Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 02 พ.ย. 10, 07:17
|
|
สวัสดีค่ะ คุณรัตนชัย
หายเหนื่อยจากงานหนังสือเร็วจริง
ขอบคุณที่แวะมาและคงมีสิ่งที่น่าสนใจคุยกันอีกเยอะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Rattanachai
อสุรผัด

ตอบ: 4
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 03 พ.ย. 10, 12:01
|
|
สวัสดีครับ คุณวันดี,  ช่วงนี้พักอ่านหนังสือและทำงานหน้าคอมพ์ตามเดิมครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 04 พ.ย. 10, 17:29
|
|
ในผดุงวิทยา ปีที่ ๒ เล่มที่ ๖ เดือนสิงหาคม ๒๔๕๗ พิมพ์ที่ โรงพิมพ์จีนโนฯ
มีบทแปล กิจจานุกิจของเชอร์ล๊อก โฮมส์ โดย นโภมณี ในหน้า ๙๓๖ - ๙๖๗
คุณรัตนชัย พอจะรู้จัก นโภมณี บ้างหรือไม่คะ
หนังสือเล่มนี้ เริ่มที่หน้า ๘๘๔
นักเขียนก็มี ยูปีเตอร์ และ อโยมัยเสตว์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 04 พ.ย. 10, 17:47
|
|
ตอนนี้ชื่อ พยัฆร้ายของตำบลซานปีโดร
เนื่องจากดิฉันไม่มีต้นฉบับใดๆของรหัสคดีเหลืออยู่เลย เลยตามรอย ไม่ไหว ภาษาที่แปลเก่า เช่น นายหมวดรักษา นายหมวดพลตระเวณ
สำนวนเนียน ไม่กระโดดเลย
หนังสือเล่มอื่นๆที่พิมพ์ในยุคนี้ เท่าที่เคยเก็บมามี หมอนิโกลา ราคา ๒๕ สตางค์ และ ดอลล่าร์ ปรินเซส เล่มละ ๖๐ สตางค์ ซึ่งแปลย่อราวกับหนังสือหนัง
หนังสือรุ่น ๖๐ ดิฉันกระจายไปหมดแล้ว เพราะคิดว่าอยู่กับตัวเองก็คงไปไม่ถึง
เพิ่งไปยืมสหายมาเมื่อเช้า ๑ กล่อง มีหนังสือประมาณ ๑๘ หรือ ๑๙ เล่ม
สภาพยังอ่านได้สบาย ปกสีฟ้าอ่อน
เรื่องอื่นๆจอง จีนโนไว้คุยกันวันหน้านะคะ เห็นชื่อนักแปลก็ตะครุบไว้ก่อน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Rattanachai
อสุรผัด

ตอบ: 4
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 05 พ.ย. 10, 08:59
|
|
เห็นต้นฉบับแปลเชอร์ล็อค โฮล์มส์สำนวนโบราณโผล่มาอีกก็รู้สึกตื่นเต้น "นโภมณี" เป็นใครไม่ทราบเลย เดี๋ยวจะไปสืบเสาะดู
เข้าใจว่าเรื่องนี้แปลมาต้นฉบับที่รวมไว้แบบเก่า (ฝรั่งเดี๋ยวนี้ไม่พิมพ์แล้ว) และเรื่องไม่จบสนิทดี แต่ก็ยังไม่อยากฟันธงฉับจนกว่าจะได้เห็นเองกับตา เดี๋ยวจะหน้าแตก (ก๊าก)
ขอบคุณมากครับที่ให้เงื่อนงำเป็นเลขฉบับ และเลขที่หน้า เป็นบรรณานุกรมชั้นเยี่ยมที่จะสืบสาวต่อไปได้อย่างดีทีเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 05 พ.ย. 10, 10:44
|
|
สภาพเล่มปกหลังหลุดหายไป
ปกหน้า ล่างขวากรอบหลุดไปแล้ว
ตัวเล่มดีมากค่ะ ไม่ชำรุดเลย มีแตกร่วงเล็กน้อย
จะยึดทรัพย์จับเชลยไว้จนกว่าคุณรัตนชัยจะมีโอกาสมาตรวจสอบ
ชมรมมีท่านผู้ใหญ่มาเยี่ยมเยียนเพิ่มขึ้นค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 12 พ.ย. 10, 09:13
|
|
คุณรัตนชัย
ตามที่ได้สนทนาปราศัยด้วยเสียงอันดังในระหว่างงานหนังสือที่ผ่านมา วันนี้ได้ค้นสมุดโน้ต
ออกมาได้จากกองมหาสมบัติ จึงขอเล่าเรื่องไว้ก่อนที่ปีศาจห้องสมุดจะอาละวาด
เรื่องนี้ไม่ได้ถาม แต่จดไว้จึงต้องเล่าเพื่อจะมีมือดีนำไปใช้ประโยชน์
เสนาศึกษา(ยังได้แผ่วิทยาศาสตร์) เล่ม ๒ กันยายน ๒๔๖๐ ตอนที่ ๙
