ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 31 ต.ค. 10, 09:20
|
|
จากพระนิพนธ์เรื่องตำหนักแพ ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตอนหนึ่งทรงอธิบายเรื่องของท่าเตียนไว้ว่า
"... ที่ท่าหน้าศาลต่างประเทศนั้นเรียกกันว่าท่าเตียน ไม่เห็นเตียนเลี่ยนสักหน่อย มีแต่ฝุ่นฝอยและตึกโรงรุงรัง เหตุไฉนจึงเรียกว่าท่าเตียน เพราะมีเหตุขึ้นคราวหนึ่งจึงเรียกว่าท่าเตียน ที่ท่านั้นแต่เดิมในแผ่นดินกรุงธนบุรี เจ้าตากสั่งให้ปลูกโรงใหญ่ๆ ๘ หลังริมน้ำไว้เรือรบศีรษะมีดโกนต่อท่าวัดโพธิ์ขึ้นไปจดท้ายประตูแดง ที่ใกล้ๆ ริมๆ โรงเรือ ๘ หลังนั้นเจ้าตากห้ามไม่ให้ใครปลูกเหย้าเรือนอยู่ใกล้โรงเรือเพราะกลัวจะเป็นเชื้อไฟ ที่นั้นจึงเป็นที่กว้างยาว
ครั้นถึงรัชชกาลที่ ๑ กรุงเทพฯ มหานครนี้ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค) รื้อโรงเรือ ๘ หลังไปปลูกที่บางละมุดแขวงเมืองนนทบุรี แล้วถอยเอาเรือรบทั้งสิ้นไปไว้ในโรงเรือบางละมุด ครั้นรื้อโรงเรือแล้ว จึงโปรดให้เจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค) ซึ่งเป็นตาพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าเสวตรฉัตรทำที่นั้นเป็นวังพระราชทานพระจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าเสวตรฉัตร กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ ๆ เสด็จอยู่ที่นั้นช้านานจนสิ้นพระชนม์ในรัชชกาลที่ ๓ เจ้าบุตรหลานของท่านก็อยู่ต่อมา
จนถึงรัชชกาลที่ ๔ มีเหตุใหญ่เกิดเพลิงไหม้ที่วังกรมหมื่นสุรินทรรักษ์หมดสิ้น เจ้าบุตรหลานก็แยกย้ายไปอยู่ที่อื่น ที่ตรงนั้นก็ว่างเปล่าเป็นที่หลวงอย่างเดิม เมื่อไฟไหม้นั้นเตียนโล่งตลอดตีนท่าหน้าวัดโพธิ์ เป็นท่าจอดเรือจ้างข้ามไปส่งวัดอรุณราชวราราม คนเป็นอันมากเห็นว่าที่นั้นเตียนจึ่งเรียกว่าท่าเตียนมาช้านาน
ครั้งหนึ่งได้สั่งให้พระยาเพ็ชรพิไชยเป็นแม่กองก่อตึกทำศาลชำระความชาวต่างประเทศประชุมชำระที่นั้น ศาลนั้นก็ได้สร้างที่ตรงท่าเตียน และที่ต่อใต้เหนือศาลนั้นก็ได้ก่อตึกเป็นที่อาศัยของคนเป็นราชการหลายหลัง จนที่ท่าเตียนนั้นก็เต็มไปด้วยตึกและโรงร้านตลาดไม่มีที่ท่าเตียนแล้ว คนเป็นอันมากที่ไม่ได้เห็นท่าเตียนก็ยังคงเรียกว่าท่าเตียนอยู่จนทุกวันนี้ ไม่มีใครเรียกว่าท่าศาลต่างประเทศเลย มีบัตรหมายใช้ราชการอยู่บ้างว่าเรือราชทูตต่างประเทศมาประทับที่ท่าหน้าศาลต่างประเทศจะขึ้นคานหามขึ้นรถแห่ไปทางสถลมารคเข้าในพระบรมมหาราชวัง ดังนี้มีอยู่บ้างเป็นครั้งเป็นคราว ไม่เรียกเป็นพื้นปากๆ ว่าท่าเตียนนั้นมากแทบจะทั่วพระนคร ..."
สมัยยังเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ท่านเล่าให้ฟังว่าที่ท่าเตียนนั้น เป็นเพราะว่ายักษ์วัดแจ้งข้ามมาตีกับยักษ์วัดโพธิ์ที่ตรงท่าเตียนนั้น จนบ้านเรือนราบไปหมด และยังจำโฆษณาหนังเรื่อง "พญาโศก" ของคุณเชิด ทรงศรี ตอนหนึ่งว่า "ยักษ์วัดแจ้งแต่งตัวโก๋ ชวนยักษ์วัดโพธิ์ไปดูพญาโศก พญาโศกดี๊ดี พญาโศกดี๊ดี ฉายวันนี้ที่เอ็มไพร์" แต่จะ "ล้านแล้วจ้า" อย่างหนังของ "ดอกดิน กลยามาลย์" หรือไม่ จำไม่ได้แล้วครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
luanglek
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 01 พ.ย. 10, 08:31
|
|
ขอทักท้วง
ตำหนักแพ เป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ครับ ไม่ใช่พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำนวนของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ กับสำนวนของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ แตกต่างกันมาก ผู้ที่เคยอ่านมามมากย่อมทราบดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 01 พ.ย. 10, 11:09
|
|
ขอทักท้วง
ตำหนักแพ เป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ครับ ไม่ใช่พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำนวนของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ กับสำนวนของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ แตกต่างกันมาก ผู้ที่เคยอ่านมามมากย่อมทราบดี
ขออภัยกับความผิดพลาดของผมเอง และขอขอบคุณ คุณหลวงเล็กด้วยครับครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pierre
มัจฉานุ
 
ตอบ: 79
จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 22 ก.พ. 11, 08:57
|
|
"...ครั้งหนึ่งได้สั่งให้พระยาเพ็ชรพิไชยเป็นแม่กองก่อตึกทำศาลชำระความชาวต่างประเทศประชุมชำระที่นั้น ศาลนั้นก็ได้สร้างที่ตรงท่าเตียน และที่ต่อใต้เหนือศาลนั้นก็ได้ก่อตึกเป็นที่อาศัยของคนเป็นราชการหลายหลัง..." ศาลชำระความชาวต่างประเทศที่ว่านี้ ในปัจจุบันอยู่ที่ไหนคะ ยังอยู่ที่เดิมคือแถวท่าเตียนรึเปล่า??
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 22 ก.พ. 11, 09:15
|
|
"...ครั้งหนึ่งได้สั่งให้พระยาเพ็ชรพิไชยเป็นแม่กองก่อตึกทำศาลชำระความชาวต่างประเทศประชุมชำระที่นั้น ศาลนั้นก็ได้สร้างที่ตรงท่าเตียน และที่ต่อใต้เหนือศาลนั้นก็ได้ก่อตึกเป็นที่อาศัยของคนเป็นราชการหลายหลัง..." ศาลชำระความชาวต่างประเทศที่ว่านี้ ในปัจจุบันอยู่ที่ไหนคะ ยังอยู่ที่เดิมคือแถวท่าเตียนรึเปล่า?? ในเรื่องวังกรมหมื่นสุรินทรรักษ์นี้มีข้อสงสัยอยู่ ด้วยเสด็จออกจากวังแต่ในรัชกาลที่ ๒ จะประทับอยู่ที่ไหนก่อนเสด็จมาประทับวังท่าเตียนสืบหาได้ความไม่ สันนิษฐานว่าบางทีจะได้พระราชทานที่วังคลังสินค้า เสด็จประทับต่อเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีก็เปนได้ แต่ที่วังนั้นไฟไหม้ตำหนักเก่าเสียหมด เห็นจะสร้างแต่เปนตำหนักประทับชั่วคราว ครั้นถึงรัชกาลที่ ๓ วังเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ว่าง ทำนองจะเปนวังมีตำหนักรักษาบริบูรณ์กว่า จึงโปรด ฯ ให้ย้ายไปประทับที่วังท่าเตียนเอาที่วังก่อนทำคลังสินค้าและโรงวิเสท บางทีเรื่องจะเปนเช่นว่านี้ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ประทับอยู่ที่วังท่าเตียนจนสิ้นพระชนม์ เจ้าจอมมารดาตานีของกรมหมื่นสุรินทรรักษ์อยู่ต่อมาจนอสัญกรรม และหม่อมเจ้าในกรมหมื่นสุรินทรรักษ์อยู่ต่อมา จนถึงรัชกาลที่ ๔ จึงสร้างศาลต่างประเทศกับตึกหลวงที่ตรงวังนั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 22 ก.พ. 11, 09:22
|
|
ถ้าเทียบกับตำแหน่งปัจจุบัน ก็ตรงตลาดท่าเตียน โดยจัดทิศมุมตึกตรงกับศาลาราย ๒ หลัง ตรงประตูยอดวัดพระเชตุพนฯกับแผนที่ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 22 ก.ค. 12, 09:35
|
|
ปัญหาเรื่องหนึ่งที่คาใจอยู่แต่สมัยที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา คือ การอัญเชิญพระศรีศากยมุนีจากประตูังท่าพระไปยังพระวิหารวัดสุทัศนเทพวรารามนั้นใช้เส้นทางใด เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีการตัดถนนภายในพื้นที่กำแพงพระนคร เส้นทางที่จะใช้อัญเชิญ น่าจะเป็นจากประตูวังท่าพระ เลียบกำแพงพระบรมมหาราชวัง แล้วเลี้ยวขวาที่มุมกำแพง เลี้ยวซ้ายเข้าแนวถนนบำรุงเมือง ข้ามสะพานช้างโรงสี มุ่งตรงไปยังวัดสุทัศน์ฯ
ดังนั้นจึงน่าจะมีแนวถนนนี้ก่อนแล้วเพื่อการสัญจรจากพระนครไปยังวัดสุทัศน์และเทวสถาน และคงจะทำการกรุยทางก่อสร้างเป็นถนนและสร้างสะพานช้างเพื่อการอัญเชิญพระศรีศากยมุนีนี้เอง ในภายหลังเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๔ จึงทรงพระราชดำริก่อสร้างขึ้นเป็นถนนบำรุงเมือง
และแนวถนนเดิมนี้ได้ตัดตรงไปยังกำแพงพระนครที่ตรงที่เรียกว่าประตูผี คงจะเป็นประตูช่องกุดแต่เดิม เพราะมีหลักฐานว่าได้มีการก่อสร้างสะพานช้างข้ามคลองข้างวัดสุทัศน์ตามแนวถนนบำรุงเมืองถัดจากเสาชิงช้ามา ปัจจุบันคือสี่แยกถนนบำรุงเมืองตัดถนนอุณากรรณ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 25 ก.ค. 12, 12:30
|
|
ปัญหาเรื่องหนึ่งที่คาใจอยู่แต่สมัยที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา คือ การอัญเชิญพระศรีศากยมุนีจากประตูังท่าพระไปยังพระวิหารวัดสุทัศนเทพวรารามนั้นใช้เส้นทางใด เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีการตัดถนนภายในพื้นที่กำแพงพระนคร เส้นทางที่จะใช้อัญเชิญ น่าจะเป็นจากประตูวังท่าพระ เลียบกำแพงพระบรมมหาราชวัง แล้วเลี้ยวขวาที่มุมกำแพง เลี้ยวซ้ายเข้าแนวถนนบำรุงเมือง ข้ามสะพานช้างโรงสี มุ่งตรงไปยังวัดสุทัศน์ฯ
ดังนั้นจึงน่าจะมีแนวถนนนี้ก่อนแล้วเพื่อการสัญจรจากพระนครไปยังวัดสุทัศน์และเทวสถาน และคงจะทำการกรุยทางก่อสร้างเป็นถนนและสร้างสะพานช้างเพื่อการอัญเชิญพระศรีศากยมุนีนี้เอง ในภายหลังเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๔ จึงทรงพระราชดำริก่อสร้างขึ้นเป็นถนนบำรุงเมือง
และแนวถนนเดิมนี้ได้ตัดตรงไปยังกำแพงพระนครที่ตรงที่เรียกว่าประตูผี คงจะเป็นประตูช่องกุดแต่เดิม เพราะมีหลักฐานว่าได้มีการก่อสร้างสะพานช้างข้ามคลองข้างวัดสุทัศน์ตามแนวถนนบำรุงเมืองถัดจากเสาชิงช้ามา ปัจจุบันคือสี่แยกถนนบำรุงเมืองตัดถนนอุณากรรณ
แนวเส้นทางที่ตรงที่สุด ที่องค์พระขึ้นท่าพระแล้ววกเข้าถนนบำรุงเมือง นำองค์พระรอประดิษฐานไว้ที่ลานคนเมืองในปัจจุบันนี้ ถนนกรุยทางถมอิฐตะแคงรับน้ำหนักพอได้ หรือไม่ก็ใช้ไม้กระดานวางพาด เอาตะเฆ่ขึ้นวางลากบนแผ่นไม้ก็น่าจะได้ ข้อมูลเพิ่มเติมว่าเดิมนั้นพีื้นที่ของวัดสุทัศน์เป็นพื้นที่หนองน้ำ เป็นบึงบอนใหญ่มาก่อน ต้องมีการถมดินปริมาณมากดังนั้นการถามดินจำนวนมากย่อมต้องมีการสร้างถนนเพื่อบรรทุกดินถมเข้ายังพื้นที่ด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 25 ก.ค. 12, 15:26
|
|
1. ดินที่นำมาถม ขุดมาจากพื้นที่ใด 2. จะมีส่วนสัมพันธ์กับคลองข้างวัดสุทัศน์หรือไม่ 3. และจะมาสัมพันธ์กับ "คลองสะพานถ่าน" หรือไม่ 4.จากข้อ 3 ซึ่งจะมาสัมพันธ์กับอิฐตะแคงที่มาทำถนน คือก้อนอิฐดินเผาหรือที่เราเรียกว่าอิฐมอญ ต้องใช้ถ่านในการเผา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 25 ก.ค. 12, 15:52
|
|
3. และจะมาสัมพันธ์กับ "คลองสะพานถ่าน" หรือไม่
เรื่องคลองสะพานถ่านมีที่มาเกิดจากมียายท่านหนึ่งขายถ่านไม้ริมคลองดังกล่าว จึงเรียกกันตอ่มาว่า สะพานถ่าน (ตาม ก.ศ.ร.) 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 25 ก.ค. 12, 16:50
|
|
เรื่องสะพานถ่านนี้ เท่าที่ผมอ่านพบ คลองหลอดวัดราชบพิธนี้ เดิมมีชื่อว่า "คลองสะพานถ่าน" และสะพานถ่านไม่ได้มีสะพานเดียว แต่มี ๒ สะพาน คือ สะพานถ่านปากคลองหลอดข้างวัดราชบพิธบนถนนอัษฎางค์ ตรงที่ กทม มาสร้างสะพานหกปัจจุบันและสะพานถ่านที่สะพานถนนอุณากรรณหัวมุมตลาดบำเพ็ญบุญ
