เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 8230 ขอความอนุเคราะห์ หน้าหนังสือแผ่นหนึ่งครับ
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


 เมื่อ 16 ต.ค. 10, 15:36

ผมมีเหตุให้ต้องตามประวัติการถ่ายภาพของไทย
และจำเป็นต้องใช้หนังสือ 'บทลครเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑'
ซึ่งพิมพ์แจกในงานศพ พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน (แฉล้ม อมาตยกุล)
เมื่อ ปีมเสงนพศก พ.ศ. ๒๔๖๐







แต่หนังสือเจ้ากรรมในตู้ที่บ้านดันหน้าขาดไป 1 แผ่น
คือ หน้า (๗) และ (๘) ซึ่งเป็นหน้าที่ผมต้องใช้พอดี!!!
โทรไปถามเพื่อนที่มีหนังสือ 'อิเหนารัชกาลที่ ๑' ฉบับสำนักพิมพ์คลังวิทยา
ก็ได้ความมาว่าเขาตัดเอาตอนที่ว่าด้วยสกุลอมาตยกุลออกไป
และหาไมโครฟิล์มที่หอสมุดจุฬาฯแล้ว ก็ไม่พบ
เลยกลายเป็นว่าผมไม่สามารถหาข้อความที่ต้องการได้









อยากเรียนขอความอนุเคราะห์จากสมาชิกในเรือนไทยครับ
หากว่าท่านใดมีหนังสือเล่มดังกล่าวอยู่ และมีความสะดวกพอจะอนุเคราะห์แก่ผม
ผมอยากขอภาพถ่าย หรือ ข้อความในหน้าหนังสือที่หายไปด้วยครับผม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 16 ต.ค. 10, 17:59


เข้าใจว่า แทบทุกเล่ม  คงแจก มาในสภาพนี้ค่ะ


       คุณติบอคงตามเรื่องคดีประปรีชากลการที่เราคุยกันหลายครั้งแล้วพอได้

เปรียบกับข่าวในจดหมายเหตุ สยามไสมย ปีที่ ๒  ฉบับที่ ๔  หน้่า ๒

ไม่น่าจะมีความลึกไปกว่านั้น   

หลวงพินิจจักรภัณฑ์(แฉล้ม  อมาตยกุล)  ถูกจองจำตั้งแต่ปี ๒๔๒๒   ได้รับพระราชทานอภัยโทษ ๒๔๒๖

อ่านรายละเอียดของคดีได้ในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาคที่ ๙  พ.ศ. ๒๔๒๒

มีวิทยาพนธ์เล่มเบ้อเริ่มเรื่องนี้ด้วยที่ดิฉันอ่านผ่านมา  เนื่องจากคดีพระปรีชากลการไม่ใช่ประเด็นความสนใจ

ดิฉันสนใจเรื่องหนังสือกฎหมายของนายโหมดเพียงเรื่องเดียว


       จะคิดหรือเขียนว่าเรื่องการจองจำ เจ้าหมื่นศรีสรรักษ์(เจิม  อมาตยกุล) และหลวงพินิจจักรภัณฑ์(แฉล้ม  อมาตยกุล)

เป็นเรื่องการเมืองก็พอจะเขียนได้

       ก.ศ.ร. ยังทำหนังสือเล่มหนึ่ง  ชื่อ "ที่ลำฤกการถูกจองจำ ตำแหน่งเจ้าพระยาของพระยากระสาปน์กิจโกศล นายโหมด"

พิมพ์ ๑๕๐ เล่ม

       คนเห็นหนังสือเล่มนี้มีไม่มาก  จะกี่คนคงนับได้ด้วยมือข้่างหนึ่ง    นับตั้งแต่ช่างพิมพ์  ช่างปก มาเลยนะคะ  จนเข้าตู้ของนักสะสม

หายไปร้อยกว่าปี

       ๑๕๐  เล่ม  ไม่ใช่จำนวนน้อย ๆ  ที่จะสูญไป

เนื้อในเล่มไม่เกี่ยว  แค่ปกก็ครบถ้วนกระบวนยุทธ   ถ้าเป็นท่ารบก็ต้องโยนอาวุธยาวทิ้งแล้วเข้าประจันบานด้วยดาบสองมือแล้วค่ะ


