Ruamrudee
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 29 ต.ค. 10, 23:33
|
|
คุยเรื่องตุ๊กตาหินกันอย่างออกรส และ น่าสนใจยิ่ง แต่ว่า ดิฉันเกรงใจเจ้าของกระทู้จริง ๆ ค่ะ ต้องขออภัยด้วยนะคะที่กลอนพาไปไกล ไม่ได้พูดเรื่องสายสกุลเจ้าคุณจอมมารดาเอมสักเท่าไร
น่าจะไปเปิดกระทู้ใหม่ เอาเรื่องตุ๊กตาหิน อับเฉาจากจีน หรือ Made in Thailand กันแน่ดีไหมคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 30 ต.ค. 10, 00:37
|
|
แล้วแต่คุณเจ้าของกระทู้ค่ะ เรื่องตุ๊กตาหินจะว่าไม่เกี่ยวกับประวัติสายสกุลจีนของเจ้าจอมมารดาเอม ก็ไม่ใช่ เพราะประเด็นอยู่ที่ว่า หลักฐานเรื่องการค้าขายของท่านอ๋องต้นสกุลนั้นมีรายละเอียดแม่นยำแค่ไหน ถ้าหากว่าเราพบหลักฐานว่าการค้าตุ๊กตาจีนเพิ่งจะทำกันมาสมัยรัตนโกสินทร์ ประวัติก็เป็นไปอีกแบบหนึ่ง บทความของอาจารย์วิบูลย์เองก็ยังไม่มีรายละเอียดถึงตุ๊กตาจีนสมัยอยุธยา มีแต่ "กล่าวกันว่า" เท่านั้น
ถ้าจะแยกกระทู้ต้องแยกความเห็นที่ต่อเนื่องกันมาทั้งหมด จะเว้นไม่ได้ ถ้าคุณนวรัตนเห็นสมควรแยก ก็ขอให้ท่านทั้งหลายกรุณางดออกความเห็นเรื่องเจ้าจอมมารดาเอมไปก่อน มิฉะนั้นจะติดไปกับกระทู้ใหม่ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 30 ต.ค. 10, 06:47
|
|
เห็นด้วยเรื่องเปิดกระทู้ใหม่ เรื่องตุ๊กตาหิน อับเฉาจากจีน หรือ Made in Thailand ครับ
ชื่อก็น่าสนใจในตัวเองอย่างยิ่งอยู่แล้ว การแยกกระทู้จะทำให้ผู้ที่เข้ามาค้นหาในเวป จะเข้าได้ตรงข้อมูลที่ตนสนใจเป็นพิเศษนั้น
เรื่องเจ้าคุณจอมมารดาเอมยังมีเรื่องเท็จจริงที่ค้างคาบางประการ ผมอยากถกให้จบก่อนปิดกระทู้ โดยไม่ยาวเกินไปแบบมหากาพย์น่ะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 30 ต.ค. 10, 20:34
|
|
จะให้ชมตุ๊กตาหินแห่งประเทศเวียตนาม ที่สุสานพระจักรพรรดิ์หมิ่นหมาง (ประสุติพ.ศ. ๒๓๓๔ - สวรรคต พ.ศ. ๒๓๘๔) ก็ถือธรรมเนียมอย่างจีนทุกประการ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 35 เมื่อ 30 ต.ค. 10, 20:48
|
|
เพิ่งจะได้ยินว่าตุ๊กตาอับเฉา นั้นเรานำเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว ยังอยากจะเห็นการขุดค้นวัตถุประเภทนี้นะครับ
"สวนขวา" สวนแห่งเขามอและเครื่องประดับจากจีน ตุ๊กตาอับเฉา ซึ่งเข้ามาประดับในพระบรมมหาราชวังในสมัยรัลกาลที่ ๒ เมื่อสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงโปรดให้รื้อสวนขวา นำเขามอพร้อมตุ๊กตาอับเฉาไปประดับตามวัดวาอาราม เช่น วัดโพธิ์ วัดแจ้ง เป็นต้น นักวิชาการบางท่านวิเคราะห์ว่า สวนขวาเป็นการตกแต่งอย่างสวนแบบเศรษฐีจีน ทางตอนใต้ของจีน "ซูโจว"
การจัดสวนแบบซูโจว จะก่อสร้างบึง มีสะพานข้าม ทำเป็นเกาะเล็กเกาะน้อย ก่อสร้างศาลาแบบต่างๆ ปลูกต้นไม้ ก่อหินเขามออย่างได้จังหวะ แต่ไม่มีการตกแต่งด้วยตุ๊กตา แต่ในกรุงสยามมีการตกแต่งด้วยตุ๊กตา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 30 ต.ค. 10, 21:03
|
|
ภาพการก่อสวนหินและตุ๊กตาอับเฉา บริเวณลานวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมัย รัชกาลที่ ๕
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 30 ต.ค. 10, 21:40
|
|
พาสมาชิกไปช๊อปปิ้งหินแกะสลักที่ประเทศจีน ท่านใดอยากซื้อติดไม้ติดมือ เอาเป็นอับเฉาเรือหรืออับเฉาเครื่องบินก็ทำได้นะครับ
ประเทศจีนไม่มีหินแกะสลักเหมือนอย่างในสยามมี ทั้งรูปปราสาท ทั้งรูปทหารงิ้ว ไม่พบแม้แต่น้อย เป็นไปได้ว่า เป็นการสั้งทำตาม Order หรืออาจจะทำในประเทศไทยก็เป็นไปได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 38 เมื่อ 30 ต.ค. 10, 23:21
|
|
As the saying goes; "look at the hills of Guilin, Suzhou look at the bridge, Fujian look at the stones." Fujian is a traditional stone crafts, has a long history in the history of Chinese culture played an important role. กล่าวกันว่า “มากุ้ยหลินต้องดูภูเขา มาชูโจวต้องดูสะพาน มาฟูเจี้ยนเมื่อดูหิน” ฟูเจี้ยนเป็นแบบฉบับของการสลักหิน มีประวัติศาสตร์อันยาวนานในบทบาทสำคัญควบคู่กับประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมจีน"
ข้างบนคือที่ผมแปลมาจากเวปของกลุ่มอุตสาหกรรมสลักหินแกรนิตสีออกเขียวๆที่เรียกว่าblue stoneของฟูเจี้ยนซึ่งยังตำรงอยู่มาถึงปัจจุบัน แบบอาจเปลี่ยนไปบ้างตามสมัยนิยม แต่ยังพอเห็นร่องรอยความคล้ายกันกับงานหินสลักต่างๆที่มาวางประดับวัดในบ้านเรา
แม้คนจีนจะสลักหินกันทั่วไป เพราะฮวงซุ้ยต้องมีแผ่นหินสลัก แต่ที่เลิศล้ำด้วยฝีมือและคุณภาพของหินต้องเป็นที่ฟูเจี้ยน ถิ่นของชาวฮกเกี้ยน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 30 ต.ค. 10, 23:28
|
|
อับเฉาเรือ
ปกติเรือสินค้าที่ไม่ได้บรรทุกของจะเบา ทำให้ไม่สู้คลื่นเรือเบาไปก็จะโคลงมาก ต้องถ่วงน้ำหนัก เรือสมัยโบราณที่สร้างขึ้นในโลกนี้ล้วนใช้ก้อนหินมาเรียงที่ท้องเรือ เรือไม้สมัยที่มีคอนกรีตแล้วก็ใช้คอนกรีตเสริมเหล็ก หล่อเป็นคานท้องเรือไปเลย เป็นการเสริมความแข็งแรง และถ่วงน้ำหนักเรือไปด้วยในตัว
เรือเหล็กสมัยใหม่ใช้สูบน้ำเข้าไปในห้องอับเฉาเมื่อระวางเรือว่าง และสูบน้ำทิ้งเมื่อบรรทุกของลงเรือ น้ำที่สูบออกมานี้พิสูจน์แล้วว่ามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาก ผู้เกี่ยวข้องกำลังหาทางแก้ไขกันอยู่ แต่นั่นคนละประเด็นของกระทู้นี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 40 เมื่อ 30 ต.ค. 10, 23:43
|
|
แต่ที่ผมเข้ามาย้อนให้ฟังถึงอับเฉาที่เขาใช้กันโดยปกติ รวมทั้งเรือจีนทั้งหลายด้วย เพื่อจะชี้ว่ามีเรือสำเภาที่มาสยามสมัยอยุธยาต่อกับรัตนโกสินทร์เท่านั้น ที่คนจีนเอาตุ๊กตาหินถ่วงท้องเรือแทนอับเฉาที่เป็นก้อนหินธรรมดา เพราะคงจะขายได้กำไร คนไทยชอบ หรือไม่ก็พระเจ้าแผ่นดินชอบ เอาไปประดับวัดประดับวา
พอสำเภาจีนไม่เข้ามาอีกเพราะฝรั่งเข้ามาแทน ตุ๊กตาหินก็เลยหายจ้อย วัดสร้างในสมัยรัชกาลที่สี่เรื่อยมา ไม่ค่อยจะมีตุ๊กตาจีนประดับอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเช่นสมัยรัชกาลที่สาม พระราชนิยมก็เปลี่ยนไปใช้ของประดับภายในของฝรั่งแทน
ถ้ามีการผลิตตุ๊กตาจีนดังกล่าวในประเทศ อยู่ๆก็คงไม่สะดุดกึกลงเช่นนั้น แต่ไม่ใช่ผมว่าไม่มีคนจีนมาสลักหินในเมืองไทย ก็มีแหละครับ อย่างน้อยหินปิดหน้าฮวงซุ้ยที่ทำกันมากในแหล่งแกรนิตสระบุรี หรือแถวอ่างศิลา ก็ต้องนำเข้าคนจีนมาทำ และก็ทำครกขายชาวบ้านไปด้วย ส่วนตุ๊กตางิ้ว หรือสิงโตตัวใหญ่ๆก็คงพอมีช่างฝีมือดีๆสั่งทำในประเทศได้อยู่หรอกครับ แต่น่าจะรับงานส่วนใหญ่จากคนจีนด้วยกัน เอาไปวางประดับศาลเจ้ามากกว่าจะทำให้คนไทย ซื้อไปตั้งถวายวัด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 41 เมื่อ 31 ต.ค. 10, 06:23
|
|
นำตุ๊กตาจีนมาเปรียบเทียบกัน ทั้งสามตัว มาจากวัดเดียวกันคือวัดอรุณฯ http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13491ตุ๊กตาจีนในรูปทั้งสองนี้น่าจะอยู่ในวัดมาตั้งแต่ต้นรัตโกสินทร์ อย่างช้าไม่เกินรัชกาลที่ ๓   แต่พอถึงตัวที่สาม ในรูปนี้ คนละสมัยกัน และคนละฝีมือ  ดูไม่ออกว่าเป็นทหารจีนยุคประธานเหมา หรือย้อนไปถึงเจียงไคเช็ค หรือว่าเป็นทหารฝรั่งสมัยนโปเลียนกันแน่ แต่ที่รู้สึกคือฝีมือสลัก เรียบง่ายมาก ถ้าบอกว่าทำโดยช่างฝีมือไม่ชำนาญเท่าช่างจีนฮกเกี้ยน ก็จะเชื่อตามที่คุณ siamese เสนอแนวคิดไว้ ว่าแกะสลักในสยามนี่เอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 42 เมื่อ 31 ต.ค. 10, 07:58
|
|
นี่ไงครับ อาจารย์เทาชมพู ตุ๊กตาหินแกะสลักโดยช่างจีนในสยาม ที่วัดเทพธิดาราม สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ช่างจีนได้แกะสลักรูปสตรีไทย ดังนั้นวัสดุหลักคือ หิน ก็ต้องมาจากในประเทศไทยด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 43 เมื่อ 31 ต.ค. 10, 09:47
|
|
ตัวนี้ จากวัดสุทัศน์ ช่างจีนในสยามหรือเปล่า? https://janghuman.wordpress.com
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Ruamrudee
|
ความคิดเห็นที่ 44 เมื่อ 31 ต.ค. 10, 11:26
|
|
ดูไม่ออกว่าเป็นทหารจีนยุคประธานเหมา หรือย้อนไปถึงเจียงไคเช็ค หรือว่าเป็นทหารฝรั่งสมัยนโปเลียนกันแน่ แต่ที่รู้สึกคือฝีมือสลัก เรียบง่ายมาก ถ้าบอกว่าทำโดยช่างฝีมือไม่ชำนาญเท่าช่างจีนฮกเกี้ยน ก็จะเชื่อตามที่คุณ siamese เสนอแนวคิดไว้ ว่าแกะสลักในสยามนี่เอง
ลักษณะเครื่องแต่งกายนั้น คล้ายฝรั่ง แต่จะไม่เหมือนก็ตรงที่ชายเสื้อ พริ้วไหว ปลายบานเหมือนแพรจีน คงไม่ใช่ยุคประธานเหมา หรือ เจียงไคเช็คแน่ ๆ เพราะนั่นเขาเอาแบบฝรั่งมาเต็มรูป แต่น่าจะเป็นแบบรุ่น "ขุนศึก" เป็นทหารในปลายราชวงศ์ชิง รุ่นซุสีไทเฮา เช่น นายพลหยวน ซื่อ ข่าย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|