เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
อ่าน: 38406 ตุ๊กตาหิน อับเฉาจากจีน หรือ Made in Thailand
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 08 พ.ย. 10, 16:53

หมวกท็อปแฮท เพิ่งโผล่โฉมมาให้ชาวโลกเห็นที่อังกฤษ เป็นครั้งแรก เมื่อค.ศ. ๑๗๙๗ (พ.ศ. ๒๓๔๐)
ก่อนหน้านี้ไม่มีหมวกแบบนี้  
ถ้าช่างจีน (ไม่ว่าจีนในจีน หรือจีนในสยาม) สลักหมวกท็อปแฮทลงบนศีรษะตุ๊กตาจีนตัวนี้    ตุ๊กตาก็จะมีอายุก่อนปี ๒๓๔๐ ไปไม่ได้  ถ้าหลังจากนั้นละก็ได้



คำถามต่อมาก็คือระหว่างช่างจีนในสยาม กับช่างจีนในจีน  ใครมีโอกาสรู้จักเครื่องแต่งกายฝรั่งมากกว่ากัน


ขออนุญาต quote คำพูดของอาจารย์เทาชมพูมากันอีกรอบนะครับ
คิดว่ายังไม่เห็นว่าสิ่งที่ท่านผู้อ่านเรือนไทยแต่ละท่านค้นคว้ามาได้ จะขัดแย้งกัน
ต้องขอบพระคุณนักวิชาการชาวเรือนทุกท่านมากๆครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 09 พ.ย. 10, 05:04

หลังจากไปค้นรูปตุ๊กตาหินตามวัดต่างๆ  จากกูเกิ้ล   ก็ได้ข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่า
ตุ๊กตาหินตามวัดของเรา แบบไม่ค่อยจะหลากหลาย   พูดเจาะจงลงไปคือ มีน้อยแบบมาก  ถ้าไม่ใช่ตัวงิ้ว  ก็เป็นสิงโตจีน   
จริงอยู่มีรูปทหารฝรั่งบนจีนบ้าง  ใส่หมวกท็อปแฮทบ้าง ก็มีปะปนตัวสองตัวเป็นส่วนน้อย แทบจะเรียกว่าข้อยกเว้น



ลองตั้งคำถามเล่นๆ ดู
๑  ทำไมตุ๊กตาหินของจีนที่ประดับอยู่ตามวัดวาอารามในไทย จึงมีแพทเทิร์นซ้ำๆกัน
   -  มาจากถิ่นที่ขายส่งเดียวกัน ของจีน
   -  ออเดอร์ที่ส่งไป  จะเอาแบบนี้
   -  ผลิตในสยาม  เลียนแบบของเดิมจากจีน   เลยมีแต่แบบซ้ำๆ ไม่งอกเงยขึ้นมาหลายแบบ
๒  เคยไปปักกิ่ง เห็นรูปสัตว์ประหลาดเอย  สัตว์ตามธรรมชาติเอย  สมัยราชวงศ์ชิง ที่อยู่ในพระราชวังฤดูร้อนของซูสีไทเฮา ฝีมืองามมาก
    ทำไมพวกนี้ไม่แพร่หลายมาถึงบ้านเราบ้าง   
๓  - หลักฐานตุ๊กตาจีนสมัยอยุธยา หลงเหลือร่องรอยมาให้เห็นบ้างไหม?

