mEoW
บุคคลทั่วไป
|
มีหลักเกณฑ์ในการใช้หรือไม่ หรือต่างกันแค่เสียงอ่านของแต่ละตัว ขอบคุณค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จากพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 15 ต.ค. 00, 00:00
|
|
สิ เป็นคำประกอบท้ายคำอื่นเพื่อเสริมข้อความให้เด่น ให้ชัด หรือให้สละสลวยเป็นต้น, โดยมากใช้กับกริยาเป็นเชิงบังคับ หรือเชิงชวนเป็นต้น เช่น ไปสิ มาสิ, ซิ หรือ ซี ก็ว่า
ซิ เป็นคำประกอบท้ายคำอื่นเพื่อเสริมข้อความให้เด่น ให้ชัด หรือให้สละสลวยเป็นต้น, โดยมากใช้กับกริยาเป็นเชิงบังคับหรือเชิงชวนเป็นต้น เช่น ไปซิ มาซิ หรือ ไปซี มาซี, สิ ก็ว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แกมแก้ว
อสุรผัด

ตอบ: 7
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 16 ต.ค. 00, 00:00
|
|
เอ... อ่านจากข้อความข้างต้น ดูไปดูมาแล้ว ทำไมการใช้เหมือนกัน อย่างนี้ก็แสดงว่าใช้ได้เหมือนกันนะสิ(ซิ)คะ อิอิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
หนุ่มนาเริ่มงงดอทคอม
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 16 ต.ค. 00, 00:00
|
|
ผมรู้สึกเหมือนว่าจะออกเสียงไม่เหมือนกัน ซิ กับ สิ เนี่ยะ งงครับ งง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
หนุ่มนอกดอทคอม
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 16 ต.ค. 00, 00:00
|
|
ความหมายที่ใช้ในประโยคเหมือนกัน แต่ใช้ด้วยน้ำเสียงต่างกันจ้ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
mEoW
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 19 ต.ค. 00, 00:00
|
|
ขอบคุณค่ะ ขอถามอีกคำ คำว่า หนึ่ง กับ นึง ต่างกันอย่างไรคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
วีณาแกว่งไกว
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 19 ต.ค. 00, 00:00
|
|
เรื่องนี้รู้สึกว่าพระยาอุปกิตศิลปสารได้เขียนไว้ในหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งของท่าน ค่อนข้างยาวสักหน่อย วันหลังจะมาตอบให้(นะ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ฟ้า-เวอร์ริเดียน
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 06 พ.ย. 00, 02:31
|
|
.....ความแตกต่างของ "ซิ" กับ "สิ" และ "นึง" กับ "หนึ่ง" นอกจากจะเป็นเรื่องของระดับเสียงและการสะกดคำแล้ว ยังมีความแตกต่างในเรื่องของการใช้ด้วยค่ะ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากและคนไทยควรใส่ใจ ....คำว่า "ซิ" และ "นึง" เป็นรูปคำที่เขียนตามเสียงพูดจริง แต่ไม่ถือเป็นคำที่ถูกต้องและจะนำมาใช้ในการเขียนที่เป็นทางการไม่ได้อย่างเด็ดขาด เพราะในการพูดจริงๆอาจมีการกร่อนเสียง รวบเสียง กลมกลืนเสียง ยืดเสียง หดเสียง หรือเพี้ยนเสียงสารพัด ซึ่งหากจะเขียนตามเสียงที่ออกกันจริงๆก็คงจะได้รูปคำหลายรูป จะต้องเกิดความสับสนมากกว่าที่เป็นอยู่เป็นทวีตรีคูณ จตุคูณ เบญจคุณอย่างแน่นอนทีเดียว ขอยกตัวอย่าง .......ที่เราเคยเขียนว่า หนึ่ง สอง สาม เพียงแบบเดียว ก็อาจจะเขียนได้หลายแบบ (ต้องจดจำรูปคำมากขึ้น) คือ - แบบที่หนึ่ง เขียนว่า หนึ่ง สอง สาม เหมือนเดิม - แบบที่สอง เขียนว่า นึง ส่อง (เสียงยาวด้วย) ซ่ำ ......ที่เคยเขียนว่า ผู้หญิงคนนั้นใส่รองเท้าสูงๆ ก็อาจจะเขียนได้หลายอย่าง - แบบที่หนึ่ง เขียนเหมือนเดิม - แบบที่สอง เขียนว่า ผู้หญิงคนนั้นใส่รองเท้าซู้งสูง (เขียนตามเสียงที่พูด) และอาจจะมีแบบอื่นๆ..