ที่มาของชื่อนี้คงจะมากกว่าที่คุณยายแกมาเปิดร้านขายถ่านเป็นแน่ คุณหนุ่มอาจจะต้องสืบสาวราวเรื่องไปถึงที่มาของถนน "ตีทอง" ด้วย
และอาจจะต้องสืบย้อนลงไปจนถึงการสร้างถนนเจริญกรุง บำรุงเมือง เฟื่องนคร ในเรื่องของโครงสร้างของถนนและอาคารตึกทั้งหลายที่เลียนแบบโครงสร้างแบบยุโรปมาจากสิงคโปร์ จำเป็นจะต้องใช้อิฐดินเผาจำนวนมากมาย เพียงแต่ว่าไม่มีบันทึกเรื่องราวเหล่านี้ไว้ในประวัติศาสตร์ให้คิดไปถึงเตาเผาอิฐในพื้นที่แถบนี้
เรื่องนี้ผมคงต้องรบกวนคุณหนุ่มในการค้นคว้าครับ ข้อมูลของผมมีไม่พอ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 26 ก.ค. 12, 22:04
|
|
อ้างถึง - ข้อมูลจาเวปของฝ่ายบริหารงานอนุรักษ์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ตึกแถวริมถนนสระสรง - ลงท่า
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำริร่วมกับสมเด็จพระวันรัต (แดง) ที่จะพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมบริเวณหลังวัดสุทัศน์เทพวราราม พระราชดำริในเบื้องต้นคือทำถนน 2 สาย ใหญ่เลียบสระน้ำเดิม เพื่อเชื่อมถนนตีทอง กับอุณากรรณ และทำเขื่อนริมน้ำให้สวยงาม และขุดคลองเพื่อเป็นทางเดิน และระหว่างถนนทั้งสองด้าน โดยจะปลูกเป็นตึกแถวของพระคลังข้างที่ ระหว่างตึกแถวจะคงรักษาสระน้ำ และศาลาจัตุรมุขไว้ตามเดิม แต่จะก่อกำแพงกั้นไว้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ถนนด้านที่ติดกับวัดจึงได้ชื่อว่าสระสรง ซึ่งอาจสันนิษฐานได้ว่าน่าจะมาจากบริเวณแนวที่สร้างตึกแถวมีสระน้ำใหญ่ของวัด 2 สระและศาลาจัตุรมุขตรงกลาง ซึ่งสระใหญ่ 2 สระนี้คงเป็นที่สำหรับพระภิกษุ สามเณร ใช้สรงน้ำ (อาบน้ำ) แนวตึกแถวดังกล่าวจึงได้ชื่อว่าตึกแถวถนนสระสรง ส่วนตึกแถวถนนลงท่า สันนิษฐานได้ว่า ตึกแถวบริเวณนี้ติดกับคลองวัดราชบพิตร หรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า 'คลองสะพานถ่าน' ลำคลองนี้เป็นแหล่งขนส่งสินค้า โดยเฉพาะเรือขนถ่าน เข้ามาขายในพระนคร ในบริเวณนี้จึงน่าจะมีท่าน้ำสำหรับขนถ่ายสินค้า ตลอดจนผู้อยู่อาศัยบริเวณนี้คงจะใช้ท่าน้ำแห่งนี้ในชีวิตประจำวัน จึงเป็นที่มาของชื่อตึกแถวถนนลงท่า
และอ้างถึง -คำบรรยายนำชมวัดสุทัศน์แก่คณะครูอาจารย์ พ.ศ. ๒๕๐๕ จากหนังสือ วัดของเรา โดย สมบัติ จำปาเงิน พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ "... ถัดไปเป็นกุฏิก่ออิฐถือปูนเป็นตึกโบราณสองชั้นแบ่งเป็นหมู่ได้ ๑๕ หมู่ นอกจากนี้มีสระสรงอยู่ท้ายวัดทางด้านใต้ เป็นที่น่าเสียใจว่าปัจจุบันนี้ไม่มีแล้ว เพราะถูกถมเสียเมื่อไม่นานมานี้ ..."
ในภาพถ่ายทางอากาศของ William Hunt เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ก็ไม่ปรากฎว่ามีสระน้ำภายในด้านทิศใต้ของวัดสุทัศน์ 1 - ถนนสระสรง 2 - ถนนลงท่า 3 - ถนนหน้าวัง 4 - บริเณที่สันนิษฐานว่าเป็นสระสรง
ผมสันนิษฐานเอาเองว่าบริเวณที่เคยเป็นสระน่าจะถูกถมเสียเพื่อก่อสร้างกุฏิในเขตสังฆาสเพิ่มเติม แต่จะเป็นในปีใดคงต้องค้นหาหลักฐานกันต่อไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 27 ก.ค. 12, 07:27
|
|
^ ส่วนขยายบริเวณท้ายวัดสุทัศน์ แสดงลักษณะท่าลงสรง คงจะช่วยให้ลุงไก่เห็นลักษณะโครงสร้างและคลองสะพานถ่านได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
POJA
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 27 ก.ค. 12, 12:16
|
|
ถนนตีทอง เป็นย่านที่อยู่ของชุมชนที่ทำทองคำเปลว บริเวณถนนตีทองนี้ มีซอยชื่อ ซอยสุขา ตั้งอยู่ด้วย เขาว่าแต่ก่อนนี้เป็นที่ตั้งของห้องสุขาสาธารณะ คนแถบนี้ต้องมาใช้บริการที่นี่ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 27 ก.ค. 12, 19:28
|
|
อ้างถึงคำบรรยายลุงไก่
"ตึกแถวริมถนนสระสรง - ลงท่า
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำริร่วมกับสมเด็จพระวันรัต (แดง) ที่จะพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมบริเวณหลังวัดสุทัศน์เทพวราราม พระราชดำริในเบื้องต้นคือทำถนน 2 สาย ใหญ่เลียบสระน้ำเดิม เพื่อเชื่อมถนนตีทอง กับอุณากรรณ และทำเขื่อนริมน้ำให้สวยงาม และขุดคลองเพื่อเป็นทางเดิน และระหว่างถนนทั้งสองด้าน โดยจะปลูกเป็นตึกแถวของพระคลังข้างที่ ระหว่างตึกแถวจะคงรักษาสระน้ำ และศาลาจัตุรมุขไว้ตามเดิม แต่จะก่อกำแพงกั้นไว้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ถนนด้านที่ติดกับวัดจึงได้ชื่อว่าสระสรง ซึ่งอาจสันนิษฐานได้ว่าน่าจะมาจากบริเวณแนวที่สร้างตึกแถวมีสระน้ำใหญ่ของวัด 2 สระและศาลาจัตุรมุขตรงกลาง ซึ่งสระใหญ่ 2 สระนี้คงเป็นที่สำหรับพระภิกษุ สามเณร ใช้สรงน้ำ (อาบน้ำ) แนวตึกแถวดังกล่าวจึงได้ชื่อว่าตึกแถวถนนสระสรง ส่วนตึกแถวถนนลงท่า สันนิษฐานได้ว่า ตึกแถวบริเวณนี้ติดกับคลองวัดราชบพิตร หรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า 'คลองสะพานถ่าน' ลำคลองนี้เป็นแหล่งขนส่งสินค้า โดยเฉพาะเรือขนถ่าน เข้ามาขายในพระนคร ในบริเวณนี้จึงน่าจะมีท่าน้ำสำหรับขนถ่ายสินค้า ตลอดจนผู้อยู่อาศัยบริเวณนี้คงจะใช้ท่าน้ำแห่งนี้ในชีวิตประจำวัน จึงเป็นที่มาของชื่อตึกแถวถนนลงท่า"
แนบแผนที่ประกอบ พศ. ๒๔๕๐ เป็นแผนที่ที่ดีมาก ๆ ลุงไก่จะได้เห็นลักษณะตามที่บรรยายมาทั้งหมด
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|