เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 13976 พระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ)
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



 เมื่อ 19 ต.ค. 10, 21:20

"พระยาข้าเก่าเบื้อง      บัวบาท
สมเด็จมกุฏราช          ร่มเกล้า
อัพภันตริกามาตย์        ดิศชื่อ เดิมแฮ
พระโปรดประมวลเข้า    พวกผู้ภักดี"

"พระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ) ได้เป็นขรัวตาพระเจ้าลูกเธอ ในรัชกาลที่สี่ ๑๐ พระองค์ ในรัชกาลที่ห้า ๖ พระองค์ รวม ๑๖ พระองค์ด้วยกัน
ยังไม่ปรากฎว่าข้าราชการคนใดได้เป็นขรัวตาพระเจ้าลูกเธอมากถึงเท่านี้"

อ่านคำบรรายจากหนังสือแล้วยังงง ... คงต้องขอไปเขียนสาแหรก (Family Tree Diagram) ก่อน

"ที่บ้านพระยาอัพภันตริกามาตย์ ที่ริมถนนเจริญกรุงนี้ พระยาอัพภันตริกามาตย์แลท่านคล้ายขรัวยายได้ปลงใจถวายแก่กรมหลวงดำรงราชานุภาพแต่ยังทรงพระเยาว์ ได้แสดงเจตนาอันนี้ให้วงษ์ญาติทั้งหลายทราบทั่วกัน เพราะฉนั้นที่บ้านเรือนแห่งนี้ จึงเปนมรฎกตกอยู่แก่กรมหลวงดำรงราชานุภาพ ได้ทรงปกครองตั้งแต่พระยาอัพภันตริกามาตย์ถึงอนิจกรรมมา"

"เรือนสี่ชั้นซึ่งเรียกว่าหอสูงหลังนี้ พระยาอัพภันตริกามาตย์ได้สร้างไว้ ได้อยู่แลได้ถึงอนิจกรรมในห้องชั้น ๓ ในหอนี้เมื่อกรมหลวงดำรงราชานุภาพยังทรงพระเยาว์ เวลาพระยาอัพภันตริกามาตย์รับเสด็จออกมาบ้าน ก็ได้มาบรรทมอยู่กับพระยาอัมภันตริกามาตย์ในห้องชั้น ๓ นั้น แลได้เสด็จอยู่ที่หอสูงนี้ตั้งแต่ออกวังมาจนทำตำหนักใหม่ เมื่อรื้อถอนเปลี่ยนแปลงเรือนเก่าทำเป็นตึก แลเปลี่ยนภูมิ์แผนที่ตามควรแก่ความต้องการภายหลัง ก็หาได้ทรงแก้ไขรื้อถอนหอสูงนี้แต่อย่างใดไม่ จัดให้เปนที่ไว้อัฐิพะยาอัพพันติกามาตย์ อัฐิท่านขรัวยายคล้ายแลวงษ์ตระกูลของท่านทั้ง ๒ นั้น ด้วยทรงเคารพแลรฦกถึงคุณูปการของคุณตาคุณยาย ที่ท่านได้มีน้ำใจรักใคร่ ทำนุบำรุงแต่ยังทรงพระเยาว์มาจนตลอดชีวิตรของท่านทั้ง ๒ นั้น"

ที่มา - เรื่องตระกูลวงษ์พระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ)
กรมหลวงดำรงราชานุภาพทรงเรียบเรียง เมื่อ ร.ศ. ๑๒๙

จะเรียนคุณวันดีว่าผมได้พบตำแหน่งบ้านพระยาอัพภันตริกมาตย์ เพื่อเพิ่มเติมข้อมูลในกระทู้ "ก้อกๆ ... มาทำไม" ของคุณวันดี

(ทำอย่างนี้ โบราณท่านว่า "สอนหนังสือสังฆราช" หรือ "เอามะพร้าวมาขายสวน" หรือเปล่าครับ)



บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 19 ต.ค. 10, 22:07

ใน http://www.supadisdiskul.com/familytree03.html มีราชสกุลสายพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ) ไว้ให้ดูด้วยค่ะ


บันทึกการเข้า
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 19 ต.ค. 10, 22:52

สาแหรกผิดพลาดรึเปล่าครับ

เจ้าจอมมารดาทับทิม กับ เจ้าจอมมารดาแส เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๕ นะครับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 20 ต.ค. 10, 08:13

