เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 41892 การสะกดคำว่า internet และ website เป็นภาษาไทยที่ถูกต้อง
อินทาเนีย
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 30 ส.ค. 01, 12:50

คำว่า "internet" และ "website" ควรสะกดเป็นภาษาไทยว่า "อินเทอร์เน็ต" และ "เว็บไซต์"
                                 ตามลำดับ ซึ่งคำทั้งสองคำนี้ได้รับการบัญญัติโดยราชบัณฑิตยสถานแล้ว

                                 internet สะกดเป็นภาษาไทยว่า อินเทอร์เน็ต

                                website สะกดเป็นภาษาไทยว่า เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 17 ต.ค. 00, 00:00

ตกลงเขาไม่ใช้ศัพท์ อันตรชาล ของผม หรือ อันตรนิธ ของคุณวีณาฯ แล้วเหรอครับ....
บันทึกการเข้า
วีณาแกว่งไกว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 20 ต.ค. 00, 00:00

มาขยายความคำว่า "อันตรชาล" กับ "อันตรนิธ" เพิ่มเติมเล็กน้อย (เพื่อที่คนที่ไม่เคยติดตามการสนทนาเรื่องนี้มาก่อนจะได้เข้าใจด้วย)...

-----

"อันตร-" แปลว่า "ระหว่าง" ตรงกับคำว่า "inter-"
เช่น interaction = อันตรกิริยา

"ชาล" แปลว่า "ตาข่าย" ตรงกับคำว่า "net"
อย่างเช่นโอรสของพระเวสสันดรชื่อ "ชาลี" ก็แปลว่า "ผู้มีตาข่าย"
ที่ได้ชื่อนี้ ก็เพราะตอนประสูติพระโอรสองค์นี้ พระญาติเอาตาข่ายมารองรับไว้
[สำหรับ "กัณหา" มีชื่อเต็มว่า "กัณหาชินา" ซึ่งมาจาก กัณหะ (สีดำ) + อชินา (หนังสัตว์)
ที่ได้ชื่อนี้ ก็เพราะตอนประสูติพระธิดาพระองค์นี้ พระญาติเอาหนังหมีดำมารองรับไว้]

คำว่า "อันตรชาล" จึงมีความหมายตรงกับคำว่า "internet"

-----

ส่วนคำว่า "อันตรนิธ" นั้น...
มาจากคำว่า "อันตร-" แปลว่า "ระหว่าง" (inter-) อย่างที่ได้กล่าวไว้แล้ว
สมาสกับคำว่า "นิธ" ซึ่งตัดมาจากคำว่า "นิธา" ในภาษาบาลีสันสกฤต แปลว่า "ตาข่าย" (net) เหมือนกัน

จึงเสนอว่า "internet" ใช้ว่า "อันตรนิธ" ก็น่าจะดี เพราะนอกจากความหมายเหมือนกันแล้ว ยังออกเสียงคล้าย ๆ กันอีกด้วย


-----

คำเตือน : พวกเราเสนอให้ใช้ศัพท์แทนคำว่า "internet" ว่า "อันตรชาล" หรือ "อันตรนิธ" กันเล่น ๆ เท่านั้น ท่านผู้อ่านโปรดอย่าได้ถือเป็นเรื่องจริงจัง
บันทึกการเข้า
วีณาแกว่งไกว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 21 ต.ค. 00, 00:00

เคยเสนอไว้เล่น ๆ อีกคำหนึ่งคือ "mouse" น่าจะใช้ว่า "มุสิก"
เพราะความหมายเหมือนกัน (มุสิก มาจากคำในภาษาบาลี แปลว่า หนู)
และยังออกเสียงคล้าย ๆ กันอีกด้วย (m-s กับ ม-ส)

แล้วถ้ายิ่งดูรูปวิเคราะห์หรือรากศัพท์ที่มาของคำว่า "มุสิก" (มูสฺ) แล้ว จะเห็นว่าคล้ายกับคำว่า "mou-se" อย่างน่าอัศจรรย์
บันทึกการเข้า
อินทาเนีย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 24 ต.ค. 00, 00:00

"เว็" สะกดด้วย บ เพราะตรงกับตัว b ในคำว่า web
("web" มีเสียงสั้น ในภาษาไทยจึงใช้ไม้ไต่คู้กำกับ เป็น "เว็บ")

และกรุณาสังเกตว่าศัพท์บัญญัติที่เป็นคำทับศัพท์ในภาษาอังกฤษนั้น
หากตัว t ที่ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดแล้ว ในภาษาไทยจะใช้ ต เสมอ
เช่น
switch = สวิช์
net = เน็
promote = โปรโม
apartment = อพาร์เมน์ (ห้องชุด)
cassette = คาสเซ (ตลับ)
clutch = คลัช์
flat = แฟล (ห้องชุด)
sketch = สเกช์ (ภาพร่าง)
hot line = ฮอไลน์
perfect = เพอร์เฟก์ (สมบูรณ์)
regent = รีเจน
management = แมเนจเมนต์ (การบริหาร การจัดการ ฝ่ายจัดการ)
chart = ชาร์ (แผนภูมิ)
fruit punch = ฟรุพันช์
flight = ไฟล
font = ฟอน
เป็นต้น

ตัว t ที่ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดในภาษาอังกฤษ ในภาษาไทยจะใช้ ต เสมอ
บันทึกการเข้า
อินทาเนีย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 24 ต.ค. 00, 00:00

ขอแถมด้วยว่า...

ตามหลักเกณฑ์การเขียนคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยแล้ว...
หากตัว c หรือ k หรือ ck หรือ g ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดแล้ว จะในภาษาไทยจะใช้ ก เสมอ
เช่น
mark = มาร์
picnic = ปินิ
lock = ล็อ
analog = แอนะล็อ (ศัพท์บัญญัติแล้ว)
Olympic = โอลิมปิ
gymnastic = ยิมนาสติ
graphic = กราฟิ
rock = ร็อ
stock = สต็อ
take care = เทแคร์
neck-tie = เนไท
เป็นต้น

หากตัว c หรือ k หรือ ck หรือ g ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดแล้ว จะในภาษาไทยจะไม่ใช้ตัว ค แต่จะใช้ตัว ก เสมอ

ตัว ค จะใช้แทน -ch หรือ -que เมื่อเป็นตัวสะกด เช่น technique = เทนิ เป็นต้น
บันทึกการเข้า
อินทาเนีย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 25 ต.ค. 00, 00:00

คำทับศัพท์ทั้งหมดที่เขียนไว้ข้างต้นนั้นได้รับการตรวจทานแล้ว ขอรับรองว่าสะกดตรงตามราชบัณฑิตยสถาน
บันทึกการเข้า
ทิด
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 27 ต.ค. 00, 22:54

ขอบคุณครับสำหรับความรู้ ผมเองเขียนถูกบ้างผิดบ้างไปตามเรื่องตามราว
ลำบากนักบางครั้งเขียนภาษาอังกฤษมันเสียเลย คงต้องลองปรับแก้ดู

หึหึ  ท่าทางจะสนุกกับของเล่นใหม่นะครับ คุณเทคนิคคัลเลอร์อินทาเนีย  ^___^
บันทึกการเข้า
พึ่งอ่าน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 31 ส.ค. 01, 00:50

เนื่องจากเป็นกระทู้เก่ามาก เห็นโพสไว้หลายที่เลยตามมาขอความเห็นอีกครั้ง
เปิดดูหลักเกณฑ์การทับศัพท์ใน WEBSITE ของราชบัณฑิตยสถาน ดูการใช้ไม้ไต่คู้มีหลักการอยู่สองข้อคือ
การใช้ไม้ไต่คู้ ควรใช้ในกรณีต่อไปนี้
  ๔.๑ เพื่อให้เห็นแตกต่างจากคำไทย เช่น  
    log   =   ล็อก  
  ๔.๒ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านแยกพยางค์ได้ถูกต้อง เช่น
    Okhotsk   =   โอค็อตสก์
ไม่เห็นบอกว่าถ้าเป็นคำเสียงสั้นต้องใส่ไม่ไต่คู้ด้วย ตัวอย่างหลายคำที่เป็นเสียงสั้นในหนังสือเช่น thermoseting plastic   =   พลาสติกชนิดเทอร์โมเซตติง ก็ไม่เห็นใส่ไม่ไต่คู้ที่ เซ็ต หรือ Necktie = เนกไท ก็ไม่เห็นใช้ เน็กไท หรือ Capsule = แคปซูล แล้วทำไมจึงบัญญัติ WEBSITE = เว็บไซต์ ใครหลงมาช่วยตอบด้วย หรือราชบัณฑิตก็มั่วเป็น
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.035 วินาที กับ 17 คำสั่ง