เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 7017 ตรวจสอบ - ชำระ จดหมายเหตุ - ประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 13 ต.ค. 10, 11:47



อธิบายได้น่าฟัง  หรือฟังรู้เรื่องแฮะ


เรื่อง "ราชทินนามตำรวจไทย"  ที่คุณหลวงแนะนำให้เล่านั้น  ที่จริงก็ไม่ยาก  เพราะจะลอกมาอย่างเดียว

เท่านั้น     ไม่ต้องใช้ความคิดอะไร  แต่รายการยาวมาก  เฉพาะในปี ๒๔๗๕  ซึ่งเป็นปีสุดท้ายชองราชทินนาม

ไปตามค้นประวัติพระยาวาสุเทพ   Schao   กว่าจะทราบว่า นามแรกของท่านคือ Gustav   นอกนั้นก็ไม่รู้

อะไรเลย   จึงคิดว่าจะไปตามมาให้เท่าที่จะทำได้   


หนังสือชุดที่คุณหลวงอยากได้นั้น  ราคา ๑๕๐๐ บาท   มองหน้ากันไปมาอยู่นี่ค่ะ  อยากอ่านกันทุกคน แต่ต่างทรัพย์จาง 
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 13 ต.ค. 10, 13:44


ไปตามค้นประวัติพระยาวาสุเทพ   Schao   กว่าจะทราบว่า นามแรกของท่านคือ Gustav   นอกนั้นก็ไม่รู้

อะไรเลย   จึงคิดว่าจะไปตามมาให้เท่าที่จะทำได้   


อ้าว  นึกว่าทราบแล้ว  อันที่จริงอยากทราบเรื่องชาวเดนมาร์กที่เข้ามาเป็นครูฝึกหัดตำรวจด้วย
ไม่ใคร่เห็นมีคนเล่าถึงเลย  (แสดงว่ามีคนเขียนบ้างแล้ว) กะว่าจะลองถามสมาชิกเรือนไทยดูบ้าง
เผื่อจะมีผู้วิเศษเมตตากรุณาแก่เราบ้าง

ส่วนราชทินนามตำรวจนั้น  ค่อยๆ ทำก็ได้  ไม่ต้องรีบหรอกครับ  เดี๋ยวเส้นยึด

หนังสือชุดนั้น ราคาสูงอย่างนั้น ก็ควรแก่นามผู้เขียน   (แต่ไม่ควรแก่เรา)
เอาเป็นว่าตอนนี้วาสนาหนังสือนั้นคงยังไม่สมพงศ์กับเรา  เพราะเราเป็นพวกชอบ สวย ดี ฟรี ถูก

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 13 ต.ค. 10, 15:23


ไปตามค้นประวัติพระยาวาสุเทพ   Schao   กว่าจะทราบว่า นามแรกของท่านคือ Gustav   นอกนั้นก็ไม่รู้

อะไรเลย   จึงคิดว่าจะไปตามมาให้เท่าที่จะทำได้    

พลตรีพระยาวาสุเทพ Gustav Schau  อธิบดีกรมตำรวจภูธร (พ.ศ. ๒๔๕๖ - ๒๔๕๘) ชาวเดนมาร์ก



พ.ศ. ๒๔๒๗ เดินทางเข้ามาในประเทศสยาม ได้เข้ารับราชการทหารไทย เป็น ร้อยเอกมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงศัลวิธานนิเทศ

พ.ศ. ๒๔๓๘ ได้เลื่อนยศเป็น พลตรี และ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาวาสุเทพ (พระยาพานทอง)ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดตั้งโรงเรียนทหารที่จังหวัดนครราชสีมา และดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชาโรงเรียนทหารบก ณ วังสราญรมณ์ กรุงเทพฯ ด้วย

พ.ศ. ๒๔๔๐ โอนมารับราชการตำรวจ ครั้งแรกดำรงตำแหน่งเป็น เจ้ากรมกองตระเวนหัวเมืองและเป็นผู้จัดตั้งกองตำรวจภูธร

พ.ศ. ๒๔๕๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นอธิบดีกรมตำรวจภูธร

พ.ศ. ๒๔๕๘ ทูลลาออกจากราชการ รวมเวลารับราชการตำรวจ ๑๘ ปี

http://www.saranitet.police.go.th/BossRTP/BossRTP5.html

 ยิงฟันยิ้ม
    
  
        