       
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 16 ต.ค. 10, 18:50

ขอบพระคุณ คุณวันดีครับ ที่ช่วยบอกความให้ทราบ
ว่าเนื้อไส้ในเล่มของหนังสือเจ้ากรรมเล่มนี้ขาดมาแล้วแต่ไหนแต่ไร

เรื่องที่ผมกำลังตามอยู่ คือ 'ประวัติการถ่ายภาพ' เพราะรู้สึกว่าเป็นของสำคัญ
ซึ่งเท่าที่เคยทราบมา ก็มี คุณ pipat และคุณ อเนก นาวิกมูล ได้ตามอยู่แล้ว เป็นต้น

แต่สถาบันที่ผมร่ำเรียนอยู่นั่นดันไม่เคยสอนอะไรให้ได้รู้ได้เห็นเลย
(แถมอาจารย์ที่สอนก็ยังถอดรายวิชาภาพถ่ายออกจากหลักสูตรเองเสียด้วย... เฮ่อ)


กลับมาเข้าเรื่องหนังสือครับ
เผอิญผมมีโอกาสได้คุยกับ อาจารย์หมอ พูนพิศ อมาตยกุล เรื่องอิเหนา ร.๑
แล้วก็ออกนอกเรื่องไปจนได้ยินท่านเกริ่นมาว่ามีประวัตินายโหมดอยู่ในหนังสือเล่มนี้
กรมพระยาดำรงทรงนิพนธ์ไว้เมื่อนานมาแล้ว

ได้ยินเข้าก็หูผึ่ง เพราะจำได้ถนัดว่าที่บ้านมีตัวหนังสืออยู่ เป็นของคุณทวดทิ้งไว้ให้
ปรากฏว่ากลับมาถึงบ้าน เมื่อพ้นจากงานไปแล้วว่างได้ฤกษ์หาหนังสือเปิดดู...

กลายเป็นว่าความเรื่องนายโหมดจบลงที่หน้า (๖)
ค้างอยู่ว่าลูกของท่านก็ได้รับราชการด้านเดียวกับท่านต่อมาด้วย
แล้วก็โลดไปขึ้นหน้า (๙) เลย... หน้า (๗) และ (๘) ที่ผมต้องใช้ขาดไป

อาการทุรณทุรายก็กำเริบใส่ผมทันที ให้วิ่งโร่ไปหาหนังสือฉบับนี้ในที่อื่นๆ
มีห้อง กรมพระจันทร์ฯ ในหอสมุดจุฬา เป็นอาทิ แต่ก็หาได้ไม่

ครั้นจะไปขอรบกวนอาจารย์หมอ ยืมหนังสืองานศพคุณปู่ท่านมาใช้ก็จนใจ
เพราะท่านออกปากมาเองว่า 'อยู่ที่หัวเตียงผม'... ใครจะไปกล้ายืมท่านล่ะครับ... เหอะๆ



ต้องขอบพระคุณ คุณ Wandee ครับ
ที่ได้ช่วยสงเคราะห์ทางจะไปต่อให้ผมได้บ้าง
แปลว่าเรื่องที่จะตามก็ต้องมีที่อื่นให้ต่อได้
หนังสือที่ไม่สมบูรณ์ก็ปล่อยไว้แต่เท่านั้นเถิด
ขอบพระคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 16 ต.ค. 10, 19:38


       คนเรามื่อรักจะตามเรื่องอะไร  ก็ควรไม่หยุดยั้งความพยายาม

อ่านเล่มหนึ่งได้  ก็อ่านอีก ๑๐๐ เล่มได้   หยุดคิดนิดหนึ่งได้ไหมว่าทำไมข้อมูลจึงเหมือนกันหมด

อ่านๆไป มีแต่งเพิ่มจากเกี่ยวดอง    ข้อมูลเพิ่มราวกับต้นปีปที่แย่งกันขึ้นแต่เจ้าของบ้านไม่ต้องการ

รากซับซ้อนเหลือทน

     ดิฉันอ่านมาหนังสือนายโหมด"หวิด" ถูกบรรจุเจดีย์

     เพื่อนๆร้องจ๊าก  แล้วฟาดดิฉันด้วยตั้งหนังสือใกล้มือ  ตะคอกว่า เผาไปแล้วเฟร้ย   เล่มนั้น  เล่มนี้ บอกไว้

แล้วไง...แก้ข้อมูลกันกี่ครั้ง

   

       การอ่านนั้นหยุดไม่ได้หรอกค่ะ   ต้องอ่านเรื่อยไป

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 16 ต.ค. 10, 20:51


มีสหายในเรือนไทยว่าจะไปตรวจให้ค่ะ   เขาว่าเขามีครบหน้า

เพราะถ้าไม่มีครบหน้าคงจำได้แล้ว

ยังมีความหวังค่ะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 16 ต.ค. 10, 23:21


เข้าใจว่า แทบทุกเล่ม  คงแจก มาในสภาพนี้ค่ะ


       คุณติบอคงตามเรื่องคดีประปรีชากลการที่เราคุยกันหลายครั้งแล้วพอได้

เปรียบกับข่าวในจดหมายเหตุ สยามไสมย ปีที่ ๒  ฉบับที่ ๔  หน้่า ๒

ไม่น่าจะมีความลึกไปกว่านั้น   

หลวงพินิจจักรภัณฑ์(แฉล้ม  อมาตยกุล)  ถูกจองจำตั้งแต่ปี ๒๔๒๒   ได้รับพระราชทานอภัยโทษ ๒๔๒๖

อ่านรายละเอียดของคดีได้ในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาคที่ ๙  พ.ศ. ๒๔๒๒

       

ขอให้คุณติบอ พบเอกสารโดยไว ตอนนี้จับจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาคที่ ๙ มาให้อ่าน


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 17 ต.ค. 10, 02:13

พระยาอภิรักษ์ราชอุทยานนั้น

มีอเรื่องเล่าอยู่ในหน้า ๔๒ - ๔๔  ของ หนังสืออนุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพ 

นาย ตรี  อมาตยกุล  ท.ช.. ท.ม.

ณ เมรุวัดชลประทานรังสฤษฎ์ 

๑๐ ตุลาคม  ๒๕๓๕


ในหน้า ๔๓

       พระยาอภิรักษ์อุทยานเป็นผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาเครื่องจักรกลจากบิดา

มากกว่าคนอื่น ๆ   จนสามารถอ่านแผนทางเดินของไฟฟ้าตามที่ใช้กันทางทวีปยุโรปได้

จึงคิดตั้งเครื่องกำเหนิดไฟฟ้าโดนร่วมมือกับชาวอังกฤษ  เพื่อทำกระแสไฟฟ้าสำหรับจุดดวงโคมขึ้นจำหน่าย 


บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 17 ต.ค. 10, 13:26

ขอบพระคุณ คุณ siamese และคุณ Wandee ครับ
เป็นอันว่าผมคงได้ที่ได้ทางให้ตามหาอ่านอีกมากมาย
ดีใจครับ ที่ทำงานไปแล้วไม่ต้องตันอยู่ที่เดียวเหมือนเดิม
ขอบคุณมากครับผม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 17 ต.ค. 10, 13:55

เอกสารที่ต้องการ  คุณหลวงเล็กจะนำมาลงในวันพรุ่งนี้ค่ะ

ท่านเจอแล้ว
 
เรื่องนายแฉล้มว่างงานอยู่ ๑๙ ปี   เป็นเรื่องที่ไม่อยากเอ่ยถึงกระมัง

ท่านยังบังคับให้ดิฉันไปอ่าน  คนดีที่ข้าพเจ้ารู้จักอีกด้วย

มีแต่พระยาเพชรพิชัย(เจิม  อมาตยกุล)  ในเล่ม ๓ ค่ะ




แต่เท่าที่ฟังก็เหมือนเคยอ่านผ่านมาว่าได้ช่วยบิดาในการถ่ายรูปและเครื่องจักรกล

เรื่องนายโหมด  ความสำคัญและประวัติของท่าน ได้อ่านมาคงจะไม่น้อยกว่าใคร

สงสัยว่า  ใครหนอเขียนไว้ว่าท่านเป็นช่างภาพหลวง  เรื่องซ่อมกล้องไม่เถียงค่ะ

เรื่องเล่นกล้องไม่เถียง   ท่านเป็นคนล้ำยุคไม่เถียง   ท่านเรียนภาษาจากบรัดเล ยอมรับส่วนหนึ่ง

ท่านเรียนชุบของ  ยอมรับค่ะ   ชุบหมายความว่าชุบเงินชุบทองค่ะ

แต่จะชุบเครื่องกระเบื้องเป็นเงินทองนั้น  เป็นความเข้าใจผิดเบื้องต้นทีเดียว

บรัดเลเชียร์นายโหมดบานเบิกบุรีรมย์     แต่นายโหมดไม่เคยเขียนไว้ที่ไหนว่า  ยวง บับตีส ปาเลกัว

เป็นครูของท่าน      คล้ายกับว่าท่านไปแวะรับการอบรมมากกว่า        

อันที่จริงนายโหมดก็ไม่ได้เขียนอะไรไว้มากนอกจากเล่มสีชมพูออกแดง
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 17 ต.ค. 10, 21:34

ขอบพระคุณ คุณหลวงเล็ก สำหรับข้อมูลครับ
และขอบคุณ คุณวันดีที่เตือนในสิ่งที่ผมสงสัย

ประการแรก เรื่องเล่นกล้อง ซ่อมกล้อง
ส่วนหนึ่งก็ยังไม่มั่นใจเองว่าท่านถ่ายภาพด้วยหรือไม่ ?
คนซ่อมกล้องเป็น คงต้องถ่ายภาพได้แน่
แต่จะเป็นช่างภาพที่ฝากฝีมือไว้หรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องนึง

ส่วนเรื่องชุบกระเบื้องให้เป็นทองถ้านายโหมดทำได้
รัชกาลที่ 5 คงตรัสใช้นายโหมดทำกระเบื้องหุ้มองค์พระศรีรัตนเจดีย์แล้วกระมังครับ


ปล. เข้าใจว่าผมน่าจะมี 'คนดีที่ข้าพเจ้ารู้จัก' อยู่ที่บ้าน
ขอเวลาเปิดอ่านเช่นเดียวกับคุณวันดีครับ
ไม่แน่ใจว่าเล่มที่มีอยู่จะมีข้อมูลที่ว่าไหม
ถ้ามีก็คงจะได้เบิกบานใจเป็นอย่างยิ่ง
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 18 ต.ค. 10, 15:33

แหล่งข่าวมารายงานให้ทราบในระหว่างที่ผมกำลังถือศีลกินเจว่า
มีผู้เจ็บท้องข้องใจมาลั่นกระดิ่งที่ปากประตูเรือนไทย
ขอความช่วยเหลือเฟื้อกู้เรื่องเอกสารเก่าหาย ๑ แผ่น

คุณหลวงได้ยินดังนั้นจึงไปรื้อกรุหนังสือเก่า  หมวดเรื่องอิเหนา-ดาหลัง
รื้อไปรื้อมาก็ได้หนังสือที่ต้องการ  ปกหน้าไม่มี ปกหลังอยู่แต่ขาดไปสักร้อยละ ๓๐
เปิดมาก็เจอหน้าเจ้าคุณอภิรักษราชอุทยาน  (แฉล้ม อมาตยกุล)
ช่างมีเค้าหน้าอย่างนายโหมดกระสปน์กิจโกศลมาก

จะช้าอยู่ไย เชิญทัศนาความใน หน้า (๗) (๘) บัดเดี๋ยวนี้

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 18 ต.ค. 10, 15:52

(((คัดลอกและตัดบรรทัดตามตามต้นฉบับ)))

หน้า (๗)

     พระยาอภิรักษ์ราชอุทยานถวายตัวเปนมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๔
เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๐๙   เมื่อเปนมหาดเล็กเปนแต่ช่วยบิดาทำ
ราชการในโรงกระสาปน์   แลการตั้งโรงแก๊ส  คือ ประทีปลม
การถ่ายรูปแลทำโคมลอยอย่างฝรั่งอันอยู่ในวิชาสำหรับสกุลนี้ในครั้ง
นั้น  ถึงรัชกาลที่ ๕  ได้พระราชทานสัญญาบัตรเปนหลวงพินิจจักรภัณฑ์
ปลัดกรมโรงกระสาปน์  เมื่อปีมเสง  พ.ศ. ๒๔๑๖  เปนผู้ซึ่งอยู่ใน
ชั้นหนุ่มที่ทรงใช้สอยใกล้ชิดติดพระองค์ผู้หนึ่ง   รับราชการเบ็ดเสร็จ
ในการอย่างใหม่ๆ ต่างๆ  เช่นแต่งพระที่นั่งแลตำหนักรักษาเปนต้น
ในเวลานั้น   สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระเจ้าน้องยาเธอ  แล
ข้าราชการที่รับราชการใกล้ชิดติดพระองค์   ได้สมาคมคุ้นเคยกับ
พระยาอภิรักษ์ฯ  มีหลายพระองค์หลายท่าน   จึงเปนมิตรสนิทสนม
ต่อมาจนตลอดอายุของพระยาอภิรักษ์ฯ  พระยาอภิรักษ์ฯ ได้พระ
ราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์มงกุฎสยามชั้นที่ ๕ วิจิตรราภรณ์  ในปี
แรกที่สร้าง  เครื่องราชอิศริยาภรณ์นั้น

         เมื่อปีจอ  พ.ศ. ๒๔๑๗  ทรงสร้างสวนสราญรมย์  โปรดให้
พระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน  แต่ยังเปนหลวงพินิจจักรภัณฑ์  เปนผู้ดูแล
การมาแต่แรกสร้าง   ในปีนั้นมีเหตุ  ถังที่โรงทำไฟแก๊สในพระบรม
มหาราชวัง  อยู่ตรงพระที่นั่งภาณุมาศจำรูญทุกวันนี้  ลุกขึ้น  โปรด
ให้ย้ายโรงแก๊สไปสร้างใหม่ที่น่าวัดสุทัศน์  ตรงที่สร้างตลาดเสาชิงช้า
ทุกวันนี้   แลฝังท่อใช้ไฟแก๊สทั้งในพระบรมมหาราชวังแลถนนใน...

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 18 ต.ค. 10, 16:06

หน้า (๘)


พระนครด้วย  จึงโปรดให้พระยาอภิรักษ์ราชอุทยานเปนผู้บังคับการ
โรงแก๊สด้วยอิกอย่าง ๑   ได้พระราชทานเหรียญบุปมาลาเปน
บำเหน็จในวิชาช่าง  เมื่อปีกุญ  พ.ศ ๒๔๑๘

         
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 18 ต.ค. 10, 16:06

ถึงปีเถาะ  พ.ศ. ๒๔๒๒  เกิดอุปัทวเหตุขึ้นในสกุล  บิดาแล
พี่ชายทั้งตัวพระยาอภิรักษ์ฯ  ต้องรับพระราชอาญา  พระยาอภิรักษ์ฯ
เอง  ถูกถอดจากยศบันดาศักดิแลตำแหน่ง  ไม่ได้ทำราชการอยู่  ๑๙  ปี
ในเวลาระหว่างนี้  พระยาอภิรักษ์ฯ ประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพ
ด้วยการต่างๆ  แต่เปนผู้มีนิไสยอยู่ในทางวิชา  จึงคิดตั้งบริษัท
ไฟฟ้าขึ้นเปนทีแรก   ซึ่งภายหลังได้ดอนมาเปนบริษัทไฟฟ้าสยาม
ทุกวันนี้   ต่อมาพระยาอภิรักษ์ฯ  ตั้งโรงทำน้ำแขงขึ้นขายได้
ประโยชน์ยืดยาวมาหลายปี
       
       
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 18 ต.ค. 10, 16:07

 มาถึงปีจอ พ.ศ. ๒๔๔๑   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัวทอดพระเนตรเห็นพระยาอภิรักษ์ฯ   ในโอกาศอันใดอันหนึ่ง   ทรง
พระปรารภสงสาร   จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กลับไปรับ
ราชการเปนเจ้ากรมพระราชอุทยานสราญรมย์ดังแต่ก่อน   แล้วพระ
ราชทานสัญญาบัตรเปนพระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน   เมื่อปีกุญ
พ.ศ. ๒๔๔๒  ครั้นต่อมาเมื่อทรงสร้างพระราชวังดุสิต   โปรดให้
ไปดูการทำสวนในบริเวณพระราชวัง   แล้วเปนผู้จัดการโรงทำโซดา
ดุสิตมาจนตลอดรัชกาล....
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง