siamese
|
ความคิดเห็นที่ 150 เมื่อ 23 พ.ย. 10, 14:47
|
|
เห็นตุ๊กตาชาววังของอาจารย์เทาชมพู แล้วนึกถึงเรื่องตุ๊กตาชาววังขึ้นมาในทันที
"ถือกำเนิดขึ้นโดยคุณเถ้าแก่ กลีบ เป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้น ตุ๊กตาชาววังในสมัยนั้นจึงเลียนแบบมาจากวิถีชีวิตของชาววังแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นหน้าตา ทรงผม เครื่องแต่งกายรวมถึงท่าทางต่าง ๆ โดยเน้นที่ความอ่อนช้อยงดงาม ... ความนิยมในตุ๊กตาชาววังเฟื่องฟูระยะหนึ่งก็ซบเซาลง เนื่องจากเป็นงานที่ทำยากเพราะต้องใช้ฝีมือที่ละเอียดอ่อน อีกทั้งเมื่อข้าราชบริพารบางคนย้ายออกไปจากพระราชวังแล้วก็ทำให้ไม่มีใครสืบทอดต่อ การทำตุ๊กตาชาววังก็ได้สูญหายไปพักหนึ่ง จนกระทั่งราวปี พ.ศ. ๒๕๑๙"
กระผมเองก็เคยเข้าไปชมตุ๊กตาชาววังขนานแท้ ในพระตำหนักแดง จัดแสดงไว้ในตู้ลายทอง ตัวตุ๊กตานั้นงามอย่างอัศจรรย์ ดูราวมีชีวิตจิตใจ ด้วยทรวดทรง ลีลาพริ้วไหว หมอบกราบ ผ้าแถบ ผ้าสไบชิ้นน้อยบรรจงแต้มติดกับดินเผา สร้อย สังวาลย์ประดับด้วยกากเพชรแพรวพราว วงหน้าขาวดังนางละคร เห็นแล้วขนลุก เลยนำภาพที่ตุ๊กตาหมอบกราบมาให้ชม ไม่ละม้ายแต่ใกล้เคียงในลีลา แต่การปั้นหุ่นนั้นห่างไกลกันมากซึ่งเป็นฝีมือของคุณยายแฉ่ง ข้าหลวงในวังผู้ซึ่งทำตุ๊กตาแบบชาววัง รื้อฟื้นอดีตขึ้นมาให้คนปัจจุบันได้ยลกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 151 เมื่อ 23 พ.ย. 10, 15:02
|
|
ตุ๊กตาชาววังได้มีนักฝีมือเกิดขึ้น ที่จังหวัดอยุธยา ด้วยลีลาการปั้นตุ๊กตาไม่เหมือนชาววังสมัยนี้ หัวกลมๆ มือกลมๆ ปั้นโดยศิลปินพื้นบ้าน "คุณสุดใจ" กว่ากระผมจะให้เธอปั้นตุ๊กตาเป็นสมบัติเชยชมได้นั้น ใช้เวลานานมาก แต่ก็คุ้มค่าที่รอคอย ลีลาไม่ซ้ำกัน ทราบว่าปัจจุบันได้เข้าสังกัดสอนนักเรียนศิลปาชีพพิเศษ บางไทรไปเรียบร้อยแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
:D :D
|
ความคิดเห็นที่ 152 เมื่อ 23 พ.ย. 10, 15:33
|
|
สองภาพล่างนี้คุ้นๆ ไหมคะ ตุ๊กตาชาววังฝีมือช่างจากศูนย์ศิลปาชีพฯ ค่ะ
ที่ว่าคุ้นๆ เพราะได้อวดโฉมทางโทรทัศน์ไปทั่วโลกในการถ่ายทอดสด เนื่องในพระราชพิธี พระราชทานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำ แด่พระราชอาคันตุกะ จาก 25 ประเทศ คราวฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร เมื่อ 13 มิ.ย.2549 ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 153 เมื่อ 23 พ.ย. 10, 16:03
|
|
เคยเห็นตุ๊กตาแบบนี้(ชุดล่าง)ในงานนิทรรศการของศิลปาชีพ ที่พระที่นั่งอนันต ฯ หลายปีมาแล้ว ค่ะ ชุดบน เสื้อของตุ๊กตาทำด้วยปีกแมลงทับ งามเลื่อมพรายเหลือจะพรรณนา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 154 เมื่อ 23 พ.ย. 10, 16:48
|
|
นำภาพกินรีร่ายรำ ประดับด้วยปีกแมลงทับมาฝาก อาจารย์เทาชมพูและคุณดีดี ครับ หากอยากชื่นชมแบบใกล้ชิดก็ที่พระที่นั่งอภิเษกดุสิต ได้เช่นกันครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 155 เมื่อ 23 พ.ย. 10, 17:58
|
|
สวยมากค่ะ ดูเท่าไรก็ไม่เบื่อ " นั่นห่ออะไร พลอย?" "ห่อจันอับ" พลอยตอบ "ฉันได้มาจากบ้านเมื่อเช้านี้ กินด้วยกันซีช้อย"ชาวเรือนไทยที่เล่นกระทู้นี้คงทันเห็นขนมจันอับ เคยเห็นใส่ขวดโหลไว้ในร้านคนจีน รสชาติหวานมาก ถั่วแผ่นที่มีน้ำตาลเหนียวนั่น เคี้ยวยากและหวานสุดๆ เลยไม่ค่อยได้กินค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 156 เมื่อ 23 พ.ย. 10, 19:32
|
|
"ของที่ทำให้คลั่งกันไปอีกพักใหญ่ก็คือ ตลับงาสำหรับใส่ขี้ผึ้งสีปาก ความจริงนั้นตลับงาใส่ขี้ผึ้งสีปาก เป็นของจำเป็นสำหรับชาววังทุกรูปทุกนามอยู่นานมาแล้ว แต่ต้นเหตุที่จะเริ่มเล่นตลับงากันเป็นการใหญ่นั้น เกิดจากพระราชนิยม เล่ากันว่า วันหนึ่งพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นตลับงาใบเล็กของเสด็จอธิบดี ที่ทรงใช้มานานจนงานั้นแดงเป็นมันดูงามดี จึงมีพระราชดำรัสว่า ตลับงานี้ใช้นานไปก็งามเป็นสีแดง พอจะเล่นกันได้อย่างฝรั่ง เล่นกล้องสูบบุหรี่ทำด้วยดินขาว เรียกว่ากล้องเมียร์ชอม ตั้งแต่นั้นมาก็เล่นตลับงากันทั่วไป ของใครๆ ก็ขัดอย่าง ประณีตบรรจงเพื่อให้ขึ้นสีแดงสวยงาม ตามปกติแต่ก่อนตลับงาทั่วไปนั้น ทำเป็นทรงลูกพลับ แต่พอเริ่มเล่นกันขึ้น ก็มีผู้คิดทรงแปลกๆ ออกไปอีกมาก ทรงของใครคิดขึ้นผู้นั้นก็สงวนมิให้ใครลอกแบบ จนถึงต้องมีเจ้าพนักงาน จดทะเบียนตลับทรงต่างๆ ว่าทรงนั้นทรงนี้เป็นของใคร ตลับทรงลูกพลับแห้ง คือแบนกว่าลูกพลับธรรมดา หน่อยหนึ่ง ตลับทรงจรกา คือทรงลูกพลับแต่กดลงไปจนแบนมาก และทรงลูกรอกข้างแข็งนั้น จดทะเบียนเป็นทรง ของหลวงโดยเฉพาะ นอกจากนั้นก็มี ทรงสะกา ทรงรำมะนา ทรงกลองและทรงหมากดิบสด ตลอดจนตลับรูปร่างอื่นๆ อีกเป็นอันมาก"ตลับงาทรงจรกา  ตลับงารูปลูกพลับสด http://reocities.com/Athens/Troy/1991/Viman442.htm
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 157 เมื่อ 23 พ.ย. 10, 19:33
|
|
ตลับงาเถาทรงลูกพลับ และตลับงารูปเงินพดด้วง 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 158 เมื่อ 23 พ.ย. 10, 20:52
|
|
เข้ามาทานขนมจันอับ หวานลิ้นแล้ว มาชื่นชมตลับงา  ด้วยความวิเศษและงดงาม เจ้านายฝ่ายในต่างนิยมชมชอบ เมื่อเห็นว่าใครมีสวยกว่าตนก็ต่างคิดประดิษฐ์รูปร่าง จ้างทำให้เด่นและงดงามเป็นที่อวด ที่ประชันกัน ดังนั้นตลับงาจึงมีรูปร่างหลากหลาย เช่น ทรงผลลูกจันทน์ ทรงดอกพิกุล ทรงลูกตาล ทรงกลอง ทรงกรอด้าย ทรงลูกพลับ ทรงกลองรำมะนา ทรงมะพร้าวพร้อมจาวภายใน ทรงไข่ไก่เปิดได้ ทรงเงินพดด้วง ล้วนทุกใบจะทำไล่เรียงลำดับตั้งแต่ใหญ่ จนเล็ก ลดหลั่นขนาดกันไป เป็นเถา ๑๐ เถา ๒๐ แล้วแต่ความวิเศษของฝีมือช่างที่ประดิษฐ์ทำ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 159 เมื่อ 23 พ.ย. 10, 20:57
|
|
ตลับงารูปผลตาล ใบใหญ่มีขนาดเพียง ๖ เซนติเมตร ใบกลางสองใบ ๓.๕ เซนติเมตรและใบเล็กสุด ๒ เซนติเมตร เห็นไหมครับว่าเล็กมากเพียงไร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 160 เมื่อ 26 พ.ย. 10, 19:22
|
|
ต่อมาโปรดเกล้าให้ปลูกเรือนต้นขึ้นที่ริมอ่างหยกอีกด้านหนึ่ง ตรงข้ามกับพระที่นั่งวิมานเมฆ เรือนต้นเป็นเรือนไทยแบบชนบทฝาไม้กระดาน หลังคามุงด้วยจาก มีหอนั่ง เรือนนอน นอกชาน ครัวไฟ และทุกอย่างครบเหมือนเรือนราษฎรธรรมดาตามชนบท พระเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นหลายครั้งหลายครา เสด็จไปตามจังหวัดต่างๆ ปะปนไปกับหมู่ราษฎร และเสด็จเยี่ยมเยือนราษฎร ถึงบ้านช่อง โดนที่ราษฎรมิได้รู้ว่าพระองค์เป็นผู้ใด ในการเสด็จประพาสแบบนี้ ได้ทรงรู้จักคุ้นเคยกับราษฎร ในชนบทหลายคน โปรดให้เรียกว่าเพื่อนต้น และโปรดเกล้าให้พวกเพื่อนต้นนี้ เข้าเฝ้าแหนได้ทุกโอกาสเรือนต้น 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 161 เมื่อ 27 พ.ย. 10, 13:54
|
|
ทรงพระเกษมสำราญภายในตำหนักเรือนต้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 162 เมื่อ 29 พ.ย. 10, 08:29
|
|
คืนวันนั้นในสระใหญ่ที่พระราชวังบางปะอิน สว่างไสวไปด้วยแสงไฟ สิ่งที่เรียกร้องความสนใจที่สุดก็คือ กระทงใหญ่ต่างๆ ที่ลอยอยู่ในสระ พลอยลงเรือพายกับช้อยและพวกข้าหลวงตำหนักเดียวกันอีกสองคน เที่ยวพายดูกระทงเหล่านั้นด้วยความตื่นตาตื่นใจ กระทงใหญ่ ที่มาลอยอยู่ในสระนั้นเป็นของเจ้านายข้าราชการ และพ่อค้าคฤหบดีจัดทำมาสนองพระเดชพระคุณ ทุกกระทง จุดไฟสว่างไสวและประดิษฐ์เป็นรูปต่างๆ มีเครื่องยนต์กลไกลอยู่ในนั้น บางกระทงทำเป็นรูปเรือรบ ย่อส่วนจากของจริงลงมาได้ขนาดและมีครบทุกอย่าง อีกกระทงหนึ่งทำเป็นรูปนางธรณีบีบมวยผม มีเครื่องสูบน้ำซ่อนอยู่ข้างใน สูบน้ำจากสระให้ไหลออกมาทางมวยผมได้จริงๆ เลยไปอีกทางหนึ่งเป็นกระทง ทำเป็นรูปพระยานาคจำศีล งดงามวิจิตรด้วยลวดลายสลัก จนดูเหมือนกับว่าพระยานาคนั้นมีชีวิต ถ้าใครไปกระทบ เข้าก็เคลื่อนไหวสำแดงอิทธิฤทธิ์ กระทงของอีกเจ้าของหนึ่ง ทำเป็นรูปกระโจมแตรที่มีของจริงอยู่ในพระราชวังนั้น ย่อส่วนลงมาจนเหลือเล็กน่าเอ็นดู ต่อจากนั้นไปเป็นกระทงแสดงหุ่นภาพเรื่องพระอภัยมณี ตอนสุดสาครเข้าเมืองผีดิบ ทำเป็นผีรูปต่างๆหน้าตาดุร้ายน่ากลัว แล้วยังมีกระทงทำเป็นเรือนขุนช้างขนาดย่อส่วน น่ารักรูปร่างเป็นเรือนแบบไทยเหมือนเรือนต้นที่สวนดุสิต ข้างในนั้นมีกระถางไม้ดัด ตลอดจนเครื่องใช้ และเครื่องตกแต่งพร้อมสรรพ ทุกอย่างเล็กๆ ได้ส่วนกับตัวเรือนไปสิ้น พลอยพายเรือวนเวียนดูกระทงเหล่านั้น อยู่จนดึก ดูเท่าไรก็ไม่รู้จักเบื่อ ในสระนั้นก็เต็มไปด้วยเรือเจ้านายและเรือข้างใน ออกพายเวียนวนดูกระทง อยู่ทั่วกัน เสียงทักทายกันเบาๆ เสียงชมกระทงนั้นเปรียบกับกระทงนี้ดังอยู่ไม่ขาด กระทงที่นำมาลอยในสระนี้ ลอยอยู่จนครบสามวัน อันเป็นเวลาตั้งพระศพบำเพ็ญพระราชกุศล ในคืนต่อมาเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร พร้อมด้วยคณะกรรมการประกวดกระทง กระทงใดที่ได้รับรางวัลที่ ๑ ก็ให้ปักธงเหลืองไว้เป็นสำคัญ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 163 เมื่อ 29 พ.ย. 10, 11:05
|
|
^ ^ น่าจะเป็นงานพระราชทานเพลิงศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี
คุณวิกกี้เล่าไว้ว่า
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี ทรงเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประสูติแต่เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ บุนนาค) ก่อนที่พระองค์จะเสด็จฯ ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ
ทรงเป็นพระราชธิดาคู่ทุกข์คู่ยากของรัชกาลที่ ๕ หลังจากการทรงกรมเป็น "กรมขุนสุพรรณภาควดี "ได้เพียง ๑ ปี ก็สิ้นพระชนม์ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานบำเพ็ญพระราชกุศล ณ พระราชวังบางปะอิน โดยใช้พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์เป็นที่ประดิษฐานพระศพ และโปรดให้จัดงานพระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดนิเวศธรรมประวัติ ซึ่งถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่มาก จนเป็นที่กล่าวขานในหมู่ชาววังว่า ใครไม่ได้มาร่วมงานในครั้งนี้ถือเป็นคนนอกสังคมชาววัง
ในระหว่างการจัดงานพระราชทานเพลิงพระศพนั้น สมเด็จเจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร ซึ่งทรงสนิทกับพระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์มาก เกิดทรงพระประชวรและสิ้นพระชนม์ ณ วรนาฎเกษมสานต์ ภายในพระราชวังบางปะอินนั่นเอง ซึ่งในนวนิยายเรื่อง สี่แผ่นดิน ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ในครั้งนี้ไว้ว่า
"เชิญพระศพพระเจ้าลูกเธอพระองค์หนึ่งขึ้นไป แล้วก็กลับต้องเชิญพระศพอีกพระองค์หนึ่งลงมา"
http://th.wikipedia.org/wiki/พระราชวังบางปะอิน
http://th.wikipedia.org/wiki/พระเจ้าบรมวงศ์เธอ_พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์_สุนทรศักดิกัลยาวดี_กรมขุนสุพรรณภาควดี

 http://th.wikisource.org/wiki/สี่แผ่นดิน_-_แผ่นดินที่ ๑_-_บทที่ ๑๖_(หน้าที่ ๒) 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pierre
มัจฉานุ
 
ตอบ: 79
จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง
|
ความคิดเห็นที่ 164 เมื่อ 02 ธ.ค. 10, 19:58
|
|
พระเจ้าลูกเธอฯ กรมขุนสุพรรณภาควดี ประชวรด้วยพระโรคพระวักกะพิการ เล่ากันว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตกห่วงใยในพระอาการของพระราชธิดาพระองค์นี้อย่างใกล้ชิด กรมขุนสุพรรณภาควดีสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๔๔๗ พระชันษา ๓๗ ปี ทรงอาลัยรักพระราชธิดาพระองค์นี้มาก หม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล เล่าถึงความโศกเศร้าของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จลงพระราชทานน้ำว่า "...ข้าพเจ้าเห็นทรงประชวรพระวาโย เจ้าพระยาสุรวงศ์ (โต บุนนาค) ต้องเข้าพยุง..." เมื่อจัดงานพระเมรุจึงโปรดให้จัดงานอย่างยิ่งใหญ่ ด้วยมีพระราชประสงค์จะพระราชทานพระเกียรติยศ โดยโปรดให้สร้างพระเมรุใกล้ต้นโพธิ์ที่ทรงเพาะเมล็ดและนำมาปลูกที่วัดนิเวศธรรมประวัติด้วยพระองค์เองครั้งยังดำรงพระอิสริยยศพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสว่า ต้นโพธิ์นี้คือพระชนมายุของพระราชธิดา 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|