pierre
มัจฉานุ
 
ตอบ: 79
จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 17 ต.ค. 10, 15:23
|
|
เห็นคุณ natadol ถามถึงตำแหน่งของแถวเต๊ง ก็ขอลงภาพให้ดูนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pierre
มัจฉานุ
 
ตอบ: 79
จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 17 ต.ค. 10, 15:29
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pierre
มัจฉานุ
 
ตอบ: 79
จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 17 ต.ค. 10, 15:38
|
|
ในหนังสือ หอมติดกระดาน ของคุณศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย กล่าวถึงแถวเต๊งในแง่ของการเป็นเสมือนสถานที่ช็อปปิ้งของสาวชาววังด้วยในทางหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาวชาววังในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่มีขอบเขตจำกัดอยู่ภายในรั้ววัง พนักงานฝ่ายในบางคนที่มีฝีมือและต้องการรายได้พิเศษก็จะมีการประดิษฐ์สินค้าที่ตนชำนาญออกวางขายหน้าห้องของตนในแถวเต๊งนั้น ๆ สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นจำพวกขนมและของกินเล่น ส่วนสินค้าอื่นๆ เช่นตุ๊กตาชาววังหรือของเล่นเล็กๆน้อยๆที่อยู่ในความนิยมของชาววังก็จะมีอยู่บ้างแต่ไม่มากเท่ากับของกิน ลูกค้าสำคัญก็คือข้าหลวงจากตำหนักต่างๆซึ่งผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาซื้อและมาพบปะพูดคุยกัน ฉะนั้น ในบริเวณแถวเต๊งจึงเป็นเสมือนแหล่งพบปะสังสรรค์กันของบรรดาข้าหลวงและผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นในด้วย ดูไปแล้วในเขตพระราชฐานชั้นในนี่ก็เหมือนเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งจริงๆ และที่สำคัญยังเป็นเมืองที่มีแต่ผู้หญิงด้วยค่ะ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 17 ต.ค. 10, 18:03
|
|
ในหนังสือ หอมติดกระดาน ของคุณศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย กล่าวถึงแถวเต๊งในแง่ของการเป็นเสมือนสถานที่ช็อปปิ้งของสาวชาววังด้วยในทางหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาวชาววังในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่มีขอบเขตจำกัดอยู่ภายในรั้ววัง พนักงานฝ่ายในบางคนที่มีฝีมือและต้องการรายได้พิเศษก็จะมีการประดิษฐ์สินค้าที่ตนชำนาญออกวางขายหน้าห้องของตนในแถวเต๊งนั้น ๆ สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นจำพวกขนมและของกินเล่น ส่วนสินค้าอื่นๆ เช่นตุ๊กตาชาววังหรือของเล่นเล็กๆน้อยๆที่อยู่ในความนิยมของชาววังก็จะมีอยู่บ้างแต่ไม่มากเท่ากับของกิน ลูกค้าสำคัญก็คือข้าหลวงจากตำหนักต่างๆซึ่งผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาซื้อและมาพบปะพูดคุยกัน ฉะนั้น ในบริเวณแถวเต๊งจึงเป็นเสมือนแหล่งพบปะสังสรรค์กันของบรรดาข้าหลวงและผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นในด้วย ดูไปแล้วในเขตพระราชฐานชั้นในนี่ก็เหมือนเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งจริงๆ และที่สำคัญยังเป็นเมืองที่มีแต่ผู้หญิงด้วยค่ะ  เรื่องกิจกรรมประจำวันของสาวชาววัง มีกล่าวถึงค่อนข้างละเอียดและมีชีวิตชีวาในหนังสือ "วังหลวง" ของนางอมรดรุณารักษ์ (อุทุมพร สุนทรเวช) ครับ ลองหาอ่านดู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 17 ต.ค. 10, 20:43
|
|
ขอขยายสถานที่แถวเต็ง ดังนี้ เดิมชื่อแถวทิม มีก่อไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ มีเพียงแถวเดียวคือ ด้านตะวันออก ต่อด้วยเต็งขวางและเต็งตะวันตก เป็นอาคารชั้นเดียว และเปลี่ยนเป็นสองชั้นในรัชกาลต่อๆมา และมีการสร้างแถวเต็งเพิ่มเติมหักมุมลงไปในพื้นที่พระบรมมหาราชวังด้านใต้ ล้อมโรงพักกรมโขลน และแยกระหว่างโรงครัวทหารและโรงทหารแยกจากกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
luanglek
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 18 ต.ค. 10, 08:54
|
|
เรื่องแถวเต๊ง ผมว่าไปหาหนังสือสถาปัตยกรรมในพระบรมมหาราชวังมาอ่านจะไม่ดีกว่าหรือ อาคารแถวเต๊ง มีการสร้างหลายยุคสมัย เคยเข้าไปเดินตามผู้ใหญ่มีบรรดาศักดิ์ชมฝ่ายใน เห็นแถวเต๊งแล้ว นึกถึงสมัยแม่พลอยขึ้นมาทันที ท่าทางสนุกวุ่นวายมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
pierre
มัจฉานุ
 
ตอบ: 79
จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 19 ต.ค. 10, 20:01
|
|
แถวเต๊งเป็นสถานที่ที่บรรดาข้าหลวงจากตำหนักต่างๆนิยมไปพบปะพูดคุยสังสรรค์กันตามประสาสาวชาววังเพราะเป็นสถานที่ที่ค่อนข้างอิสระ ไม่ต้องระวังกิริยามารยาทมากเหมือนเวลาอยู่ต่อหน้าพระพักตร์เจ้านายของตน เช่นเดียวกับที่ช้อยบอกพลอยเสมอว่า เที่ยวตามตำหนักไม่สนุกเพราะต้องคอยระวังตัว ถ้าเที่ยวตามแถวเต๊งจะสบายใจกว่า อีกทั้งทุกคนก็จะแสดงความเป็นกันเองได้มากกว่าด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pierre
มัจฉานุ
 
ตอบ: 79
จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 19 ต.ค. 10, 20:55
|
|
อยากหาอ่านเรื่องแถวเต๊งในหนังสือสถาปัตยกรรมพระบรมมหาราชวังเหมือนกันค่ะ แต่ไม่สะดวกด้วยอะไรหลายๆอย่าง ในหนังสือเล่มนี้จะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับในรั้วในวังที่ควรค่าแก่การศึกษาอย่างแน่นอน (เป็นหนังสืออ้างอิงที่ดีที่สุดเล่มหนึ่ง) ใจจริงแล้วอยากได้หนังสือเล่มนี้เก็บไว้เป็นของตัวเองค่ะ แต่เท่าที่รู้มา หนังสือสถาปัตยกรรมพระบรมมหาราชวังนั้นพิมพ์ออกมาไม่มากนัก และอีกอย่างคือพิมพ์ตั้งแต่ปี ๓๑ โดยสำนักราชเลขาธิการเป็นผู้จัดพิมพ์ ถ้าจะหากันจริงๆคงต้องหาจากร้านหนังสือเก่ามังคะ ? 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 19 ต.ค. 10, 20:57
|
|
สิ่งที่กล่าวไว้ในเรื่องสี่แผ่นดิน คือ อุโมงค์ หรือ เว็จที่ประตูศรีสำราญ หรือส้วม ซึ่งควรตั้งอยู่นอกรั้วกำแพงพระบรมมหาราชวังหรือไม่ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pierre
มัจฉานุ
 
ตอบ: 79
จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 19 ต.ค. 10, 20:58
|
|
เรื่องแถวเต๊งนี่ก็เป็นไปตามที่คุณ luanglek บอกค่ะว่า มีการสร้างและปรับปรุงกันหลายยุคสมัย เพราะเมื่อระยะเวลาผ่านไป ความทรุดโทรมของสิ่งก่อสร้างต่างๆก็ต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา รูปแถวเต๊งจากหนังสือต่างๆที่เราได้พบเห็นในปัจจุบันก็เช่นเดียวกับสิ่งก่อสร้างในอดีต ที่ทำให้เราหวนนึกถึงความเจริญรุ่งเรืองอย่างมากในช่วงระยะเวลาหนึ่ง สมัยนั้น (ร.๕) ถ้าว่ากันตามที่ผู้เขียนเรื่องสี่แผ่นดินบรรยายให้เห็นภาพแล้ว แถวเต๊งนี่คงจะมีคนอยู่เป็นจำนวนมากทีเดียว (ถึงขนาดใช้คำว่า "..เต็มไปหมดไม่มีที่ว่าง..") ฉะนั้นจึงเป็นตัวบอกได้อย่างหนึ่งว่า ฝ่ายในสมัยดังกล่าวต้องอยู่ในช่วงที่เรียกว่า classic เลยทีเดียว ราชสำนักเป็นศูนย์กลางของความเจริญรุ่งเรืองอย่างแท้จริง ครั้นเมื่อ ร.๕ สวรรคต ความร่วงโรยของเขตพระราชฐานชั้นในก็ปรากฏชัดเจนขึ้น บางตำหนักขาดการดูแล บางตำหนักถูกรื้อลงเพราะทรุดโทรมเกินกว่าจะแก้ไข แถวเต๊งก็ไม่ต่างไปจากสภาพของตำหนักอื่นๆในเขตพระราชฐานชั้นในเท่าไหร่นัก ภาพแถวเต๊งบางส่วนที่ปรากฏในหนังสือจึงมีสภาพที่ทรุดโทรม หลังคาผุพัง มีไม้เลื้อยและตะไคร่จับตามผนัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pierre
มัจฉานุ
 
ตอบ: 79
จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 19 ต.ค. 10, 21:45
|
|
จากหนังสือ สี่แผ่นดินกับเรื่องจริงในราชสำนักสยาม ของคุณศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย ได้กล่าวถึงอุโมงค์ไว้ด้วยค่ะว่า เป็นที่ถ่ายทุกข์ของข้าราชสำนักฝ่ายใน อยู่บริเวณริมกำแพงพระราชวังด้านใต้ใกล้กับประตูศรีสุดาวงศ์ (ไม่ได้อยู่นอกกำแพงพระบรมมหาราชวังค่ะ) อุโมงค์ที่ช้อยพาพลอยไปนั้นเป็นที่ถ่ายทุกข์แห่งใหม่ซึ่งสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) ส่วนอุโมงค์ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ซึ่งรื้อทิ้งไปแล้วนั้น ปลูกลงแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อออกจากประตูวัง จะมีทางเดินเป็นกำแพงก่ออิฐถือปูนทึบไม่มีหน้าต่างพุ่งยาวออกจากประตูวังไปโผล่แม่น้ำเจ้าพระยา รูปร่างอุโมงค์หรือเรือนถ่ายสมัยนั้นมีลักษณะเป็นเรือนไม้หลังใหญ่กั้นเป็นคอกๆ นั่งถ่ายได้ครั้งละหลายคน
แต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างอุโมงค์ขึ้นใหม่ใกล้กับประตูศรีสุดาวงศ์เพื่อความเหมาะสม (ไม่ต้องออกไปถึงแม่น้ำ) โดยอุโมงค์ที่สร้างสมัยนี้จะมีถังตั้งไว้ข้างล่างตลอดแถวสำหรับรับอุจจาระ และจะมีผู้นำไปเทภายหลัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pierre
มัจฉานุ
 
ตอบ: 79
จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 19 ต.ค. 10, 21:50
|
|
ขอยกบทความหนึ่งของคุณจุลลดา ภักดีภูมินทร์ในสกุลไทย ฉบับที่ ๒๔๗๗ ปีที่ ๔๘ ประจำวันอังคาร ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๕ ที่ได้กล่าวถึง “อุโมงค์ หรือ ศรีสำราญ” ไว้ดังนี้
“ศรีสำราญ” ปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารภาคที่ ๑๓ เรื่องตำนานวังหน้า เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “ลานพระราชวังบวรฯ ด้านใต้กับด้านตะวันตก กระชั้นชิดกำแพงวังชั้นนอก ด้านใต้มีแต่ทางเดิน ด้านตะวันตกก็เห็นจะเป็นเรือนพวกขอเฝ้าชาววัง ทำนองอย่างข้างพระราชวังหลวง มีสิ่งซึ่งควรกล่าวอยู่ข้างด้านตะวันตก แต่ ๒ อย่าง คือ ท่อน้ำอย่าง ๑ ศรีสำราญอย่าง ๑ ท่อน้ำนั้นก็คือประปาในชั้นแรกสร้างพระราชวังบวรฯ ถึงพระราชวังหลวงก็เหมือนกัน ขุดเป็นเหมืองให้น้ำไหลเข้าไปได้แต่แม่น้ำ ตอนปากเหมืองข้างนอกก่อเป็นท่อกรุตารางเหล็ก ข้างบนถมดิน แต่ข้างในวังเปิดเป็นเหมืองน้ำมีเขื่อนสองข้าง ตักน้ำใช้ได้ตามต้องการ ศรีสำราญนั้น คือเว็จของผู้หญิงชาววัง ปลูกเว็จไว้ที่ริมแม่น้ำ แล้วทำทางเดินเป็นอุโมงค์ คือก่อผนังทั้งสองข้างมีหลังคาคลุมแต่ประตูวังไปจนแล้วที่ถนนข้างนอกวังตรงผ่านอุโมงค์ก็ทำสะพานข้าม ผู้หญิงชาววังลงไปศรีสำราญได้แต่เช้าจนค่ำ เหมือนกับเดินในวังไม่มีผู้ชายมาปะปน”
เมื่อแรกเข้าใจว่า ‘ศรีสำราญ’ นี้ เป็นคำใช้กันเฉพาะชาววังหน้า เพราะไม่เคยพบในเรื่องของวังหลวง ในเรื่อง ‘สี่แผ่นดิน’ ของอาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ก็ได้ทราบแต่ว่าชาววังหลวงเรียกสถานที่ว่า ‘อุโมงค์’ เพราะสภาพเป็นอุโมงค์อย่างเดียวกับในวังหน้า เพิ่งอ่านพบในหนังสือ ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาค ๑๗ เรื่องหมายรับสั่งบางเรื่องในรัชกาลที่ ๑ และที่ ๒ ในหมายรับสั่งเรื่องงานศพเจ้าศรีฟ้าในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ (พระโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ สมเด็จพระพี่นางเธอพระองค์น้อยในรัชกาลที่ ๑) พ.ศ.๒๓๕๘ ที่วัดสระเกศมีว่า “ด้วยพระยารักษมณเฑียร รับพระราชโองการใส่เกล้าฯทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสั่งว่า...ฯลฯ... เมรุสามสร้างพลับพลา ฉนวน แลที่สรง ที่ลงบังคน ที่ศรีสำราญ และโรงข้างในแต่งสำรับคาวหวานนั้น รื้อเสียบ้าง ยังบ้าง ชำรุดหักพังไปบ้าง ให้สี่ตำรวจ สนมตำรวจ รับเลขต่อพันพุฒ พันเทพราช ด้านละ ๑๕ คน ๓ ด้าน ๔๕ คน เบิกไม้ไผ่ จากหวาย กระแชง ต่อชาวพระคลังราชการ แลยืมผ้าขาวต่อพระคลังวิเศษทำขึ้นให้เหมือนอย่างเก่า อย่าให้ขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้เป็นอันขาดทีเดียว จงเร่งทำให้แล้วทันกำหนดมานี้เป็นการเร็ว” แสดงว่า ‘อุโมงค์’ ของชาววังหลวงนั้น จริงๆ แล้วก็เรียกว่า ‘ศรีสำราญ’ เช่นกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 19 ต.ค. 10, 21:55
|
|
ขอบคุณครับคุณ pierre ที่อธิบายเรื่อง อุโมงค์ ให้ฟัง ซึ่งถ้าเป็นเจ้านายระดับสูง คงมีการสร้างส้วมไว้ภายในตำหนักต่างๆแล้ว และจะเชิญออกไปจำเริญลอยแม่น้ำในเวลา (ไม่รู้เช้า/สาย/บ่าย/เย็น) แต่ที่แน่ๆ ช้อยกับพลอย ต้องซื้อ "ไม้แก้งก้น" พวงละอัฐ ไปใช้เป็นป็นแน่แท้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 20 ต.ค. 10, 00:21
|
|
ในรัชกาลที่ 5 น่าจะมีการสั่งที่ลงพระบังคน แบบฝรั่ง เข้ามาใช้ในตำหนักเจ้านายฝ่ายในแล้วนะคะ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|