รู้แต่ขรัวตา   แล้วขรัวยาย ที่เป็นภรรยาพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ) ชื่ออะไร
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 20 ต.ค. 10, 19:45

รอมาหลายชั่วโมง ไม่มีคนมาตอบเรื่องขรัวยายเลย  ยิงฟันยิ้ม

ขรัวยาย ชื่อ คล้าย เป็นบุตรี เจ๊สัวบุญศรี แซ่ตั้ง กับนางชิวอิด
ขรัวยายคล้าย เกิด วันพฤหัสบดี ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีวอก จุลศักราช ๑๑๗๔ ถึงแก่กรรมเมื่อ ปีชวด จุลศักราช ๑๒๓๘

ขรัวตาดิศ และขรัวยายคล้าย มีลูกด้วยกันคือ
๑. เจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ ๔
๒. โถ ช.
๓. หุ่น ญ.
๔. ช้อย ญ.
๕. เจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ ๔
๖. วัน ญ.
๗. มลิ ญ.
๘. ชื่น ช.
๙. ทรัพย์ ญ.

นอกจากขรัวยายคล้ายแล้ว ขรัวตาดิศ ยังมีภรรยาอีกหลายคน ที่มีบุตรด้วยกันคือ
๑. ขรัวยายอิ่ม มีบุตรคือ เจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ ๕
๒. ขรัวยายบาง มีบุตรคือ เจ้าจอมมารดาแส ในรัชกาลที่ ๕
๓. จีบ มีบุตร ๘ คน คือ สมบุญ, เจิม, จรหรือจันทร์, สวัสดิ์, ศิริ, ระเบียบ, อำพัน, สอาด
๔. แก้ว มีบุตร ๒ คนคือ เจียม, ปลั่ง
๕. เอี้ยง เป็นน้องสาวของแก้ว มีบุตร ๒ คน คือ เสงี่ยม, เล็ก
๖. พุดจีบ มีบุตร คือ จีบ
๗. ยิ้ม มีบุตร คือ แย้ม
๘. ม.ร.ว.ตาด มีบุตร คือ จั่น

ผมคัดลอกมาจาก เรื่องตระกูลวงศ์พระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ)
กรมหลวงดำรงราชานุภาพทรงเรียบเรียง เมื่อ ร.ศ.๑๒๙
ใน หนังสือความทรงจำ ฉบับสำนักงานหอสมุดกลาง ๐๙ จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๓
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 20 ต.ค. 10, 20:57

มัวแต่ไปเขียนสาแหรกอยู่ คุณ CVT มาช่วยตอบไปแล้ว รอดตัวไป

เพิ่มเติมอีกหน่อย - "หลังเจ๊สัวบุญศรีตาย ซิวอิดไปได้ขุนแสนพลรักษ์ กรมพระสุรัสวดีฝ่ายพระราชวังบวรเป็นสามี มีบุตรชายคน ๑ ชื่อผึ้ง เป็นบิดาหม่อมนวมในกรมหลวงดำรงราชานุภาพ แลเป็นตาหม่อมเจ้าหญิงจงจิตรถนอม หม่อมเจ้าหญิงพร้อมเพราพรรณ์ หม่อมเจ้าหญิงสรรพสมบูรณ์"

คือหม่อมนวมกับกรมหลวงดำรงราชานุภาพเป็นหลายยายของซิวอิดเหมือนกัน

จากเอกสารฉบับเดียวกันกับคุณ CVT

มารดาของพระยาอัพภันติกมาตย์ชื่อขำ ได้เป็นท้าวมังสีในรัชกาลที่ ๔ น้องสาวของขำชื่อแสง ได้เป็นท้าวมังสีต่อจากท้าวมังสี (ขำ) และอยู่ต่อมานถึงรัชกาลที่ ๕

อยากให้ท่านผู้รู้ช่วยอธิบายความหมายและหน้าที่ของตำแหน่ง "ท้าวมังสี" ด้วยครับ

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 21 ต.ค. 10, 09:36

เมื่อวานเข้าเน็ทอ่านบทของรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย"

พบคำเกี่ยวข้องกับกระทู้ จึงคัดมาลงไว้ด้วย

                                               ขรัว

          คำว่า ขรัว ปัจจุบันคำว่า ขรัวมี ๓ ความหมาย

          ความหมายที่ ๑ เรียกผู้ที่เป็นตาหรือยายของพระราชโอรส พระราชธิดาชั้นพระองค์เจ้า.
คือเป็นคำเรียกคนธรรมดาที่มีลูกสาวได้เป็นเจ้าจอม พระชายา หรือหม่อมของพระราชวงศ์พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง
และลูกสาวคนนั้นให้กำเนิดบุตรซึ่งมีฐานันดรศักดิ์ตั้งแต่พระองค์เจ้าขึ้นไป.  ตาและยายของพระองค์เจ้านั้นก็ได้เป็น
ขรัวตาและขรัวยาย เช่น
                       พระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ) เป็นขรัวตาของพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่สี่   ๑๐ พระองค์.

         ความหมายที่ ๒ ขรัวเป็นคำเรียกพระภิกษุที่มีอายุมาก บวชมานาน แต่ไม่มีสมณศักดิ์ใด ๆ  มักเรียกกันว่า ขรัวตา  ขรัวปู่.

         ความหมายที่ ๓ ขรัว เป็นคำเรียกคนที่มั่งมีว่า เจ้าขรัว ความหมายหลังนี้ ปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่ปัจจุบันไม่มีผู้ใช้ มีใช้แต่คำว่า เจ้าสัว ในความหมายเดียวกัน

ที่มา :  บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย" ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
           เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 21 ต.ค. 10, 17:58

ในปทานุกรมสำหรับนักเรียน พ.ศ. ๒๔๗๒ กรมตำรา กระทรวงธรรมการ ให้ความหมายของคำว่า "ขรัว" ไว้ว่า

ขรัว . ภิษุที่มีอายุมาก, ผู้เฒ่า. ขรัวยาย . ตำแหน่งบรรดาศักดิ์หญิงที่เป็นยายพระองค์เจ้า

ไม่มี ขรัวตา แฮะ ...
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 22 ก.ค. 12, 09:04

ขอนำกระทู้เก่ามาเล่าต่ออีกสักนิด


จากหนังสือ “ความทรงจำ” พระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

เมื่อสึกแล้วฉันไปอยู่บ้านคุณตาที่ฉันได้รับมรดก แม่ก็ออกไปอยู่ด้วย เหตุที่ฉันจะได้บ้านคุณตาเป็นมรดกนั้น แม่เล่าให้ฟังว่าเมื่อฉันยังเล็ก คุณตาซื้อบ้านจงผึ้งที่ริมคลองวัดสุทัศน์ฯ ไว้ แล้วบอกแก่แม่ว่าเมื่อฉันโตขึ้นจะให้เป็นที่ทำวังของฉัน จะได้อยู่ใกล้ๆ กับกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร

ครั้นสิ้นรัชกาลที่ ๔ คุณป้าเที่ยงสิ้นวาสนาจะออกไปอยู่นอกวังกับกรมหมื่นราชศักดิ์ฯ แต่ท่านอยากมีบ้านของท่านเองต่างหาก คุณตาสงสารจึงโอนที่บ้านจงผึ้งไปให้แก่คุณป้าเที่ยง เพราะบ้านนั้นอยู่ใกล้กับกรมหมื่นราชศักดิ์ฯ ดังกล่าวมาแล้ว ท่านจึงบอกแก่แม่ว่าจะให้บ้านของท่านเองแทนบ้านจงผึ้ง แล้วแสดงให้ปรากฎในวงญาติว่าจะให้บ้านของท่านเป็นมรดกแก่ฉัน เพราะตัวท่านก็แก่ชราแล้ว กว่าฉันจะเติบใหญ่ถึงต้องมีรั้ววังก็เห็นจะพอสิ้นอายุของท่าน หรือมิฉะนั้นถ้าท่านยังอยู่ก็จะให้ไปอยู่กับท่านไปพลาง น่าจะเป็นเพราะท่านเจตนาเช่นนั้น คุณตาจึงมักรับฉันไปนอนค้างที่บ้านบ่อยๆ ดังเล่ามาแล้ว ผิดกับเจ้านายพระองค์อื่นๆ ที่เป็นหลานด้วยกัน

เผอิญการก็เป็นอย่างคุณตาว่า พอถึงปีฉันโกนจุก คุณตาก็ถึงอนิจกรรม บ้านของคุณตาจึงตกเป็นของฉันแต่นั้นมา เรือนชานในบ้านของคุณตาสร้างด้วยเครื่งไม้ทั้งนั้น มีตึกหลังเดียวเรียกว่า “หอสูง” ที่ท่านอยู่ และฉันอยู่ต่อมาในตอนก่อนสร้างเป็นวัง

...



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 22 ก.ค. 12, 13:37

จัดภาพเก่าให้ลุงไก่ดูหอสูงครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 22 ก.ค. 12, 13:42

จัดภาพเก่าให้ลุงไก่ดูหอสูงครับ

ด้วยความขอบพระคุณ คุณหนุ่มเป็นอย่างยิ่งเลยครับ

บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 22 ก.ค. 12, 17:19



ขอนอกเรื่องนิด  พบว่าคุณหนุ่มเข้ามาพอดี

อยากให้คุณหนุ่ม siamese  อธิบายภูมิสถาน หรือรายละเอียดของภาพ
จากภาพของ william hunt โดยตั้งเป็นกระทู้ก็ดี ค่อยอธิบายทีละภาพ
จะเป็นการให้ความรู้แก่สมาชิกเป็นอย่างมาก

หรือภาพเก่าจากช่างภาพอื่นด้วยก็ได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 11 ส.ค. 12, 21:22


ขรัวตาดิศ และขรัวยายคล้าย มีลูกด้วยกันคือ
๑. เจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ ๔
๒. โถ ช.
๓. หุ่น ญ.
๔. ช้อย ญ.
๕. เจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ ๔
๖. วัน ญ.
๗. มลิ ญ.
๘. ชื่น ช.
๙. ทรัพย์ ญ.


ผมคัดลอกมาจาก เรื่องตระกูลวงศ์พระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ)
กรมหลวงดำรงราชานุภาพทรงเรียบเรียง เมื่อ ร.ศ.๑๒๙
ใน หนังสือความทรงจำ ฉบับสำนักงานหอสมุดกลาง ๐๙ จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๓

ทีแรกว่าจะตั้งกระทู้ใหม่ พอดีกลับไปเจอกระทู้นี้เข้า เลยมาต่อท้ายดีกว่าค่ะ

ช้อย ที่อยู่ในรายชื่อนี้ คือเจ้าจอมช้อยที่ถูกประหารชีวิตพร้อมกับขุนสุวรรณ ใช่ไหมคะ

บันทึกการเข้า
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 12 ส.ค. 12, 10:42

เพิ่งได้หนังสือ สัมภาษณ์ หม่อมเจ้าหญิงจงจิตรถนอม  ดิศกุล กำลังอ่านอยู่เลยครับตอนนี้

ท่านหญิงใหญ่ทรงเล่าได้ละเอียดดีมากถึงลำดับชั้นพระญาติของท่าน อ่านไปก็มีแอบ งง บ้างเล้กน้อย

เนื่องจาก บางที หลานอายุมากกว่าน้าบ้าง น้าหลานรุ่นเดียวกันบ้าง เรียกตามศักดิ์บ้าง ตามอายุบ้าง

ทำให้เวลาอ่านต้องนั่งลำดับชั้นพระญาติของท่านหญิงดีๆ

อย่างเช่น เจ้าจอมมารดาชุ่ม(โรจนดิศ)คุณย่าของท่านหญิงใหญ่นั้น ก็มีศักดิ์เป็นพี่สาวของหม่อมแม่ท่านหญิงใหญ่(หม่อมนวม  โรจนดิศ)

อ่านแรกๆต้องใช้สตินิดนึง แต่อ่านสนุกครับ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 12 ส.ค. 12, 12:33


สวัสดีค่ะคุณ ritti018


        ไม่ทราบว่าได้อ่านหนังสือ 'สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็นมา'  ของท่านหญิงพูนพิศมัย  ดิศกุล

หรือยังคะ   มีหลายเล่มนะคะ      

        ตอนท้าย ๆ  ผู้สำเร็จให้มาเชิญท่านหญิงและท่านหญิงมารยาทในเรื่องราชการ (เพราะ Lady Louise Moutbatten

จะมาเมืองไทยในเรื่องกาชาด)   ที่วังกำลังจะเลี้ยงอาหารเย็นกัน  โดยนำอาหารมาคนละสิ่ง   ทุกคนก็ตะลึงมองหน้ากัน

คุณคึกฤทธิ์  ปราโมชคนเดียวตะโกนขึ้นมาว่า   "อุ๊ย   ท่านหญิงพูนอีกแล้ว  ไม่รู้จักจบจักสิ้น  ทุกยุคทุกสมัย!

ที่จำมาได้เพราะมีเรื่องคุณคึกฤทธิ์ล่ะค่ะ

(ท่านผู้สำเร็จคือคุณปรีดีค่ะ)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 20 คำสั่ง