เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13]
  พิมพ์  
อ่าน: 111143 ชื่อเรียกต่างๆจากวรรณกรรมเรื่องสี่แผ่นดิน
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 30 มิ.ย. 11, 11:28

หนูมีข้อสงสัยอีกอย่างหนึ่งค่ะ คำว่า "วางตัว" กับ "ไว้ตัว" นี่มีความหมายเหมือนหรือแตกต่างกันยังไงคะ?

ขอยกตัวอย่างจากในเรื่องสี่แผ่นดินค่ะ

"..คุณเชยเคยอยู่บ้านที่ใหญ่โต มีข้าทาสบริวารมาก จะทำอะไรหรือไปไหนก้ไปอย่างลูกผู้มีบรรดาศักดิ์ กับพลอยซึ่งเป็นลูกเมียน้อยนั้น คุณเชยวางตัวเป็นผู้ใหญ่ที่โอบอ้อมอารีตลอดมาและไว้ตัวว่าเป็นพี่สาว.."

 ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 30 มิ.ย. 11, 12:22

เข้าไปที่เว็บไซต์ของราชบัณฑิตยสถาน  พิมพ์คำว่า วางตัว และ ไว้ตัว  ลงไป
http://rirs3.royin.go.th/
คุณจะได้คำตอบ

วิธีนี้จะช่วยให้คุณรู้จักการค้นคว้าความหมายของคำอื่นๆ  ประหยัดเวลาได้ด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 30 มิ.ย. 11, 13:38

ขอบคุณอาจารย์เทาชมพูมากๆค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 30 มิ.ย. 11, 14:14

ผมร่วมขอบพระคุณ อ. เทาชมพู ด้วยครับ  ผมสงสัยมาตั้งนานแล้วจากการที่ อาจารย์, อ. เพ็ญชมพู และคุณ D.D. อ้างถึง
รอยอินเสมอ  ผมก็เพิ่งรู้เดี๋ยวนี้เอง  นับว่าเป็นประโยชน์กับผมมากจริงๆ   ขอบพระคุณอาจารย์อีกครั้งครับ
บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 14:23

ในหนังสือ สถาปัตยกรรมพระบรมมหาราชวัง เล่ม ๒ กล่าวถึงแถวเต๊งไว้ว่า  แถวเต๊งเป็นอาคารแถวสูง ๒ ชั้น ทำหน้าที่เป็นกำแพงพระราชวังชั้นในไปด้วยในตัว โอบล้อมพระราชฐานชั้นในไว้ทั้งด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศใต้ แถวเต๊งนี้ในอดีตเป็นที่อยู่ของผู้ปฏิบัติงานในพระราชฐานชั้นใน มีตั้งแต่ข้าหลวงตามตำหนักต่างๆ คุณพนักงาน คุณห้องเครื่อง คุณเฒ่าแก่ ฯลฯ

แต่เดิมแถวเต๊งเป็นอาคารชั้นเดียว เรียกว่า "แถวทิม" ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯให้ยกขึ้นเป็นอาคาร ๒ ชั้น เรียกกันเป็นสามัญว่า "เต๊ง" นอกจากนั้นยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารชนิดนี้ขึ้นอีกสองแถวตามแนวพระราชวังในสมัยรัชกาลที่ ๑ ตั้งแต่ทิศตะวันออกของพระบรมมหาราชวังไปจนจดทิศตะวันตก  แถวเต๊งด้านทิศเหนือเรียกว่า "เต๊งแถวท่อ" ส่วนแถวเต๊งด้านทิศใต้เรียกว่า "เต๊งแดง"  ระหว่างเต๊งทั้งสองแถวนี้โปรดเกล้าฯ ให้มีประตูเป็นระยะ ๆ ไป โดยทำเป็นประตูสองชั้น มีซุ้มประตูเป็นที่รักษาการของเจ้าหน้าที่   ในการสร้างเต๊งทั้งสองแถวนี้ก็เพื่อแบ่งเขตพระราชฐานชั้นในให้เป็นไปตามลักษณะการใช้สอย พื้นที่บริเวณที่แถวเต๊งนี้โอบล้อมไว้จัดให้เป็นบริเวณที่พักอาศัย ส่วนด้านนอกของเต๊งไปทางทิศใต้ ซึ่งเรียกว่าแถวนอก จัดให้เป็นบริเวณที่ทำกิจกรรมอื่น เช่น โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "อัฐิสถาน" ไว้เป็นที่บำเพ็ญกุศลพระอัฐิเจ้านายฝ่ายใน นอกจากนั้นยังโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างยุ้งฉางไว้ในพระราชฐานชั้นใน อันเป็นธรรมเนียมมาแต่สมัยโบราณ

