Wandee
|
เรื่องเจ้าคุณจอมมารดาเอม เป็นเรื่องสำคัญ
มีเรื่องราวที่เป็นความรู้แปลกๆซ่อนอยู่ไม่น้อย
ปูเสื่ออ่านอยู่ตลอด
มีประเด็นที่รวบรวมจากหนังสืออื่นๆบ้าง จึงขอแยกมาตั้งวงคุย
หนังสือที่ใช้ตอนนี้คือ หนังสือพระราชประวัติพระเจ้าตาก(สิน) พิมพ์ครั้งที่ ๑ ๑๐๐๐ ฉบับ ร.ศ. ๑๒๘ ราคาเล่มละ ๑ บาท ค่าส่งทางไปรษณีย์ถึงผู้ซื้อ ๒ สลึง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 29 ต.ค. 10, 06:29
|
|
หนังสือเล่มนี้มี ๘๘ หน้า
การแสดงความเป็นเจ้าของคือ มีลายมือแสนงามของคุณหลวง บำรุงราชบริพาร
วันที่ ๗ ตุลาคม รัตนโกสินทรศกที่ ๑๓๐
คุณหลวงเป็นนักสะสมตัวจริง คือท่านไม่ได้อ่านเลย
กระดาษหลุดจากสันหมดแล้ว
คำนำแจ้งไว้ว่าตอนที่ ๑ ใช้ตำราโบราณ จานเป็นอักษรสยามแต่ครั้งกรุงเก่าโบราณ ๑ ผูก
จานลงในใบลานสั้น ๆ เท่าคัมภีร์สวดมนต์
ตอนที่ ๒ ใช้ตำราสมุดไทยข่อยขาว ชุบหมึก ๔๐ พะเนิก ๒ เล่มของพระยาพจนะพิมณฑ์(วันรัตทองอยู่)
แต่ยังเป็นพระมหาเปรียญเอก ๙ ประโยค อยู่วัดประดู่โรงธรรมฝั่งตวันออกนอกกำแพงกรุงเก่า
แล้วมาเป็นพระราชาคณะเจ้าอาวาศวัดบางว้าใหญ่(วัดระฆัง)
ตอนที่ ๓ ตำราสมุดไทยข่อยดำชุบตัวอักษรรงเส้นเหลือง ๓๐ พะเนิก ๑ เล่ม
ของเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช(บุญรอด) จางวางกรมวังในรัชกาลที่ ๑ กรุงเทพ
แต่ท่านยังเป็นขุนราชฤทธานนท์ในกรุงเก่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 29 ต.ค. 10, 07:47
|
|
บุตรของพระยาโชฎึกราชเศรษฐีหรือ "เจ้าคุณพระคลังจีน" ตามที่ชาวบ้านเรียก
คือ เจ้าสัวไซ่ฮู ไล่ฮู ซี่ และ ไซ่ เป็นจีนเกิดที่เมืองกวางหนำ มณฑลกวางตุ้ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 29 ต.ค. 10, 07:52
|
|
ภาษีปากเรือในเวลานั้น ๑๐๐๐ บาท
ภาษีจังกูด คือ ภาษีหางเสือเรือทะเล
ภาษีจังกอบ คือภาษีราโธเรือ หรือภาษี กราบเรือ
ภาษีปะกำใบ คือ ภาษีไม้กระหนาบใบ
ภาษีค่าน้ำมัน คือ ภาษีค่าน้ำมันมะพร้าวจุดตะเกียงรักษาพระนคร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 29 ต.ค. 10, 08:26
|
|
หลวงอภัยพานิช(มั่วเสง) เศรษฐีจีนอีกสกุลหนึ่ง
เมื่อพระเจ้าตาก(สิน)ยกกองทัพใหญ่ ไปตั้งจัดการซ่องสุมรี้พลให้เป็นกองกำลัง
โดยเกลี้ยกล่อมพลเมือง ตั้งชุมนุมอยู่ณ เมืองจันทบุรี ราษฎรพากันเข้าด้วยจำนวนกว่าหมื่น
