NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 24 ต.ค. 10, 10:25
|
|
ผมแคลงใจว่า ทำไมสักหน้าเป็นกลุ่มคำยาวจัง จีนเหล่านั้นคงเจ็บแย่ เคยได้ยินแต่ว่าสักเป็นคำเดียว หรือ ๒ คำ เกินกว่านั้นยังไม่เคยพบหลักฐาน ผมก็ว่าอย่างงั้นแหละครับ จริงๆคงจะสักคำเดียวเช่่น จ ซึ่งแปลว่าไพร่หลวงจาม ถ้าสักเต็มๆ คงยาวเต็มหน้าผาก หล่อแย่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
luanglek
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 24 ต.ค. 10, 10:37
|
|
ผมคิดว่าน่าจะสักว่า จาม ไว้ที่หน้า
แต่ก็ไม่แน่นะ นายกุหลาบอาจจะพูดถูกก็ได้ เพราะเมื่อเร็วๆ นี้อ่านบทความในเนชั่นสุดสัปดาห์ ว่าหญิงชาวยะไข่บางหมู่บ้านในอดีต มีการสักหน้า (ลายทั้งหน้า) เพื่อป้องกันถูกพวกรุกรานฉุดไปทำร้าย ประเพณีนั้นสืบทอดมานาน จนกระทั่งเพิ่งเลิกกันไป เมื่อหลายสิบปีก่อน เดี๋ยวนี้เหลือผู้หญิงยะไข่ที่มีลายสักบนหน้า อายุ ๖๐ ปีขึ้นไปเท่านั้น
การสักหน้านี่เป็นการสักเพื่อประจานและเพื่อให้เห็นได้ชัด แต่การสักเลขนั้น ท่านมักสักที่แขน จะท้องแขนหรือหลังแขนก็ได้ ที่ข้อมือก็เคยได้ยินว่ามีเหมือนกัน เรื่องสักเลขนี่เป็นเหตุให้เกิดกรณีเจ้าอนุด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 47 เมื่อ 24 ต.ค. 10, 10:54
|
|
การสักหน้าตามประเพณีนั้น มาจากการยินยอมพร้อมใจ
และถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องทำ ก่อนจะสักจะต้องชโลมตัวยาแก้ปวดบางอย่าง
และน่าจะดื่มยาบางอย่างที่เข้ายาเสพติดด้วย
การสับเสี่ยงของไทยนั้น ได้ขอความรู้ท่านผู้อาวุโส และสนทนากับ
ผู้เฒ่าเด็กดื้อบางคน ท่านใช้ขวานเล็กสับที่เหนือหน้าผากพอเป็นรอย ๓ ครั้ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 48 เมื่อ 24 ต.ค. 10, 10:59
|
|
รู้แต่ว่าพวกเลก สักข้อมือเหมือนกัน เพื่อให้รู้ว่าสังกัดใคร ในขุนช้างขุนแผนเอ่ยถึงเรื่องนี้ไว้ค่ะ เมื่อเณรแก้วจะสึก สมภารดุว่าจะสึกไปเป็นเลกให้ข้อมือดำ หรือ
สักสามจุดที่หน้าผาก เป็นเครื่องหมายต้องห้ามมิให้เข้าไปในพระบรมมหาราชวังอีก สำหรับผู้ทำผิดประเพณีร้ายแรงถึงกับถูกสักหน้า ป้าคนหนึ่งของม.ร.ว. ตึกฤทธิ์ ชื่อครูชุ่ม ก็โดนสักหน้าในข้อหาเลสเบี้ยน ไปเป็นทอมกับนางในหลายคน รวมทั้งสตรีมีศักดิ์ด้วย
ขอแยกซอยออกไปหน่อยนะคะ ถึงชื่อ" เจ้าจอมมารดาเอม" สตรีฝ่ายใน นามว่า "เอม "ที่ได้เป็น "เจ้าจอมมารดา" มีอยู่ทุกรัชกาล ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ จนถึงรัชกาลที่ ๕ คงจะเป็นชื่อที่แพร่หลายมาตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ หรือย้อนไปสมัยปลายอยุธยาด้วย
เท่าที่แกะรอยอยู่ คือ ๑)ในรัชกาลที่ ๑ เจ้าจอมมารดาเอม เป็นจอมมารดาของพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงธิดา ๒) วังหน้ารัชกาลที่ ๑ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท เจ้าจอมมารดาเอม เป็นจอมมารดาของพระองค์เจ้าชายสุก ๓) เจ้าจอมมารดาเอม ในรัชกาลที่ 2 เป็นจอมมารดาของพระองค์เจ้าอรุณวงษ์ กรมหลวงวรศักดาพิศาล ในรัชกาลที่ ๓ มีชื่อซ้ำกัน ๒ ท่ ๔) เจ้าจอมมารดาเอมน้อย จอมมารดาของพระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี ๕) เจ้าจอมมารดาเอมใหญ่ จอมมารดาใน พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม ๖) เจ้าจอมมารดาเอม ในวังหน้ารัชกาลที่ ๓ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ เป็นจอมมารดาใน พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเริงคนอง ๗) เจ้าจอมมารดาเอม ในรัชกาลที่ 4 จอมมารดาใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนงค์นพคุณ ๘ ) เจ้าคุณชนนี เจ้าจอมมารดาเอม ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จอมมารดาในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ และพระองค์เจ้าเนาวรัตน์ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์
