เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 17147 ราชทินนามตำรวจไทย ๒๔๗๔
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 13:21

ผมก็กลัวคุณอาร์ทจะเหงาไม่มีอะไรทำเหมือนกัน
เลยจะถามให้ไปค้นข้อมูลให้สักหน่อยว่า

นายตำรวจที่คุณอาร์ทค้นมาลงนั้น
แต่ละคนประจำหน้าที่อยู่ท้องที่ใดเมื่อปี ๒๔๗๔
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 14:21


เหงาฤา    ข้าพเจ้าพาชีวิตรอดมาได้ก็โล่งใจเต็มที

ตำรวจกับ ราชทินนาม ปราบ   ดูจะไปด้วยกันดี

ไม่ซับทราบว่าคุณอาร์ต๔๗  ถามว่าอะไร



พ.ต.ท. พระปราบริปู (แวน  เศวตกนิษฐ์)
ผู้กำกับการตำรวจนครบาลที่ ๕  จังหวัดธนบุรีใต้


พ.ต.ท. พระรักษาชายเขตต์(เส็ง  บุณยาธิษฐาน)
ประจำกรมตำรวจภูธร

พ.ต.ท. พระวิเศษบุรี(แวว  พันธุมโพธิ์)    นามสกุลในเอกสารที่ใข้อยู่ คือ พันธุมโพธิ   แจ้งมาเฉยๆ
ผู้กำกับตำรวจนครบาลที่ ๖   จังหวัดธนบุรีเหนือ


ขอไปจบกระทู้ของตนเองก่อนนะคะ   เรือคนอื่นเขาไปไกลลิบตา
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 15:33

ยังสงสัยอยู่อย่างหนึ่ง
พวกประจำกรมอย่างนี้ในสมัยนั้น
จะเหมือนประจำกรมอย่างในสมัยนี้ไหมหนอ ฮืม

ตำแหน่งประจำ-คือตำแหน่งไม่มีงานทำ หรือรอเข้าบรรจุตำแหน่งอื่นซึ่งยังไม่ว่าง???

อย่าง คุณพระรักษาชายเขตต์ (เส็ง  บุณยาธิษฐาน) ซึ่งประจำกรมตำรวจภูธร
ผมไม่แน่ใจว่าท่านเคยดำรงตำแหน่งอะไรมาก่อน คลับคล้ายคลับคลาเหมือนจะเคยเห็นว่าเป็นผู้บังคับการตำรวจมณฑลแห่งหนึ่ง
(เรื่องนี้คงต้องวานให้คุณหลวงเล็กช่วยในราชกิจ)
พอย้ายมาประจำกรมตำรวจก็เพราะหมุนเวียน หรือไม่ก็รอตำแหน่งอื่นกระมัง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 21:11


-
-นายพันตำรวจโท พระอาจอาษา (แดง ยุวกนิษฐ) 
นามสกุล  ยุวกนิษฐ์
ผู้กำกับกองพิเศษ  กรมตำรวจภูธร

 
-นายพันตำรวจโท พระนฤบาลบุรีรัฐ (ฉุย รามโกมุท)
ผู้บังคับการตำรวจภูธร  จังหวัดสมุทรปราการ


-นายพันตำรวจตรี หลวงจำนงทนุราษฎร์ (ถนอม ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา)
สารวัตรใหญ่ตำรวจนครบาลบางยี่เรือ   จังหวัดธนบุรีใต้



-นายพันตำรวจตรี หลวงผจญโจรพรรค (ถมยา เหติสุต)
สังกัดกระทรวงมหาดไทย




-นายพันตำรวจตรี หลวงเถลิงรณกาจ (ทองคำ สุขะบุณย์)

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 21:23

-นายพันตำรวจตรี หลวงเถลิงรณกาจ (ทองคำ สุขะบุณย์)
ผู้บังคับกองและแทนผู้กำกับการกองตำรวจภูธร   จังหวัดกาญจนบุรี

-นายพันตำรวจตรี หลวงสะท้านพลแสน (สิน จันทรทรัพย์)
ผู้บังคับกองตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร

-นายพันตำรวจตรี หลวงชาญนิคม (ทอง จันทรศร)
ผู้บังคับกองตำรวจภูธร  กิ่งจอหอ  อำเภอเมืองนครราชสีมา

-นายร้อยตำรวจเอก หลวงนรินทร์สรศักดิ์ (เลื่อน สุนทรผลิน)
นามสกุลดูจะถูกต้อง  แต่เอกสารบอกว่า  สุนทรพลิน  ก็ต้องแจ้งมา
กรมตำรวจภูธร


-นายร้อยตำรวจเอก หลวงแสนพลรักษ์ (จ่าง วัฒนามระ)
สังกัดกรมแพทย์สุขาภิบาลทหาร
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 21:41