ครั้งนั้น จีนมั่วเสงนายห้างใหญ่ ได้พำนักอยู่ในเมืองจันทบุรีมาช้านานแล้ว
มั่วเสงนั้นแซ่เดียวกับจีนไฮฮองหยง จีนหยงเป็นพระราชบิดาของพระเจ้าตาก
จีนมั่วเสงมีความยินดีนิยมชมชื่นต่อพระบารมีของพระเจ้าตาก จึงไปเฝ้าที่พลับพลา
พระเจ้าตากทรงทักทายสนทนากับจีนมั่วเสงเป็นอันมาก ด้วยทรงคุ้นเคยมาแต่กรุงศรีอยุธยาแล้ว
อยู่มากาลครั้งหนึ่ง จีนมั่วเสงจัดผ้าลายกุศราด ๑๕๐๐ กุลีมาจากเมืองเทศ จัดแพรปังสีมาจาก
เมืองกวางตุ้ง ๒๐๐ ม้วน แพรไกเอ้งมาจากเซี่ยงไฮ้ ๑๐๐ ม้วน ถวายเพื่อให้พระราชทาน
เป็นรางวัลแก่พวกแก่พวกแม่ทัพนายกอง เงินตรา ๕๐๐ ชั่งนั้น ไม่ได้ถวายขาด เป็นการ
ถวายให้ทรงยืมใช้สรอยในการทัพ
(แสดงว่าจีนมั่วเสงกักตุนสินค้า หรือไม่ก็ขายไม่ออกเพราะยามสงครามผู้คนไร้ทรัพย์ ข้อมูลนี้คงเป็นที่มาของ การลือว่า พระเจ้าตากสินเป็นหนี้จีน)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 29 ต.ค. 10, 13:32
|
|
ประวัติความเป็นมาของ จีนมั่วเสง
จีนมั่วเสงนายห้างใหญ่ มีห้างอยู่ที่ตลาดชมพู บ้านถนนลายสอง ต่อท้ายตึกญี่ปุ่น
ใต้วัดตะพานเกลือฝั่งตะวันออก นอกกำแพงกรุงศรีอยุธยา
สั่งสินค้ามาจากเมืองจีน เมืองแขก เมืองฝรั่ง เมืองญี่ปุ่น
ต่อมาได้ขยายสินค้าโดยเปิดสาขา โดยขนสินค้าในกรุงเก่าแบ่งออกไป
ตั้งห้างที่เมืองลาวกาวเวียงจันทร์, หลวงพระบาง, จำปาศักดิ์, แลเมืองลาวโยน
เชียงใหม่, เชียงน่าน, นครลำปาง, นครลำพูน เป็นต้น
เมื่อมีข่าวว่าพระเจ้ามังลองกรุงอังวะ จะยกกองทัพมาล้อมพระนครกรุงศรีอยุธยา
จีนมั่วเสงจัดการขนสินค้าของตน ย้ายไปเมืองเขมรโดยทางบก เมื่อเส้นทางไปไม่ได้
เพราะมีข่าวว่ากองทัพพม่ามาสกัดทางตะวันออกเฉียงเหนือไว้ ขบวนสินค้าพากันเดินบกยกไปทางจันทบุรี
ห้างก็ตั้งขึ้นที่จันทบุรีคอยโอกาสที่จะย้ายไปเมืองเขมร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 29 ต.ค. 10, 13:44
|
|
เมื่อพระเจ้าตากปราบปรามความจลาจลราบคาบแล้ว ขึ้นครองราชสมบัติในกรุงธนบุรี
โปรดให้จีนมั่วเสงเป็นหลวงอภัยพานิช กรมท่าซ้าย ให้หลวงอภัยพานิช(มั่วเสง)ต่อสำเภาหลวง
ด้วยไม้ตะเคียนที่เมืองจันทบุรีปีละ ๑๐ ลำเป็นของหลวง ให้ต่อเรือของส่วนตัวได้ปีละ ๒ ลำ
หลวงพานิชก็มีกำไรมหาศาลจากการต่อเรือและส่งเรือไปค้าขายเมืองจีนเพราะไม่ต้องเสียภาษี
ค่าปากเรือและเบี้ยใบ้รายทางในการจะขอต่อเรือ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 29 ต.ค. 10, 14:04
|
|
ตระกูลของหลวงอภัยพานิช(มั่วเสง)
เจ๊สัว จุ๊น มีบุตรชื่อเจ๊สัวแจ้
เจ๊สัวแจ้มีธิดาคือเจ้าจอมมารดาม่วง ที่คนเรียกว่า ม่วงแจ้
ในพระบวรวงศ์เธอชั้น ๒ พระองค์เจ้าหญิงสุดศาลา พระราชบุตรีที่สุด
ในพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ กรมพระราชวังบวร ในรัชกาลที่ ๒ กรุงเทพ ฯ
การจดรายชื่อลูกนั้นจะจดแต่ผู้ที่รับราชการหรือมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ธิดานั้นก็จะจดเมื่อ
รับราชการฝ่ายใน หรือสมรสในตระกูลใหญ่ หรือบุตรธิดาเป็นผู้มีชื่อเสียง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 29 ต.ค. 10, 14:42
|
|
บุตรอีกคนหนึ่งชื่อ เจ๊สัวซา หรือสาม มีลูกชายชื่อ เจ๊สัวเล่าแช
ธิดาของ เจ๊สัวเล่าแช ชื่อ แก้ว เป็นภรรยาของพระยาอาหารบริรักษ์(นุช)
(เรื่องราวของ อาหารบริรักษ์ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว จึงขอข้ามไป การที่ได้รู้ชื่อภรรยาของอาหารบริรักษ์ ก็สมกับที่วิ่งหาหนังสืออ่านอยู่)
ธิดาอีกคนหนึ่งของเล่าแชชื่อสุ่น(พี่สาวหรือน้องสาวของ แก้ว และคงจะต่างมารดา)เป็น
ท่านผู้หญิงของ เจ้าพระยาภานุวงษ์มหาโกษาธิบดี(ท้วม) มีบุตรคือ
พระยาราชานุประพันธ์(สุดใจ) และ
พระยาสุธรรมมนตรี(ทุ้ย)
(เจ้าพระยาภานุวงษมหาโกษาธิบดี(ท้วม) มีภรรยา ๑๗ คน ดูมาจากหน้า ๘๘ ของสาแหรกสกุลบุนนาค)
ทั้งหมดนี้ก็มาจากการรวบรวมของ ก.ศ.ร. กุหลาบ
หัวข้อเขียนว่า ผู้บำรุงพระเจ้าตากคนที่ ๒
เมื่ออ่านแล้วก็คุ้นเคยกับการบรรยายที่ปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์สำคัญหลายเล่ม เรื่อง ศิริรูปพรรณสันฐานของกุมารบุตรจีนหยง เป็นต้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 29 ต.ค. 10, 15:22
|
|
หนังสือที่ใช้ตอนนี้คือ หนังสือพระราชประวัติพระเจ้าตาก(สิน) พิมพ์ครั้งราคาเล่มละ ๑ บาท ค่าส่งทางไปรษณีย์ที่ ๑ ๑๐๐๐ ฉบับ ร.ศ. ๑๒๘ ถึงผู้ซื้อ ๒ สลึง ขอประทานโทษ หนังสือนี้ใครแต่ง (หรือเรียบเรียง) ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
luanglek
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 29 ต.ค. 10, 15:22
|
|
ธิดาของ เจ๊สัวเล่าแช ชื่อ แก้ว เป็นภรรยาของพระยาอาหารบริรักษ์(นุช)