ท่านสุดท้าย เป็นเจ้าจอม(เฉยๆ) มิได้เป็นเจ้าจอมมารดา คือ ๙ ) เจ้าจอมเอม พิศลยบุตร ในรัชกาลที่ 5
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
luanglek
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 24 ต.ค. 10, 11:06
|
|
พระสนมวังหน้า ถ้าไม่มีพระโอรสพระธิดา เรียกจอม ตามด้วยชื่อ ถ้ามีพระโอรสพระธิดา เรียกจอมมารดา ตามด้วยชื่อ
แต่ทำไมต่อมาภายหลังเรียกปนกันทั้งของวังหน้าวังหลวง เอกสารสมัยรัชกาลที่ ๔ - ๕ ยังเรียกกันถูกอยู่เลย
ฝากถามคุณ NAVARAT.C จอมมารดาเอม ถึงแก่อนิตยกรรมเมื่อใด และไม่ทราบว่าชื่อขุนนางที่คุณ NAVARAT.C มาในเนื้อหานั้น พอจะมีข้อมูลอะไรนอกเหนือจากที่นายกุหลาบเขียนไว้บ้างหรือไม่ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 24 ต.ค. 10, 12:29
|
|
^ ^ เจ้าจอม ในพระราชสำนักคือ "พระสนมของพระเจ้าแผ่นดิน(วังหลวง) หรือพระอุปราชวังหน้าและวังหลัง" เจ้าจอมมารดา คือเจ้าจอมที่มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดา ถ้าไม่มีลูก คงเรียกว่า เจ้าจอม พระสนม คือ เมียของพระเจ้าแผ่นดินและพระอุปราช ปกติเป็นบุตรข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ตั้งแต่เสนาบดีจนถึง พระหรือหลวง มีใจยินดียอมยกธิดาขิงตนถวายพระเจ้าแผ่นดินและทรงรับไว้ ให้รับราชการฝ่ายใน ธรรมเนียมโบราณจะยกพระสนมขึ้นเป็นท้าวพระสนมเอก ๔ คน มีชื่อต่างๆ เหมือนชื่อขุนนาง เช่นท้าวศรีสุดาจันทร์ แต่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ไม่เคยตั้งเช่นนั้น มีแต่เจ้าจอมมารดาใหญ่ที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องยศอย่างพระสนมเอก ให้สถาปนาขึ้นเป็นเจ้าคุณ เช่น เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ หรือ เจ้าคุณแพ เจ้าคุณจอมมารดาสำลี เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม
เจ้าคุณจอมมารดาเอม ได้รับพระราชทานเครื่องยศเช่นนั้น และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เรียก เจ้าคุณพระชนนี ด้วยเนื่องจากเป็นพระราชมารดาของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ซึ่งทรงเป็นพระอุปราชวังหน้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 51 เมื่อ 24 ต.ค. 10, 14:06
|
|
สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ในประวัติเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ เกี่ยวกับ “เครื่องยศ” พระสนม ดังนี้
“ชั้นที่ ๔ ชั้นต่ำกว่าเพื่อน เป็นหีบหมากเงินกาไหล่สำหรับพระราชทาน” นางอยู่งาน “ แต่โบราณดูเหมือนจะเรียก “นางกำนัล” ซึ่งทรงใช้สอยในพระราชมณเฑียร ได้แก่บางคนที่ทรงพระเมตตาในหมู่นางอยู่งาน แต่ชั้นนี้ยังไม่นับว่าเป็นเจ้าจอม ชั้นที่ ๓ เป็นหีบหมากทองคำ สำหรับพระราชทานนางอยู่งาน ซึ่งทรงเลือกไว้ใช้ใกล้ชิดประจำพระองค์ใครได้พระราชทานหีบหมากทองคำจึงมีศักดิ์เป็น “เจ้าจอม” เรียกว่า “เจ้าจอม” นำหน้าชื่อทุกคน ฉันเข้าใจว่าชั้นนี้ที่เรียกว่า “เจ้าจอมอยู่งาน”
