เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 13
  พิมพ์  
อ่าน: 111153 ชื่อเรียกต่างๆจากวรรณกรรมเรื่องสี่แผ่นดิน
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 12 พ.ย. 10, 09:23

แล้ว "เล่นโป"  เป็นอย่างไรคะ ฮืม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 12 พ.ย. 10, 09:43

คำอธิบายจาก "ประชุมพระนิพนธ์  สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ"

๑. อธิบายกำเนิดการเล่นถั่วโปและหวย

        การเล่นถั่วโป และหวย  เป็นของที่จีนคิดเล่นขึ้นในเมืองจีนก่อน  แล้วพวกจีนที่ไปอยู่ต่างด้าวพาไปเล่น  จึงได้แพร่หลายต่อไปในประเทศอื่นๆ  ข้าพเจ้าได้วานพระเจนจีนอักษร(สุดใจ  ตัณฑากาศ) ศาสตราจารย์ภาษาจีนในราชบัณฑิตสภาให้ช่วยค้นหาเรื่องเหตุเดิมที่จะมีการเล่นนี้ขึ้นในเมืองจีน   ได้ความในหนังสือ ยี่ จับ สี่ ซื้อ อ๋าว หั่ง จือ  เป็นเรื่องพงศาวดารจีน ตอนราชวงศ์ตั้งฮั่น  ว่าเมื่อครั้งราชวงศ์ตั้งฮั่นเป็นใหญ่ในเมืองจีน  แผ่นดินพระเจ้าสูนฮ่องเต้ อันดับเป็นรัชกาลที่ ๗  เสวยราชย์เเต่ พ.ศ. ๖๖๙  จน พ.ศ. ๖๘๘ นั้น  ขุนนางจีนคนหนึ่งชื่อเลียงกี  คิดเล่นการพนันขึ้นอย่าง ๑  เดิมเรียกว่า อีจี๋ แปลว่ากระแปะคิด  วิธีเล่นใช้นับ ๔ เป็นเกณฑ์  คือ เอากระแปะหลาย ๆ สิบกระแปะมากองเข้า  แล้วเอาภาชนะอันหนึ่งครอบกองกระแปะนั้นไว้  ให้คนทั้งหลายที่เล่นด้วยกันทายว่าจะเป็นเศษ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ หรือครบ ๔  เมื่อทายกันแล้วจึงเปิดภาชนะที่ครอบออกแล้วนับกระแปะ ปัดไปทีละ ๔ กระแปะ ๆ    ปัดไปจนกระแปะในกองนั้นเหลือเป็นเศษ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ หรือ ๔  ตรงกับที่ผู้ใดทายผู้นั้นถูก  ใครวางเงินแทงเท่าใดถ้าเจ้าถูก เจ้ามือก็ต้องใช้ให้  ใครแทงไม่ถูกเจ้ามือก็ริบเงินที่แทงเสีย

         ต่อมาถึงสมัยล่ำปักเฉียว เวลาเมืองจีนแตกกันเป็นภาคเหนือกับภาคใต้  ต่างรัฐบาลกัน  ในระหว่าง พ.ศ. ๙๖๓  จนถึง พ.ศ. ๑๑๓๒  ในสมัยนั้นการเล่นที่เรียกว่า อีจี๋ (ทำนองจะเป็นเพราะเอาสิ่งอันใดกองแทนกระแปะให้สังเกตง่ายขึ้น) จึงเรียกแปลงชื่อว่า "ทัวหี่" แปลว่า เล่นแจง

         ต่อมาเมื่อราชวงศ์ถังเป็นใหญ่  ในระวาง พ.ศ. ๑๑๖๑  จน พ.ศ. ๑๔๕๐  มีผู้แปลชื่อการเล่น "ทัวหี่"  มาเรียกว่า "ทัวจี่"  แปลว่าแจงกระแปะ (เพราะกลับเล่นด้วยกระแปะ  แต่ทุกวันนี้เรียกกันเป็นหลายอย่าง  เรียกกันว่า "กิมจี๋ทัว" แปลว่าแจงกระแปะทอง (เพราะเป็นกระแปะที่เล่นนั้นขัดปลั่งเหมือนกับทอง) ก็มี  เรียกว่า "ทัว" แปลว่าแจง เท่านั้น (เพราะใช่แจงด้วยเบี้ยหรือสิ่งอื่นอันมิใช่กระแปะ) ก็มี   เรื่องมูลเหตุการเล่นทัว  ที่เรามาเรียกกันว่า "ถั่ว" มีมาดังนี้  ที่ไทยเรียก "ถั่ว" เห็นจะเป็นแต่เพี้ยนมาจากคำว่า "ทัว" ภาษาจีน  หาใช่เพราะเอาถั่วมากำแทนกระแปะไม่

         เรื่องเหตุเดิมที่จะเกิดการเล่นโป  ซึ่งจีนเรียกว่า "ป๊อ" นั้นยังค้นไม่พบอธิบาย  ได้ความแต่ว่าเป็นของคิดขึ้นที่อำเภอเจี๋ยวอาน ในมณฑลฮกเกี้ยน  และว่ามีขึ้นในสมัยตอนปลายราชวงศ์ใต้เหมง  หรือเมื่อต้นราชวงศ์ใต้เชงเป็นใหญ่ในเมืองจีน  ประมาณราว พ.ศ. ๒๑๐๐  เพราะฉะนั้นโปเป็นของมีขึ้นที่หลังถั่วช้านาน โปมาเล่นในเมืองประเทศสยามนี้มี ๒ อย่าง  ไทยเราเรียกว่า "กำโป" เพราะกำเหมือนถั่ว   ผิดกันแต่วิธีแทง อย่าง ๑  เรียกว่า "โปปั่น"  ใช้ครอบทองเหลืองมีลิ้นรูปเหมือนลูกบาตรข้างใน  ปั่นครอบไปจนได้เหลี่ยมแล้วเปิดฝา  ซีกขาวที่ลิ้นอยู่ตรงแต้มไหนถือว่าออกแต้มนั้น นี้อย่าง ๑  สันนิษฐานว่าที่จีนเรียก "ป๊อ"  เห็นจะได้แก่ โปปั่นอย่างเดียว โปกำจะเป็นขอคิดเอาวิธีเล่นถั่ว กับเล่นโป  ประสมกันปรุงขึ้นต่อภายหลัง  ได้ความในเรื่องมูลเหตุที่จะเกิดการเล่นโปแต่เท่านี้

         ส่วนเหตุเดิมที่จะเกิดหวยนั้น  ได้ความในหนังสือชื่อ ยังว่า    หวยเป็นของเพิ่งคิดขึ้นในแผ่นดินพระเจ้าเตากวาง รัชกาลที่ ๖  ในราชวงศ์ใต้เชง  เสวยราชย์แต่ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๖๔  จนปีจอ พ.ศ. ๒๓๙๔ (ตรงกับรัชกาลที่ ๒ ต่อรัชกาลที่ ๓ กรุงรัตนโกสินทร์นี้)  ว่ามีผู้คิดเล่นที่อำเภอว่างง่าม ในมณฑลเจ๊เกี๋ยงก่อน  จีนเรียก "ฮวยหวย"  ลักษณะการเล่นนั้นทำป้ายเล็ก ๓๔ ป้าย  เขียนชื่อคนโบราณลงป้ายละชื่อ  ชื่อคนโบราณเหล่านั้นคือชื่อว่า "สามหวย" "ง่วยโป" เป็นต้น  ล้วนเป็นคนมีชื่อเสียงครั้งราชวงศ์ซ้องทั้งสิ้น  กระบวนเล่นนั้น  เจ้ามือเลือกป้ายอัน ๑ ใส่ลงในกระบอกไม้ปิดปากกระบอกเสีย  แล้วเอาแขวนไว้กับหลังคาโรง  ให้คนทายว่าจะเป็นชื่อคนไหนใน ๓๔ ชื่อนั้น  ถ้าทายถูก เจ้ามือก็ใช้ ๓๐ ต่อ  ถ้าทายผิดก็ริบเอาเดิมพันเสีย  เรื่องมูลเหตุที่หวยเกิดขึ้นในเมืองจีน  สืบได้ความดังแสดงมานี้

แผ่นดินทอง - ตำนาน อากรบ่อนเบี้ย หวย และเงินตรา
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/03/K4167818/K4167818.html


บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 13 พ.ย. 10, 20:38

เคยได้ยินชื่อ "ข้าวเสียโป"  ขายอยู่หน้า รพ.กลาง
ที่มานั้นต่างกันไป บางคนว่าเป็นคำมาจากภาษาจีน
บางคนว่า  เสียพนันเลยต้องมากินข้าวแบบนี้  แต่ก็ไม่เห็นว่าจะราคาถูกแต่อย่างใด

ไม่แน่ใจเรื่องที่ตั้ง รพ.กลาง ก็อยู่ใกล้โรงหวยเดิมด้วยหรือเปล่า ?
บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 14 พ.ย. 10, 19:53

เคยอ่านในเว็บใดเว็บหนึ่ง (คิดว่าน่าจะเป็น bloggang.com) ได้กล่าวถึงเรื่องหวย ก ข ไว้เป็นชุดคำกลอน โดยกลอนที่ว่านี้ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่เป็นชุดที่มีตัวอักษรทั้งสิ้น ๓๖ ตัว คำกลอนที่ว่ามีดังนี้ค่ะ

ก สามหวย

ก เจ้าสวมหมวกสามแฉกเป็นเส้นฉาก
หนวดที่ปากแดงจ้าหน้าเป็นสี
ชื่อสามหวยสวยนักเป็นจักรี
นางชะนีมาเกิดกำเนิดนาม

ข ง่วยโป๊

ข ง่วยโป๊นั้นกำเนิดเกิดเป็นเต่า
แต่เข้าเฝ้าเช้าเย็นไม่เห็นฉัน
อดอาหารได้จริงไม่ยิงฟัน
ถือพระจันทร์ชูไว้มิได้วาง
บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 14 พ.ย. 10, 19:57

ฃ เจียมขวย

ฃ เจียมขวยเป็นปลานั้นมาเกิด
พักตร์สวยเลิศคิ้วคางก็คมสัน
ต้องเข้าเฝ้าเช้าเย็นเป็นนิรันดร์
เป็นเขยขวัญท่านไท้เผ็งทรงเมตตา

ค เม่งจู

ค เม่งจูปลาตะเพียนนั้นมาเกิด
บอกสำคัญว่าชาติเก่งเป็นฮูหยิน
มีลูกอ่อนนอนเห็นว่าเล่นจริง
ไม่ประวิงรักบุตรเป็นสุดใจ

ฅ ฮะตั๋ง

ฅ สองแม่ค้าหอยแครงค่อฮะตั๋ง
ดูเนื้อหนังพักตร์นวลอ้วนหนักหนา
ปากก็หวานตั้งร้านขายสุรา
อยากขึ้นมาก็รินกินเอาเอง
บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 14 พ.ย. 10, 20:09

ฆ ยี่ซัว

ฆ หลวงจีนเฆาะยี่ซัวนั้นตัวกั่น
กำเนิดนั้นเป็นไก่อยู่ไพรกว้าง
คอยคุ้ยเขี่ยหากินไปตามทาง
ก๊กต่างๆ สั่นหัวกลัวเต็มที

ง จีเกา

ง จีเกาคนเก่งนักเลงเก่า
ทหารเจ้า ธ ไท้เผ็งเก่งหนักหนา
ขี่สิงโตออกชื่อคนลือชา
มีฤทธาคนอ่อนน้อมยอมเกรงกลัว

จ หลวงชี

จ หลวงชีเดิมทีเป็นแมวป่า
สิ้นชีวาขาดใจไปเป็นผี
มาเกิดเป็นอันสือชื่อแม่ชี
เที่ยวราวีตามตลาดบิณฑบาตเอย

ฉ ขายหมู

ฉ ขายหมูแมวลายตายมาเกิด
แสนประเสริฐวิชาค้าขายหมู
ครั้นใกล้รุ่งมันก็เรียกกันเพรียกพรู
ให้จับหมูฆ่าขายกระจายไป     ตกใจ
บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 14 พ.ย. 10, 20:21

ช ฮกชุน

ช่อ ฮกชุนเป็นสกุลสุนัขขา
ปีนขึ้นเขาหายาไปปะเสือ
ไม่ทันหลบเสือขบลงเป็นเบือ
เลยเป็นเหยื่อพยัคฆ์ร้ายจนวายปราณ

ซ แชหงวน

ซ แชหงวนนั้นเกิดกำเนิดไก่
มาแต่ไพรแมลงมุมนั่งสุมหัว
กางเกงขาดยุงกัดมันหวาดกลัว
คอยซ่อนตัวสุมควันป้องกันภัย

ฌ ฮวยกัว

พักตร์ขาวขำสำอางขุนนางเจ๊ก
เจ้าหนุ่มเด็กฮวยกัวหัวเป็นขอ
กำเนิดนั้นเป็นไก่ฟ้าพญาลอ
ดูลออน่าเชยชมคมสันเอย

ญ ย่องเซ็ง

ญ ย่องเซ็งเดิมกำเนิดเกิดเป็นห่าน
มันดื้อด้านเมื่อเล็กหลานเจ๊กเส็ง
ครั้นเติบใหญ่ไวว่องชื่อย่องเซ็ง
ท่านไท้เผ็งโปรดปรานประทานยศ   ยิ้ม
บันทึกการเข้า
pierre
มัจฉานุ
**
ตอบ: 79


จงก้าวไปข้างหน้าอย่างช้าๆและมั่นคง


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 14 พ.ย. 10, 20:38

ด กวงเหม็ง

เจ้าม้าหมอกสีมัวตัวนั้นเก่ง
ชื่อกวงเหม็งหมอดูเป็นครูโหร
ด้วยรู้ชัดจัดเจนไม่เอนโอน
ช่างทายโดนไท้เผ็งว่าเก่งจริง

ต เรือจ้าง

ต เรือจ้างนั้นเกิดกำเนิดหนู
ไม่อยู่รูถ่อเรือจนเหงื่อไหล
มีคนจ้างรับข้ามยังค่ำไป
พอเลี้ยงกายเลี้ยงตัวไม่มัวมอม

ถ พันกุ้ย

..ถ พันกุ้ยนั้นเกิดกำเนิดสังข์
ชาติมังกรไม่สุภาพช่างหยาบจัง
สองมือนั้นถือช่อไม่ขจายจร

มีเมียน้อยกลอยสวาททั้งสองคือ
ชื่อเม่งจู (ตัว ค) และกิ๊มเง็ก (ตัว ร) ดวงสมร
มีบุตรสุดที่รักร่วมอุทร
ทั้งสองนามกรต่างกัน
ย่องเซ็ง (ตัว ญ) นั้นเป็นผู้พี่
ฮกซุน (ตัว ช) น้องนี้คนขยัน
ทั้งสองร่วมเรียงเคียงกัน
อยู่สุขทุกข์นิรันดร์วันคืน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 15 พ.ย. 10, 06:15

ขอคั่นรายการหวย เล็กน้อย

เมื่อคุณอุ่นตกยากเพราะน้องชายผลาญสมบัติ   ต้องบากหน้าไปพึ่งแม่พลอย    เธอเล่าว่าคุณชิตเมามาขู่เข็ญเอาเงิน เมื่อไม่ได้ก็ยกเข่งบรรจุถ้วยชามลายน้ำทองที่ยังเหลือเป็นสมบัติติดตัวพี่สาว  ขว้างลงหน้าต่างไปทีละเข่งจนแตกป่นปี้หมด