ลองตั้งคำถามแค่นี้ ละค่ะ

ถ้าคุณเพ็ญชมพูเข้ามา  อยากถามเรื่องปลาตาเหลือกกับปลาหน้าคน   เขานิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม   มีบ่อไว้เลี้ยงโดยเฉพาะแบบปลาคาร์พหรือเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 09 พ.ย. 10, 08:16

ตอบอาจารย์เทาชมพู
๑  ทำไมตุ๊กตาหินของจีนที่ประดับอยู่ตามวัดวาอารามในไทย จึงมีแพทเทิร์นซ้ำๆกัน
   -  มาจากถิ่นที่ขายส่งเดียวกัน ของจีน
   -  ออเดอร์ที่ส่งไป  จะเอาแบบนี้
   -  ผลิตในสยาม  เลียนแบบของเดิมจากจีน   เลยมีแต่แบบซ้ำๆ ไม่งอกเงยขึ้นมาหลายแบบ

++++

เมื่ออาจารย์ได้พิจารณาเห็นว่า รูปแบบซ้ำๆกัน ผมว่ามีการสั่งตามออเดอร์แน่นอนครับ ในส่วนตัว ตุ๊กตาหินเหล่านี้ถูกระดมนำเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นจำนวนมาก เนื่องจาก
1. นโยบายการค้าการเดินเรือระหว่างสยาม - จีน มีเป็นจำนวนมาก เรือสำเภาที่ค้าขายของราชสำนัก และเรือพ่อค้า หลายรายแต่งสำเภาไปขาย

2. ช่วงเวลานั้นรัฐบาลจีนสนับสนุนให้มีการเดินเรือค้าขายตามเมืองท่าต่างๆ ทางตอนใต้ของจีนได้สะดวก

3. พระราชนิยมสร้างวัดแบบนอกอย่าง การนำตุ๊กตาหินมาประดับ เพื่อประดับอาคารสถานที่ ให้สวยงามมีจำนวนมาก จึงต้อง ออเดอร์ตามแบบด้วย

4. จากแหล่งการขายหินของประเทศจีนโบราณ มีอยู่ 4 แหล่งครับ โดยแต่ละแหล่งนั้นผลิตหินที่แตกต่างกัน หนึ่งในนั้นเป็นแหล่งแกะสลักหินเขียว ที่มณฑลฟูเกี้ยน แรกๆอาจจะซื้อ การแกะสลักอย่างแปลกๆ เพื่อเน้นความโดดเด่น ต่อมาก็มีการสั่งทำตามรูปแบบที่ต้องการ

5. การถือคติ "เทพารักษ์เฝ้าประตู" และ คติ "เซี่ยวกาง" ยังคงมีเหมือนกันทั้งสองชาติ จึงจะเห็นว่า ตุ๊กตาอย่างงิ้วทหารจีน แต่งชุดขุนพล ขนาดใหญ่จะนิยมนำมาตั้งไว้บริเวณทางเข้าเป็นส่วนมาก และถ้าเป็นขนาดย่อมๆเล็กๆ ก็นำมาประกอบตกแต่งสถานที่แทน

6. การตกแต่งสถานที่ด้วยตุ๊กตาหิน แม้ว่ารูปลักษณ์อย่างจีน ทั้งสิงโต หงส์ กิเลน ถะเจดีย์ นักรบ จะเป็นแบบกระบวนจีน แต่การตกแต่งการประดับทำอย่างกระบวนไทยทั้งสิ้น  จีนเห็นก็แปลกใจ เอามาตั้งได้อย่างไร แต่งออกมาก็ลงตัว แสดงว่า บ้านเมืองแห่งนี้ต่างกับจีน หาก copy มาทุกกระบวนความคงหมายเป็นเมืองขึ้นของจีน อย่างพระเจ้ากรุงเวียตนามเป็นแน่แท้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 09 พ.ย. 10, 08:51

๒  เคยไปปักกิ่ง เห็นรูปสัตว์ประหลาดเอย  สัตว์ตามธรรมชาติเอย  สมัยราชวงศ์ชิง ที่อยู่ในพระราชวังฤดูร้อนของซูสีไทเฮา ฝีมืองามมาก
    ทำไมพวกนี้ไม่แพร่หลายมาถึงบ้านเราบ้าง
+++++

สัตว์ที่ประดับอยุ่ในพระราชวังฤดูร้อน อี้เหอหยวน ที่โดดเด่น เห็นจะมี "กิเลน" อยู่หน้าประตูทางเข้า และเบื้องหลังจะเป็นท้องพระโรง หน้าท้องพระโรงก็ตั้งรูปมังกร และรูปหงส์สำริดตัวใหญ่ และมีการถางกำยาน และหินประดับใหญ่โต ตระการตา

เป็นการถือคติความเชื่อว่า สัตว์มงคลเป็นสัญลักษณ์ในการปกป้อง และคุ้มครอง และมีความมงคลไปในเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นทางคติของทางประเทศจีน และที่เห็นและแฝงตัวอยู่ในสถาปัตยกรรมของจีน คือ การแฝงสัญลักษณ์ เช่น ความยิ่งใหญ่ ความร่ำรวยมั่งคั่ง ความมีอายุที่ยาวนาน อำนาจและบารมี

ส่วนทางไทย ถือคติตามอย่างพระพุทธศาสนาและคติการก่อสร้างอย่างไตรภูมิ เป็นหลักซึ่งไม่เหมือนกัน สัตว์ประกอบก็ถือคติอย่างสัตว์ป่าในหิมพานต์ และพาหนะของเทพเจ้า เช่น ครุฑ ยักษ์ กระบี่ กินนรี นำมาประดับในเชิงสถาปัตยกรรม

ผมลองคิดว่า ถ้าผมอยุ่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นเจ้าภาษีนายอากร เจ๊สัวไซแอมมิส จะติดต่อซื้อมังกรสำริดขนาดใหญ่ มาถวายเพื่อประดับหรือถวายบูชาแด่พระแก้วมรกตแล้ว ท่านอาจารย์ว่าผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ขุนนางกรมกอง ต่างๆจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ครับ ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 09 พ.ย. 10, 09:09

ออกจะคล้อยตามคุณ siamese ว่ามีออเดอร์ตุ๊กตาหิน ในสมัยรัตนโกสินทร์  แต่จะออเดอร์สินค้าจากจีนให้แกะสลักแบบสยามต้องการกันที่โน่น หรือว่าเอาช่างจีนที่โน่นมาแกะสลักกันในสยามกันเสียเลย   ก็ยังชี้ชัดลงไปไม่ได้
ที่เห็นคือเรานิยมตุ๊กตาหินแบบจีนแท้ กันมากจริงๆ  ที่ประยุกต์มาเป็นแบบไทย มีน้อยมาก
อย่างตัวนี้อยู่ที่วัดเทพธิดาราม  ก็น่าจะทำสมัยรัชกาลที่ 3    ดูฝีมือแล้ว ไม่วิจิตรพิสดารเท่าตุ๊กตาหินวัดโพธิ์หรือวัดแจ้ง     น่าจะสลักโดยช่างจีนในสยาม



เซี่ยวกางยังแปลงสัญชาติเป็นศิลปะไทยบ้าง อย่างเซี่ยวกางวัดบวรฯข้างล่างนี้    แต่ตุ๊กตาจีนตัวใหญ้่ๆทั้งหลาย  ไม่เอาศิลปะไทยเข้ามาปนเลย

บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 09 พ.ย. 10, 09:47

เซี่ยวกาง ที่วัดนางชีโชติการาม ซึ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็เป็นอย่างจีน ค่ะ



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 09 พ.ย. 10, 09:47

ยังมีตุ๊กตาหินแกะสลัก กระบวนไทย ครับอาจารย์เทาชมพู ปัจจุบันตั้งอยู่พิพิทธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม อยู่ปากประตูชั้นล่าง เป็นรูปสลักทำด้วยหินทราย (ไม่ใช่หินเขียว) สลักฝีมือช่างไทยครับ ดูได้จากลักษณะเครื่องประดับ สัดส่วนหัวโขนได้สัดส่วน มีลีลาไม่อย่างจีน ถูกสลักขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เลยครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 09 พ.ย. 10, 09:54

ส่วนที่วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร วัดประจำรัชกาลที่ 4 เป็นอย่างจีนปนไทยค่ะ