-นายร้อยตำรวจเอก หลวงสมานนรากูล (ตา นาคะสิงห์)
ผู้บังคับการกองตำรวจภูธร  จังหวัดพัทลุง

-นายร้อยตำรวจเอก หลวงประสานผดุงกิจ (ลี้ ไหลงาม)
กรมตำรวจภูธร
ราชทินนามในเล่มนี้เขียนแบบนี้ค่ะ   ประสานผะดุงกิจ

-นายร้อยตำรวจเอก หลวงรักษาพลไกร (ทองคำ รังคะรัสมี)
ผู้บังคับกองตำรวจภูธร  จังหวัดปทุมธานี

-นายร้อยตำรวจเอก หลวงยอดเมืองมาร (ผาด ปุลวามระ)
ผู้บังคับกองตำรวจภูธร   จังหวัดสุโขทัย


-นายร้อยตำรวจเอก หลวงสุวรรณเมืองแมน (เมือง สุวัณณ์ปุระ)
ผู้บังคับกองตำรวจภูธร   จังหวัดแพร่
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 31 ม.ค. 11, 21:49


-นายร้อยตำรวจเอก หลวงตระเวนรักษา (ทิน สังขทิน)
สารวัตรแขวงตำรวจนครบาลสามเสน   พระนคร

-นายร้อยตำรวจเอก หลวงด้นสาคร (เอื้อน ชุมมานนท์)
ผู้บังคับการตำรวจภูธร  จังหวัดกระบี่

-นายร้อยตำรวจเอก หลวงสุดแแดนฟ้า (บุญธรรม สมบัตินันทน์)
สังกัดกระทรวงมหาดไทย

บันทึกการเข้า
darunphob suanpirintr
อสุรผัด
*
ตอบ: 4


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 09:42

ผมเคยไปตามหาประวัติคุณปู่ ( พ.ต.ต.ขุนรอนโวราญ ) ที่ประวัติของกรมตำรวจก็ไม่มีเเล้วครับ รบกวนท่านผู้รู้ด้วยครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 02 ต.ค. 11, 11:09

       
       
          เอกสารที่มีเป็น อักขรานุกรมขุนนางปี ๒๔๗๔  ที่รับราชการอยู่และเกษียณ

หนังสือเล่มนี้ออกมาในปี ๒๔๗๕   และโดนทำลายไปแทบทั้งสิ้น เพราะไม่ต้องกับสมัย  จึงไม่มีการเก็บกันเลย

ให้สหายมาถ่ายภาพ  และพิมพ์ขึ้นมาเพียงสามเล่มเท่านั้น   ได้นำไปให้หน่วยราชการที่ทำงานเกี่ยวกับหนังสือ

แต่เจ้าหน้าที่ติว่าไม่คมชัดพอ       จึงนำฉบับจริงไปให้เพื่อให้ถ่ายเอกสาร  หนังสือหนา ๑๖๙๔ หน้า

เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่บอกว่าจะต้องดึงปกออก  แล้วถ่ายเอกสารเป็นหน้า ๆ ไป          เจ้าหน้าที่ไม่สนใจว่าตัวเล่ม

ของ "พิพิธภัณฑ์สัพพะสยามกิจ  ศักราช ๒๔๗๔"  เป็นหนังสือประเภทปกสวย  ที่เรียกกันว่า craft binding

ที่ใช้การประดับตกแต่งปกด้วยเศษผ้าโปร่งชุบน้ำยาทอง  เป็นรุปสี่เหลี่ยม ล้อมเป็นกรอบ    แรกๆที่นำมาใช้  เศษผัาโปร่งร่วงกราว       

หนังสือประเภทปกสวยนี้มีอยู่ในประเทศไทยเท่าที่เห็นและนักสะสมที่ถือครองเล่าให้ฟังไม่เกิน ๔๐๐ เล่ม 

และเท่าที่ทราบ  ไม่เกิน ๔๕๐ เล่ม

       ทำตาปริบ ๆ  เพราะไม่สามารถทำลายหนังสือปกสวยได้   จึงนำหนังสือกลับมาบ้าน

ทนุถนอมใช้ต่อไปจนกว่าจะพังไปกับมือ



          ได้ตรวจสอบหน้า ๑๑๘๘ และ หน้า ๑๑๘๙      นายตำรวจที่เป็นขุนในขณะนั้น  มี

รอนโจรราบ    ขุน
ไสว   เจาฑวิภาต
นายร้อยตำรวจเอก    ผู้บังคับกองตำรวจภูธรจังหวัดอุทัยธานี

ท่านที่ใช้ราชกิจจานุเบกษา   เป็นหลัก  อาจมีข้อมูลที่ต่างออกไปค่ะ

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง