เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 13
  พิมพ์  
อ่าน: 111205 ชื่อเรียกต่างๆจากวรรณกรรมเรื่องสี่แผ่นดิน
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


 เมื่อ 15 ต.ค. 10, 20:41

เคยติดตามอ่านเรื่องราวต่างๆในwebsiteนี้มานานแล้วค่ะ แต่เพิ่งจะสมัครสมาชิกเมื่อไม่นานมานี้เอง
ที่เรือนไทยนี่มีคนเก่งๆเยอะมากค่ะ อ่านแล้วได้ความรู้ในหลายๆแขนงและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าในทางวิชาการอย่างมากด้วย
 
สี่แผ่นดินเป็นเรื่องที่ชอบอ่านมากๆค่ะ แต่ในช่วงแรกก็รู้สึกสับสนกับตัวละครที่ถูกกล่าวถึงอยู่บ่อยๆ ว่าเป็นใคร และมีความสำคัญอย่างไร เพราะบางครั้งผู้ประพันธ์ (ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช) จะใช้ชื่อที่ชาววังเรียกและรับรู้กันเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว เช่น สมเด็จที่บน สมเด็จพระตำหนัก สมเด็จพระนาง เสด็จอธิบดี หรือใครต่อใครอีกมากมาย ที่ทำให้ผู้อ่านหลายคนไม่เข้าใจว่ากำลังกล่าวถึงใคร และถือเป็นอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งในการอ่านเรื่องนี้   กระทู้นี้ตั้งใจรวบรวมชื่อต่างๆที่ปรากฏในเรื่องสี่แผ่นดินมาให้ผู้อ่านได้ทดลองเอาข้อมูลเหล่านี้ไปประกอบการอ่านให้เข้าใจมากขึ้นค่ะ

(หนูเป็นสมาชิกใหม่และไม่เคยตั้งกระทู้มาก่อนเลยค่ะ มีความผิดพลาดหรือขาดตกบกพร่องยังไง ขอความกรุณาท่านผู้รู้ให้คำแนะนำหรือเพิ่มเติมรายละเอียดให้ด้วยนะคะ...)
บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 15 ต.ค. 10, 20:43

สมเด็จที่บน (สมเด็จรีเยนต์) – สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ
สมเด็จพระตำหนัก – สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี (พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า)
สมเด็จพระนาง – สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
*ท่านองค์ใหญ่ – พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา
(องค์ใหญ่ในพระอัครชายาเธอทั้งสามที่ประกอบไปด้วยพระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค , พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ และพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์)
*ท่านองค์กลาง (พระอัครชายาองค์กลาง) – พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์
*ท่านองค์เล็ก – พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
พระราชชายา – เจ้าดารารัศมี
บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 15 ต.ค. 10, 20:45

เสด็จอธิบดี – พระองค์เจ้านภาพรประภา กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี
เสด็จพระองค์ใหญ่ – พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ สุนทรศักดิกัลยาวดี กรมขุนสุพรรณภาควดี
เสด็จพระองค์กลาง – พระองค์เจ้าสุวพักตรวิไลยพรรณ
สมเด็จหญิงพระองค์ใหญ่ – สมเด็จเจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์
ท่านชายพระองค์เล็ก – พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร
แมวอิเหนา – เจ้าจอมมารดาวาด (ในรัชกาลที่ ๔)

เจ้าคุณตำหนัก  ได้แก่
-เจ้าคุณตำหนักเดิม คือ คุณนุ่ม {ธิดาสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยหรือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต  บุนนาค)}
-เจ้าคุณตำหนักใหม่ คือ คุณแข {ธิดาสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่หรือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ  บุนนาค)}
เจ้าคุณปราสาท – คุณกระต่าย(เจ้าคุณหญิงต่าย) เรียกกันเช่นนี้ เพราะท่านอยู่กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าประไพวดี กรมหลวงเทพยวดี (พระราชธิดาพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ) ที่พระที่นั่งพิมานรัตยาในหมู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ชาววังจึงเรียกสมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ ว่า “ทูลกระหม่อมปราสาท” และเรียกเจ้าคุณหญิงต่ายว่า “เจ้าคุณปราสาท”
คุณห้างทอง – เจ้าจอม ม.ร.ว.แป้ม  มาลากุล
บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 15 ต.ค. 10, 20:49

ทูลกระหม่อมพระองค์เล็ก – สมเด็จฯเจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
ทูลกระหม่อมเอียด – สมเด็จฯเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
ทูลกระหม่อมติ๋ว – สมเด็จฯเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย
ทูลกระหม่อมเอียดน้อย – สมเด็จฯเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา (รัชกาลที่ ๗)

 ยิงฟันยิ้ม

มีอะไรเพิ่มเติม เดี๋ยวหนูจะมาเขียนต่อนะคะ
ข้อมูลส่วนใหญ่ได้มาจากการหาในอินเตอร์เน็ต และได้จากหนังสือหลายๆเล่มมาประกอบกันค่ะ
ขอเวลาเก็บข้อมูลก่อนนะคะ
 ยิ้ม
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 15 ต.ค. 10, 21:28

ขอบคุณ คุณ pierre สำหรับกระทู้ครับ
ดีใจที่ได้เห็นสมาชิกใหม่เข้ามาในเรือน
และมีประเด็นที่คุณได้ตามศึกษามาแล้ว

มีคนจำนวนไม่น้อยที่เริ่มหลงรักวรรณกรรม
สังคม หรือศิลปะแขนงอื่นๆของไทย
และก้าวต่อไปได้อย่างภาคภูมิในแวดวงของเขา
โดยเริ่มต้นมาจากสี่แผ่นดินเหมือนที่คุณทำอยู่นี่ล่ะครับ

ขอให้มีความสุขกับการเดินทางบนถนนสายวัฒนธรรมไทยนะครับ
เราคงได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ต่างๆกันอีกมาก ยินดีต้อนรับครับ
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 16 ต.ค. 10, 01:27

คุณ Pierre คะ คนที่ดิฉันสงสัยที่สุดว่าน่าจะเป็นใคร ก็คือ เสด็จ พระองค์ที่เลี้ยงแม่พลอยนั่นแหละค่ะ

น่าจะเป็นใครได้บ้างคะ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 16 ต.ค. 10, 09:41

คุณร่วมฤดี ดูที่กระทู้เก่านี้ ครับ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=162.0
บันทึกการเข้า
natadol
ชมพูพาน
***
ตอบ: 171


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 16 ต.ค. 10, 11:01

ผมสงสัยว่า แถวเต๊ง ที่แม่พลอยไปซื้อของ อยู่ตรงจุดไหนของพระบรมมหาราชวัง และใครเป็นคนขายสินค้าเหล่านั้น ใช่บรรดาเจ้าจอมหรือนางสนมในนั้นหรือไม่ครับ ฮืม
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 16 ต.ค. 10, 15:42

มาช่วยเพิ่มเติมอีกนิด

อ้างถึงข้อความ "สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยหรือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต  บุนนาค)" จากความเห็นที่ ๒ ของคุณ pierre

ท่านอาจารย์ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านกล่าวไว้ในคำนำฉบับเมื่ออายุแปดสิบปี หนังสือโครงกระดูกในตู้ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๔ ดังนี้

" อีกอย่างหนึ่งที่เห็นว่าผิดแล้วรำคาญตามาตลอดก็คือ นามเดิมของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติซึ่งใส่ไว้ใต้ภาพของท่าน ความผิดนี้ติดมากับรูปซึ่งเอามาพิมพ์และบอกว่าท่านชื่อทัต บุนนาค ซึ่งความจริงท่านชื่อว่าดั่น บุนนาค ขอได้โปดเข้าใจตามนี้ด้วย

(ลายเซ็น) คึกฤทธิ์ ปราโมช

๒๐ มีนาคม ๒๕๓๔

บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 16 ต.ค. 10, 17:14

ล่าสุดที่ได้อ่านพบจากข้อเขียนของคุณจุลลดา ภักดีภูมินทร์ คือคำว่า "ศรีสำราญ"

ซึ่งก็เป็นความหมายและสถานที่เดียวกับ "อุโมงค์" ที่เอ่ยถึงในเรืองสี่แผ่นดินครับ
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 16 ต.ค. 10, 18:10

นอกเรื่องและนอกประเด็นนิดหนึ่ง แต่ว่าวันนี้ข้าพเจ้าพึ่งแต่งตัวเป็นคุณเปรมจากเรื่องสี่แผ่นดินไปร่วมงานนักศึกษาต่างชาติแห่งมณฑลเจียงซู

เรียกเสียงกรี้ด จากเพื่อนๆชาวต่างชาติมากมาย

แปลกดีเหมือนกันมีเฉพาะคนไทยไม่กล้าแต่งชุดไทย

แต่ชาติอื่นๆแต่งกันมาอย่างภูมิใจ

ลาว เวียดนาม กาน่า ฯลฯ

ไม่ทราบว่าความคิดชาตินิยมจะแบบไหนก็ตามดีหรือไม่

แต่คนไทยก็ไม่ค่อยนิยมไทยเท่าไรนัก

ดีที่มีน้องคนหนึ่งชอบสี่แผ่นดินมาก เลยแต่งตัวมา เป็นแม่พลอยยืนข้างๆกัน

วรรณกรรมชิ้นนี้อย่างน้อยก็ทำให้คนไทยไม่อายสิ่งที่ตัวเองมีและเป็น

ละเรื่องความคิดชาตินิยมหรือมายาคติไว้ละกันเผื่อใครจะไม่เห็นด้วย

สี่แผ่นดินสร้างอะไรได้มากมายจริงๆ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 17 ต.ค. 10, 07:25

มาช่วยเพิ่มเติมอีกนิด

อ้างถึงข้อความ "สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยหรือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต  บุนนาค)" จากความเห็นที่ ๒ ของคุณ pierre

ท่านอาจารย์ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านกล่าวไว้ในคำนำฉบับเมื่ออายุแปดสิบปี หนังสือโครงกระดูกในตู้ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๔ ดังนี้

" อีกอย่างหนึ่งที่เห็นว่าผิดแล้วรำคาญตามาตลอดก็คือ นามเดิมของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติซึ่งใส่ไว้ใต้ภาพของท่าน ความผิดนี้ติดมากับรูปซึ่งเอามาพิมพ์และบอกว่าท่านชื่อทัต บุนนาค ซึ่งความจริงท่านชื่อว่าดั่น บุนนาค ขอได้โปดเข้าใจตามนี้ด้วย

(ลายเซ็น) คึกฤทธิ์ ปราโมช


๒๐ มีนาคม ๒๕๓๔

ตอบกระทู้นี้ไปแล้ว ก็เพิ่งมาพบในหนังสือ เรื่องตั้งเจ้าพระยา ในกรุงรัตนโกสินทร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมติอมรพันธ์ ทรงเรียบเรียงไว้ และตรวจชำระโดย พระเจ้าพรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๑ ว่า

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ นามว่า ทัด บุนนาค

เพื่อพิจารณาครับ แต่ภาพของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ที่เคยเห็น เขียนว่า "ทัต บุนนาค"
บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 17 ต.ค. 10, 15:11

จากหนังสือ สี่แผ่นดินกับเรื่องจริงในราชสำนักสยาม ของคุณศันสนีย์  วีระศิลป์ชัย กล่าวถึงแถวเต๊งไว้ว่า “เป็นที่อยู่ของพนักงานที่ทำหน้าที่ต่างๆภายในเขตพระราชสำนักฝ่ายใน“ มีทั้งบรรดาข้าหลวงในพระองค์ ข้าหลวงเรือนนอก ข้าราชการฝ่ายในและพนักงานระดับล่าง
แถวเต๊งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์สร้างเป็นอาคารแถวทิมชั้นเดียวก่ออิฐถือปูน (ยังไม่เรียกว่า”แถวเต๊ง” แต่เรียกว่า “แถวทิม”) ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ปรับปรุงใหม่เป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่างเป็นตึก ชั้นบนเป็นไม้ หลังคามุงกระเบื้องดินเผา แบ่งส่วนเป็นห้องๆ ด้วยฝาไม้ มีระเบียงโปร่งด้านหน้า ชาววังจะเรียกอาคารลักษณะนี้ว่า “แถวเต๊ง” สันนิษฐานว่าน่าจะเพี้ยนมาจากการเรียกของช่างชาวจีนที่เรียกเรือนสองชั้นว่า “เล่าเต๊ง”  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 17 ต.ค. 10, 15:14

แถวเต๊งในพระราชสำนักฝ่ายใน ประกอบด้วย
๑.แถวเต๊งด้านทิศตะวันตก       ๒.แถวเต๊งด้านทิศตะวันออก
(แถวเต๊ง ๒ แถวนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เปลี่ยนแปลงจากอาคารแถวทิมชั้นเดียวที่มีอยู่เดิม)
๓.เต๊งแถวท่อ – เรียกเช่นนี้เพราะสร้างขึ้นตามแนวท่อที่ชักน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาใช้ในพระบรมมหาราชวังผ่านพระราชฐานชั้นในไปลงในสระสวนขวาหรือสวนศิวาลัย
๔.เต๊งแดง –  เรียกเช่นนี้เพราะตัวอาคารทาด้วยสีแดง เป็นเต๊งที่ตั้งขวางจากตะวันออกไปตะวันตกตามกำแพงด้านใต้
๕.เต๊งแถวนอก – อยู่ใกล้ๆกับกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านทิศใต้ เป็นเต๊งที่สร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๕
บันทึกการเข้า
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 17 ต.ค. 10, 15:16

เคยเห็นในหนังสือ โครงกระดูกในตู้ ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เช่นกันว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย) นามเดิมว่า "ดั่น"

แต่เท่าที่เคยเห็นมาทั้งหมด  อย่างหนังสือ เรื่องตั้งเจ้าพระยา ในกรุงรัตนโกสินทร พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ทรงเรียบเรียงไว้ และตรวจชำระโดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๑
ซึ่ง เจ้าพระยาภาสกรวงษ์ ฯ (ชุมพร หรือ พร บุนนาค) ให้พิมพ์ครั้งแรก

ก็ใช้นามเดิมว่า "ทัด"

และถ้าเข้าใจไม่ผิด (เนื่องจากเอกสารไม่ได้อยู่ในมือ)

ท่านเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ซึ่งเรียบเรียงไว้ประมาณปลาย ร. ๔ ถึง ต้น ร. ๕
นามเดิมของสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย ก็คือ ทัด หรือ ทัต

ที่ว่าเป็น "ดั่น" นั้นน่าจะเกิดจากความเข้าใจผิดด้วยเหตุผล ๒ ประการ
๑ พี่ชายท่าน คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่) นามเดิมว่า "ดิศ" ถ้าเป็น ดั่น ชื่อก็จะขึ้นด้วย "ด" เหมือนกัน
๒ เหลนของสมเด็จองค์น้อยท่านหนึ่ง ได้เป็นที่ เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค)

หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยอย่างสูง
ถ้าท่านใดมีหลักฐานที่แน่ชัดก็โปรดแถลงไขด้วยนะครับ
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 20 คำสั่ง