(เรื่องราวของ อาหารบริรักษ์ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว จึงขอข้ามไป การที่ได้รู้ชื่อภรรยาของอาหารบริรักษ์ ก็สมกับที่วิ่งหาหนังสืออ่านอยู่)
จะข้ามไปไย กรุณาเล่าให้ฟังอย่างพิสดารเถิด เอนเอกเขนกรออยู่นะ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 29 ต.ค. 10, 15:46
|
|
เรียนคุณ NAVARAT.C
ก.ศ.ร. กุหลาบค่ะ เป็นเรื่องที่เล่าเรื่องเจ๊สัวจีนในเวลาใกล้กัน
ยังมีอีกเล่ม สหายให้มา เรื่องจีนตัดผมเปีย ไม่มีในบัญชีหนังสือเหมือนกัน
หนังสือระดับนี้กระหมุบกระหมิบอ่านกัน เสียดายเป็นบ้าเลย
ก.ศ.ร. กุหลาบผิดไม่น้อยค่ะ นายวรรณเล่าให้ท่านฟัง ท่านก็ระบายสีเสียหน่อย
นายวรรณขอให้แก้ปีพุทธศักราช ท่านก็ไม่ยอมแก้ ประวัตินายวรรณแท้ ๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 29 ต.ค. 10, 15:54
|
|
อุ อุ คนเขียนถึงหลายพันคนแล้ว
ไม่เซ็งมั่งหรือคะ
คือถ้ามีรายละเอียดจะรีบนำมากราบเรียน
มหามุขบอกไว้ชัดนะว่าเจ้าคุณภาส ของเราน่ะ หม่อมอินซอเป็นญวน
อ่านดี ๆ มีชื่อสังคญาติ หรืออย่างน้อยก็ชื่อพี่ชายค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Ruamrudee
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 29 ต.ค. 10, 23:43
|
|
มาตามอ่านเกร็ดประวัติศาสตร์ค่ะ น่าสนใจมาก คุณวันดี มีข้อมูลดี ๆ ขอขอบพระคุณค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 30 ต.ค. 10, 01:44
|
|
ขอบคุณค่ะคุณร่วมฤดีที่กรุณาอ่าน
พรุ่งนี้ดิฉันจะไปงานหนังสืออีกครั้ง คิดว่าจะอยู่ทั้งวัน
มีกิจธุระคือต้องนำหนังสือประวัติท่านผู้หญิงละเอียดไปให้เพื่อน
นำข้อมูลเรื่องหนังสือของนักเขียนก้าวหน้ามีอะไรบ้างไปให้คุณลุง
แวะไปดูหนังสือกฎหมายที่ขายดีที่สุดในงาน จะไปดูหนังสือแผนที่ที่พิมพ์ใหม่
คงไม่มีสตังค์ซื้อ จะไปเจอนักเขียนที่ปีนี้เขียนหนังสือประวัติศาสตร์ไป ๔๐ เล่มแล้ว
และกำลังจะเขียนหนังสือประวัติศาสตร์ที่ดีที่สุดเล่มนี้ออกมา เล่มนี้นักเขียนวุ่นวายใจไม่น้อยเพราะ
ถนนและที่ตั้งของตรอกซอยผิดพลาดหมด นักเขียนโตมาแถวนั้นพอดีเลยยอมไม่ได้
ดิฉันจะไปฟังข้อมูลเรื่องเมื่อซุนยัตเซนปลอมตัวเป็นญี่ปุ่นเข้ามาในสยาม มีเพื่อนต่างวัยคนหนึ่ง
ได้ยินมาว่าดิฉันรักสุนทรภู่เหลือเกิน เลยเก็บหนังสือเล็กๆ น้อยๆมาให้ทีละสิบกว่าเล่ม
มิมีปฏิเสธหนังสือเป็นอันขาด
ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|