ชั้นที่ ๒ เป็นหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี สำหรับพระราชทานเจ้าจอมมารดา หรือเจ้าจอมอยู่งาน ซึ่งทรงพระเมตตายกย่องขึ้นเป็นชั้นสูง ฉันเข้าใจว่าเรียก “พระสนม” แต่ชั้นนี้ขึ้นไป ชั้นที่ ๑ ที่เรียกว่า “พระสนมเอก” ได้พระราชทานพานทองเพิ่มหีบหมากลงยาที่กล่าวมาแล้ว เป็นพานหมากมีเครื่องในทองคำ กับกระโถนทองคำด้วยใบหนึ่ง เป็นเทือกเดียว กันกับพานทอง เครื่องยศที่พระราชทานเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ แต่ขนาดย่อมกว่าพานทองเครื่องยศฝ่ายหน้า” พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๔ ที่เรียกกันว่า เจ้าจอมชั้นพานทองนี้ ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ เมื่อทรงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้าฝ่ายในแล้ว บรรดาเจ้าจอมที่โปรดเกล้าฯให้เป็น “พระสนมเอก” ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นที่ ๒ คือ ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) และทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 24 ต.ค. 10, 17:50
|
|
ซูมภาพเครื่องยศพระสนมเอกให้เห็นละเอียดขึ้นครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 24 ต.ค. 10, 17:55
|
|
ตราราชสกุลนวรัตน์ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 24 ต.ค. 10, 19:31
|
|
^ ขอบพระคุณครับ คุณหนุ่มสยาม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 55 เมื่อ 24 ต.ค. 10, 22:42
|
|
เจ้าคุณจอมมารดาเอม ครับ อ.NAVARAT.C
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 56 เมื่อ 24 ต.ค. 10, 22:43
|
|
และอีกภาพหนึ่ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 25 ต.ค. 10, 07:30
|
|
^ ท่านทั้งสองในภาพคือเจ้าจอมมารดาเอมน้อยในสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ และพระราชโอรส พระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี ต้นราชสกุลลดาวัลย์
ผมเคยไปพบภาพเจ้าจอมมารดาท่านนี้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ด้านหลังภาพเขียนมีลายดินสอเขียนว่า เจ้าคุณจอมมารดาเอมในสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ แต่ภายหลังมาเห็นสมุดภาพรัชกาลที่๔ลงพิมพ์ภาพเดียวกัน แต่บรรยายว่าเป็นเจ้าจอมมารดาเอมน้อยในรัชกาลที่๓ ก็เริ่มเอะใจแล้ว ครั้นนำมาเปรียบเทียบกับพระรูปกรมหมื่นภูมินทรภักดี ก็แน่ใจใครผิดใครถูก รูปทั้งสองถ่ายในห้องภาพเดียวกัน สังเกตุที่ม่าน อาจจะวันเดียวกันด้วยที่กรมหมื่นภูมินทรฯไปฉายพระรูป แล้วพาพระมารดาไปด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 58 เมื่อ 25 ต.ค. 10, 07:39
|
|
^ ^ ส่วนภาพนี้ เป็นภาพเจ้าจอมมารดาเอมใหญ่ในสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ พระราชโอรสคือ พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม ต้นราชสกุลชุมสาย หอจดหมายเหตุมีภาพชุดนี้สองสามภาพ บรรยายว่าเป็นเจ้าจอมมารดาเอมใหญ่ในรัชกาลที่๓
ส่วนในภาพที่ถ่ายกับเจ้านายเด็กๆ คงจะเป็นชั้นหลานย่า สังเกตุที่ท่านชราภาพมากแล้ว
ในเวปมีผู้นำภาพนี้ไปประกอบบทความพระราชประวัติของสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯโดยไม่ได้อธิบายใดๆ ทำให้คิดไปได้ว่าเป็นภาพของท่านเจ้าคุณจอมมารดาเอม ต้องขอขอบพระคุณ คุณหนุ่มสยามมากครับที่นำมาลง ทำให้ผมได้มีโอกาสชี้แจงมิให้เกิดความเข้าใจผิดสะสมกันยิ่งขึ้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 59 เมื่อ 25 ต.ค. 10, 08:40
|
|
ขอบคุณ อาจารย์ NAVARAT.C มากครับผม ก่อนหน้านี้ อ.เทาชมพูก็ได้แจ้งไว้ ในเรื่องเจ้านายที่มีชื่อ "เอม" มีชื่อซ้ำกันมากมาย
ผมก็คิดมากนะครับ ว่าคำว่า "เอม" นี่ทำไมนิยมติดปากคนสมัยโบราณหรือ มาจาก ผลชะเอม-อิ่มเอม-เอมโอช-เอมโอชา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|