เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 13
  พิมพ์  
อ่าน: 110956 ชื่อเรียกต่างๆจากวรรณกรรมเรื่องสี่แผ่นดิน
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 22 ต.ค. 10, 14:44

จาก bangkokbiz news วันนี้

              อาหารทรงโปรดอย่างหนึ่ง คือ ปลาทูทอด และต้องเป็นปลาทูจากเพชรบุรี(แม่กลอง) เท่านั้น
ซึ่งฝีมือการทอดปลาทูที่พระองค์ท่านโปรดเสวยที่สุดคือฝีมือของเจ้าจอมเอิบ โดยมีพระราชพัตถเลขาถึงพระยาบุรุษฯ ว่า

             “เรื่องทอดปลาทูอยู่ข้างจะลำบากมาก ถ้าพลาดไปแล้วข้ากลืนไม่ลง ขอให้จัดตั้งเตาที่สะพานต่อเรือนข้างหน้าข้างใน
บอกกรมวังให้เขาจัดรถให้นางเอิบออกไปทอด เตรียมเตาและกระทะไว้ให้พร้อม”


และภาพที่ร้านอาหารเกือบทุกแห่งติดไว้ที่ฝาผนัง นั่นคือภาพที่พระพุทธเจ้าหลวงทรงกำลังทอดปลาทู
และผู้ฉายพระรูปก็คือ เจ้าจอมเอิบ


ดร. กัณฑาทิพย์ สิงหะเนติ เขียนเล่าไว้ในหนังสือ “ย้อนรอยเจ้าจอมก๊กออ ในรัชกาลที่ ๕” ว่า

สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโปรดเสวยปลาทูเป็นอย่างมาก ในสมัยนั้นถือว่าปลาทูเป็นของหรู เสด็จเมืองเพชรคราวใดก็มักจะเอ่ยถึงปลาทูเสมอ บุญมี พิบูลย์สมบัติ จากบทความ “ข้าวต้มสามกษัตริย์”  หน้า ๒๐๕-๒๐๖ ในหนังสือ พระปิยมหาราชกับเมืองเพชร กล่าวว่า

“ปลาทูก็เป็นของกินอร่อย เพราะตัวโต และมีจำนวนมาก”

และอีกตอนว่า

“เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ เสด็จมาเมืองเพชรบุรี แต่ละคราวของกินในฤดูกาลปลาทูชุก ก็ทรงโปรดเสวยปลาทูเป็นอย่างมาก เช่น เมื่อคราวเสด็จประพาสเพชรบุรีเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ ในวันที่ ๑๔ กันยายน ได้เสด็จลงเรือเล็ก ๒ ลำ มีเจ้าพนักงานเตรียมของแห้ง และเครื่องครัวขึ้นไปเที่ยวตอนเหนือลำน้ำเพชรบุรีจนถึงท่าเสน แล้วจอดเรือเสด็จขึ้นไปทำกับข้าวกลางวันกินกันที่ท่าน้ำวัดท่าหมูสี หรือวัดศาลาหมูสี”

พระราชหัตถเลขาจากเพชรบุรี ฉบับที่ ๕ วันที่ ๑๕ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘ ที่มีมาถึงมกุฎราชกุมาร หน้า ๓๑ ได้กล่าวถึงเรื่องปลาทูไว้ว่า

“น้ำที่เพชรบุรีวันนี้ขึ้นสูงอีกมาก แต่ถ้าฝนไม่ตกก็น่าจะยุบลงได้อีก อากาศวันนี้แห้งสนิท มีฝนประปรายบ้างในเวลาจวนพลบ แต่ก็ไม่ชื้น มีความเสียใจที่จะบอกว่าปลาทูปีนี้ใช้ไม่ได้ ผอมเล็กเนื้อเหลว และมีน้อย ไม่ได้ทุกวันด้วย”

หรือในพระราชหัตถเลขาจากเพชรบุรีถึงพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ หน้า ๑๐๙ ที่ว่า

“พระยาบุรุษ

วันนี้เห็นปลาทูตัวโต ควรจะมีการเลี้ยงได้เช่นเมื่อปีกลายนี้ เป็นอาหารเช้าเวลาก่อฤกษ์แล้วให้ไปคิดจัดการกับพระยาสุรินทร์และกรมดำรง จะหาปลาได้ฤๅไม่”

หรืออีกฉบับหนึ่งจากเพชรบุรีถึงพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภเช่นกัน

“พระยาบุรุษ

ปลาทูที่ได้มา ให้แจกไปตามเจ้านายและขุนนางคนละตัวสองตัว เพราะได้มาไม่ทันเลี้ยง”

หรือสำเนาพระราชหัตถเลขา ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๘ ที่มีมาถึงพระราชชายา เจ้าดารารัศมี จากหนังสือ ราชสำนักสยาม ของ ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์ หน้า ๖๕ มีพระดำรัสถึงปลาทูไว้ว่า

“หมู่นี้ฝนชุกหาเวลาเที่ยวยาก....ในเดือนสิงหาคมคิดจะไปกาญจนบุรี ราชบุรี และเพชรบุรีสอนกินปลาทูเสียใหม่อีกสักที เพราะเหตุที่หมู่นี้กินไม่ได้ เหม็นคาว....”

บทความเรื่อง “ข้าวต้มสามกษัตริย์” ในหนังสือ พระปิยมหาราชกับเมืองเพชร ของ บุญมี พิบูลย์สมบัติ หน้า ๒๐๖ เล่าถึงการที่ทรงเอาจริงเอาจังมากกับปลาทู ซึ่งเป็นอาหารโปรดเวลาที่เสด็จเมืองเพชร และคนทอดปลาทูที่ถูกใจก็เห็นมีแต่เจ้าจอมเอิบเท่านั้น

“การเสวยปลาทูนั้น ในรัชกาลที่ ๕ ทรงพิถีพิถันมาก แม้แต่คนทอดปลาทูก็ทรงใช้คนที่มีความรู้ความเข้าใจในการปรุง การทำให้ถูกต้องคือกินอร่อย ใช่สักแต่ว่าทำได้พอเสร็จ โดยเฉพาะทรงเลือกหาคนทอดปลาทูที่ถูกใจ และมีฝีมือตามพระราชประสงค์นั้นคงได้แก่ เจ้าจอมเอิบ ซึ่งเป็นท่านหนึ่งในจำนวนเจ้าจอมจากสกุลเมืองเพชร ๘ ท่านนั่นเอง”

ในงานขึ้นพระตำหนักพญาไท  เมื่อเดือนพฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๙ ก็ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงพระยาบุรุษในเรื่องการทอดปลาทู โดยให้รถไปรับเจ้าจอมเอิบมาที่พระตำหนักพญาไทเพื่อมาทอดปลาทูโดยเฉพาะ ดังความว่า

สวนดุสิต
๒๘ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๙

พระยาบุรุษ

เรื่องทอดปลาทูข้าอยู่ข้างจะกลัวมาก ถ้าพลาดไปแล้วข้ากลืนไม่ลง ขอให้จัดตั้งเตาทอดปลาที่สะพานต่อเรือนข้างหน้าข้างใน บอกกรมวังให้เขาจัดรถให้นางเอิบออกไปทอดเตรียมเตาและกระทะไว้ให้พร้อม

นอกจากจะโปรดเสวยปลาทูแบบที่ทอดตามปกติแล้ว สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงคิดเมนูใหม่โดยนำปลาทูมาทำข้าวต้ม เรียก “ข้าวต้มสามกษัตริย์” ตามที่ บุญมี พิบูลย์สมบัติ เล่าไว้ในบทความเรื่อง “ข้าวต้มสามกษัตริย์” ในหนังสือ พระปิยมหาราชกับเมืองเพชร หน้า ๒๐๗ ความว่า

“ข้าวต้มสามกษัตริย์ ประกอบด้วย ปลาทู หมึก และกุ้ง ที่ได้สด ๆ จากทะเล ปรุงเป็นข้าวต้มอย่างง่าย ๆ ตามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงคิดคราวเสด็จประพาสทางทะเล ขณะเสด็จจากปากอ่าวแม่กลอง จะมายังปากอ่าวบ้านแหลม มายังจังหวัดเพชรบุรี”


 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 22 ต.ค. 10, 14:57

เอาภาพมาให้ชมกันครับ อาหารว่างของโบราณ "ไข่แมงดาทะเลฉาบ" สิ่งที่พลอยทานแล้วหวานแสบไส้ ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 22 ต.ค. 10, 15:16

ไม่น่าเชื่อครับ อ.เทาชมพู ขนมอาลัว ชื่อแปลกแบบนี้ เป็นตำรับของท้าวทองกีบม้า สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยาเชียวนะครับ ขนมนี้ผมชอบรับประทานมาก กรอบนอกนุ่มใน หอมควันเทียนอีกด้วย  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 22 ต.ค. 10, 16:04

...เจ้าจอมเอิบ ผู้ฉายพระรูปทรงทอดปลาทู อันล้ำค่าในประวัติศาสตร์อาหารไทย  และเป็นผู้ทอดปลาทูได้ต้องพระราชหฤทัย...


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 22 ต.ค. 10, 16:16

อีกภาพค่ะ เสด็จประพาสต้น ไม่ทราบว่าที่ไหนนะคะ ที่แน่ๆ ไม่ใช่บางกอก...
ใครเดารายการอาหารที่เห็น ได้บ้างคะ...

(ภาพนี้เก็บไว้นานแล้วจำที่มาของภาพไม่ได้ค่ะ ขออภัยจริงๆ ค่ะ)


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 22 ต.ค. 10, 16:22

เมื่อพลอย อยู่ในวังได้ราวสองสามเดือน ความรู้สึกที่คิดถึงแม่ก็เริ่มจางหายไป มีแต่ความระลึกถึง ในขณะที่ถวายงานพัดอยู่ ช้อยก็รีบวิ่งเข้ามาผลัดเวร บอกให้พลอยรีบลงไปห้องคุณสายทันที ...และเมื่อพลอยได้ยินเสียงอันคุ้นเคย พลอยก็ดีใจยิ่งนัก ร้องไห้และดีใจไปพร้อมกับการกอดแม่...แม่มาคราวนี้นำปลาแห้ง ไข่เค็ม ของป่าใส่ชะลอมมาด้วยกว่าสิบชะลอม

"..แล้วแม่ก็หยิบชะลอมเล็กๆ น่าเอ็นดูเป็นที่สุดขึ้นมาหลายชะลอม ของในชะลอมนั้นเมื่อพลอยเห็น ก็เกือบจะลิงโลดด้วยความดีใจ ชะลอมหนึ่งมีปลากรอบตัวเล็กๆเท่านิ้วก้อย เข้าไม้ตับไว้อย่างกับของจริงๆ อีกชะลอมหนึ่งมีมะขามป้อมลูกเล็กๆได้ขนาด อีกชะลอมหนึ่งใส่ไข่เต่าเปลือกขาวสะอาด ส่วนอีกชะลอมหนึ่งนั่นใส่ไข่เค็มทำด้วยไข่นกกระจาบ พอกขี้เถ้าสีดำลูกเล็กๆ ไม่เกินปลายหัวแม่มือ แต่สิ่งสุดท้ายที่แม่ล้วงจากชะลอม ก็คือทุเรียนกวนพวงหนึ่ง ห่อกาบหมากเรียบร้อยเป็นห่อเล็กๆ แต่ละห่อน่าเอ็นดูเพียงจะขาดใจ."

จะเห็นได้ว่านิสัยและความเป็นอยู่ชาววังช่างคิด ประดิษฐ์ทำของเล็กๆน้อยๆไปเสียทุกอย่าง เลยนึกถึงไข่เค็มไข่นกกระจาบ ใครเคยเห็นไข่นกกระจอกคงทราบดี เล็กกว่าไข่นกกระทาเสียอีก เอามาทำไข่เค็ม ช่างเล็กเสียกระไร  ตกใจ




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 24 ต.ค. 10, 13:30

แม่แช่ม มีหัวสร้างสรรค์ของขนาดเล็กย่อส่วน   ถ้ามีชีวิตอยู่อีกยาวนาน เธอคงจะทำของจิ๋วถวายเสด็จแน่ๆ

ตอนที่พลอยรับหมั้นคุณเปรม   คุณนุ้ยเข้าวังมาพร้อมกับเครื่องแก้วเจียระไนชั้นเยี่ยม มากมายหลายชิ้น      พยายามวาดภาพว่าอ่างแก้วและพานฝรั่งพวกนั้นหน้าตาเป็นอย่างไร   ในที่สุดก็ต้องกลับไปหาของใช้สมัยวิคตอเรียนอีก
ได้อ่าง(หรือชาม) แก้วเจียระไนมาใบหนึ่ง  อาจจะคล้ายๆกับที่คุณนุ้ยถวายเสด็จ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 24 ต.ค. 10, 13:38

ถ้าเป็นเครื่องแก้วลายทอง ก็น่าจะเป็นแบบนี้

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 24 ต.ค. 10, 13:43

ชุดสรงพระพักตร์ น่าจะคล้ายๆอย่างนี้ ประกอบด้วยเหยือกและอ่าง วางบนโต๊ะเล็ก

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 24 ต.ค. 10, 13:45

พานแก้วเจียระไน

บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 24 ต.ค. 10, 20:14

และอีกจุดหนึ่ง
"...บริเวณว่าท่าราชวรดิฐ ข้างเหนือขึ้นไปให้ทำท่าสำหรับเรือข้าราชการอีกท่า ๑ โปรดให้เรียกว่า ท่านิเวศน์วรดิฐ. ประปา ที่เหนือท่านิเวศน์วรดิษฐ โปรดให้ตั้งเครื่องสูบน้ำด้วยเครื่องจักรแลสร้างถังสูงสำหรับขังน้ำที่สูบขึ้นไปจากแม่น้ำ แล้วฝังท่อไขน้ำเข้าไปใช้ในพระราชวัง ( ประปาที่ยังใช้มาจนตลอดรัชกาลที่ ๕ พึ่งเลิกเมื่อมีประปาสำหรับพระนคร .."


ไปพบข้อความบางตอนจากเวปของการประปานครหลวง ว่า "กรุงเทพในสมัยก่อนนั้น อาศัยน้ำจากแม่น้ำลำคลอง และน้ำฝนเพื่อการดื่มกิน จากหลักฐานที่ปรากฏระบุว่า ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการตั้งเครื่องสูบน้ำที่เหนือท่านิเวศน์วรดิษฐ์ สูบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นสู่ถังสูง เพื่อส่งเข้าท่อไปใช้ในพระราชวังโดยนำไปแกว่งสารส้มก่อนใช้ ส่วนที่สำเพ็งย่านคนจีนที่มีฐานะพระยาโชดึกได้ตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อสูบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไป จำหน่าย ซึ่งแม้ว่าคุณภาพไม่ดีนัก แต่ก็สะดวกไม่ต้องหาบน้ำไกล

ครั้นถึงรัชกาลที่ 5 หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จประพาสยุโรป เมื่อปี 2440 ทรงพบเห็นความศิวิไลซ์ของบ้านเมือง มีการผลิตน้ำสะอาดบริการซึ่งน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตที่ถูกสุขลักษณะ พระองค์จึงได้มี
พระบรมราชโองการฯ ให้กรมสุขาภิบาลรับไปดำเนินการ โดยได้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตน้ำจากประเทศฝรั่งเศส เข้ามาทำการสำรวจและรายงานเสนอความเห็นในการจัดหาน้ำมาใช้ในพระนคร"


การประปาในกรุงทพฯ เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. ๒๔๕๒

ก็อาจสันนิษฐานได้ว่า น้ำที่สูบเข้ามานี้คงจะใช้ในเฉพาะพระราชฐานชั้นใน (อาจจะถึงพระตำหนักและตำหนักด้วย) แต่ยังไม่บริการไปถึงเต๊งของนางข้าหลวงและอุโมงค์ด้วย

จากด้านซ้ายของภาพที่มีลักษะคล้ายสะพานท่าเรือทอดออกไป จากลักษณะโครงสร้าง ผมคิดว่าน่าจะเป็นท่อสูบน้ำจากแม่น้ำขึ้นสู่ถังสูง การที่ต้องต่อท่อออกไปให้ไกลจากตลิ่งมากๆ ก็เพื่อกันไม่ให้ตะกอนดินและโคลนถูกดูดเข้าไปในท่อ

เรือลำสีขาวที่จอดทอดสมออยู่นั้น คือเรือพระที่นั่งมหาจักรี ลำที่ ๑ ขึ้นระวางประจำการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ ปลดประจำการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙





บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 25 ต.ค. 10, 20:44

ที่บนที่พลอยไม่เคยอาจหาญเข้าไปถึง ก็คือ ห้องน้ำเงิน และบริเวณที่สมเด็จประทับ มีบางครั้งบางคราวที่พลอยเชิญหีบหมากเสวยตามเสด็จขึ้นทางบันไดด้านตะวันออก ข้างที่ที่มีดาดฟ้าและร้านดอกไม้ แต่พลอยก็ได้แต่ส่งเสด็จเพียงอัฒจันทร์ข้างล่าง และนั่งรออยู่จนกว่าจะเสด็จกลับ เพราะการที่จะขึ้นบันไดไปชั้นบนนั้น จะต้องผ่านห้องที่นั่งของ ”คุณท้าว” ผู้ซึ่งมีคนยำเกรงวาสนาทั้งวัง เพียงแต่รู้ว่า ”คุณท้าว” นั่งอยู่ในห้องก็ทำให้พลอยตัวเล็กลงจนเกือบจะเป็นละอองฝุ่นเสียแล้ว  ถ้าอาจหาญล่วงล้ำผ่านขึ้นไป เพียงแต่ ”คุณท้าว” ท่านมองดูเท่านั้น  พลอยก็คงจะละลายหายไปด้วยความกลัวตรงนั้นเอง

“คุณท้าว” ในที่นี้ที่ผู้ประพันธ์เรื่องสี่แผ่นดินกล่าวถึง หมายถึงใครกันแน่คะ? บางตำราก็บอกว่า หมายถึง ท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ ๔) ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ห้องที่นั่งของคุณท้าวนี่จะหมายถึงห้องทำงานหรือที่พักอย่างใดอย่างหนึ่งรึเปล่า? แต่เท่าที่ทราบมา เจ้าจอมมารดาวาดในรัชกาลที่ ๔ มีตำหนักที่พักอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นในแยกออกมาต่างหากค่ะ

ในวิกิพีเดียกล่าวถึงตำหนักนี้เอาไว้ว่า "เรือนคุณท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด) เป็นตำหนักหมู่ทรงไทย ยาว ก่ออิฐปูนทาสีขาว ตั้งอยู่ริมสนามหญ้า เป็นที่พำนักของเจ้าจอมมารดาวาด พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๔"


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 26 ต.ค. 10, 09:33

         ดูกระทู้เก่าของเว็บวิชาการ ซึ่งมีเรื่องเกี่ยวกับ คุณท้าว ด้วย ครับ

http://www.vcharkarn.com/vcafe/4663/3

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 26 ต.ค. 10, 09:50

       หลังจากที่แม่มาส่งพลอยเข้าวังแล้วก็จากไปฉะเชิงเทรา เสด็จเมตตาประทานของปลอบใจพลอย
นอกจาก สายสร้อยทองสามสีเล็กๆ สายหนึ่งมีกุญแจเล็ก ฝังทับทิมแขวนไว้ แล้วยังทรง

         หยิบหีบใบเล็กขึ้นมา แล้วทรงไขลานที่ใต้หีบ แล้วก็ทรงเปิดฝาหีบนั้นขึ้น สิ่งที่พลอยเห็น
ทำให้พลอยตาลุกโพลง ด้วยความตื่นเต้นดีใจ เพราะทันใดที่ฝาหีบนั้นเปิดออก นกตัวเล็กๆ ตัวหนึ่งลงยา
ด้วยสีสวยสดก็พุ่งตัวขึ้นมาจับคอน ขยับปีกร้องเพลงด้วยเสียงอันเจื้อยแจ้ว

         บางทีเสด็จจะไม่ทรงทราบว่า อีกหลายสิบปีต่อมา เมื่อพลอยมีอายุมากแล้ว หีบนกร้องเพลงใบนั้น
ได้ถูกพลอยเก็บไว้ที่หน้าบูชาพระ และเวลาพลอยมีทุกข์ร้อนอันใด พลอยก็มักจะเปิดหีบนั้น เพื่อฟังเสียงนกร้องเพลงเสมอ

         ลองค้นกูเกิ้ลหา music box ที่มีนกร้อง ได้ไม่ตรงแต่พอจะที่ใกล้เคียงเป็น Bontems Musical bird box.
1880s vintage. ราคา $ 7,000.00 ครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 27 ต.ค. 10, 10:17

กล่องดนตรีน่ารักมากค่ะ

เสด็จต้องทรงพระเมตตาพลอยมาก  ถึงประทานของเล่นสวยๆขนาดนี้ให้
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ไม่ได้ลืมกล่องดนตรีนี้เลย  มีฉากที่แม่พลอยชราแล้ว ตาอ๊อดต้องจากบ้านไป    พลอยไขกล่องดนตรีฟังเสียงนกร้องเพลง
เสียงเพลงฟังเหมือนเสียงร้องไห้...
สงสารแม่พลอยจับใจ
เป็นฉากเศร้าที่สุดฉากหนึ่ง  ได้อารมณ์โดยไม่ต้องบรรยายให้มากความ

เจอรูปเขาไกรลาศในพระบรมหาราชวัง   
มีเหตุการณ์ตอนพลอยกับช้อยยังเด็ก ไปเที่ยวดูเขาไกรลาศตั้งแต่เริ่มสร้างจนเสร็จบริบูรณ์    ในเรื่องบอกว่าเป็นงานโสกันต์ทูลกระหม่อม    แต่ยังแกะรอยไม่ได้ว่าเป็นเจ้าฟ้าพระองค์ใด
คุณศิลาพอนึกออกไหมคะ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.088 วินาที กับ 19 คำสั่ง