เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13
  พิมพ์  
อ่าน: 110962 ชื่อเรียกต่างๆจากวรรณกรรมเรื่องสี่แผ่นดิน
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 02 ธ.ค. 10, 20:02

^
^
ขอยืมภาพของคุณเพ็ญชมพูมาใช้ด้วยนะคะ

ส่วนภาพนี้เป็นภาพพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ ที่พระราชวังบางปะอิน เมื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี



บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 02 ธ.ค. 10, 21:24

“..พวกที่เชิญเครื่องขึ้นมา นำเครื่องไปตั้งตรงพระพักตร์เสด็จ เครื่องนั้นใส่จานเงินวางอยู่บนโตกเงินเล็กๆ พลอยรู้สึกว่าเป็นของเล็กๆ น้อยๆ เหลือเกิน ครั้งหนึ่งพลอยเคยเห็นที่บ้านตั้งข้าวถวายพระพุทธใส่ชามเล็กชามน้อย พลอยยังนึกว่าพระพุทธจะฉันอย่างไรอิ่ม มาเห็นเครื่องเสด็จคราวนี้ก็ดูไม่น่าจะอิ่มเช่นเดียวกัน
เสด็จบ้วนพระโอษฐ์แล้วก็เริ่มเสวย ขณะที่เสวยก็รับสั่งคุยกับแม่และคุณสายถึงเรื่องทางบ้านของแม่บ้าง หรือเรื่องเก่าๆ ที่ทรงนึกขึ้นได้ แต่ส่วนมากแม่เป็นผู้คุย พลอยเห็นเสด็จทรงพระสรวลอยู่บ่อยๆ เสด็จเสวยเรื่อยๆ คล้ายกับไม่สนพระทัยในอาหารที่กำลังเสวยอยู่ พลอยสังเกตเห็นข้าวที่เสวยนั้นดูเหมือนจะมีอยู่ประมาณสองช้อนถ้วย แต่เสด็จเสวยเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักหมดสักที กว่าจะเลื่อนเครื่องคาวออกแล้วตั้งเครื่องหวานก็ดูนานหนักหนา...”

การรับประทานของชาววังจะแตกต่างจากคนทั่วไป ทั้งนี้เพราะหน้าที่และกิจวัตรที่ทำประจำวันไม่เหมือนกัน ชาววังมักใช้เวลากลางคืนทำกิจกรรมต่างๆ เลยนอนดึกและมักจะตื่นสาย ทำให้มื้ออาหารแต่ละมื้อถูกเลื่อนเวลาออกไป

เวลาเสวยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว - พระองค์ทรงงานดึก จึงตื่นบรรทมสาย เวลาเสวยจะเป็นเวลาที่ข้าราชสำนักฝ่ายในเข้าเฝ้าอันได้แก่ พระมเหสีเทวี เจ้าจอมมารดา เจ้าจอม พระราชโอรสที่ยังทรงพระเยาว์และพระราชธิดา ระหว่างเสวยจะทรงงานไปด้วย เช่น ทรงมีพระราชบัญชาให้อาลักษณ์จดบันทึกและนำไปให้หน่วยงานต่างๆ ปฏิบัติ หรือโปรดให้ราชเลขานุการิณี คือ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร ทรงเขียนหนังสือตามรับสั่ง นอกจากนี้ ยังทรงมีพระราชปฏิสันถารเรื่องต่างๆ กับผู้มาเฝ้า ในการเสวยพระกระยาหารแต่ละมื้อจึงยาวนาน บางครั้งถึง ๓-๔ ชั่วโมงก็มี
มีบางคราวที่เสวยนอกที่ประทับ วิธีการเสวยก็จะมีลักษณะเดียวกัน แต่ไม่มีพิธีรีตองมากเหมือนกับเวลาเสวยในพระบรมมหาราชวัง  ดังที่หมอสมิธเล่าเกี่ยวกับการเสวยที่พระราชวังดุสิตไว้  ความว่า “...เมื่อครั้งที่พระราชวังดุสิตกำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการก่อสร้าง พระเจ้าอยู่หัวมักจะเสด็จฯ ไปที่นั่นเสมอๆ เพื่อทอดพระเนตรการปลูกสร้างและการวางแผนผังโดยทั่วไป การเสวยพระกระยาหารกลางวันในโอกาสนี้จึงดูเหมือนกับการเสด็จฯ ไปปิกนิก ที่แทบจะไม่มีพิธีการใดๆ เลย แต่ก็ยังคงใช้เวลาในการเสวยนานเหมือนเช่นเคย พระองค์มักจะทรงใช้ช่วงเวลาระหว่างนั้น ซักถามความรู้พระราชโอรสและพระราชธิดาเกี่ยวกับเรื่องที่พระองค์กำลังทรงศึกษาอยู่ โดยทรงปฏิบัติราวกับเป็นเกมเล่นอย่างใดอย่างหนึ่ง...”
บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 04 ธ.ค. 10, 12:58

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ (สมเด็จพระพันปีหลวง) ก็ทรงมีวิธีการเสวยเช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ทรงใช้เวลาในการเสวยยาวนาน เพราะเวลาเสวยจะเป็นเวลาเดียวกับที่ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับผู้ที่มาเฝ้า 

หม่อมศรีพรหมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับการเสวยของสมเด็จพระศรีพัชรินทรฯไว้ในหนังสืออัตชีวประวัติของท่านว่า  "...ข้าหลวงรุ่นใหญ่ตั้งเครื่อง เครื่องแต่ละถาดใหญ่และหนักมาก มี ๓ ถาด เรียกว่าเครื่องใหญ่ มีกับสารพัดเว้นแต่แกงกับของจิ้ม ถาดเครื่องกลางมีแต่แกง เครื่องเล็กมีเครื่องจิ้มต่างๆ กับผักหรือแกล้มบ้าง..." และเล่าถึงเวลาเสวยว่า "...พระองค์เสวยช้ามากบางที ๒ ชั่วโมง บางทีกว่า ..."

หมอสมิธ นายแพทย์ประจำพระองค์ บันทึกพระจริยวัตรที่เกี่ยวกับการเสวยของสมเด็จพระศรีพัชรินทรฯ ขณะประทับที่พระราชวังพญาไท ซึ่งหมอสมิธมีความรู้สึกว่าเป็นพระจริยวัตรที่แปลกกว่าคนอื่น คือ จะทรงบรรทมเวลากลางวัน และตื่นเวลากลางคืน ฉะนั้นเวลาเสวยพระกระยาหารจึงมักคลาดเคลื่อนไม่ใช่เวลาปกติของคนทั่วไป ดังที่หมอสมิธได้บรรยายไว้ว่า "...ในบางโอกาสกว่าสมเด็จพระพันปีหลวงจะเสวยพระกระยาหารมื้อหลัก ซึ่งมักจะเป็นมื้อเดียวของทั้งวัน ก็เมื่อเวลากลางดึก พระกระยาหารส่วนใหญ่ก็เหมือนๆ กับที่ชาวสยามทั่วไปนิยมบริโภคคือมีแกงชนิดต่างๆ เป็นหลัก  บรรจุมาในภาชนะเล็กๆ หลายใบ..." และเล่าถึงวิธีการเสวยว่า "...สมเด็จพระพันปีหลวงทรงใช้เวลาในการเสวยพระกระยาหารแต่ละมื้อค่อนข้างนาน ไม่ใช่เพราะเสวยมาก แต่เป็นเพราะทรงปฏิบัติพระราชภารกิจอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย เป็นต้นว่า ทรงให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานภายในราชสำนัก หรือไม่ก็ทรงรับฟังข่าวสารประจำวัน ตลอดจนให้การรับรองผู้คนที่มาเข้าเฝ้าไปด้วยในขณะเดียวกัน จริงๆ แล้ว การเสวยพระกระยาหารถือเป็นภารกิจสำคัญรองลงมา และสามารถดำเนินไปพร้อมๆ กับการสนทนาได้ เมื่อครั้งที่สมเด็จพระพันปีหลวงทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์ดี พระองค์ทรงใช้เวลาในการเสวยพระกระยาหารแต่ละครั้งนาน ๒-๓ ชั่วโมง และช่วงเวลาในการเสวยก็ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับว่าจะทรงมีพระประสงค์เมื่อใด..."

 ยิ้ม 
บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 04 ธ.ค. 10, 13:17

ส่วนวิธีการเสวยและเครื่องเสวยของเจ้านายพระองค์อื่นๆ ก็คล้ายคลึงกัน จะมีความแตกต่างก็เนื่องมาจากสภาวะแวดล้อมของแต่ละพระองค์ ดังเช่นวิธีการเสวยและเครื่องเสวยพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ซึ่งทรงมีวิธีเสวยดังที่เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับได้บรรยายไว้ว่า "...เสวยข้าวสวย ไม่มีอาหารเช้าเหมือนในสมัยนี้ โปรดเปิบข้าว ข้าวต้องสวยกรากร่วงพรูทีเดียว นุ่มเปียกไม่ได้..เวลาท่านประทับเสวย ทรงเปิบข้าวพลางจัดกับข้าวในถาดเครื่องให้เรียบร้อยไปพลาง ดังนั้นเมื่อเสวยอะไรได้มากหรือน้อยไม่ใคร่รู้ เพราะทรงจัดไม่ให้แหว่งอยู่เรื่อย ต้องสังเกตที่ยุบน้อยหหรือยุบมาก ผลไม้ก็โปรดปอกเสวยเอง..."

บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 22 ก.พ. 11, 09:30

"...สองแม่ลูกเดินเลาะกำแพงวังเรื่อยมา มีนางพิศเดินตามหลัง เดินได้สักครู่หนึ่งก็เลี้ยวเข้าประตูชั้นนอก พลอยก็ยิ่งตื่นตาตื่นใจยิ่งขึ้นเพราะภายในบริเวณวังนั้น ดูเต็มไปด้วยตึกรามซึ่งพลอยเห็นว่าใหญ่โตมหึมา ผู้คนที่เดินเข้าออกก็ดูยัดเยียดเบียดเสียดกัน ตลอดจนหาบของขายและของที่วางขายก็ดูมีมากมายเหลือขนาด ตรงหน้าพลอยเข้าไปมีกำแพงสูงอีกชั้นหนึ่งเป็นกำแพงทึบ มีประตูใหญ่เปิดกว้างอยู่ สังเกตดูคนที่เดินเข้าประตูและออกจากประตูดูสับสนกันไปหมด..."

คำว่า ประตูชั้นนอก นี้ ท่านผู้ประพันธ์ หมายความถึง ประตูช่องกุด

(ประตูช่องกุด เป็นประตูขนาดเล็ก เจาะทะลุกำแพงวัง ไม่มีซุ้มประตูเหมือนประตูอื่นๆ อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพระบรมมหาราชวังระหว่างป้อมภูผาสุทัศน์และป้อมสัตตบรรพต เป็นประตูพระบรมมหาราชวังซึ่งราษฎรสามัญใช้เข้า-ออกติดต่อกับคนภายในวัง)






คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 22 ก.พ. 11, 10:20

ส่วนคำว่า ประตูใหญ่เปิดกว้างอยู่ นั้น หมายถึง ประตูศรีสุดาวงศ์ ที่อยู่เยื้องๆกับประตูช่องกุด

(ประตูนี้เป็นประตูที่แม่พลอยเหยียบธรณีประตูตอนเข้าวังครั้งแรกค่ะ)



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 22 ก.พ. 11, 10:25

ภาพประตูช่องกุด และประตูศรีสุดาวงศ์ที่ลงให้ดูนั้น หนูถ่ายจากกล้องมือถือเมื่อตอนเข้ากรุงเมื่ออาทิตย์ก่อนนี้เอง ภาพอาจไม่ค่อยชัดเท่าไหร่ค่ะ (ตอนนั้นแดดจ้ามากกกก)
บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 22 ก.พ. 11, 11:35

ระหว่างประตูช่องกุดกับประตูศรีสุดาวงศ์มีถนนกั้นอยู่สายหนึ่ง คือ ถนนเขื่อนขัณฑ์นิเวศน์ (นอกเขตกำแพงพระราชฐานชั้นในแต่อยู่ภายในกำแพงพระบรมมหาราชวัง)

บริเวณนี้ในสมัยร้อยกว่าปีก่อน ถือเป็นแหล่ง"ช็อปปิ้ง"สำคัญแห่งหนึ่งของบรรดาสาวชาววัง ของที่นำมาขายกันส่วนใหญ่จะเป็นพวกของกินของใช้มากมายหลายอย่าง และนอกจากจะเป็นแหล่งซื้อขายสินค้าแล้ว ถนนเขื่อนขัณฑ์นิเวศน์ยังถือเป็นสถานที่พบปะพูดคุยของสาวชาววังกับบุคคลภายนอกอื่นๆ ด้วย เนื่องจากเป็นบริเวณติดต่อระหว่างฝ่ายหน้ากับฝ่ายใน ทำให้ฝ่ายชายที่อยากจะรอพบฝ่ายหญิง มาดักดูหญิงที่ตนชอบกันมากในบริเวณนี้ ดังเช่นในเรื่องสี่แผ่นดินที่คุณเปรมมารอดักดูตัวแม่พลอยที่ประตูวังนั่นเอง ^^


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
thezircon
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 08 พ.ค. 11, 18:33