ถ้าเป็นช่างจีน เข้ามาแกะสลักในไทย คนไทยก็น่าจะให้คำแนะนำติชมให้แก้ไข ได้ว่า เทวดาทั้งหลายของไทยไม่มีเครา นะคะ
เครื่องแต่งกายการนุ่งผ้าแถบก็ดูคล้ายผู้หญิง
แต่ถ้าทำในจีน แล้วส่งกลับมาเมืองไทย คงปรับปรุงแก้ไขไม่ได้ ต้องเป็นไปตามที่ทำมา...


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 09 พ.ย. 10, 10:09

พยายามจะสรุปประเด็นเรื่องงานศิลปะจีนทำในไทยค่ะ  ยังไม่ได้ผลที่ชัดเจนนัก  ตามที่คุณ siamese  นำทางไว้
วางสมมุติฐานไว้ว่า คนไทยมีนิสัยชอบประยุกต์  ไม่รังเกียจของต่างชาติ   ยินดีจะนำมาใช้  โดยไม่จำเป็นต้องรักษารูปแบบเดิมเอาไว้เคร่งครัด คือยืดหยุ่นได้ตามใจไทย    
อย่างอาหารโปรตุเกส ฝอยทอง เขากินกับเนื้อเป็นของคาว เราก็เอามาเป็นขนมได้     พิซซ่าก็ยังมีหน้าแกงเขียวหวานได้เลย
เลยรู้สึกว่าตุ๊กตาจีนฝีมืองามๆ ตามวัดใหญ่ๆอย่างวัดโพธิ์ วัดอรุณ วัดสุทัศน์   เป็นจีนชัดๆ  ยังไงก็ไม่ปนไทย น่าจะมาจากเมืองจีน
แต่ถ้าผลิตในไทย  ก็จะทำเป็นของไทยอย่างรูปผู้หญิงนั่ง แบบไทยไปเลยเห็นชัดๆ  ไม่มีผสมผเสกึ่งกลาง
ผิดกับเซี่ยวกาง (หรือเสี้ยวกาง)  ที่มาคือจีน  แต่มาเป็นจีนได้ไม่นานเท่าไร พอรัชกาลที่ 4  ช่างก็ชักจะประสมไทย   บางตัวกลายเป็นฤๅษีไปเลยก็มี
เลยยังสรุปไม่ได้ว่าตุ๊กตาจีนลูกครึ่งไทยที่ดิฉันคิดว่าน่าจะมี     ถ้าสลักในสยาม   โดยช่างจีนที่เข้ามาอยู่ในบ้านเรา   ได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมไทย   มันไม่มีหรือว่ามีแล้วแต่ดิฉันยังไม่เห็น

(เพิ่มเติม) เลยเข้าใจว่า ตุ๊กตาหิน มี 2 แบบ คือสลักแบบตุ๊กตาจีน(แท้)  กับตุ๊กตาหินไทย   ส่วนที่เป็นลูกผสมนั้น  ไม่มี   
ทำให้ลังเลว่า ถ้าออเดอร์จากจีนก็พอเข้าใจได้ว่าช่างจีนย่อมทำแบบจีน   แต่ถ้าช่างจีนอพยพมาไทย    วีไอพีไทยที่สั่งช่างจีนให้สลักหิน จะไม่สั่งให้สลักอะไรออกปนๆไทยเข้าไปบ้างหรือ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 09 พ.ย. 10, 10:19

บทกวีนิพนธ์โคลงดั้นปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ครั้งรัชกาลที่ ๓ พ.ศ.๒๓๘๘ พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

กวีนิพนธ์กลอนโต้ตอบระหว่างสุนทรภู่อกับกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ คำกลอนเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ ๓ ของพระยาไชยวิชิต (เผือก) ซึ่งบทกวีนิพนธ์ได้ให้ความรู้ที่แม่นยำ เช่น ตุ๊กตาศิลาจีนส่วนหนึ่งมาจากประเทศจีน โดยบรรทุกเรือสำเภาที่ไปค้าขายขากลับเป็นอับเฉากันเรือโคลง อีกส่วนหนึ่งทำขึ้นในเมืองไทย โดยมีช่างจีน ทั้งช่างไม้ ช่างปูน ช่างเขียน ช่างสลัก ได้อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งดำรงชีวิตในเมืองไทยเป็นจำนวนมาก เหตุนี้เองจึงเป็นที่น่าจะตอบได้ส่วนหนึ่งว่า หินแกะสลักอันวิจิตรใหญ่โต หน้าตาอย่างกระบวนไทย ผลิตขึ้นในประเทศสยามนี้เอง

             วางถะเจ็ดชั้นขนาด                      ในลาน   แลฤๅ
   คือพระเจดีย์กลาย         กลั่นแกล้ง
   อย่างจีนต่างประเทศสถาน      ถือฝ่าย   เขานา
   ศิลาชาติเขียวแสร้งสร้าง         เสร็จผจง ฯ
   บำนาญท่านจ่ายจ้าง                      เจ๊กกระทำ   จีนแฮ   แปรเปลี่ยนมารแบกทรง         ทรวดเยื้อง
   หินเขาชื่อสำเภา         พื้นฉลัก   รูปฤา
   ถะละแปดรูปเพี้ยนเบื้อง         แบบบรรพ์


และบทกวีนิพนธ์ของพระยาไชยวิชิต (เผือก) กล่าวว่า

“อันวัดวาอาวาสประหลาดสร้าง                   ยักย้ายหลายอย่างโบสถ์วิหาร
ช่อฟ้าหางหงส์ทรงบุราณ                           ไม่ทนทานว่ามักจะหักพัง
พระอารามนามราชโอรส                           หน้าบันชั้นลดลายฝรั่ง
กระเบื้องเคลือบสอดสีมีพนัง                      เป็นอย่างนอกออกปลั่งปลาบปลิว
ลางหลังตั้งวงเป็นทรงเก๋ง                          จีนสำเพ็งพวกแซ่แต้จิ๋ว
วิชาช่างจ้างทำเป็นแถวทิว                         แจกติ้วให้ตั๋วตั้งครัวเลี้ยง”


นี่ไงครับ กลอนที่ผมเคยลงไว้ ระบุว่า เครื่องศิลาส่วนหนึ่งในวัดราชโอรส มีการก่อสร้างในสยาม โดยจีนแต้จิ๋ว แถวสำเพ็ง เป็นวิชาช่าง และจ้างทำ มากินนอนอยุ่เลยครับ (แจกติ้วให้ตั๋วตั้งครัวเลี้ยง)
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 09 พ.ย. 10, 10:38

ผมว่า แบบนี้เป็นลูกครึ่ง น่าจะพอได้ครับ เป็นการใช้ตุ๊กตาจีนแบบฐานพระเจดีย์ไว้ ตามอย่างมารแบกฐานเจดีย์ แบบนี้สั่งตามออเดอร์แน่นอนครับ ถ่ายไว้เมื่อ มกราคม ๒๕๕๓ วัดพระเชตุพนฯ

ให้นึกถึงลักษณะของคนจีน ซึ่งเป็นประเทศอันยิ่งใหญ่ แต่งชุดนักรบแล้วมาทำท่าแบบพระเจดีย์ไว้ เสียท่ากันหมดเลย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 09 พ.ย. 10, 10:39

“อันวัดวาอาวาสประหลาดสร้าง                   ยักย้ายหลายอย่างโบสถ์วิหาร
ช่อฟ้าหางหงส์ทรงบุราณ                           ไม่ทนทานว่ามักจะหักพัง
พระอารามนามราชโอรส                           หน้าบันชั้นลดลายฝรั่ง
กระเบื้องเคลือบสอดสีมีพนัง                      เป็นอย่างนอกออกปลั่งปลาบปลิว
ลางหลังตั้งวงเป็นทรงเก๋ง                          จีนสำเพ็งพวกแซ่แต้จิ๋ว
วิชาช่างจ้างทำเป็นแถวทิว                         แจกติ้วให้ตั๋วตั้งครัวเลี้ยง”

เคยลงกลอนบทนี้ในกระทู้เก่าของเรือนไทย    เวลาอ่านไม่รู้สึกว่าท่านเล่าถึงงานแกะสลักหิน   เพราะที่บรรยายมา เป็นเรื่องของการตกแต่งโบสถ์วิหาร   พูดถึงการประดับหน้าบันด้วยชิ้นกระเบื้องสีต่างๆ     ที่บอกว่า "ลางหลังตั้งวงเป็นทรงเก๋ง"  ใช้คำว่า "หลัง" ก็นึกถึงวิหาร   เลยคิดว่าช่างไทยทำด้านโครงสร้างตัวโบสถ์วิหาร แต่ว่าการตกแต่งประดับประดาทั้งหลายเป็นของช่างจีน     ระบุด้วยว่าเป็นช่างแต้จิ๋ว  
ถ้าช่างพวกนี้สลักตุ๊กตาหิน  น่าจะระบุเอาไว้ตรงๆด้วยนะคะ  
อีกอย่างเป็นไปได้ไหมว่า   งานที่ต้องเอาช่างมาทำในวัด คืองานตกแต่งกระเบื้องสี มุงกระเบื้องหลังคา ปูกระเบื้องหินบนพื้น  อะไรพวกนี้ที่ต้องลงมือทำ  ส่วนสลักหิน สลักที่ไหนก็ได้  เสร็จแล้วค่อยยกเอามา   ได้ไม่ไปเกะกะ อย่างน้อยก็ไม่เกะกะช่างปูพื้นลานวัด
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 09 พ.ย. 10, 10:43

เลยยังสรุปไม่ได้ว่าตุ๊กตาจีนลูกครึ่งไทยที่ดิฉันคิดว่าน่าจะมี     ถ้าสลักในสยาม   โดยช่างจีนที่เข้ามาอยู่ในบ้านเรา   ได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมไทย   มันไม่มีหรือว่ามีแล้วแต่ดิฉันยังไม่เห็น

(เพิ่มเติม) เลยเข้าใจว่า ตุ๊กตาหิน มี 2 แบบ คือสลักแบบตุ๊กตาจีน(แท้)  กับตุ๊กตาหินไทย   ส่วนที่เป็นลูกผสมนั้น  ไม่มี  
ทำให้ลังเลว่า ถ้าออเดอร์จากจีนก็พอเข้าใจได้ว่าช่างจีนย่อมทำแบบจีน   แต่ถ้าช่างจีนอพยพมาไทย    วีไอพีไทยที่สั่งช่างจีนให้สลักหิน จะไม่สั่งให้สลักอะไรออกปนๆไทยเข้าไปบ้างหรือ


แบบนี้หรือเปล่าคะ ตุ๊กตาจีนลูกครึ่งไทย ที่ท่านอาจารย์เทาชมพู อยากเห็น


บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 09 พ.ย. 10, 11:02

น่ากลัวจะเป็นมากกว่าที่อาจารย์เทาชมพูคิด
และอาจจะน้อยกว่าที่คุณ siamese เดานะครับ

ผมลองสอบดูจดหมายเหตุการปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์ สมัย ร.3
(ที่พิมพ์รวมเล่มไว้ในหนังสือ 'จดหมายเหตุวัดพระเชตุพนสมัยรัชกาลที่ ๑-๔')
พบเรื่องน่าประหลาดใจอยู่หลายข้อเหมือนกันครับ

จดหมายเหตุที่ผมหยิบมาอ้างถึง
เป็นจดหมายเหตุการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน
ในสมัยรัชกาลที่ 3 ใน พ.ศ. 2374

ถ้าจะนับเวลาก็ราวสิบห้าปีก่อนจะมีการถ่าย 'รูปบุคคล' ขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย
ส่วนการถ่ายรูปประเภทอื่นๆ เช่น อาคาร บ้านเรือน และวิถีชีวิตประเพณี
ก็น่าจะอ่อนลงมรอีกไม่ต่ำกว่า 20 ปีหลังจากนั้น


มาดูกันดีกว่า ว่าจดหมายเหตุฉบับนี้พูดถึงถะจีนของคุณ siamese ว่าอะไรบ้าง


'...ในชาลาหว่างพระรเบียงสองชั้นทังแปดแห่งตั้งเรือนประทีปยอดหย่างจีนหกชั้น
ทำด้วยสีลาเขียวมีรูปจีนเปนมารแบกทำด้วยสิลาเขาสำเภาเรือนละแปดรูป...'


เขาสำเภาอยู่ที่เมืองลพบุรีครับ เป็นแหล่งตัดหินแกรนิตสำคัญแหล่งหนึ่ง
หินจากเขาลูกนี้เป็นวัสดุหลักอย่างหนึ่งในการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์ในครั้งนั้น



ถ้ามีข้อมูลมากถึงขนาดนี้ก็น่าจะบอกได้ว่า

1.) ตุ๊กตาหินแกรนิตที่ใช้ในวัดโพธิ์เป็นหินจากเขาสำเภา
2.) เรือนประทีปยอดเป็นถะจีนนั่นเป็นหินลูกครึ่ง
ผมไม่ปฏิเสธครับ ว่าเห็นด้วยว่าหินเขียวนำมาจากจีน
ส่วนหินฐานด้านล่างนั่นก็เป็นหินในประเทศไทยแน่ๆ
ทีนี้ขึ้นกับว่าแต่ละคนจะเดากันอย่างไรต่อไป เป็นต้นว่า

- นำหินเขียวสลักสำเร็จรูปเข้ามา แล้วออกแบบฐานใหม่ให้เสริมกัน
- ส่งหินทั้งหมดออกไปทำที่เมืองจีนแล้วค่อยนำชิ้นงานสำเร็จกลับมาใช้
- นำหินทั้ง 2 ชนิดมาก่อซ้อนกัน แล้วจึงค่อยสลักอีกทอดหนึ่ง


โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับ 2 ประการแรก
เพราะรู้สึกว่าเป็นวิธีที่ทำงานได้ยากกว่ามาก ๑
และรูปทรงที่สลักหินพวกนี้แตกหักเสียหายง่ายอีก ๑

จะว่าไปรายละเอียดที่ทำก็ดูจะไม่เหมาะกับการขนส่งเท่าไหร่
ถ้าเทียบกับเสี้ยวกางกระเบื้องเคลือบที่วัดราชโอรสแล้ว
ดูเหมือนว่าหินพวกนี้จะแตกหักง่ายกว่ากระเบื้องเช่นนั้นด้วยซ้ำ

ส่วนท่านอื่นๆจะคิดเห็นเช่นใด ผมก็อยากฟังความเห็นของทุกๆท่านครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 09 พ.ย. 10, 11:32

ถ้าคุณเพ็ญชมพูเข้ามา  อยากถามเรื่องปลาตาเหลือกกับปลาหน้าคน   เขานิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม   มีบ่อไว้เลี้ยงโดยเฉพาะแบบปลาคาร์พหรือเปล่าคะ



ปลาหน้าคนก็เป็นปลาคาร์พนั่นแหละ ก็ต้องเลี้ยงแบบปลากคาร์พ

สงสัยว่าปลาตาเหลือกหน้าตาเป็นอย่างนี้หรือเปล่า

ให้คุณเพ็ญชมพูทายดีกว่า "ปลาตกใจ" วัดคงคาราม เป็นปลาอะไรกันนี่  ฮืม



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 20 คำสั่ง