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ สันนิษฐานว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างแถวเต๊งความสูง ๒ ชั้น เพิ่มขึ้นในบริเวณแถวนอกใกล้ๆกับกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านทิศใต้ ทำหน้าที่เป็นกำแพงพระราชวังชั้นในทางด้านทิศนี้  โดยเว้นที่ว่างระหว่างกำแพงชั้นนอกของพระบรมมหาราชวังกับแถวเต๊งไว้เป็นที่อยู่ของทหารรักษาวังที่พระองค์โปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งขึ้น  ลักษณะของแถวเต๊งที่สร้างขึ้นใหม่นี้ไม่ได้ขนานไปกับกำแพงพระราชวังโดยตลอด แต่บางช่วงจะหักมุมเป็นข้อศอกเว้นที่ว่างไว้เป็นที่ทำการของทหารรักษาวัง
บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 14:33

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของแถวเต๊งด้านทิศตะวันตก – เป็นเต๊งที่ปรับปรุงจาก ”แถวทิม” ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ สันนิษฐานว่าพร้อม ๆ กันกับการเปลี่ยนแปลงตำหนักต่าง ๆ ให้เป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูน  เต๊งนี้มีลักษณะเป็นอาคารแถวก่ออิฐฉาบปูนสูง ๒ ชั้นยาวติดต่อกันไป แต่ละห้องมีขนาดกว้าง ๒.๖๕ เมตร ยาว ๕.๓๕ เมตร ความสูงระหว่างชั้น ๓.๘๐ เมตร ภายในมีบันไดไม้ทอดเดียวที่สูงชันสำหรับขึ้นสู่ชั้นบน ฝาผนังข้างบันไดเว้าเข้าทำเป็นช่องใส่ของ เต๊งหลังนี้ไม่มีฝ้าเพดาน จะเห็นโครงหลังคาแบบไทยทรงสูง มุงด้วยกระเบื้องดินเผา โครงหลังคาประกอบด้วยจันทันไม้ แปไม้ มีกลอนขอและเดือยไม้เป็นตัวรับระแนงมุงหลังคา แต่ละห้อง ชั้นล่างจะมีประตู ๑ บาน หน้าต่าง ๑ บาน ชั้นบนมีหน้าต่างตรงกับประตูหน้าต่างชั้นล่าง ลักษณะเป็นแบบไทยเดิม คือ เป็นบานไม้แผ่นใหญ่มีอกเลา  ใช้เดือยเป็นบานพับ เปิดเข้าใน มีกรอบเช็ดหน้าเป็นไม้ขนาดใหญ่ มีซี่ลูกกรงไม้ทางตั้ง 


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 15:14

เต๊งแถวท่อและเต๊งแดง - เป็นเต๊งด้านทิศใต้ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ สันนิษฐานว่า แต่เดิมเต๊งทั้งสองหลังนี้มีลักษณะเหมือนกัน วางคู่กัน มีทางเดินกลาง ที่ปลายสุดของทางเดินด้านทิศตะวันตกมีประตูศรีสุดาวงศ์เป็นทางออกที่สำคัญ ลักษณะของเต๊งแดงนั้น เป็นอาคารแถวก่ออิฐฉาบปูน สูง ๒ ชั้น ยาวติดต่อกันไป มีซุ้มประตูคั่นเป็นระยะ ๆ ลักษณะทั่วไปเหมือนกับเต๊งด้านทิศตะวันตก ยกเว้นแต่ขนาดของห้องซึ่งกว้างกว่าเล็กน้อย โดยมีขนาดกว้าง ๓.๗๐ เมตร ยาว ๕.๕๐ เมตร และสูงระหว่างชั้น ๓.๕๐ เมตร

เต๊งแถวท่อเป็นอาคารแถวก่ออิฐฉาบปูนสูง ๒ ชั้น ยาวติดต่อกันไป มีซุ้มประตูคั่นเป็นระยะ ๆ ลักษณะโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสองช่วง ช่วงหน้าเป็นเฉลียงที่ต่อเติมขึ้นใหม่ ช่วงหลังมีลักษณะเหมือนเต๊งแดง ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเต๊งแถวท่อโดยเปลี่ยนทางเข้าให้กลับกันกับของเดิม และสร้างเฉลียงขึ้นที่ทางเข้าด้านหน้าซึ่งแต่เดิมไม่มี ย้ายบันไดจากภายในห้องมาไว้ที่เฉลียง และยื่นหลังคามุงด้วยสังกะสีมาคลุมเฉลียงไว้ทั้งหมด  กั้นฝาในส่วนที่ต่อใหม่ โดยฝาที่กั้นห้องเฉพาะส่วนเฉลียงทำเป็นไม้ฉลุลายตามลักษณะที่นิยมกันมากในรัชกาลนี้ ระหว่างห้องกั้นด้วยการก่ออิฐฉาบปูน เซาะร่องในแนวนอน มีประตูหน้าต่างเป็นบานไม้ลูกฟัก ตอนบนเป็นช่องลม ชั้นบนเป็นเฉลียงโล่ง มีลูกกรงทำด้วยไม้ไขว้กันเป็นรูปกากบาท

 


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 15:29

๒ รูปนี้เป็นแถวเต๊งในอีกมุมหนึ่งค่ะ (จากหนังสือราชสำนักฝ่ายในสมัยรัตนโกสินทร์ ของ สาระ มีผลกิจ สำนักพิมพ์มิวเซียมเพลส)



บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 15:48

เต๊งด้านทิศตะวันออก - สันนิษฐานว่าแต่เดิมเต๊งด้านทิศนี้คงจะเหมือนกับเต๊งด้านทิศตะวันตกที่ปรับปรุงขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ แต่ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเต๊งแถวท่อซึ่งเป็นเต๊งแถวใน จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเต๊งด้านนี้ด้วย ทั้งนี้เพื่อการใช้สอยและความกลมกลืนกันในด้านรูปทรงของอาคาร โดยต่อเติมเฉลียงขึ้นในรูปแบบเดียวกับเต๊งแถวท่อดังที่กล่าวมาแล้ว

เต๊งแถวนอก - สันนิษฐานว่าเต๊งนี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทั้งนี้อาศัยลักษณะของการจัดแปลนและรูปแบบของอาคารที่แตกต่างไปจากเต๊งหลังอื่นๆที่กล่าวแล้วเป็นสมมุติฐาน เต๊งแถวนอกนี้เป็นอาคารแถวก่ออิฐฉาบปูนสูง ๒ ชั้น มีการจัดผังพื้นโดยมีทางเข้าของแต่ละหน่วยคู่กัน หักเฉียงเป็นมุม ๔๕ องศา แยกทางเข้าเป็นซ้ายและขวา มีพื้นที่โถงเล็กๆ ตรงทางเข้าตอนบนทำเป็นรูปโค้ง แต่ละห้องชั้นล่างมีประตู ๑ บาน หน้าต่าง ๑ บาน ชั้นบนมีหน้าต่าง ๒ บานตรงกับชั้นล่าง มีบันไดขึ้นภายใน พื้นชั้นล่างค่อนข้างเตี้ย ฝาผนังด้านนอกทั้งชั้นบนและชั้นล่างเป็นฝาก่ออิฐฉาบปูน มีการตกแต่งปูนตอนมุมของอาคารเป็นแบบเสาอิงเซาะร่อง มีบัวหัวเสาแบบตะวันตก ตอนหักมุมของอาคารทำเป็นซุ้มประตูรูปหน้าจั่ว ตอนกลางหน้าจั่วทำเป็นลายปูนปั้นรูปวงกลม และมีเส้นสามเหลี่ยมขนาดใหญ่กับเส้นขอบของหน้าจั่วโดยรอบ มีรูปสามเหลี่ยมเล็กประดับข้าง

ภาพเต๊งแถวนอก


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 16:00

รูปประตูทางเข้าเต๊งแถวนอก (จากหนังสือ สถาปัตยกรรมพระบรมมหาราชวัง เล่ม ๒)



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 16:04

บัวหัวเสาที่ผนังของเต๊งแถวนอก
 


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.04 วินาที กับ 19 คำสั่ง