"ลายน้ำทอง "คือเบญจรงค์น้ำทอง  หน้าตาเป็นอย่างนี้



เบญจรงค์ เป็นถ้วยชามชนิดหนึ่งมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  ถือกำเนิดในประเทศจีน   โดยคนไทยสั่งทำเป็นพิเศษ  ช่างไทยออกแบบให้ลาย ให้สี ตามรูปแบบของศิลปะไทย ส่งไปให้ช่างจีนผลิตในประเทศจีน 
     "เบญจรงค์" แปลว่า ห้าสี    คือสีที่ปรากฏบนถ้วยชามเบญจรงค์  แต่ในความเป็นจริง มีสีตั้งแต่ 3 สี ขึ้นไปจนถึง 8 สี สีหลักได้แก่ แดง เหลือง ขาว ดำ เขียว หรือน้ำเงิน และสีอื่นๆ ได้แก่ ม่วง แสด น้ำตาล  นิยมกันมาตั้งแต่รัชกาลที่ 2  จนถึงรัชกาลที่ 5
ที่เรียกว่าลายน้ำทองคือมีการเขียนสีทองตัดลงไประหว่างสีอื่นๆด้วย



ป.ล. กำลังรอคุณ siamese มาบอกว่า เบญจรงค์ผลิตในประเทศไทยมานานแล้วครับ ไม่ใช่ผลิตในจีน   ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 15 พ.ย. 10, 09:35

ท่านอาจารย์เทาชมพูส่งไม้มาให้ ก็ต้องรับไว้ก่อน  ยิงฟันยิ้ม

เครื่องถ้วยที่ผลิตในประเทศไทยนั้นมีหลักฐานตั้งแต่กรุงสุโขทัย ว่ามีการติดต่อกับประเทศจีน มีการดูงาน ศึกษาการผลิตและตั้งเตาเผาในดินแดนประเทศไทย แต่อนิจจา คุณภาพของดินในประเทศไทยสมัยนั้นขุด ปั้นได้เพียง เครื่องเคลือบดินเผาแกร่ง ไม่มีคุณภาพการผลิตถึงขั้นกระเบื้องเคลือบเนื้อแกร่งแบบพอร์ตเลนระดับเขียนลายห้าสี อย่างประเทศจีนได้ แต่ท้ายที่สุดก่อนเครื่องเบญจรงค์จะลดบทบาทไป สมัยรัชกาลที่ 5 กลุ่มวังหน้าทรงตั้งเตาเผาเพื่อผลิตชามเบญจรงค์

และแน่นอนเครื่องถ้วยทรงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทรงใบบัว ทรงมะนาวตัด ทรงโถ โอคว่ำ หรือ จานเชิง ล้วนกำเนิดมาจากประเทศจีน ไทยรับและปรับแต่งนิดหน่อยจนเข้ากับไทย รวมทั้ง ชามฝา ซึ่งก็มาจากประเทศจีน การเขียนลายแล้วสั่งทำย่อมทำได้ โดยวาดลายจากราชสำนักไทยส่งไปยังประเทศคู่ค้า เช่น กรณีสั่งลายผ้า ลายกนก เทพพนมจากอินเดีย ลายกรวยเชิง ช่างอินเดียสามารถ copy ได้ละม้ายคล้ายต้นฉบับ แต่สำหรับช่างจีนแล้วเห็นท่าจะ copy ลายกนกอยุธยา มงกุฎ สร้อยสังวาลย์ไม่เข้าใจ เลยออกมาเป็นเทวดาจีน พุงพลุ้ย อย่างที่เห็น ส่วนลายในช่องกระจกก็วางกรอบให้เป็นดอกไม้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 15 พ.ย. 10, 09:58

โถปริก ยอดประดับทองคำ ล้อมพลอยแดง หรือ ลงยาราชาวดี เป็นการผสมผสานศิลปะและการตกแต่งเครื่องกระเบื้องจีนกับศิลปะอย่างไทยไว้อย่างลงตัวและสวยงาม ใช้กันในสมัยปลายอยุธยาจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นงานประณีตชั้นสูง แม้ว่าลวดลายของโถปริกจะไม่งามเท่าไร แต่เมื่อถูกประดับด้วยทองคำและอัญมณีก็งามวิจิตรได้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 15 พ.ย. 10, 10:12

ในรัชสมัยพระเจ้าเจียะชิง (CHIA CHING) พ.ศ. 2334-2363 และพระเจ้าเต้ากวง (TAO KUANG) พ.ศ. 2364-2393 ซึ่งตรงกับสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1-3 ซึ่งเป็นสมัยที่มีเครื่องถ้วยเบญจรงค์และลายน้ำทองมาก เครื่องลายน้ำทองเป็นเครื่องกระเบื้องที่ผลิตใช้กันในราชสำนักเท่านั้น ไม่ใช่สินค้าที่จำหน่ายแบบใครซื้อหาได้ง่ายๆ ด้วยเป็นการผสมทองคำกับปรอท และผ่านการเผาเพื่อไล่ปรอทให้ทองคำติดกับเนื้อภาชนะ

ในราชสำนักจีนดังชามที่นำมาลงเป็นของราชสำนักพระเจ้าเจียะชิง จะเห็นว่าการเขียนลายทองจะเดินขอบ ซึ่งเครื่องถ้วยเบญจรงค์ในสมัยรัชกาลที่ 1-2 ก็มีลักษณะเช่นนี้ แต่ภายหลังเห็นว่าลงทองแล้วสวยงาม จึงให้ลงทองไปยังช่องไฟที่ว่าง ถมให้เต็มใบเลยก็สวยไปอีกแบบ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 15 พ.ย. 10, 10:18

ชามฝาลายน้ำทอง สมัยรัชกาลที่ 1 ลายดอกไม้ ตัวฝา-ช่องกระจกลายเทพพนม พร้อมกนกลายไทย งามวิจิตร เดินลายบนสุดด้วยการหยอดกระจังตาอ้อย พร้อมเดินลายน้ำทอง ส่วนตัวชาม-ช่องกระจกใส่ลายดอกไม้พื้นดำ และพื้นที่เหลือใส่ลายกลีบดอกไม้ สมเป็นชามเพื่อใช้ในราชสำนักสยามยิ่งนัก


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 15 พ.ย. 10, 10:28

นี่เป็นตัวอย่างเครื่องลายน้ำทอง ที่ถมทองลงในช่องว่างทั้งใบ สีทองคงสุกปลั่งถูกใจคนไทยที่นิยมทองคำไม่แพ้ชาวอินเดีย แม้ว่าลวดลายดอกไม้ ลายกระบวนออกไปอย่างจีน แต่ยังมีการวางรูปแบบของไทยคือ บริเวณปากชามด้านนอก จะเดินลายกระจัง ให้รู้ว่าเป็นเสน่ห์อย่างไทยๆ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 15 พ.ย. 10, 10:44

การตั้งเตาเผาในพระราชวังบวรสถานมงคล กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ วังหน้าในรัชกาลที่ 5 ทรงสนพระทัยงานศิลป์ และทรงประดิษฐ์สร้าง สรรค์งานศิลป์หลายอย่าง เช่น หุ่นไทย หุ่นจีน และทรงทำเครื่องถ้วยเขียนขึ้นในพระราชวังบวร โดยสั่งซื้อเครื่องถ้วยสีขาวจากต่างประเทศมาเขียนสี และเผาเองเขียนภาพสีเป็นเรื่องรามเกียรติ์ พระอภัยมณี เป็นชามฝา และ กระโถนค่อม สำหรับกระโถนค่อมเขียนภาพ เรื่องรามเกียรติ์ตอนต่าง ๆ เป็นภาพสีสอดเส้นทอง ทรงทำประทานเจ้านายมีจำนวนไม่มากนัก

ดังภาพชามฝาที่นำมาให้ชมเป็นชามวังหน้า เขียนลายพระอภัยมณีอยู่ในเรือ จะเห็นว่าไทย สั่งชามขาวซึ่งก็คือ เครื่องกระเบื้องพอร์สเลน แล้วมาเขียนสี แล้วนำเข้าเตาเผาอบสี เท่านั้นเอง


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.04 วินาที กับ 19 คำสั่ง