        
  

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 13 ต.ค. 10, 16:48

อ่า........ขอบคุณค่ะคุณเพ็ญ       ข้อมูลนี้ก็ทราบอยู่

คุณเพ็ญกรุณาเติมให้



คุณหลวงเล็กอย่าขึ้นไปถึงเชียงรายเลย 



เรื่องพระยาวาสุเทพนั้น  เราไม่ทราบว่าท่านแต่งงานกับใคร  มีลูกหลานกี่คน

ทราบแต่เพียงว่า ภรรยาเป็นลูกสาวร้านเพชรพลอย เมืองจันทบุรี(ถ้าจำไม่ผิด)

หลานปู่มีหลายคน   

ยังติดต่อสัมภาษณ์ไม่ได้

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 13 ต.ค. 10, 22:26

พระยาวาสุเทพ ได้รับพระราชทานนามสกุลว่าอะไรคะ
บันทึกการเข้า
Diwali
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 14 ต.ค. 10, 01:01

เห็นคุณครูใหญ่ สรุปกระทู้เสียแล้ว
ขออนุญาต ต่ออีกสักนิดนะครับ
 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
นักเรียนขอเข้ามารายงานตัว และขอส่งเสียงเพิ่มเติมอีกสักหน่อยครับ

เรื่องปี พุทธศักราช หากเรายึดเอาตามเรื่องที่ว่า
พระพุทธเจ้า เสด็จปรินิพพาน เมื่อปีที่ ๘ ของรัชกาลแห่งพระเจ้าอชาติศัตรู
จากประเด็นนี้ ก็น่าจะตีความได้ว่า พระราชาแห่งมคธ พระองค์นี้ ครองราชย์ก่อน พ.ศ. 8 ปี

และเมื่อนำเทียบกับ wiki(ภาคอังกฤษ) ที่น่าจะนำมาจากทีปวงศ์ ว่าไว้ว่า พระเจ้าอชาติศัตรู ครองราชย์เมื่อปี ก่อนคริสศักราช 491 ปี
จะสามารถตีความได้ว่า พระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมื่อ ก่อน ค.ศ. 483 ปี
(เห็นได้ว่า ผิดจากที่เราเคยเรียนไว้ว่า ควรจะเป็น ก่อน ค.ศ 543 ปี)

แต่ทว่า ใน wiki(ภาษาไทย) ก็ยังคงเขียนไว้ว่า พระเจ้าอชาติศัตรู ครองราชย์เมื่อ พุทธศักราช ๕๓
ถ้าอ่านดูใน wiki ไทย ผมรับรองว่า ท่านผู้อ่านหลายท่านต้องเกิดอาการ"มึนศรีษะ"เหมือนผมแน่นอน

หากพระราชาพระองค์นี้ ครองราชย์เมื่อ พ.ศ. ๕๓ (หลังพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน 53 ปี) ตามนั้นจริง
แล้วเจ้าชายองค์ใดกันแน่ ที่หลงเชื่อพระเทวทัต ทำการอุกอาจ จับพระราชาพิมพิสารกักขังจนสิ้นพระชนม์
และพระราชาองค์ใด ส่งวัสสการพราหมณ์ ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อทูลถามเกี่ยวกับนครเวสาลี แคว้นวัชชี

ที่จริง ผมก็พอจะคิดออกแหละครับว่า พ.ศ. ๕๓  มาจาก เอาเลข 543 มาลบ ค.ศ.491 (ปีครองราชย์)
แต่หาก ใช้เลข 483 แทน 543 ก็จะเข้าใจและสอดคล้องนะครับ


แล้วอย่างนี้ เราควรจะปล่อยให้เป็นไปแบบนี้ตลอดกาลนาน เลยหรือครับ
 ตกใจ ตกใจ ตกใจ ตกใจ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 14 ต.ค. 10, 08:52

ถ้าแก้ไขเฉพาะข้อมูลให้ถูกต้องตามที่คุณDiwali ก็คงไม่มีปัญหาอะไร
ดีเสียอีก  ข้อมูลความรู้จะได้ถูกต้องยิ่งขึ้น  
ไม่ใช่ว่าเขาเขียนมาอย่างไร เราก็ลอกก็ก็อปปี้กันต่อไปโดยไม่ตรวจไม่สอบ
การแก้ไขส่วนน้อยนั้นไม่สู้ยากเย็นเท่าไร
แต่ถ้าจะให้แก้ไขใหม่หมดเป็นเรื่องวุ่นวายมาก

เรื่องการนับปีรัชกาลกับการเรียนประวัติศาสตร์ไทย
ถ้าไม่ทำความเข้าใจให้ดี  ก็ตกม้าตายกันมามาก
ตามธรรมเนียม  เมื่อพระเจ้าแผ่นพระองค์ใดเสด็จสวรรคตลง
และมีพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ขึ้นเสวยราชสมบัติต่อในปีใดปีหนึ่ง
ก็จะนับเป็นที่ ๑ ในรัชกาลนั้นทันที

ผมตั้งสมมติว่า   พระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งครองราชย์เมื่อปี ๒๑๐๓
พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นเสด็จสวรรคตในปี  ๒๑๒๔
ถามว่า  พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้  ครองราชย์นานกี่ปี

โดยทั่วไป เราก็จะเอาปีครองราชย์มาลบปีที่เสด็จสวรรคต  
๒๑๒๔ - ๒๑๐๓ =  ๒๑ ปี  หรือบางคนอาจจะหักลบละเอียดลงไปถึงชั้นเดือนและวัน
ย่อมอาจจะไม่ถึง ๒๑ ปี  อาจจะเหลือเพียง ๒๐ ปีเศษๆ เท่านั้น

แต่คนจดหมายเหตุในสมัยก่อน  ท่านไม่ได้นับปีครองราชย์อย่างที่เราเข้าใจกันในสมัยนี้
ท่านจะนับปี ๒๑๐๓ นับเป็นปีที่ ๑ ในรัชกาล  ไม่ว่าจะเริ่มครองราชย์ในเดือนใดของปี ๒๑๐๓
ต้นปีหรือปลายปีก็ตาม  เมื่อบรรจบครบวันขึ้นครองราชย์ในปีถัดไป ก็เป็นเป็นที่ ๒ ในรัชกาล
นับเช่นนี้เรื่อยๆ พอถึงปี ๒๑๒๔  ก็เป็นปีที่ ๒๒ ในรัชกาล  เขาก็จดลงไปว่า พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้
ครองราชย์นาน ๒๒ ปี  

และในปี ๒๑๒๔ มีพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ ขึ้นครองราชย์ต่อ ก็นับปี ๒๑๒๔ เป็นปีที่ ๑ ในรัชกาล
สมมติว่า พระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ใหม่ครองราชย์ ถึงปี ๒๑๓๐  เป็นปีที่ ๗ ในรัชกาล เขาก็จดไปว่า
พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่ ๒ ครองราชย์ นาน ๗ ปี  พระเจ้าแผ่นพระองค์ที่ ๓ ขึ้นครองราชย์ปี ๒๑๓๐
และสิ้นสุดรัชกาลปี ๒๑๔๕  เป็นปีที่ ๑๖ ในรัชกาล  ครองราชย์ นาน ๑๖ ปี  แล้วก็สิ้นพระราชวงศ์
เป็นพระราชวงศ์ใหม่  ถามว่า  ในระยะ ๒๑๐๓ ถึง ๒๑๔๕  มีพระเจ้าแผ่นดินครองราชย์รวมกี่ปี
ถ้าเอาปีครองราชย์แต่ละรัชกาลมารวมกัน ก็ตกม้าตายเท่านั้น  

เพราะ ๒๑๔๕ - ๒๑๐๓ = ๔๒ ปี  แต่ ๒๒ + ๗ + ๑๖ = ๔๕ ปี ห่างกันตั้ง ๓ ปี
ก็ถ้าพงศาวดารจดละเอียดอย่างที่เราอยากให้เป็น  เราก็คงไม่งง  
แต่เพราะความรู้ความเข้าใจของคนต่างยุคสมัยผิดแผกกันอย่างนี้  
คนเรียนประวัติศาสตร์จึงต้องปรับความรู้ความคิดให้เข้าใจวิธีคิดของคนโบราณด้วย

ท่านจึงว่า ประวัติศาสตร์นี้มันยอกย้อนนักหนา
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 14 ต.ค. 10, 09:57

        ปัญหาการนับปีที่ต่างกันระหว่างแบบ "ปีย่าง" และ "ปีเต็ม"
(ไทยเรานับแบบปีเต็ม) ทำให้พ.ศ. คลาดเคลื่อนอย่างที่คุณหลวงแถลงไว้ ครับ

        

          
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 15 ต.ค. 10, 16:07

ถ้าให้เดาคณะกรรมการ ก็ไม่น่าจะใช่คนอื่นไกล ถ้าตามอ่านหนังสือมุทิตาจิตของท่านอาจารย์ต่าง ๆ ที่กรมศิลป์พิมพ์ออกมา รายชื่อมักจะวน ๆ อยู่ในนั้นล่ะครับ

ที่พอจะเดา ๆ ได้ ๑ ท่านต้องมีแน่ ๆ คือ อ.จุลทัศน์ พยาฆรานนท์ ราชบัณฑิต อย่างน้อยท่านก็เคยเป็นคณะทำงานชำระจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในสมัย ร. ๕ มาแล้ว ถ้าไม่มีนี่จะน่าแปลกใจมาก ๆ ส่วนท่านอื่น ๆ ผมไม่แน่ใจครับ แต่อย่างที่บอก รายชื่อคงไม่เกินในหนังสือแน่ ๆ

งานเขียนของท่านอ. ที่เคยได้อ่านมาต้องบอกว่า "สุดยอด" ถ้าท่านว่างและได้เมตตาเขียนเรื่องราวต่าง ๆ มากกว่านี้ คงจะดีไม่น้อยครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 15 ต.ค. 10, 16:13



อธิบายได้น่าฟัง  หรือฟังรู้เรื่องแฮะ


เรื่อง "ราชทินนามตำรวจไทย"  ที่คุณหลวงแนะนำให้เล่านั้น  ที่จริงก็ไม่ยาก  เพราะจะลอกมาอย่างเดียว

เท่านั้น     ไม่ต้องใช้ความคิดอะไร  แต่รายการยาวมาก  เฉพาะในปี ๒๔๗๕  ซึ่งเป็นปีสุดท้ายชองราชทินนาม

ไปตามค้นประวัติพระยาวาสุเทพ   Schao   กว่าจะทราบว่า นามแรกของท่านคือ Gustav   นอกนั้นก็ไม่รู้

อะไรเลย   จึงคิดว่าจะไปตามมาให้เท่าที่จะทำได้   


หนังสือชุดที่คุณหลวงอยากได้นั้น  ราคา ๑๕๐๐ บาท   มองหน้ากันไปมาอยู่นี่ค่ะ  อยากอ่านกันทุกคน แต่ต่างทรัพย์จาง 

รบกวนสอบถามครับ ไม่ทราบว่าพอจะทราบถึงราชทินนาม "วรเวทย์กำจร" ที่เคยมีใช้อยู่ในกรมตำรวจสมัยยุคราว ๆ ร.๖-ร.๗ บ้างหรือไม่ครับ

พอดีกำลังอยากจะหาผู้ที่ได้รับพระราชทานอยู่ครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 15 ต.ค. 10, 16:17

ส่วนใหญ่แล้ว ถ้าได้อ่านหนังสือที่กรมศิลป์พิมพ์ออกมาในวาระต่าง ๆ คระกรรมการ และอนุกรรมการส่วนใหญ่ไม่ค่อยหนีไปจากตรงนั้นเท่าไรหรอกครับ..เท่าที่สังเกตมานานแล้ว มักจะเป็นอย่างนั้นนะครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 15 ต.ค. 10, 16:26

เรียนคุณ  samun  

วรเวชชกำจร         หลวง นาถ  นิยโมสถ
นายร้อยเอก  ศัลยแพทย์
กองเสนารักษ์ที่ ๔


หน้า ๑๒๔๐
พิพิธภัณฑ์สัพพะสยามกิจ   ศักราช ๒๔๗๔
(พิมพ์เสร็จและเริ่มแจกในต้นปี ๒๔๗๕  ไม่มีผู้กล้าเก็บเลยค่ะ)

ข้อมูลคือข้าราชการที่มีชีวิตอยู่ในเวลานั้น
ซึ่งหลายท่านเป็นข้าราชการเกษียณ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.101 วินาที กับ 19 คำสั่ง