แล้วแต่จะสรรหามาแสดงความสูงของรองเท้าคู่นี้ ......คำที่มีปัญหาในทำนองนี้มีอีกหลายคำเช่น ซัก - สัก อย่างงี้, หยั่งงี้, งี้ - อย่างนี้ ยังไง, ไง, (บางทีก็เขียนประหลาดเป็น ยังงัย, งัย) - อย่างไร มั้ย, มั๊ย - ไหม เค้า - เขา เป็นต้น ......เอาเป็นว่า ขอสรุปว่า ในข้อเขียนนี้ คำที่อยู่หน้าเครื่องหมายยัติภังค์ ( - ) เป็นคำที่ใช้ในภาษาพูดเท่านั้น (ยกเว้นงานเขียนประเภทบันเทิงคดี เช่น นิทาน นิยาย นวนิยาย โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นคำพูดของตัวละครซึ่งต้องการรูปคำที่อ่านแล้วได้เสียงที่ใกล้เคียงกับเสียงพูดจริงๆมากที่สุด เพื่อทำให้เกิดความสมจริง) ส่วนคำที่อยู่หลังเครื่องหมายยัติภังค์เป็นคำที่ถูกต้อง เป็นมาตรฐาน ใช้ได้ทั้งในภาษาเขียนและภาษาพูดค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ฟ้า-เวอร์ริเดียน
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 06 พ.ย. 00, 02:35
|
|
.....ความแตกต่างของ "ซิ" กับ "สิ" และ "นึง" กับ "หนึ่ง" นอกจากจะเป็นเรื่องของระดับเสียงและการสะกดคำแล้ว ยังมีความแตกต่างในเรื่องของการใช้ด้วยค่ะ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากและคนไทยควรใส่ใจ ....คำว่า "ซิ" และ "นึง" เป็นรูปคำที่เขียนตามเสียงพูดจริง แต่ไม่ถือเป็นคำที่ถูกต้องและจะนำมาใช้ในการเขียนที่เป็นทางการไม่ได้อย่างเด็ดขาด เพราะในการพูดจริงๆอาจมีการกร่อนเสียง รวบเสียง กลมกลืนเสียง ยืดเสียง หดเสียง หรือเพี้ยนเสียงสารพัด ซึ่งหากจะเขียนตามเสียงที่ออกกันจริงๆก็คงจะได้รูปคำหลายรูป จะต้องเกิดความสับสนมากกว่าที่เป็นอยู่เป็นทวีตรีคูณ จตุคูณ เบญจคุณอย่างแน่นอนทีเดียว ขอยกตัวอย่าง .......ที่เราเคยเขียนว่า หนึ่ง สอง สาม เพียงแบบเดียว ก็อาจจะเขียนได้หลายแบบ (ต้องจดจำรูปคำมากขึ้น) คือ - แบบที่หนึ่ง เขียนว่า หนึ่ง สอง สาม เหมือนเดิม - แบบที่สอง เขียนว่า นึง ส่อง (เสียงยาวด้วย) ซ่ำ ......ที่เคยเขียนว่า ผู้หญิงคนนั้นใส่รองเท้าสูงๆ ก็อาจจะเขียนได้หลายอย่าง - แบบที่หนึ่ง เขียนเหมือนเดิม - แบบที่สอง เขียนว่า ผู้หญิงคนนั้นใส่รองเท้าซู้งสูง (เขียนตามเสียงที่พูด) และอาจจะมีแบบอื่นๆ..แล้วแต่จะสรรหามาแสดงความสูงของรองเท้าคู่นี้ ......คำที่มีปัญหาในทำนองนี้มีอีกหลายคำเช่น ซัก - สัก อย่างงี้, หยั่งงี้, งี้ - อย่างนี้ ยังไง, ไง, (บางทีก็เขียนประหลาดเป็น ยังงัย, งัย) - อย่างไร มั้ย, มั๊ย - ไหม เค้า - เขา เป็นต้น ......เอาเป็นว่า ขอสรุปว่า ในข้อเขียนนี้ คำที่อยู่หน้าเครื่องหมายยัติภังค์ ( - ) เป็นคำที่ใช้ในภาษาพูดเท่านั้น (ยกเว้นงานเขียนประเภทบันเทิงคดี เช่น นิทาน นิยาย นวนิยาย โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นคำพูดของตัวละครซึ่งต้องการรูปคำที่อ่านแล้วได้เสียงที่ใกล้เคียงกับเสียงพูดจริงๆมากที่สุด เพื่อทำให้เกิดความสมจริง) ส่วนคำที่อยู่หลังเครื่องหมายยัติภังค์เป็นคำที่ถูกต้อง เป็นมาตรฐาน ใช้ได้ทั้งในภาษาเขียนและภาษาพูดค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ฟ้า-เวอร์ริเดียน
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 06 พ.ย. 00, 10:38
|
|
....ขออภัยค่ะ ทำไมจึงมา 2 ครั้งก็ไม่ทราบ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|