เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 16556 ประตูท่าพระ - ประตูท่าช้าง
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



 เมื่อ 26 ต.ค. 10, 10:51

พระศรีศากยมุนี เป็นพระประธานในพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยเนื้อโลหะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดองค์หนึ่ง มีขนาดหน้าตักกว้าง 3 วา 1 คืบ ซึ่งเดิมประดิษฐานอยู่ ณ พระวิหารหลวง วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย เมื่อครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมา เพื่อจะประดิษฐานยังวัดที่สร้างขึ้นกลางพระนคร ใกล้เสาชิงช้า ดังในพระราชพงศาวดารกล่าวถึงการอัญเชิญพระศรีศากยมุนีมายังกรุงเทพมหานคร ในครั้งนั้นว่า

"ลุ จุลศักราช 1170 ปีมะโรง สำริดศก (พ.ศ.2351) เป็นปีที่ 27 ในรัชกาลที่ 1 ณ วันพฤหัสบดี เดือน 6 ขึ้น 11 ค่ำ เชิญพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ซึ่งเป็นพระประธานในพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ ลงมาจากเมืองสุโขทัย หน้าตัก 3 วาคืบ สมโภชที่หน้าตำหนักแพ 3 วัน ครั้น ณ เดือน 6 ขึ้น 14 ค่ำ เชิญชักพระขึ้นจากแพทางประตูท่าช้าง ไปทำร่มไว้ข้างถนนเสาชิงช้า ประตูนั้นเรียกว่า ประตูท่าพระ มาจนทุกวันนี้ เหตุว่าต้องรื้อประตู จึงเชิญเข้าไปได้ พระพุทธรูปองค์นี้ภายหลังได้ถวายพระนามว่า พระศรีศากยมุนี"
 
หลังสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก การสร้างวัดสุทัศนเทพวรารามยังไม่แล้วเสร็จ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ดำเนินการต่อ ดังในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า

"ในปีมะเมียจัตวาศกนั้น ทรงพระราชดำริว่า พระโต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้เชิญลงมาจากวัดมหาธาตุเมืองสุโขทัย และได้สร้างวัดประดิษฐานไว้กลางพระนคร ที่ใกล้เสาชิงช้า โดยพระราชดำริจะสร้างวิหารใหญ่ขนาดวิหารวัดพนัญเชิง ที่กรุงเก่า พระวิหารนั้นยังค้างอยู่ จึงโปรดให้สร้างพระวิหารนั้นต่อมา จนยกเครื่องบนเสร็จ ค้างอยู่แต่ยังไม่ได้ยกช่อฟ้าใบระกา อนึ่งบานประตูพระวิหารนั้นโปรดให้สลักลายขุดด้วยไม้แผ่นเดียว รมหมื่นจิตรภักดี เป็นนายงาน เมื่อคิดอย่างสำเร็จแล้ว ให้ยกเข้ามาในท้องพระโรงทรงสลักด้วยฝีพระหัตถ์ก่อน แล้วจึงให้ช่างทำต่อไป"

แสดงว่าสมัยรัชกาลที่ ๑ นอกจากจะมีกำแพงรอบพระบรมมหาราชวังอย่างปัจจุบันแล้ว อาจจะมีกำแพงเมืองรายไปตามริมฝั่งเจ้าพระยาด้วย แต่จะไปบรรจบกับกำแพงของพระราชวังบวรฯ หรือไม่ ?






บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 26 ต.ค. 10, 11:24

การอัญเชิญพระศรีศากยมุนีจากประตูท่าช้างไปยังเสาชิงช้า คงจะใช้เส้นทางถนนหน้าพระลาน ไปข้ามสะพานช้างโรงสี แล้วตามถนนเสาชิงช้า



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 26 ต.ค. 10, 21:56

ถูกต้องแล้วครับลุงไก่ บริเวณรอบเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยก่อน มีการสร้างกำแพงพระนครล้อมไว้ และมีประตูเมืองและช่องกุด ให้ประชาชนเดินเข้าออก ประตูท่าช้างหรือประตูท่าพระ เป็นชื่อเรียกสถานที่เดียวกันแต่ต่างกรรมต่างวาระ
ประตูนี้เป็นประตูเพื่อใช้สำหรับนำช้างจากโรงช้างในพระบรมมหาราชวังลงไปอาบน้ำ จึงเรียกว่า ท่าช้าง และท่าพระก็เป็นอีกนามหนึ่ง ซึ่งต้องรื้อประตูออก เนื่องจากพระมีความใหญ่ และสุงกว่าประตูพระนคร จึงต้องรื้อประตูนี้ทิ้ง และเมื่อรื้อทิ้งแล้วก็ไม่ได้มีการสร้างประตูกลับที่เดิม คงเหลือแต่ชื่อเรียกปรากฎไว้

แนวกำแพงพระนครและประตูท่าพระ ตามจุดไข่ปลา


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 26 ต.ค. 10, 21:57

แนวแผนที่กำแพงพระนคร สมัย ร.๕ ยังมีแนวกำแพงอยู่ แต่ไม่มีประตูท่าพระ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 26 ต.ค. 10, 21:58

ให้ลุงไก่ดูแนวกำแพง หน้าวัดโพธิ์ และประตู "นกยุง" ครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 26 ต.ค. 10, 22:02

สำหรับภาพในความคิดเห็นที่ ๑ เป็นประตูสุนทรทิสา สร้างในรัชกาลที่ ๒-๓ เป็นทรงฝรั่ง
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 27 ต.ค. 10, 18:47

คุณ siamese ครับ ผมเข้าใจมาตลอดว่ากำแพงชั้นนอก จะมีเฉพาะในแนวคลองรอบเมืองที่ขุดขึ้นใหม่ แต่จะไม่มีกำแพงทางด้านแม่น้ำเจ้าพระยา อ่านเรื่องประตูท่าพระ ท่าช้างมานานก็ไม่เคยคิดสงสัยกับเรื่องนี้
วันนี้เพิ่งไปได้ภาพมาจากเวปท่องเที่ยวแห่งหนึ่ง แต่เป็นข้อมูลระดับตติยภูมิแล้ว ก็ขอนำมาประกอบพอกล้อมแกล้มไปก่อนนะครับ
ไปค้นเรื่องชื่อของป้อมต่างๆ มาได้ครบ ดังนี้
๑. ป้อมพระสุเมรุ อยู่มุมกำแพงด้านตวันตกข้างเหนือ ใต้ปากคลองบางลำพูบน
๒. ป้อมยุคนธร อยู่บนกำแพงด้านเหนือ เหนือวัดบวรนิเวศวิหาร
๓. ป้อมมหาปราบ อยู่บนกำแพงด้านเหนือ
๔. ป้อมมหากาฬ อยู่บนกำแพงด้านตวันออก ใต้ประตูพฤฒิบาศ เยื้องคลองมหานาค
๕. ป้อมหมูทลวง อยู่ด้านตะวันออก ตรงน่าสถานมหันตโทษ (คุกใหม่)
๖. ป้อมเสือทยาน อยู่ด้านตวันอก เหนือประตูสามยอด
๗. ป้อมมหาไชย อยู่ด้านตวันออก น่าวังบุรพาภิรมย์
๘. ป้อมจักรเพ็ชร์ อยู่ด้านใต้ เหนือปากคลองโอ่งอ่าง หรือคลองคูพระนคร
๙. ป้อมผีเสื้อ อยู่ด้านใต้ ใต้ปากคลองตลาด
๑๐. ป้อมมหาฤกษ์ อยู่ด้าใต้ตรงหลังโรงเรียนสุนันทาไลย
๑๑. ป้อมมหายักษ์ อยู่ด้านตวันตก ตรงวัดพระเชตุพน
๑๒. ป้อมพระจันทร์ อยู่ด้านตวันตกริมท่าพระจันทร์ มุมวัดมหาธาตุข้างเหนือ
๑๓. ป้อมพระอาทิตย์ อยู่ด้านตวันตก มุมพระราชวังบวรข้างเหนือ
๑๔. ป้อมอิสินธร อยู่ด้านตวันตก ใต้วังพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์




บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 29 ต.ค. 10, 08:51

ถูกต้องแล้วครับลุงไก่ บริเวณรอบเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยก่อน มีการสร้างกำแพงพระนครล้อมไว้ และมีประตูเมืองและช่องกุด ให้ประชาชนเดินเข้าออก ประตูท่าช้างหรือประตูท่าพระ เป็นชื่อเรียกสถานที่เดียวกันแต่ต่างกรรมต่างวาระ
ประตูนี้เป็นประตูเพื่อใช้สำหรับนำช้างจากโรงช้างในพระบรมมหาราชวังลงไปอาบน้ำ จึงเรียกว่า ท่าช้าง และท่าพระก็เป็นอีกนามหนึ่ง ซึ่งต้องรื้อประตูออก เนื่องจากพระมีความใหญ่ และสุงกว่าประตูพระนคร จึงต้องรื้อประตูนี้ทิ้ง และเมื่อรื้อทิ้งแล้วก็ไม่ได้มีการสร้างประตูกลับที่เดิม คงเหลือแต่ชื่อเรียกปรากฎไว้

แนวกำแพงพระนครและประตูท่าพระ ตามจุดไข่ปลา

ในจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี และ พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ข้อ ๒๑๗. ณ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ยกทรงเลื่อนชักตามทางสถลมาร พระโองการตรัสให้แต่งเครื่องนมัสการพระ ทุกหน้าวังหน้าบ้านร้านตลาดตลอดจนถึงที่
พระราชวิจาณ์ - การชักเลื่อนพระตามทางบกนั้น แพพระพุทธรูปได้มาเทียบที่ท่าช้าง แต่ที่ท่าช้างประตูเมืองไม่ตรงตามถนน ถึงแม้ว่าจะตรงถนนพระก็ใหญ่กว่าประตูเข้าไม่ได้ จึงตองรื้อกำแพง เมื่อแห่พระมาถึงแล้วจึงก่อกำแพงขึ้นใหม่ ด้วยเหตุนี้ในราชการจึงเรียกเป็นท่าพระมาจนทุกวันนี้.

อีกเรื่องหนึ่งคือกำแพงริมแม่น้ำเจ้าพระยานี้รื้อลงเมือใด?
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 29 ต.ค. 10, 09:36

กำแพงพระนครและประตูเมืองที่ล้อมรอบกรุงรัตนโกสินทร์ ถูกรื้อลงในช่วงเวลาต่างๆกัน ไม่ใด้รื้อพร้อมกันเสียทีเดียว การรื้อลงเนื่องจากมีการตัดถนนอย่างใหม่ สมัยกลางรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประตูเมืองซึ่งสร้างในรัชกาลที่ ๑ และซ่อมเสริมในรัชกาลที่ ๓ ปูนเริ่มหมดอายุและเริ่มทะลายลง ทับคนตาย ทำให้ประตูเมืองถูกทุบทิ้งก่อนเพื่อป้องกันอันตราย  ส่วนกำแพงพระนครค่อยๆรื้อลงเพื่อขยายผิวถนน
ดังภาพนี้เป็นภาพกำแพงเมืองตั้งแต่ท่าเตียนลงไปถึงบริเวณโรงเรียนราชินี ครับ


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 29 ต.ค. 10, 13:29

กำแพงพระนครและประตูเมืองที่ล้อมรอบกรุงรัตนโกสินทร์ ถูกรื้อลงในช่วงเวลาต่างๆกัน ไม่ใด้รื้อพร้อมกันเสียทีเดียว การรื้อลงเนื่องจากมีการตัดถนนอย่างใหม่ สมัยกลางรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประตูเมืองซึ่งสร้างในรัชกาลที่ ๑ และซ่อมเสริมในรัชกาลที่ ๓ ปูนเริ่มหมดอายุและเริ่มทะลายลง ทับคนตาย ทำให้ประตูเมืองถูกทุบทิ้งก่อนเพื่อป้องกันอันตราย  ส่วนกำแพงพระนครค่อยๆรื้อลงเพื่อขยายผิวถนน
ดังภาพนี้เป็นภาพกำแพงเมืองตั้งแต่ท่าเตียนลงไปถึงบริเวณโรงเรียนราชินี ครับ

มุมล่างซ้ายของภาพน่าจะเป็นรางรถรางนะครับ

ผมนำภาพนี้มาฝากครับ คงจะถ่ายจากพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม รบกวนอธบายกลุ่มอาคารสองชั้นทางขวามือของภาพว่าที่ไหนด้วยครับ



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 30 ต.ค. 10, 21:59

อาคารสองชั้นสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ เพื่อใช้เป็นออฟฟิศศาลต่างประเทศ ครับ


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 30 ต.ค. 10, 22:06

อาคารชั้นเดียวด้านซ้ายมือของออฟฟิตศาลต่างประเทศ น่าจะเป็นอาคารหลังนี้นะครับ

ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๒๖ เรื่องตำนานวังเก่า ความตอนหนึ่งกล่าวว่า " ... ครั้นถึงรัชกาลที่ ๓ วังเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ว่าง ทำนองจะเปนวังมีตำหนักรักษาบริบูรณ์กว่า จึงโปรดฯ ให้ย้ายไปประทับที่วังท่าเตียน เอาที่วังก่อนทำคลังสินค้าและโรงวิเสท บางที่เรื่องจะเปนเช่นว่านี้ กรมหมืนสุรินทรรักษ์ประทับอยู่ที่วังท่าเตียนจนสิ้นพระชนม์ เจ้าจอมมารดาตานีของกรมหมื่นสุรินทรรักษ์อยู่ต่อมจนอสัญกรรม และหม่อมเจ้าในกรมหมื่สุรินทรรักษ์อยู่ต่อมา จนถึงรัชกาลที่ ๔ จึงสร้างศาลต่างประเทศกับตึกหลวงที่วังตรงนั้น ..."

เรื่องกำแพงพระนครด้านแม่น้ำเจ้าพระยา เท่าที่ผมพยายามค้นหาข้อมูลและสังเกตจากภาพ แทบไม่มีกล่าวถึงเรื่องนี้เลย ทำให้ผมสันนิษฐานว่ากำแพงพระนครเลียบแม่น้ำน่าจะเข้าบรรจบกับกำแพงของพระบรมมหาราชวังที่มุมของกำแพงมากกว่าทั้งที่บริเวณหัวถนนท้ายวังและหัวถนนหนาพระลานครับ

ส่วนภาพที่คุณ siamese นำมาแสดง ที่ประตูกำแพง เหนือปากประตูอ่านได้ว่า "สำนัก..." ผมเดาต่อไม่ได้ว่าจะเป็นสำนักอะไร





บันทึกการเข้า
Lonelybankz
มัจฉานุ
**
ตอบ: 62


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 31 ต.ค. 10, 03:37

ตอบคุณลุงไก่ ภาพนั้นคือ สำนักงานจัดการผลประโยชน์ของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ครับ ปัจุบันกำแพงเมืองส่วนนี้ไม่มีแล้ว มีการทุบออก และ สร้างเป็นกำแพงชั้นนอกของบ้านจักรพงษ์ ท่าเตียนไปแล้ว
บันทึกการเข้า
Lonelybankz
มัจฉานุ
**
ตอบ: 62


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 31 ต.ค. 10, 03:41

กลุ่มอาคารออฟฟิศ สษลต่างประเทศนั้น ต่อมามีการสร้างโรงละครปริ๊นซ์เธียเตอร์ ของเจ้าพระยามหินทร์ธำรงศักดิ์ ( เพ็ง เพ็ญกุล ) ขึ้นในบริเวณนั้น อาคารที่คุณลุงได่นำมาแสดง ผมคิืดว่าไม่น่าจะใช่อาคารด้านซ้ายมือของ ออฟฟิศต่างประเทศครับ น่าจะเป็นอาคารเก่าแถวๆตลาดท่าเตียน หรือ ท่าโรงโม่มากกว่า
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 31 ต.ค. 10, 08:17

กลุ่มอาคารออฟฟิศ สษลต่างประเทศนั้น ต่อมามีการสร้างโรงละครปริ๊นซ์เธียเตอร์ ของเจ้าพระยามหินทร์ธำรงศักดิ์ ( เพ็ง เพ็ญกุล ) ขึ้นในบริเวณนั้น อาคารที่คุณลุงได่นำมาแสดง ผมคิืดว่าไม่น่าจะใช่อาคารด้านซ้ายมือของ ออฟฟิศต่างประเทศครับ น่าจะเป็นอาคารเก่าแถวๆตลาดท่าเตียน หรือ ท่าโรงโม่มากกว่า

อาคารที่กล่าวถึงนั้น ผมสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นอาคารดังศรชี้ในภาพ ภาพนี้ผมได้จาก http://www.oursiam.in.th ยังไม่ได้เห็นของจริงครับ คราวหน้าถ้าผ่านไปทาเตียน คงต้องย่งเข้าไปดูด้วยตาตนเองให้ได้

สำหรับโรงละครปริ๊นซ์เธียเตอร์นั้น ผมไม่เคยทราบว่ามีอยู่ ทราบแต่ว่าครั้งหนึ่งเคยมีโรงภาพยนต์ปริ๊นซ์เธียเตอร์ จะอยู่ที่ไหนก็ชักจะเลือนๆ แต่จำได้ว่าผมเคยเข้าไปดูหนังที่โรงนี้ครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 20 คำสั่ง