มีเรื่องสมบัติไอยคุปต์ แปลมาจาก The Lost Million ของวิลเลียม เลอเคอ
หมวดอ่านเล่น
คนแปล คือ นักเรียนนายร้อย มีเดช โรงเรียนนายร้อย ชั้น ปฐม เป็นนักเรียนในชั้นอังกฤษพิเศษ
พลพรรครหัสคดีอ่าน วิลเลียม เลอเคอกันหลายคน
รู้สึกว่า ตอนหนึ่ง คือ เดือนหนึ่ง
เรื่องแปลนี้จบลงในเล่ม ๓ ๒๔๖๑ ไม่ได้บันทึกเดือนไว้ แต่คงหลังเดือนตุลาคม ๒๔๖๑ เพราะดิฉันจดที่แปลผิดไว้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 12 พ.ย. 10, 09:20
|
|
หม้อไข่ปลาเค็ม
ของ เซอร์อาเธอร์ โคแนน ดอยล์
ลง เสนาศึกษาเล่ม ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ ตอนที่ ๘
(อ่านลายมือของตนเองแทบไม่ออกค่ะ ดีแล้วที่ไม่ต้องไปเป็นเสมียน เพราะคงโดยเคี่ยวเข็ญกรำไป)
คนแปลคือ นายร้อยตรีใหญ่ นัยยะแพทย์
เป็นเรื่องคราวพวกนักมวยก่อการจลาจลในประเทศจีน
จบในสองฉบับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 12 พ.ย. 10, 09:25
|
|
ในเล่ม ๔ ตอนที่ ๙ และ ๑๐ (พยายามนับเดือนเอาเองเถิดค่ะ
เพราะกระดาษคงขาดไป เลยไม่ได้จดไว้)
มีเรื่อง จองเวร
ของ นายนวล ปาจิณพยัคฆ์
รายละเอียดไม่มี เพราะ ไม่มีรายละเอียดค่ะ
ทราบนะว่าเป็นหนังสือหายากจึงบรรจงจดข้อมูลเท่าที่อ่านพบไว้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 12 พ.ย. 10, 09:30
|
|
กระโดดข้ามข้อมูลเรื่องพงศาวดารจีนเรื่อง หลีฮวยเง็กไป เพราะเกรงว่าอ่านอยู่คนเดียว
ร.อ. หลวงสารานุประพันธ์ เกลาสำนวน
ศุกรี วสุวัต แต่ง
เป็นเกร็ดพงศาวดารจีนแผ่นดินถีง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 12 พ.ย. 10, 09:35
|
|
อ้อ แผ่วิทยาศาสตร์ เติมมาในเล่ม ๕
ย้ายไปพิมพ์ที่ บำรุงนุกูลกิจ
เนื่องจากไม่ได้ตั้งใจจะเล่าเรื่อง เสนาศึกษา จึงขอผ่านไปก่อนนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 12 พ.ย. 10, 09:45
|
|
แพรดำ แพรดำ แพรดำ
เริ่มลงใน เล่ม ๖ ตอนที่ ๑๒
เป็นเรื่องลึกลับ นักสืบ ผจญภัย และ ความรัก พร้อมบริบูรณ์
เล่ม ๗ ตอนที่ ๔
บรรณาธิการแจ้งว่าผู้เรียบเรียงป่วย จะหายไป ๑๕วัน
เล่ม ๗ ตอนที่ ๗ กรกฎาคม ๒๔๖๖ แพรดำ จบ
ตอนนั้นพิมพ์ ๓๐๐๐ เล่มต่อเดือน
ตอนนี้คุณรัตนชัยก็ออกไปหาหนังสือได้แล้ว ไม่มากมายอะไร
ดิฉันว่าเบื้องหลังที่ผู้เรียบเรียงเจออะไรเข้าบ้าง สนุกพอใช้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 12 พ.ย. 10, 12:27
|
|
ขอแก้คำใน คคห ๒๔ เป็นแผ่นดินถัง พระเจ้าถังไทจงฮ่องเต้
เรื่องนี้ใช้หนังสือพงศาวดารจีนแปล เพราะเป็นตอนที่ทางราชการไทยข้ามไป
เป็นประวัติส่วนหนึ่งของ เทียกากิม
เวลานำไปเล่นลิเก คนร้องว่า ...บัดนั้น เทียกากิม พ่อเนื้อนิ่ม......
คนดูโห่ เพราะเทียกากิมนั้นแทบจะเป็นตลกตามพระ
ตายเมื่ออายุหวิดร้อย หัวเราะว่าตนอายุยืนว่าใครๆเลยขาดใจตาย
เมียอายุ ๙๙ เสียใจมาก เลยร้องไห้ขาดใจตายตามกันไป
ผู้ปกครองถามว่าอ่านเรื่องจีนชอบตอนไหน ตอบว่าเทียกากิมหัวเราะตาย
ท่านเลยปล่อยให้อ่านตามสบาย เพราะเห็นว่าอ่านออก (ตอนนั้นอยู่ชั้น ป. สอง)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|