เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 13
  พิมพ์  
อ่าน: 110961 ชื่อเรียกต่างๆจากวรรณกรรมเรื่องสี่แผ่นดิน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 22 ต.ค. 10, 08:14

ขนมปังหมูหยอง ภาพไม่ขึ้น  ต้องลองอีกทีค่ะ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 22 ต.ค. 10, 08:25

และอีกจุดหนึ่ง
"...บริเวณว่าท่าราชวรดิฐ ข้างเหนือขึ้นไปให้ทำท่าสำหรับเรือข้าราชการอีกท่า ๑ โปรดให้เรียกว่า ท่านิเวศน์วรดิฐ. ประปา ที่เหนือท่านิเวศน์วรดิษฐ โปรดให้ตั้งเครื่องสูบน้ำด้วยเครื่องจักรแลสร้างถังสูงสำหรับขังน้ำที่สูบขึ้นไปจากแม่น้ำ แล้วฝังท่อไขน้ำเข้าไปใช้ในพระราชวัง ( ประปาที่ยังใช้มาจนตลอดรัชกาลที่ ๕ พึ่งเลิกเมื่อมีประปาสำหรับพระนคร .."


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 22 ต.ค. 10, 10:14

         น้ำที่ขึ้นชื่อฮือฮาในยุคนั้น เพราะเป็นของแปลก ของคนรวยคือ น้ำแข็ง
คุณสายเล่าว่า

              " จะมีสายหยุดที่ไหนเสียอีกล่ะ ถือว่าเป็นลูกผู้ดี พ่อเป็นเจ้าพระยา ปู่ย่าตาทวด เป็นเจ้าคุณราชินิกุล
มีเงินจนไม่รู้จะทำอะไรหมด
               แม่แช่มจำได้ไหม เมื่อแม่แช่มยังเด็กๆ ใครเป็นคนเอาขนมปัง เข้ามาเลี้ยงเพื่อนในวังก่อนคนอื่น
ใครที่เจ้าคุณพ่อสั่งน้ำแข็งมาจากสิงค์โปร์ แล้วส่งเข้ามาให้ ตัวเองไม่กล้ากิน ให้บ่าวลองกินดูก่อน
มันร้องสามบ้านเจ็ดบ้านว่าลิ้นจะขาด "



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 22 ต.ค. 10, 10:17

              ขนมที่ไม่ค่อยได้เห็นหรือรับประทานแล้ว ครับ

สี่แผ่นดิน เมื่อแรกเข้าวัง

         "นั่นห่ออะไร พลอย"
         "ห่อจันอับ" พลอยตอบ "ฉันได้มาจากบ้านเมื่อเช้านี้ กินด้วยกันซีช้อย"
ว่าแล้วพลอยก็แก้ห่อจันอับออกวางบนตัก
         ช้อยหยิบจันอับไปเคี้ยวกิน โดยไม่พูดไม่จาอะไรอยู่สักครู่หนึ่ง แล้วถามขึ้นห้วนๆ ว่า
         "คิดถึงบ้านไหม พลอย"

จากมติชน  28 กรกฎาคม 2552 โดยคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ

                         กล่อง“จันอับ” ใส่ขนม“แต้เหลี้ยว”ของจีน


      จันอับ เพี้ยนจากคำจีนแปลว่า กล่องใส่ของ แต่ไทยหมายถึงขนมหวานอย่างแห้งของจีน
มีหลายอย่าง

         อาจารย์เฉลิม ยงบุญเกิด อธิบายว่ามาจากภาษาจีนแต้จิ๋วว่า จิ๊งอั๊บ แปลว่า กล่องถวายหรือกล่องบูชา
ซึ่งในกล่องใส่ขนมจันอับไหว้เจ้า (จากหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเฉลิม ยงบุญเกิด
เมรุวัดธาตุทอง วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2518)

        ยุคกรุงศรีอยุธยามีขนมจันอับขายแล้ว มีโรงทำเครื่องจันอับด้วย หนังสือภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา
(เอกสารจากหอหลวง) บันทึกว่า มีพวกจีนตั้งโรงทำเครื่องจันอับ และขนมแห้งจีนต่างๆหลายชนิด
หลายอย่างอยู่ตลาดน้อย ใกล้ประตูช่องกุดท่าเรือจ้างข้ามไปวัดพนัญเชิง

          จันอับสมัยรัชกาลที่ 5 หมายถึงขนม 6 อย่าง มีรายชื่อในพระราชบัญญัติอากรจันอับ ร.ศ. 111
ดังนี้คือ

น้ำตาลกรวด

ฟัก, ถั่วก้อน, ถั่วตัด, งาตัด, โซถึง, ปั้นล่ำ, ก้านบัว, ขิงเคี่ยว, น้ำตาลทราย, ขนมเปี๊ยะ,
ข้าวพอง, ตังเม, ถั่วงา, ขนมโก๋ทำด้วยแป้งขาวแป้งถั่ว

วุ้นแท่ง, ตังเมหลอด, น้ำตาลทรายเคี่ยวหล่อหลอมเป็นรูปต่างๆ

ขนมซาลาเปา ทำด้วยแป้งข้าวสาลี

ไพ่กระดาษจีน

เทียนไขเนื้อ

             แต่เอกสารบางเล่มเรียกขนมจันอับเป็นภาษาจีนว่า“แต้เหลี้ยว”ทำให้รู้ว่าจันอับเป็นชื่อกล่องใส่ขนม
ส่วนขนมในกล่องจันอับเรียกแต้เหลี้ยว มีขนม 58 อย่าง (สูจิบัตรงานนิทรรศการสินค้าพื้นเมืองไทยใน
พระราชพิธีสมโภชพระนครครบร้อยปี พ.ศ. 2425 สำนักพิมพ์ต้นฉบับ พิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2543)
แล้วมีคำอธิบายดังนี้

            “รวม 58 สิ่งนี้จีนเรียกว่าแต้เหลี้ยว ไทยเรียกว่าเครื่องจันอับเปนขนมสำหรับจีนไหว้ เมื่อเทศการตรุษจีน
ศาจจีน ไม่ว่าตรุษศาจอันใด ต้องมีเครื่องแต้เหลี้ยวนี้กำกับทุกตรุษ ทุกศาจ โดยที่สุดแต่วันชิวอิดจับเหงา
ก็ต้องมีเครื่องแต้เหลี้ยวไหว้เจ้าทุกวันๆ แลเครื่องแต้เหลี้ยวนี้เปนของรับประทานกับน้ำร้อนน้ำชาด้วย

              อนึ่ง ไทยจีนจะทำการวิวาหะมงคล ฤาทำการบุญต่างๆ ก็มักใช้เครื่องแต้เหลี้ยวเปนของขันหมาก
แลใส่ปากกระจาดก็มาก

              เครื่องแต้เหลี้ยวนี้ จีนทำขายที่ตำบลสำเพง ราคาซื้อขายที่โรงผู้ทำต้องชั่งน้ำหนักระคนปนกันทุกสิ่ง
หนักห้าชั่งจีนต่อบาท

              ราคาซื้อขายตามตลาดเครื่องแต้เหลี้ยวห่อหนึ่งหนักเจ็ดตำลึงจีนบ้าง แปดตำลึงจีนบ้าง ราคาห่อละเฟื้อง
ที่เปนชิ้นเปนอันก็ขายกันอันละเฟื้อง อันละ 4 อัฐ อันละ 2 อัฐ อันละ 1 อัฐ ก็มี”

สูจิบัตรนี้มีชื่อขนมจำนวนหนึ่งที่ยังบอกไม่ได้ว่าคืออะไร? เช่น

“โซถึง, อิ้วจ๊อ, เม่งถึง, เซียงเต้าถึง, กิมเก๊กโซ, กิมโซเบีย, ฮองหงัน เปีย, เบเตยโซ, กึงกังเปีย,
เกียมโก, จือถึงโก, เบ๋เต้ยโก, ฬ่อใจ, ทึ่งกวย, กิมกวย, กิมหัม, เกยปะโก, เปียโถ, มี่เต๊ก,
เล่งมึ่งเปีย, เง่าฮุนปั้ง, กาเปีย, เตเปีย, บ้วยกี, ตือถึงโก, เปากวน”

ผมจนปัญญา ไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร เลยป่าวร้องขอความช่วยเหลือแปลหรืออธิบายชื่อขนมที่คัดมาไว้นี้
จะเป็นพระคุณสูงยิ่ง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 22 ต.ค. 10, 10:23

ช่วงนี้ติดตามอ่านบทรายการ รู้ รัก ภาษาไทย อยู่ครับ

              หมูหย็อง เป็นของกินทำด้วยเนื้อหมูทำเป็นฝอย ๆ.

          คำว่า หย็อง หมายถึง หยิกเป็นฝอยฟู เช่น ผมหยิกหย็อง. 
หย็อง ในคำ หมูหย็อง อาจมาจากคำว่า ย้ง ในภาษาจีนแต้จิ๋ว บ๊ะย้ง แปลว่า หมูหย็อง.
นอกจากนั้น ในภาษาไทใหญ่มีคำว่า ย้อง เสียงและความหมายใกล้เคียงกับ หย็อง เช่น 
เป๋นย้องเป๋นย้อง มีความหมายว่า เป็นเส้น ๆ. คำว่า เน่อย้อง หรือ ย้องเน่อ แปลว่า เนื้อเป็นเส้น ๆ เป็นอาหารชนิดหนึ่ง
ของชาวไทใหญ่ วิธีทำเน่อย้อง คือเอาเนื้อมาหั่นเป็นเส้น ๆ นวดกับเกลือ แล้วย่างหรือตากแดดจนแห้ง เก็บไว้กินได้นาน

คำว่า หย็อง ในภาษาไทย  ย้อง ในภาษาไทใหญ่ และ ย้ง ในภาษาจีน มีเสียงและความหมายคล้ายกัน.

บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย"  ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 22 ต.ค. 10, 10:51

ตอบคุณ SILA  ภาพขนมเม่งถึง เป็นแป้งข้าวเหนียวนุ่มๆคลุกงา


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 22 ต.ค. 10, 11:09

ขอบคุณคุณ siamese ครับ

อ้างถึง
“โซถึง, อิ้วจ๊อ, เม่งถึง, เซียงเต้าถึง, กิมเก๊กโซ, กิมโซเบีย, ฮองหงัน เปีย, เบเตยโซ, กึงกังเปีย,
เกียมโก, จือถึงโก, เบ๋เต้ยโก, ฬ่อใจ, ทึ่งกวย, กิมกวย, กิมหัม, เกยปะโก, เปียโถ, มี่เต๊ก,
เล่งมึ่งเปีย, เง่าฮุนปั้ง, กาเปีย, เตเปีย, บ้วยกี, ตือถึงโก, เปากวน”

ผมจนปัญญา ไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร เลยป่าวร้องขอความช่วยเหลือแปลหรืออธิบายชื่อขนมที่คัดมาไว้นี้
จะเป็นพระคุณสูงยิ่ง

เป็นคำถามตอนท้ายที่คุณสุจิตต์ถามไว้ในบทความครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 22 ต.ค. 10, 11:33

เห็นภาษาจีนแล้วต้องขอส่งไม้ต่อให้คุณม้า ค่ะ

สี่แผ่นดิน พูดถึงอาหารการกินของชาววังไว้หลายอย่าง แม่พลอยเข้าวังวันแรก  ก็เจออาหารชาววังที่คุณสายใส่ชามวางไว้กินเล่น  คือกุ้งเชื่อมกับไข่แมงดาทะเลเชื่อม (หรือแช่อิ่ม) 
ไม่เคยกิน  มีแต่รูปไข่แมงดาทะเลมาให้ดู



ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์ประหลาดทั้งหลาย คือคุณเพ็ญชมพู  ไม่รู้ว่าเคยกินไข่แมงดาทะเลหรือเปล่า   


ในห้องคุณสายมีชั้นวางขวดโหลใส่ขนมหลายอย่าง   พลอยอดข้าวมาแต่เช้า ได้แต่นั่งมองแล้วท้องร้องจ๊อกๆ   
หนึ่งในนั้นคือขนมอาลัว
ขนมอาลัวเจ้าอร่อยที่เคยกินแล้วยังไม่ลืม  เป็นฝีมือคุณป้าพิศวง  หลานสาวของแม่เกด นางเอกเรื่องราตรีประดับดาว  ท่านอยู่ที่เพชรบุรี   ตอนไปสัมภาษณ์ชีวิตคุณหญิงวิเศษสิงหนาถเพื่อเอามาเขียน  เลยโชคดี  ได้กินขนมชนิดนี้ด้วย

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 22 ต.ค. 10, 12:23

ข้อความจากหนังสือ ครับ

                 ชั้นเตี้ยๆ ที่วางอยู่ชิดฝาด้านข้างประตู บนชั้นนั้นมีขวดโหลวางเรียงรายอยู่เป็นแถว ในขวดโหลนั้นใส่
                 ข้าวตังกะทิบ้าง น้ำพริกเผาบ้าง หมูหยอง มะขามฉาบ ปลาแห้งผัดพริกกะเกลือ ฝอยทองกรอบ ขนมอะลัว และ
ของอื่นๆ ที่น่าสนใจสำหรับเด็กอายุ ๑๐ ขวบขนาดพลอยเป็นอันมาก

และ

                  ชามใบหนึ่งนั้น ใส่ไข่แมงดาทะเล ซึ่งพลอยเคยเห็นแต่เขาแกงคั่วกับสับปะรด และ
                  ชามอีกใบหนึ่งนั้นใส่กุ้งตะเข็บ ซึ่งพลอยเคยเห็นเขาทำกุ้งเค็ม หรือใช้ผัดใช้แกง
                  แต่ไข่แมงดาทะเลและกุ้งที่เห็นในวังนี้ กลายเป็นของใหม่สำหรับพลอย เพราะทั้งสองอย่างนั้นเชื่อมน้ำตาล
มีน้ำตาลจับจนแข็ง
                  ...เห็นแม่กำลังหยิบกุ้งเชื่อม หรือถ้าจะเรียกให้ถูกก็ต้องเรียกว่า กุ้งแช่อิ่มนั้น ขึ้นใส่ปากเคี้ยวกิน อย่างเอร็ดอร่อย
                  ...พลอยลองเคี้ยว(ไข่แมงดา) ดูแล้วก็ต้องรีบกลืนให้หมด เพราะหวานแสบไส้

และ มื้อแรกของพลอยในวัง

                  พบกับข้าวที่รู้จักแล้วทั้งนั้น เป็นต้นว่า แกงบอน ผัดถั่วฝักยาว ยำไข่ปลาดุก

ตัดต่อจากโพสท์ทูเดย์ เล่าถึง เมนูโปรดรัชกาลที่ห้า โดยสาโรจน์ มีวงษ์สม

         .... ในรัชสมัยของพระองค์เป็นยุคทองของเรื่องอาหารอย่างแท้จริง และยังเป็นยุคสมัยแห่งการผสมผสาน
ของอาหารชาววังกับวัฒนธรรมตะวันตกอีกด้วย โดยในปี พ.ศ.2413 หลังจากเสด็จกลับจากการประพาสสิงคโปร์
ทรงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอาหารไทยที่สำคัญคือ มีการตั้งโต๊ะเสวย และการใช้ช้อนส้อมแบบสากล

            นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเปลี่ยนไปเสวยพระกระยาหารเช้าแบบยุโรป ...

          แต่กระนั้นการเรียนรู้งานฝีมือและการปรุงอาหารชาววังตามแบบประเพณีเดิมก็ยังดำรงอยู่...

            พระตำหนักที่เป็นแหล่งบ่มเพาะความรู้ทางด้านอาหารชาววังที่สำคัญที่สุด คือ ตำหนักพระวิมาดา
กรมพระสุทธาสินีนาฎปิยมหาราชปดิวรัดา หรือ "เจ้าสาย" พระอัครชายา และทรงเป็น "ต้นเครื่องใหญ่"
ผู้ควบคุมการทำพระกระยาหารถวายตลอดรัชสมัย
            ..................................

          ตำรับอาหารเจ้านายในวังสมัยก่อนมักโปรดเสวยหวาน โดยเฉพาะที่จะขาดไม่ได้คือ หมูหวาน
ต้องขึ้นโต๊ะถวายทุกมื้อ อาหารชาววังจริงๆ รสต้องนุ่มนวล ไม่จัด ไม่เข้มข้น หรือมีกลิ่นค่อนข้างแรง
อาหารทุกชนิดต้องหวานนำ

            เมนูโปรดที่ถวายกันเป็นประจำคือ แกงจืดลูกรอก เนื้อปลาช่อนหรือปลาดุกทอดกรอบฟู
ยำไข่ปลาดุก เนื้อทอดชิ้นเล็กๆ โรยหน้าด้วยมะพร้าวทอดกรอบ
            ของหวานที่โปรดมี รังผึ้งสด มะตูมสุกราดกะทิ กระท้อนห่อลอยแก้ว วุ้นแช่เย็น เต้าฮวยน้ำขิง
            อาหารฝรั่งก็มี ซุปข้น ไก่งวงปิ้ง หมูแฮมอบ ถั่วเขียวอบ และขนมเค้ก

            พระกระยาหารที่ทรงโปรดและต้องมีตั้งถวายทุกวัน คือ ปลากุเลาทอด และไข่เค็ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 22 ต.ค. 10, 13:51

สี่แผ่นดิน พูดถึงอาหารการกินของชาววังไว้หลายอย่าง แม่พลอยเข้าวังวันแรก  ก็เจออาหารชาววังที่คุณสายใส่ชามวางไว้กินเล่น  คือกุ้งเชื่อมกับไข่แมงดาทะเลเชื่อม (หรือแช่อิ่ม) 
ไม่เคยกิน  มีแต่รูปไข่แมงดาทะเลมาให้ดู



ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์ประหลาดทั้งหลาย คือคุณเพ็ญชมพู  ไม่รู้ว่าเคยกินไข่แมงดาทะเลหรือเปล่า 

ไม่เคยรับประทานสักที

แต่พอทราบว่าไข่แมงดาทะเลมีพิษ ถ้าเลือกไม่ดีระหว่างแมงดาจานและแมงดาถ้วย


บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 22 ต.ค. 10, 14:03

กุ้งตะเข็บ หน้าตาเป้นอย่างไรคะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 22 ต.ค. 10, 14:28

กุ้งตะเข็บ หน้าตาเป้นอย่างไรคะ

ชื่อไทย      กุ้งกุลาลาย  กุ้งลาย  กุ้งตะเข็บ
ชื่อสามัญ      Green  tiger  prawn
ชื่อวิทยาศาสตร์    Penaeus  semisulcatus
ครอบครัว   Penaeidae
      ลักษณะโดยทั่วไป  หนวดลาย  สันข้างแก้มอยู่ในแนวเฉียงขึ้นไปทางด้านหลัง  สันที่อยู่สองข้างโคนกรียาวเลยฟันกรีอันหลังสุด  ลำตัวสีน้ำตาลปนแดง  (อาจเปลี่ยนสีได้ตามสภาวะสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับกุ้งชนิดอื่น ๆ )  มีจุดสีน้ำตาลกระจายอยู่เต็ม  และมีแถบสีเข้มพาดขวางลำตัวทำให้เห็นเป็นปล้อง ๆ ด้านบนของกรีมีฟัน  6 – 7  ซี่  ด้านล่างมี  2 – 3  ซี่  ขามีสีนวลสลับกับสีส้ม  ริมขอบขาว่ายน้ำและหางมีขนสีแดงอยู่โดยรอบ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 22 ต.ค. 10, 14:36

ราชบัณฑิตยสถานให้คำนิยามไว้

ตะเข็บ ชื่อกุ้งทะเลขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Metapenaeus วงศ์ Penaeidae ตัวแบน.

ที่่ตลาดบางปะกง โลละ ๕๐

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 22 ต.ค. 10, 14:38

กุ้งหวาน หรือกุ้งแช่อิ่ม หรือกุ้งเชื่อม

ปัจจุบันก็ทำกินเองที่บ้าน อร่อยกินได้ทั้งเปลือกเลย ตั้งน้ำให้เดือด ใส่น้ำตาลให้ท่วม ใส่กุ้งต้มนานๆ ให้น้ำตาลรัด พอเปลือกกุ้งใส ก็เสร็จพิธี


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 22 ต.ค. 10, 14:39

ต่อเนื่อง เครื่องเสวย ล้นเกล้า ร.๕ ครับ

จาก bangkokbiz news วันนี้

              อาหารทรงโปรดอย่างหนึ่ง คือ ปลาทูทอด และต้องเป็นปลาทูจากเพชรบุรี(แม่กลอง) เท่านั้น
ซึ่งฝีมือการทอดปลาทูที่พระองค์ท่านโปรดเสวยที่สุดคือฝีมือของเจ้าจอมเอิบ โดยมีพระราชพัตถเลขาถึงพระยาบุรุษฯ ว่า

              “เรื่องทอดปลาทูอยู่ข้างจะลำบากมาก ถ้าพลาดไปแล้วข้ากลืนไม่ลง ขอให้จัดตั้งเตาที่สะพานต่อเรือนข้างหน้าข้างใน
บอกกรมวังให้เขาจัดรถให้นางเอิบออกไปทอด เตรียมเตาและกระทะไว้ให้พร้อม”

และภาพที่ร้านอาหารเกือบทุกแห่งติดไว้ที่ฝาผนัง นั่นคือภาพที่พระพุทธเจ้าหลวงทรงกำลังทอดปลาทู
และผู้ฉายพระรูปก็คือ เจ้าจอมเอิบ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 20 คำสั่ง