถึงช่างซ่อมเครื่องยนต์ สมัยก่อนก็เป็นช่างชาวจีน เดี๋ยวนี้กลายเป็นช่างกลไป ช่างเครื่องเหล่านี้ดูเหมือนจะห่างไกลจากคำว่า ศิลปะ แต่ก็เป็นงานที่ต้องใช้ฝืมือเหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
POJA
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 07 พ.ย. 10, 17:08
|
|
ช่างก่อสร้าง ช่างเฟอร์นิเจอร์ ตึกแถวสวย ๆ รุ่นเก่า (รวมถึงรุ่นใหม่แต่ไม่สวย) สไตล์ ชิโน-โปรตุกิส ได้คนงานชาวจีนเป็นคนสร้าง งานเฟอร์นิเจอร์ ต้องใช้หลักฝืมือช่างเซี่ยงไฮ้ ก่อนที่จะใช้ไม้อัดกับตะปูยิง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
POJA
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 07 พ.ย. 10, 17:16
|
|
ช่างทำอาหาร พ่อครัวหรือกุ๊กจีน มีหลายกลุ่มที่ทำภัตตาคารเลื่องชื่อ อาหารแบบฮ่องกง ก็คืออาหารกวางตุ้งนั้น มีอยู่หลายแห่ง ห้อยเทียนเหลาหรือหยาดฟ้าภัตตาคาร สถานที่โปรดของพวก สามเกลอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
POJA
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 07 พ.ย. 10, 17:19
|
|
อาหารไหหลำ - ข้าวมันไก่ ขนมจีนไหหลำ โจ๊กอร่อย กาแฟกลมกล่อม(สมัยนี้ต้องมีคำว่า "โบราณ"ด้วย) ต้องชงโดยอาโก๊ ชาวไหหลำเท่านั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
POJA
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 07 พ.ย. 10, 17:24
|
|
ช่างตัดเสื้อ ชุดสูทสวย ๆ เข้ารูปดี ฝืมือช่างจีน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 07 พ.ย. 10, 20:10
|
|
เป็นเรื่องแปลกแต่จริงที่ชาวจีนไหหล่ำมักเข้ามาทำอาหาร
อย่างไรก็ตามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วจีนไหหล่ำกับอาหารดูจะเป็นของคู่กัน
อาหารในสิงคโปร์นอกจากจะเป็นการผสมผสานอาหารฮกเกี้ยนแล้ว
อาหารหลายอย่างยังเป็นการผสมผสานอาหารฝรั่งกับอาหารไหหล่ำ มีอยู่จานหนึ่งอร่อยดี ลืมไปแล้วว่าภาษาสิงคโปร์เรียกกว่าอะไร เป็นซุปหางวัว ตุ๋นกับน้ำมะขามเปียก ใส่ตะไคร้และพริกแห้งลงไปผสมด้วย คล้ายๆแกงกระหรี่ที่เปรี้ยวอ่อนๆ หรือสเต็กเนื้อสับ อันนี้เป็นการเอาเนื้อมาสับละเอียดปั้นเป็นก้อน แล้วทอดก่อนราดด้วยน้ำเกรวี่...
พูดแล้วคิดถึงก๋งเป็นที่ยิ่ง
บังเอิญบ้านผู้เขียนเป็นผู้สันทัดกรณีเพราะเป็นหนึ่งในครอบครัวที่เคยทำร้านอาหารไหหล่ำมาก่อน (แต่ปัจจุบันพอก๋งสิ้นไป ลูกหลานก็ไม่คิดเปิด เพราะว่าทำงานด้านอื่นหมด)
เหมือนย้อนความทรงจำครั้งวัยเยาว์เลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
CrazyHOrse
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 07 พ.ย. 10, 22:01
|
|
ช่างตัดเสื้อจะเป็นจีนแคะเยอะครับ
พวกโรงฟอกหนัง ตัดเย็บกระเป๋าหนัง รองเท้าหนัง ก็เป็นงานถนัดของพวกแคะเช่นเดียวกันครับ
อ้อ... ขายผ้าอีกอย่างด้วยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
|
|
|
puyum
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 07 พ.ย. 10, 22:37
|
|
เรือนไทยมีฝาหลายแบบ แบบหนึ่งเรียกว่าเฟี้ยม เขาว่าเกิดจากช่างจีน ไม่แน่ใจ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 07 พ.ย. 10, 23:45
|
|
ขอบคุณ คุณ POJA มากครับ ที่เปิดกระทู้ที่น่าสนใจนี้ขึ้นมา ช่างชาวจีนอพยพเข้ามาสู่ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นานมากแล้ว (ที่จริง จะว่าไปถึงอเมริกาทั้ง เหนือ กลาง ใต้ ด้วยก็ไม่ผิดนัก) เพราะหลังแมคเจแลนเดินทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกมาขึ้นบกที่เกาะมัคตัน (เซบู) ได้ ชาวจีนก็เป็นคนกลุ่มหนึ่งที่อพยพจากดินแดนประเทศฟิลิปปินส์ปัจจุบันเข้าไปในทวีปอเมริกาเหมือนกัน
สำหรับผม ขออนุญาตแบ่งช่วงเวลาที่มี ช่างชาวจีนอพยพมาสู่ประเทศไทยครั้งใหญ่ๆมีสัก 2 ช่วง คือ 1.) ก่อนกรุงเทพ และ 2.) หลังตั้งกรุงเทพมหานคร
แรงบันดาลใจจากความเป็นจีนแพร่กระจายอยู่ในศิลปะไทย มาตั้งแต่ราว 1,000 ปี ที่แล้ว ที่เรียกกันว่ายุค 'ทวารวดี' แล้ว และยังมีการอพยพลงอีกหลายระลอก
เช่น มีเอกสารโบราณของชาวยุโรป ที่เข้ามาทำการค้าในอินโดนิเซียเล่าว่า เขา 'จ้าง' ช่างชาวจีน 'ทำลูกปัดแก้วแบบจีน' ในหมู่เกาะอินโดนิเซีย
ถ้าเทียบเวลากันดู ช่วงเวลานั้นบังเอิญไปตรงกับ ช่วงเวลาที่เกิดการผลิตเครื่องสังคโลกขึ้นอย่างหนาแน่นพอดี ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าสังคโลกเป็นหลักฐานอย่างหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นร่องรอยการอพยพในช่วงที่เรียกกันว่า 'Ming Gap' ก็เป็นได้
นอกจากนั้นยังมีหลักฐานเอกสารโบราณอื่นๆ ที่กล่าวถึงชาวจีนอพยพในช่วงก่อนกรุงเทพอีกเป็นจำนวนมาก
พูดมาถึงตรงนี้ เป็นเรื่องค่อนข้างซับซ้อนแล้ว เพราะผมไม่ได้ติดตามเรื่องพวกนี้มาด้วยตัวเอง และไม่ได้ศึกษามาโดยละเอียด ทำให้เกรงว่า เมื่อจะพูดอะไรกันต่อไป ก็จะกระเดียดไปทางเด็กเล่นขายของ
จึงอยากเรียนถามคุณ POJA หรือสมาชิกท่านอื่นๆ ที่เคยศึกษาและค้นคว้าข้อมูลทางด้านนี้ ให้ช่วยกรุณาแบ่งยุค แบ่งสมัย ของผู้คน ที่ท่านได้กล่าวถึงด้วยจะได้ไหมครับ
ถ้าเป็นไปได้ หากสามารถเชื่อมโยงปฏิสัมพันธ์ทางการเมือง หรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ด้วยได้ จะเป็นพระคุณแก่ผู้อ่านท่านอื่นๆมาก
เพราะโดยส่วนตัวผมเห็นว่าการอพยพคงไม่ได้เกิดเพราะชาวจีน อยากเดินทางท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว แต่น่าจะมีเหตุปัจจัยอื่นๆที่กระตุ้นให้เกิดการย้ายถิ่นขึ้นนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
san1
อสุรผัด

ตอบ: 48
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 08 พ.ย. 10, 11:15
|
|
สมาชิกใหม่ขอร่วมเสวนาด้วยครับ มีอาคารหลังหนึ่ง อยู่ที่วัดเกาะ เพชรบุรี นานครอง วาดเวียงไชย เศรษฐีบ้านหัวถนนเป็นผู้ออกทรัพย์สร้างสำหรับตั้งศพภรรยา ต่อมาทางวัดใช้เป็นอาคารปริยัติธรรม อาคารหลังนี้ใช้ช่างผู้ออกแบบเป็นชาวจีน นายช่างผู้รับเหมาก่อสร้างก็เป็นชาวจีน ปัจจุบันอาคารหลังดังกล่าวใช้เป็นกุฏิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
san1
อสุรผัด

ตอบ: 48
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 08 พ.ย. 10, 11:40
|
|
นอกจากอาคารปริยัติธรรมหลังดังกล่าว จีนเปงส้งยังได้สร้างตึกของนายครอง และตึกของหมื่นศุขประสารราษฎร์ ที่บ้านหัวถนน วัดเกาะ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|