เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 13
  พิมพ์  
อ่าน: 111148 ชื่อเรียกต่างๆจากวรรณกรรมเรื่องสี่แผ่นดิน
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 27 ต.ค. 10, 11:50

              งานโสกันต์ อยู่ในแผ่นดินที่ ๑ บทที่ ๔

              นอกจากนั้นยังมีงานต่างๆ ในวังซึ่งทำให้พลอยต้องใจเต้นระทึกอยู่เสมอ ด้วยความหวัง
ว่าจะได้เที่ยวได้สนุก งานที่พลอยเห็นว่าสนุกเป็นหนักหนา และ อีกหลายสิบปีต่อมา ถึงแม้ว่าพลอย
จะมีอายุมากแล้ว แต่เมื่อนึกถึงก็ยังอดใจเต้นไม่ได้ก็คือ

                  งานโสกันต์ทูลกระหม่อมฟ้า พระเจ้าลูกยาเธอ

เขาไกรลาสนั้น บรรยายว่า

               ยิ่งใกล้วันมีงานเข้าไปอีก ทั้งพลอยและช้อยก็อดรนทนไม่ไหว กลางวันว่างๆ ก็ต้องชวนกันเล็ดลอดหนี
จากตำหนักแล้วออกทางประตูย่ำค่ำ ไปดูเขาสร้างเขาไกรลาสที่ข้างๆ พระที่นั่งอัมรินทร์ เริ่มดูตั้งแต่เขาไกรลาส
ยังเป็นโครงไม้ไผ่สาน จนถึงเวลาที่เขาเอาแผ่นดีบุกหุ้ม แล้วทาสีให้เหมือนศิลาจริงๆ
              ทุกครั้งที่ไปดูก็จะเห็นเขาไกรลาส อันเป็นที่สรงน้ำหลังโสกันต์นั้นผิดตาไปทุกครั้ง จนในที่สุด
เมื่อใกล้วันงานเข้า มณฑปใหญ่ยอดเขาก็สร้างเสร็จ บุษบกที่สรงก็เสร็จลงข้างๆ กัน เจ้าพนักงานเริ่มใส่ต้นไม้ต่างๆ
และต่อน้ำพุในเขา และกั้นราชวัตรปักฉัตรโดยรอบบริเวณเขาไกรลาส.....             

               พอตกค่ำถึงเวลาเริ่มจุดไฟ ทั้งช้อยและพลอยก็ไม่มีตาสำหรับจะดูที่อื่น นอกจากเขาไกรลาส
เดินวนกันอยู่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย จนนับรอบไม่ถ้วน เพราะเวลากลางคืนและแสงไฟที่ประดับประดาไว้
ได้เปลี่ยนสภาพเขาไกรลาสที่ทำด้วยไม้ไผ่และดีบุก ให้กลายเป็นเขาไกรลาสในเทพนิยายไปจริงๆ
             ต้นไม้ต่างๆ ที่ปลูกไว้บนเขาดูระยิบระยับ ได้ด้วยดอกไม้ที่ถูกแสงไฟและลูกแก้วสีต่างๆ ที่แขวนไว้
รูปภาพต่างๆ ถูกแสงไฟเข้าก็กลับมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นรูปเทวดาหรือรูปสัตว์ ที่เรียงรายอยู่ทั่วไปตามเชิงเขาไกรลาสนั้น
ทำเป็นคูหา แต่ละคูหาก็ตั้งตุ๊กตา ไขกลไกกระดิกตัวเคลื่องไหวได้ เหมือนคนจริงๆ แต่ละคูหาก็แสดงเรื่องต่างๆ
มีรามเกียรติ์บ้าง อิเหนาบ้าง สังข์ทองบ้าง จับเอาตอนใดตอนหนึ่งมาแสดง ซึ่งแสดงเป็นภาพตุ๊กตากล ซ้ำอยู่ไม่รู้จบ
             ...ได้ดูตลอดงานซึ่งกินเวลาหลายวัน พอเสร็จงานแล้วเสด็จถึงกับทรงทักว่า "นังพลอยเที่ยวงานเสียผอม"
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 27 ต.ค. 10, 11:56

         คำถามอาจารย์ต้องขอผ่าน ครับ

แต่พอจะเรียงลำดับเวลา(ทั้งที่ไม่ถนัด) ได้ว่า

           พลอยเกิด พ.ศ. ๒๔๒๕ เข้าวังเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๕
จากข้อความบทที่ ๑ ที่ว่า - เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ พลอยมีอายุได้สิบขวบ  

         แม่อยู่ในวังด้วยพักหนึ่งแล้วจากไป เวลาผ่านไป ๒ - ๓  เดือน แม่ก็กลับมาเยี่ยมพร้อมของฝาก
แล้วจึงถึงงานโสกันต์(ในบทที่ ๔)

         แม่มาเยี่ยมอีก ๓ - ๔ ครั้ง (รวมเวลาน่าจะร่วม ๑ ปี) แล้วก็หายไปเพราะตั้งครรภ์ส่งพิศมาแทน
ซึ่งช่วงนี้พอดีตรงกับที่สองเด็กสาวชาววังมีอายุครบโกนจุก - อายุ ๑๑ - ๑๒ ขวบ

          ลำดับเวลาจากนิยายแล้ว งานโสกันต์พระเจ้าลูกยาเธอ ครั้งนั้นจึงมีขึ้นในพ.ศ. ๒๔๓๕ - ๒๔๓๖ ครับ

กระทู้เก่าของเรือนไทย  http://www.reurnthai.com/index.php?topic=162.60
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 27 ต.ค. 10, 12:17

ถ้าเป็นระยะเวลาระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๒๔๓๖
มีพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
และต่อด้วยพระราชพิธีโสกันต์พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงษ์
จัดขึ้นในเดือนมกราคม ๑๘๙๒ (นับอย่างปีปัจจุบัน เป็นปี ๑๘๙๓)

เป็นพระราชพิธีโสกันต์งานใหญ่ในระยะเวลานั้น ชาววังคงจำได้มาก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 27 ต.ค. 10, 12:30

เป็นพระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้า   เพราะในเรื่องระบุว่า "ทูลกระหม่อม" แต่งพระองค์ด้วยเพชรล้วน   ผู้หมอบเฝ้าข้างทาง ออกปากว่า "งามจริง"
ไม่ใช่พระองค์เจ้า
เสด็จเองก็เสด็จเข้าร่วมขบวนแห่ในกลุ่มเจ้านายฝ่ายในด้วย

ถ้ายึดคำตอบคุณหลวงเล็กเป็นหลัก ก็คงหมายถึงสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 27 ต.ค. 10, 14:56

ภาพพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ ๕ พร้อมด้วยเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ทรงเครื่องโสกันต์ พ.ศ. ๒๔๓๕


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 27 ต.ค. 10, 15:04

เครื่องประดับสำหรับงานโสกันต์ ชายไหว ชายแครง ทองคำประดับเพชร


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 27 ต.ค. 10, 15:16

ปั้นเหน่งเพชร และสายเข็มขัดทองคำฝังเพชร สำหรับพระราชพิธีโสกันต์ สูงส่งและล้ำค่าอย่างมาก เพชรน้ำงามขนาดเขื่อง และเพชรบริวารอีก ๘ เม็ด เม็ดกลางนี่น่าจะมากกว่า ๑๐ กะรัตขึ้นไปนะครับ


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 27 ต.ค. 10, 15:58

ไม่ค่อยชัดค่ะ


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 27 ต.ค. 10, 16:14

ม.ร.ว. คึกฤทธิ์บรรยายการแต่งกายในงานโกนจุกของพลอยไว้ว่า
"เกี้ยวทำด้วยทองคำประดับเพชรพลอยแวววาม   ผ้ายกทองสีสด  
มีนวมสวมรอบคอ ตรึงเครื่องเพชรต่างๆเข้ากับนวม  มีแหวน สายสร้อย
จี้ และของอื่นๆอีกเป็นอันมาก"
น่าจะประมาณนี้หรือเปล่าคะ....
ถ้าได้ กูรู photoshop ท่าน siamese มาช่วยใส่สีเครื่องแต่งกาย คงงามแวววาวนะคะ
(ประโยคนี้แค่รำพึงนะคะ มิบังอาจมีเจตนาจะให้ท่านต้องมาลำบากแต่อย่างใด  ยิงฟันยิ้ม )


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 27 ต.ค. 10, 16:17

"จนในที่สุดก็ถึงวันที่เฝ้าคอยกันอยู่ทุกคน คือวันที่เจ้านายโสกันต์เสด็จออกฟังสวดวันแรก ช้อยและพลอยไปคอยดูแห่อยู่ตั้งแต่กลางวัน จนตกบ่ายจึงจะได้เห็นกระบวนแห่ ผ่านจากพระราชฐานชั้นใน ออกมายังเขตพระราชฐานชั้นนอก ในระหว่างที่คอยดูแห่อยู่นั้น ทั้งพลอยและช้อยรู้สึกร้อนจนเหงื่อตกเปียกชุ่ม ไปทั้งตัว เพราะไหนจะแดดที่กระทบกับพื้นหิน เป็นไอร้อนกลับขึ้นมา ไหนจะต้องเบียดเสียดกับคน ที่มาคอยดูแห่เช่นกัน ทั้งช้อยและพลอยตกลงว่าจะจูงมือกันไว้แน่น ไม่ยอมให้พลัดกันไปได้ พอพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกส่งทูลกระหม่อมขึ้นพระยานมาศ เสียงประโคมสังข์แตรจากข้างใน บอกให้พลอยรู้ว่า กระบวนแห่จะเริ่ม ความร้อนก็หายไปเพราะความตื่นเต้น ทำให้พลอยลืมทุกอย่าง นอกจากจะดูให้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็น

        ต้นกระบวนแห่นั้น เป็นทหารเดินแถวเป่าแตรวง มีทหารแบกปืนเดินก้าวเท้าพร้อมกันได้จังหวะ เดินผ่านไปกองร้อยหนึ่งก่อน เสียงกองใหญ่แตรวงตีเป็นจังหวะเร้าใจ ทำให้หัวใจพลอยเต้นเข้าจังหวะตาม พอเสียงแตรวงไกลออกไป เสียงกลองแขกคู่หนึ่งที่นำขบวนหลังก็ดังใกล้เข้ามา และเสียงปี่ชวาเจื้อยแจ้ว ก็ดังขึ้นแทนเสียงแตรฝรั่ง ที่ค่อยๆเบาลง มีขุนนางเดินประณมมือเป็นคู่เคียงเป็นคู่ๆ ถ้ดจากนั้น ไปถึงคู่แห่มหาดเล็ก เดินเป็นคู่ๆเช่นเดียวกัน แล้วจึงถึงกระบวนเด็กๆ ที่มาเข้ากระบวนแห่ ตามติดๆ มาด้วยหมวดกลองชนะและแตรสังข์ ซี่งเป่าเป็นระยะๆ สองข้างเป็นพวกเครื่องสูง มีคนแต่งเป็นอินทร์พรหม เดินถือเครื่องสูงพวกฉัตรและบังแทรก แลดูสล้างเหมือนกับต้นไม้ที่เดินได้ จากนั้นก็ถึงพวกพราหมณ์ที่เข้ากระบวน มีทั้งพราหมณ์เป่าสังข์และแกว่งกลองเล็กๆ สองหน้ามีเสาปักกลางมีลูกตุ้มแขวน ที่เรียกว่าไม้บัณเฑาะว์ เสียงดังปงปัง และมีพราหมณ์โปรยข้าวตอก ในระหว่างเครื่องสูงที่เชิญมาสลับสลอนนั้น มีมหาดเล็กถือพระแสง เดินแซงอยู่ด้วย ต่อจากนั้นไปพวกผู้หญิงที่มาดูแห่ซุบซิบกันด้วยความสนใจ และสะกิดกันให้ดู จุดที่สนใจก็คือ เด็กผู้ชายเล็กๆ สองคนแต่งตัวสวยงามถือขนนกการเวก เสียงกระซิบกันว่า "น่ารัก" หรือ "น่าเอ็นดู" ดังอยู่ทั่วไป"
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 28 ต.ค. 10, 10:12

วันนี้ ท่องเน็ท เที่ยวงานโสกันต์กับแม่พลอยและช้อยต่อ ครับ

อีกภาพ เขาไกรลาสในงานพระราชพิธีโสกัณฑ์อย่างใหญ่ เฉพาะพระเจ้าลูกเธอ ที่ดำรงพระยศเจ้าฟ้า


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 28 ต.ค. 10, 10:14

เขาไกรลาสในพิธีเกศากัณฑ์ (ผู้เข้าพิธีมีฐานันดรศักดิ์เป็นหม่อมเจ้า เรียกพิธีว่า พระราชพิธีเกศากัณฑ์
แต่ก็เป็นพิธีหลวงเช่นเดียวกัน จะต่างกันที่ขนาด การแต่งองค์ทรงเครื่องและกระบวนแห่ จะลดลง
ตามลำดับเกียรติยศของเจ้านายผู้จะเข้าพิธี)

http://heritage.blogth.com/4611/%C7%D2%C3%CA%D2%C3+%C1%C3%B4%A1+%A9%BA%D1%BA%B7%D5%E8+4.html


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 28 ต.ค. 10, 10:17

พลอยเที่ยวงานโสกันต์ เพลินดูการละเล่นต่างๆ หลายอย่าง

                    พลอยและช้อยก็จูงมือกันเตร่ไปทางด้านโรงมหรสพ ที่ตรงสนามหลังวัดพระแก้ว
มีการละเล่นที่น่าดูหลายอย่าง

                    มีไม้ลอย ซึ่งคนปีนไม้สูงขึ้นไปยืนอยู่บนยอด
                    มีไต่ลวดและการแสดงโลดโผนอื่นๆ
                   ที่พลอยชอบมากที่สุดก็เห็นจะได้แก่ กระอั้วแทงควาย มีคนสองคนเข้าไปอยู่ในผ้าคลุม
ถือหัวควายแสดงกิริยาเหมือนควายจริงๆ มีชายคนหนึ่ง เล่นเป็นผัวนางกระอั้ว ถือหอกไล่แทงควาย และ
มีคนแต่งเป็นนางกระอั้ว อย่างตลกน่าหัวเราะ ถือร่มขาด และกระเดียดกระจาดคอยวิ่งตามหลัง
ส่วนควายนั้นก็วิ่งไล่ขวิดคนทั้งสอง ซึ่งหนีบ้างสู้บ้าง ด้วยท่าทางที่ทำให้คนดูต้องหัวเราะ ท้องคัดท้องแข็ง
ดูเท่าไรก็ไม่เบื่อ
                   ส่วนการละเล่นที่เรียกว่า โมงครุ่มและระเบงนั้น ผ่านไปดูได้ประเดี๋ยวหนึ่ง ช้อยก็ชวนไปที่อื่น
บอกว่าเบื่อไม่เห็นมีอะไร ร้องซ้ำๆ ซากๆ อยู่ได้

ไม้ลอย น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่งมีหกคะเมนบนปลายไม้ ใช้เล่นในงานพิธีใหญ่
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 28 ต.ค. 10, 10:20

การละเล่นหลวงอื่นๆ

กระอั้วแทงควาย (บ้างเรียก กระตั้วแทงควาย)

        กระอั้วแทงควายเป็นการเล่นของทวายหรือของพม่า มอญ มีผู้เล่น ๔ คน คำว่า "กระอั้ว" ไม่ใช่ภาษาไทย
เป็นภาษาทวาย เป็นชื่อสามีของนาง "กะแอ"
        ผู้เล่นชุดนี้มี ๔ คน คือ ตากระอั้ว นางกะแอ และความซึ่งใช้ผู้เล่น ๒ คน อยู่ในชุดควาย คือ
เป็นตอนหัวควาย ๑ คน และตอนท้ายอีก ๑ คน
         ผู้เล่นเป็นกระอั้วใส่เสื้อกะเหรี่ยงยาวชายเสื้อคลุมถึงน่อง หัวใส่ลองเป็นเกล้าผมสูงถือหอกใหญ่ ใบกว้าง
ทำด้วยกระดาษ ผู้ที่เล่นเป็นนางกะแอ แต่งตัวเป็นผู้หญิง ผัดหน้าขาวแต้มไฝเม็ดใหญ่ หัวสวมผมปีก นุ่งผ้าถุง
ใส่เสื้อเอว ห่มผ้าแบสีแดงห้อยบ่า กระเดียดกระทาย ถือร่มในขณะเล่นใช้ร่มคอยค้ำควายไว้เพื่อป้องกันตัว
        การดำเนินการแสดงไม่มีอะไรแสดงว่ายุ่งยากมาหนัก เพราะเป็นการเล่นสนุกๆ ให้เกิดความขบขัน
มากกว่าอย่างอื่น เป็นการแสดงการล่าควาย ในระหว่างที่แสดงก็ทำท่าขบขันต่าง ๆ เช่น การหลอดล่อ หลบหนี
การไล่ติดตามระหว่างควายและตากระอั้ว ประกอบกับการทำท่าทางตกอกตกใจของนางกะแอจนผ้าห่มหลุดลุ่ย
เป็นที่สนุกขบขันเฮฮา และท่าทางดีใจของสองผัวเมียเมื่อควายได้สำเร็จ เป็นต้น


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 28 ต.ค. 10, 10:22

โมงครุ่ม (มงครุ่ม)

           เป็นการละเล่นมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาการแต่งตัวของผู้เล่นเหมือนกับระเบ็ง มือถือไม้กำพด
คือ กระบองสั้นแต่มีด้ามยาว มีกลองประกอบการเล่น กลองใหญ่เหมือนกลองทัดหน้ากว้าง
ประมาณ ๕๕ เซนติเมตร ผู้เล่นแบ่งออกเป็นกลุ่ม จะมีกี่กลุ่มก็ได้ กลุ่มละ ๔ คน กลุ่มหนึ่งมีกลองโมงครุ่ม ๑ ใบ
อยู่ตรงกลางด้านหน้ามีผู้เล่น ๑ คน มายืนตรงหน้าคอยตีโหม่งบอกท่าทางให้ผู้เล่นทำตาม
            เมื่อผู้ตีโหม่งให้สัญญาณ ผู้เล่นเข้าประจำที่แล้ว คนตีโหม่งจะร้อง "อีหลัดถัดทา" และตีโหม่ง ๒ ที
แล้วบอกท่าต่าง ๆ ผู้เล่นจะยักเอว ซ้ายที ขวาที จะร้อง "ถัดถัดท่า ถัดท่าท่าถัด" จนกว่าคนตีโหม่ง
จะให้สัญญาณเปลี่ยนท่าผู้ตีโหม่งจะรัวสัญญาณให้ผู้เล่นหยุดยืนอยู่กับที่ด้วยวิธีร้องบอกวา "โมงครุ่ม"
ตีโหม่ง ๒ ที (มง ๆ) ผู้เล่นจะใช้ไม้กำพดตีหนังกลอง ซ้ายที ขวาที (ดังครุ่ม ๆ ) ผู้ตีโหม่งจะรัวสัญญาณ
ให้ผู้เล่นหยุด แล้วบอกท่าใหม่ ท่าที่เล่นมีมากมายหลายท่า เช่น ท่าบัวตูม ท่าบัวบาน ท่าลมพัด ท่ามังกรฟาดหาง
พระจันทร์ทรงกลด เมขลาล่อแก้ว รามสูรขว้างขวาน ฯลฯ
           สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ทรงพระนิพนธ์ท่ารำโบราณไว้ในสาส์นสมเด็จ
การเล่นแบบนี้บางท่านเรียก "อีหลัดถัดทา" ที่เรียกว่าโมงครุ่ม สันนิษฐานว่าคงจะเรียกชื่อตามเสียงโหม่ง
และเสียงกลองที่ดัง


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.089 วินาที กับ 20 คำสั่ง