ขออนุญาตถามค่ะ พอดีอ่านกระทู้นี้คู่กับอ่านสี่แผ่นดิน ช่วยให้นึกภาพออกหลายอย่างเลย
แต่มีเรื่องสงสัยนิดหน่อยคือ คำว่า "โซ้ต" หมายความว่าอะไรหรอคะ (ตอนแม่พลอยพูดถึงผู้หญิงยุคใหม่)
แล้วก็เรื่องทรงผมของผู้หญิงสมัยก่อนเป็นผมสั้นหมดเลยหรอคะ แล้วถ้าผมเริ่มยาวขึ้นมาจะทำไง ถ้าต้องตัดเขาใช้อะไรตัดหรอคะ

ปล. เข้ามาผลุบๆโผล่ๆในเรือนไทยสักพักแล้วค่ะ เพิ่งได้ตอบกระทู้คราวนี้เอง ฝากตัวด้วยนะคะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 08 พ.ค. 11, 20:56

ช่วยยกประโยคมาให้อ่านได้ไหมคะ  อยากให้แน่ใจ

บันทึกการเข้า
thezircon
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 09 พ.ค. 11, 13:34

แหะๆ เดี๋ยวขอไปเปิดหาก่อนนะคะ จำหน้าไม่ได้แล้วด้วย แต่เป็นตอนที่แม่พลอยมองประไพและผู้หญิงยุคใหม่น่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 09 พ.ค. 11, 15:10

ตัวอย่างการใช้

เรื่องเสด็จประพาสต้นครั้งที่สอง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

(วันที่ ๑๗ สิงหาคม) โบสถ์ที่หรูอยู่นั้นเป็นโบสถ์ทำใหม่ไม่มีฝา หน้าบันเป็นอามมีมงกุฎและราชสีห์ คชสีห์ โซดทำใหม่ทีเดียว แต่พระเก่ามีหลายองค์ไม่สู้งามทั้งนั้น

(วันที่ ๒๔ สิงหาคม) วันนี้ค่ำล้างรูป และมีละครของมารดาหลวงพิพิธอภัย เล่นเรื่องไชยเชษฐ กรมดำรงเชื่อว่าจะเก่าแท้ ไม่มีโซดขึ้นมาถึง ที่แท้โซดเสียป่นปี้ยับเยินมาก คือนายโรงแต่งตัวเป็นละคร แต่เสื้อผ้าขาวไม่ปักตะพายแพรอย่างเจ้าพระยามหินทร


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 09 พ.ค. 11, 15:42

บทเห่เรือ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

อ่านอ่านรำคาญฮือ         แบบหนังสือสมัยใหม่
อย่างเราไม่เข้าใจ          ภาษาไทยเขาไม่เขียน

ภาษาสมัยใหม่             ของถูกใจพวกนักเรียน
อ่านนักชักวิงเวียน          เขา่ช่างเพียรเสียจริงจัง

แบบเก๋เขวภาษา           สมมตว่าแบบฝรั่ง
อ่านเบื่อเหลือกำลัง        ฟังไม่ได้คลื่นไส้เหลือ

อ่านไปไม่ได้เรื่อง          ชักชวนเคืองเครื่องให้เบื่อ
แต่งกันแสนฝั้นเฝือ        อย่างภาษาบ้าน้ำลาย

โอ้ว่าภาษาไทย            ช่างกระไรจวนฉิบหาย
คนไทยไพล่กลับกลาย    เป็นโซ้ดบ้าน่าบัดสี

หนังสือฤๅหวังอ่าน        แก้รำคาญได้สักที
ยิ่งอ่านดาลฤดี             เลยต้องขว้างกลางสาคร


โซด -โซ้ด  =  เปลี่ยนแปลง, ทำแบบใหม่

 ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
thezircon
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 09 พ.ค. 11, 16:32

อ๋อ ขอบคุณมากค่ะ ตอนแรกคิดว่าจะมาจากภาษาอังกฤษหรือเปล่า เหมือนเปิ๊ดสะก๊าด อะไรแบบนี้  ฮืม

ปล. เคยเห็นคุณเพ็ญชมพูที่พันทิปเหมือนกัน สวัสดีและขอบคุณอีกครั้งนะคะ
บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 30 มิ.ย. 11, 11:02

ที่คุณ thezircon พูดถึงน่าจะเป็นประโยคนี้ค่ะ

"..ฉันดูเขาโซ้ดๆทำตัวเหมือนแหม่ม ผู้ชายพายเรือเขาก็ไม่กระดาก ดูกล้ากันเหลือเกิน สมัยเรานั้นเห็นผู้ชายมีแต่จะคิดวิ่งหนี สมัยนี้ดูเขาเฉย ๆ เห็นเท่ากัน ไม่กระดาก ไม่กลัว ฉันดู ๆ แล้วใจหายใจคว่ำทีเดียว.." (อยู่ในบทที่ 7 ของแผ่นดินที่สองน่ะค่ะ)

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง