เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4067 นิทานโบราณคดี(สมัยก่อนประวัติศาสตร์) ของกรมพระยาดำรงฯ
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


 เมื่อ 18 ต.ค. 10, 19:53

เนื่องจากเห็นว่าสมาชิกเรือนไทยหลายท่าน
เช่น คุณเพ็ญชมพู และคุณกุรุกุลา
มีความรู้เรื่องสัตว์ต่างๆทั้งน้อยใหญ่เป็นอย่างดี
จึงอยากจะขออนุญาตถือวิสาสะเชื้อเชิญเข้ามา
ร่วมเสวนาประสาก่อนประวัติศาสตร์กันนะครับ



เหตุของผมเริ่มจากการทำวิทยานิพนธ์ที่ทำอยู่
และกำหนดกับตัวเองไว้ว่าจะอ่านหนังสือหลายเล่มให้จบก่อนจึงจะลงมือเขียนงาน

เมื่อได้อ่านพระนิพนธ์ของสมเด็จนริศ และสมเด็จดำรง
ในชุด 'สาส์นสมเด็จ' มาถึงช่วงปี พ.ศ. 2477
ที่สมเด็จดำรงทรงแปรพระราชฐานไปประทับยังเกาะปีนัง
และทำความรู้จักและผูกมิตรกับศาสตราจารย์ 'คัลเลนเฟน'
ซึ่งทำการขุดค้นทางโบราณคดีอยู่ที่นั่น

การพบปะและพูดคุยกันในฐานะ 'แขกประจำสัปดาหะ'
นี้เป็นมูลเหตุให้เสด็จในกรมฯ ได้ทรงสนพระทัยความรู้ในด้าน
'วิชาก่อนประวัติศาสตร์' ซึ่งเกิดขึ้นในยุโรปราวกลางทศวรรษที่ 1860
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 18 ต.ค. 10, 19:57

เนื้อหาที่ทรงศึกษาและสอบค้นได้
ปรากฏอยู่ในลายพระหัตถ์ที่ทรงถึง 'สมเด็จกรมพระนริศ'
ในฐานะเพื่อนที่ทรงหนังสือโต้ตอบกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ต่างๆ
และถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือชุด 'สาส์นสมเด็จ' ที่หาอ่านกันได้ทั่วไป

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าชุดความคิดเห็นของเสด็จในกรมทั้ง 2 พระองค์นี้
เป็นชุดความรู้ในทาง 'ก่อนประวัติศาสตร์' ชุดแรกของประเทศไทย...

ส่วนจะผิด จะถูกอย่างไร
เมื่อเวลาผ่านมาแล้วเกือบร้อยปี
ข้อมูลใหม่ๆก็มีมากขึ้นทุกวัน
ความคิดเดิมๆก็ย่อมต้องเปลี่ยนแปลงไปบ้าง
จึงอยากเชิญสมาชิกแต่ละท่านมาช่วยกันคุยดู

รายละเอียดในหนังสือชุด 'สาส์นสมเด็จ' นั้น
ผมขอประมวลมาไว้ให้อ่านเป็นตอนๆ
จะผิดจะถูกอย่างไรผมก็ไม่ได้เชี่ยวชาญในทางนี้
คงจะวิเคราะห์คนเดียวไม่รอดแน่

ขอความกรุณาสมาชิกเรือนไทยทุกๆท่าน
ช่วยกันยำคนละมือคนละไม้แล้วกันนะครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 21 ต.ค. 10, 10:31

อาทิบท


เรื่องของความรู้อย่าง 'ก่อนประวัติศาสตร์'
เริ่มต้นขึ้นเมื่อกรมพระยาดำรงประทับอยู่ในปีนัง

ก่อนหน้านั้นการขุดหาโบราณวัตถุของไทย
เป็นการขุดหา 'ของ' ซึ่งหมายถึง 'ของเก่า'
หรือ 'โบราณวัตถุ' เป็นหลัก
การขุดหาอาจเป็นการขุดในพื้นที่วัด
แหล่งเตาเผาเครื่องสังคโลก หรือกรุในศาสนสถาน

แต่ยังไม่มีการขุดเพื่อค้นหา 'ร่องรอย' ของชุมชน
หรือการ 'สังเกตชั้นดิน' เพื่อทำความเข้าใจ
ปรากฏการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในสมัยโบราณ




ในลายพระหัตถ์ฉบับลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๗
สมเด็จกรมพระยาดำรงทรงเล่าว่า

'... จดหมายของหม่อมฉันฉะบับนี้จะถวายรายงาน
เรื่องไปดูศาสตราจารย์คัลเลนเฟลขุดขุมทรัพย์ก่อนสมัยประวัติศาสตร์
เมื่อวันศุกร์ที่ 17 ตามที่ได้ทูลสัญญาไว้ในจดหมายฉบับก่อน

ขุมทรัพย์แห่งนี้ อยู่ที่ริมแม่น้ำกวาลามุดาที่ปันแดนเมืองไทรกับปีนัง
ตำบลคัวปักกาในท้องที่อำเภอปรอวินสเวเลสลี แขวงเมืองปีนัง
ห่างจากฝั่งทะเลราว ๕๐ กิโลเมตร์ หม่อมฉันไปรถยนต์จากปีนัง
เอารถลงเรือจ้างข้ามฟากไปขึ้นที่ตำบลบัตเตอร์เวอร์ท
แล้วแล่นไปตามถนนอีก ๑๗ ไมล์ ถึงเชิงสะพานข้ามแม่น้ำกวาลามุดา
ลงจากรถเดินไปตามคันกันน้ำสักกิโลเมตร์ ๑
แล้วลงเดินไต่ตามคันนาไปอกสัก ๕ ไร่ก็ถึงที่ขุมทรัพย์
ซึ่งศาสตราจารย์คัลเลนเฟลปักเต๊นเปนออฟฟิศ
และปลูกโรงจากที่พักคนทำงานไว้มีคนทำงานราวสัก ๑๕ คน
ตัวศาสตราจารย์คัลเลนเฟลกับฝรั่งเจ้าของที่ไปคอยรับอยู่ที่นั่น
เมื่อหม่อมฉันข้ามเรือจ้าง เผอิญไปพบเจ้ามืองปีนังๆ ออกสนุกตามไปด้วยอีกคน ๑
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 21 ต.ค. 10, 11:05

ขุมทรัพย์ที่ขุดนั้นอยู่ในที่ราบกลางท้องนา
มีเปนโคกอยู่ ๓ โคก พึ่งเริ่มขุดโคกแรก
เดี๋ยวนี้ขุดไปยังไม่ถึงหนึ่งในสิบของโคกนั้น
เพราะการขุดขุมทรัพย์ก่อนสมัยประวัติศาสตร์
จะใช้เครื่องมือที่ทำด้วยโลหะ หรือที่เปนของหนักไม่ได้
ด้วยเกรงจะไปกระทบโบราณวัตถุให้ย่อยยับเสีย

ใช่แต่เท่านั้น วัตถุที่ประสงค์ของการขุดมีเปน ๒ อย่าง
คือ เพื่อจะหาโบราณวัตถุอย่าง ๑
เพื่อจะให้รู้ว่าที่ตรงนั้นเดิมเปนที่อย่างไรอย่าง ๑

เครื่องมือใช้ได้แต่เอาไม้ไผ่มาเหลารูปเหมือนกับใบพาย
ค่อยๆเขี่ยคุ้ยแผ่นดินลงไปทีละน้อยคล้ายกับเอาปากเป่าให้ดินปลิวไป
พบสะเก็ดหรือก้อนอันใดก็เก็บเอามา ขนแต่กากดินเอาไปทิ้ง
ถ้าพบสิ่งใดเปนชิ้นใหญ่ฝังคาดินก็ห้ามไม่ให้ดึงขึ้นมา ด้วยกลัวจะหักสลาย
ต้องเกลี่ยดินลงไปจนวัตถุนั้นหลุดลอยตัวจึงเก็บมา...'




ขออนุญาตหยุดไว้แต่เท่านี้ก่อนนะครับ
ออกตัวก่อนว่าผมไม่เคยทำการขุดค้นทางโบราณคดีเอง
จึงอยากเรียนขอให้ผู้ที่มีประสบการณ์ในการ 'ขุด'
มาช่วยเล่าประสบการณ์ในยุคของเราจะได้ไหมครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.041 วินาที กับ 19 คำสั่ง