เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
อ่าน: 23652 อยากทราบเรื่องคำเรียกเพศที่สามในไทยในสมัยก่อน
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 11 ต.ค. 10, 15:26

คุณ Bhanumet คะ หากไม่แขวนป้ายประกาศความเป็นเกย์ และ สงบกายและใจจนไม่มีพิรุธ
คงไม่มีใครรู้และห้ามได้หรอกค่ะ

แต่ตนเองนั่นแหละ จะเป็นศัตรูของตนเอง เพราะรู้เต็มอก มันรบกวนจิตใจนะคะ หากยังมีหิริโอตตัปปะ

มีพระหลายรูปบวชสำเร็จไปแล้ว มาอ่านเจอในคัมภีร์ ก็ละอายใจตนเอง แล้วสึกเสียมาก

จิตใจนั้น จะสับสนตลอดเวลาค่ะ แม้จะระงับอาการได้ก็ตาม
และใจนี่เอง ที่จะต้องเอามาใช้งานในการทำ ศีล สมาธิ ปัญญา

เรื่อง ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ ผมเข้าใจครับ

แต่ประเด็นที่ผมสงสัย  ไม่ใช่เรื่องเกย์ทำตัวสงบเสงี่ยม ผู้อื่นดูไม่ออก แล้วจะบวชได้หรือไม่

ประเด็นคือ "ถูกต้องตามพระวินัยหรือไม่"

ถ้าเกย์ผู้นั้น มีจิตใจฝักใฝ่ในชาย แต่ไม่เคยเสพกามกะผู้ชาย  และห้ามตัวเองไม่ให้ไปเสพกามกะใคร สามารถมีกิริยาสำรวมตามพระวินัย
เหมือนกับผู้ชายที่ฝักใฝ่ในสตรีอาจจะระงับตนเองไม่ให้เสพกามกะผู้หญิง ไม่สำเร็จความใคร่


แล้วอีกประเด็น  ถ้าผู้นั้นเป็นชายแท้ มีกิริยาดั่งชาย แต่เสพกามได้กะทั้งผู้ชาย ผู้หญิง (เสือไบ) ฮืม
หรือเกิดในสังคมที่การมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะเพศตรงข้าม เช่น กรีก โรมัน

ขออภัย จขกท. อย่างสูง ที่ออกนอกกระทู้อีกแล้ว  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 11 ต.ค. 10, 15:33

ทางอภิธรรมท่านว่า บัณเฑาะก์ บรรลุไม่ได้ แต่ไม่ได้บอกระดับของการบรรลุนะคะ โสดาบัน สกทาคา น่าจพัฒนนตนไปถึงได้หากสงบระงับกายและใจได้จริง แต่ หากกล่้าวไปถึง อนาคามีและ อรหันต์ นั่นต้องดับกามราคะหมดสิ้น อันนี้ ไปไม่ถึงแน่ค่ะ

มีคนพูดถึงพระวักกลิไว้น่าสนใจทีเดียว ดังนี้ค่ะ
อ้างถึง
ใครอยากพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น อยากหลุดพ้นจากสิ่งที่ตนกำลังเป็นอยู่ ก็ต้อง
หมั่นปฏิบัติธรรมเข้าไว้ จึงจะดีได้อย่างสมบูรณ์ ดังเช่น เรื่อง

ในอดีต เคยมีพระสาวก นามว่า วักลิ ผู้หลงไหลในรูปร่างหน้าตาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เข้ามาขอบวช ด้วยเจตนาที่ว่าจะได้มีโอกาสได้เห็นพระองค์บ่อยๆ ได้เจอบ่อยๆ เที่ยวคอยตาม คอยดู คอยอยู่ใกล้ๆ เพื่อหวังจะได้เห้นได้ชื่นชมในความงามของพระสรีระและหน้าตาของพุทธองค์ โดยไม่ได้สนใจปฏิบัติกิจแห่งสมณะ
ในภายหลัง พระพุทธองค์ทรงตำหนิ พระวักลิที่มัวแต่มัวเมาหลงไหลในรูปกาย และละทิ้งหน้าที่กิจแห่งสมณะ ด้วยเหตุที่พระพุทธองค์ทรงตำหนิ พระวักลิเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจอย่างสุดกำลัง เนื่องจากถูกพระพุทธองค์ผู้ที่ตัวเองหลงไหลชื่นชมอย่างมากตำหนิ พระวักลิเกิดคิดสั้น เดินจากวัด ขึ้นภูเขาน้ำตานองหน้า หวังที่จะกระโดดเขาลงมาด้วยความน้อยใจสุดกำลัง พระพุทธองค์รู้ภาวะจิตของพระวักลิ ตรัสห้ามขณะที่พระวักลิกำลังจะโดดลงมาจากหน้าผา เมื่อได้ยินพระสุรเสียงของพระพุทธองค์ห้ามดังนั้น เกิดปิติอย่างล้นพ้นโดยฉับพลัน เมื่อพระวักลิหมดความโศกเศร้าแล้ว พระพุทธองค์ทรงสอนให้พระวักลิได้แจ้งเกี่ยวกับความเป็นจริงแห่งรูปกาย อันไม่จีรังยั้งยืน มีความเสื่อม แปรปรวน และดับไปเป้นธรรมดา ฯลฯ และในที่สุดท่านวักลิก็ได้เห็นธรรม และท้ายสุดได้บรรลุเป็นพระอรหันต์เจ้าในที่สุด
เรื่องนี้เป็นที่มาของคำสอนที่เคยได้ยินว่า "ผุ้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต"

ธรรมะนี้มีหลายละดับ ที่เรากล่าวว่า บรรลุไม่ได้นั้น คือธรรมละดับใด เราต้องเข้าใจตรงนั้นด้วย
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 11 ต.ค. 10, 15:39

อ้างถึง
ประเด็นคือ "ถูกต้องตามพระวินัยหรือไม่"

ผู้ที่รู้ตัวเองว่าเป็นบัณเฑาะก์ แม้คุมตัวเองได้ ฝืนไปบวช นั่น ทำผิดพระวินัยด้วยตนเองค่ะ

ผู้บวชให้ด้วยความไม่รู้ ไม่ผิดพระวินัย ๆ บัญญัติไว้ชัดแล้วว่า ห้ามบัณเฑาะก์บวชเป็นภิกษุค่ะ
บันทึกการเข้า
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 11 ต.ค. 10, 16:39

ส่วนคำว่า บัณเฑาะก์ มาจากภาษาสันสกฤตว่า ปณฺฑก  คำนี้มีรายละเอียดเขียนถึงในคัมภีร์ สารัตถสังคหะ  ตอนว่า “ปณฺฑกาน วิภาวนกถา” (ความว่าด้วยบัณเฑาะก์) แบ่งเป็น ๕ จำพวก  ดังนี้

๑. โอปักกมิปัณเฑาะก์ คือ ผู้ที่ถูกตอน

๒. อาสิตตปัณเฑาะก์ คือ บุคคลผู้ใดบังเกิดควมกำหนัดยินดี มีความกระวนกระวายขึ้นแล้วแลเอาปากคาบซึ่งนิมิตต์แห่งบุรุษทั้งหลายอื่น ดูดกินซึ่งอสุจิจึงระงับดับความกระวนกระวาย

๓. อุสุยยปัณเฑาะก์ คือ บุคคลผู้ใดแล เห็นซึ่งการอัชฌาจารแห่งบุคคลทั้งหลายอื่นแล้ว บังเกิดมีความริษยาขึ้นมา ความกระวนกระวายของคนนั้น ก็พลอยระงับดับลงในกาลเมื่อแลเห็นนั้น

๔. นปุ สกปัณเฑาะก์ คือ บุคคลผู้ใดหมอิตถีภาวรูปบ่มิได้ หาบุรุษภาวรูปบ่มิได้ ในปฏิสนธิกาลม บังเกิดมิได้เป็นหญิงเป็นชาย เพศหญิงชายนั้นหาปรากฎไม่ หรือ “ผู้ไม่มีเพศแต่กำเนิด

๕. อุภโตพยัญชนกปัณเฑาะก์ คือ มีสองเพศ จะเป็นหญิงก็ได้ จะเป็นชายก็ได้ มีด้วยกันทั้งสองเพศ  จะทำการรักกับชาย ปุริสนิมิตต์เพศชายก็หายไป จะทำการรักกับหญิง อิตถีนิมิตต์เพศก็หายไป

ความเห็นในเรื่องจำพวกบัณเฑาะก์ในคัมภีร์ สมันตปาสาทิกา แตกต่างไปจาก สารัตถสังคหะ เล็กน้อย จำพวกที่ ๕ ข้างต้น ถูกแทนที่ด้วย ปักขปัณเฑาะก์ คือ ผู้ที่เป็นบัณเฑาะก์เฉพาะปักข์ เมื่อถึงข้างขึ้นเป็นเพศชาย เมื่อถึงข้างแรมเป็นเพศหญิง

นำมาฝากคุณ Bhanumet ค่ะ ดิฉันเป็นนักตัดต่อค่ะ

บัณเฑาะก์ ได้แก่บุคคล ๓ จำพวก คือ

๑.ชายผู้ประพฤตินอกรีตในทางเสพกาม (ผู้มีราคะกล้า) คือเป็นผู้ชายมีอวัยวะเพศเป็นชายโดยสมบูรณ์ แต่เสพกามกับผู้ชายด้วยกัน ทางเวจมรรค และทางปาก
บุคคลจำพวกนี้ มีจิตใจและการแต่งตัวเป็นผู้ชาย แต่กิริยาอ่อนช้อยคล้ายผู้หญิง ปัจจุบันมีศัพท์เรียกเป็นภาษาสแลงว่า "เกย์" เมื่อเสพกาม คนหนึ่งทำหน้าที่เป็นชาย คนหนึ่งทำหน้าที่เป็นหญิง

...

และจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ นะคะ

บัณเฑาะก์ กะเทย, คนไม่ปรากฏว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง ได้แก่กะเทยโดยกำเนิด ๑ ชายผู้ถูกตอนที่เรียกว่าขันที ๑
ชายมีราคะกล้าประพฤตินอกจารีตในทางเสพกามและยั่วยวนชายอื่นให้เป็นเช่นนั้น ๑

จากที่อ้างอิงข้างต้น

โดยส่วนตัวคิดว่า

ถ้าเกย์ผู้นั้น มีจิตใจฝักใฝ่ในชาย แต่ไม่เคยเสพกามกะผู้ชาย  และห้ามตัวเองไม่ให้ไปเสพกามกะใคร สามารถมีกิริยาสำรวมตามพระวินัย
เหมือนกับผู้ชายที่ฝักใฝ่ในสตรีอาจจะระงับตนเองไม่ให้เสพกามกะผู้หญิง ไม่สำเร็จความใคร่


ก็ยังไม่เห็นเข้าข่ายเป็น " บัณเฑาะก์ "

แต่นี่เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวเท่านั้น
เพราะสุดท้าย ก็ต้องแล้วแต่ญัตติของสงฆ์
เนื่องจากพระพุทธเจ้า ทรงมอบอำนาจการปกครองให้สงฆ์แล้ว


ป.ล. แต่มติมหาเถรสมาคม บางครั้งผมก็ ...
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 11 ต.ค. 10, 19:20

คุณภานุเมศร์คะ เรายุติเรื่องเกย์บวชได้หรือไม่ได้ตรงนี้ดีไหมคะ ดิฉันเกรงใจเจ้าของกระทู้จริง ๆ ค่ะ

แต่ก็นึกนิยมความคิดเสรีแบบคุณนะคะ ยินดีต้อนรับค่ะ ดิฉันชอบคนคิดแย้ง คิดด้วยเหตุผลนะคะ

อาจจะเป็นผู้มีปัญญา ชาวกาลามชนกลับชาติมาเกิด ดีค่ะ

แต่อย่าลืมกฏเหล็กนะคะ ต้องพิสูจน์ด้วยตนเองก่อนจึงเชื่อนะคะ

เราตังสมมติฐานได้ แต่ต้องทำ Lab ค่ะ ได้ผลอย่างไร อย่าลืมเขียนมาเล่าสู่กันฟังนะคะ
************************
อาจารย์เทาชมพูเจ้าขา เห็นฤทธิ์ของการแลกเปลี่ยนความรู้ทางธรรมหรือยังคะ

นี่แค่น้ำจิ้มค่ะ 




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 11 ต.ค. 10, 20:41

ติดตามอ่านด้วยความเพลิดเพลิน
ขอชมเชยท่านทั้งหลายในกระทู้นี้ว่า แลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่างผู้มีวุฒิภาวะ  และให้เกียรติกันและกัน   แม้ว่ามีความเห็นแตกต่าง ก็ไม่ได้หักหาญเอาชนะคะคานกัน
จะถามหรือตอบก็อยู่ในขอบเขตของความรู้ที่อ้างอิงได้   ถ้าหากว่าเป็นความเห็นก็ไม่ได้มีอติมานะประกอบ
ทำให้เรือนไทยเป็นสถานที่น่านั่งสนทนาอย่างยิ่งค่ะ

คำถามของคุณภาณุเมศร   ดิฉันขอตอบตามความเห็นตัวเอง  ใครจะค้านก็ได้ไม่ห้าม
อ้างถึง
"ถ้าเกย์ผู้นั้น มีจิตใจฝักใฝ่ในชาย แต่ไม่เคยเสพกามกะผู้ชาย  และห้ามตัวเองไม่ให้ไปเสพกามกะใคร สามารถมีกิริยาสำรวมตามพระวินัย
เหมือนกับผู้ชายที่ฝักใฝ่ในสตรีอาจจะระงับตนเองไม่ให้เสพกามกะผู้หญิง ไม่สำเร็จความใคร่" บวชได้ไหม

ขอแยกคำตอบเป็น ๒ ข้อ
๑   ถ้าเป็นสมัยนี้ ที่การรับบุคคลเข้าบวชดูจะย่อหย่อนไม่เข้มงวด   เห็นพระเกย์กันเยอะแยะ ไม่มีใครว่ากล่าวห้ามปรามหรือขอให้สึก  ละก็  เกย์ในคำถามนี้บวชได้แน่นอน  เพราะทางวัดจะเอาอะไรมาค้าน ในเมื่อพระบวชใหม่รูปนี้ก็มีลักษณะเป็นชาย ความประพฤติเป็นชาย เหมือนชายทั่วไปนี่เอง  ถ้าหากว่าท่านสามารถสำรวมอยู่ได้จนตาย  ท่านก็อยู่ในผ้าเหลืองไปได้จนตาย  อาจจะได้ชื่อว่าเป็นพระปฏิบัติได้ถูกต้องตามพระวินัยรูปหนึ่งก็ได้   
๒      แต่ถ้าพิจารณาจากพระวินัย  ก็บวชไม่ได้   เพราะในพระวินัยไม่ได้ห้ามแต่เพียงร่างกายที่ผิดจากคนทั่วไป  หรือนิสัยที่ไม่ตรงตามเพศ   แต่ห้ามไปถึงใจที่ฝักใฝ่ในทางผิดธรรมชาติด้วย    เนื่องจากเป็นทางขัดขวางไม่ให้บรรลุมรรคผลใดๆได้   นอกจากนี้ก็ไม่มีหลักประกันว่าท่านจะสำรวมไปได้ตลอดชาติ      ท่านมีใจฝักใฝ่ชาย แล้วต้องไปอยู่ในกลุ่มชายล้วนๆ ตลอดเวลาบวช  ก็เหมือนกันพระชายแท้ไปบวชอยู่ท่ามกลางภิกษุณี  ต้องร่วมกุฏิ ต้องร่วมฉันร่วมลงโบสถ์ทำกิจกรรมกันตลอด    กามกิเลสก็จะรบกวนได้หนักกว่าปกติ   แพ้เมื่อไรก็จะพาหมู่คณะแปดเปื้อนมลทินไปด้วย   ไม่ได้เสียเฉพาะตัวเองคนเดียว

สมัยพุทธกาล  พระสงฆ์ที่เข้ามาบวช คือแสวงหาการหลุดพ้น  บางคนก็บวชสำนักอื่นมาก่อน เห็นว่าไม่ใช่หลุดพ้นก็เปลี่ยนสำนักใหม่ได้  แต่ไม่ใช่ว่าขอบวชนิดๆหน่อยๆพอรู้หลักธรรมแล้วกลับบ้านไปครองเรือนต่อ    ผิดกับประเพณีไทยพุทธ  บวช ๑ พรรษาแล้วสึก  จากนั้นก็แต่งงาน   ถือว่าการบวชเรียนคือเรียนรู้ให้เป็นผู้ใหญ่เต็มตัว มีศีลมีธรรมติดตัวออกไปยามครองเรือน จะได้เป็นผู้ครองเรือนที่ดี
ดังนั้น ถ้าพระเกย์ผู้ไม่ประสงค์จะประพฤติอย่างเกย์อยากจะบวชเต็มที   ไม่อยากแค่ปฏิบัติธรรมเฉยๆ     ก็น่าจะบวชแบบประเพณีไทย  คือบวชระยะสั้นๆ  พอได้ศึกษาธรรมะและประพฤติทางธรรมเป็นทุนในการลดละกิเลส และพิจารณาโทษของกามตัณหา    ถึงไม่บรรลุในชาตินี้ ก็ไม่เป็นไร  อย่างน้อยกิเลสได้เบาบางลงบ้าง พอจะเป็นทุนให้เกิดใหม่พ้นจากสภาพของเกย์ได้      แต่ว่าเมื่อใดเกิดรู้สึกว่าอยู่ในผ้าเหลืองจะทำความเสียหายให้หมู่คณะ อย่างนี้ต้องสึกทันที 

โดยส่วนตัว แนะนำว่าให้เป็นฆราวาสนี่แหละค่ะ แต่ปฏิบัติธรรม  จะถือศีล ๘ หรือเคร่งกว่านี้ก็ศีล ๑๐   ก็ได้บุญแล้ว  ปฏิบัติคนเดียวได้ไม่ต้องไปอยู่ใกล้ใคร    แต่การบวชพระหมายถึงต้องคลุกคลีอยู่ในหมู่สงฆ์   ต่อให้เป็นพระป่าก็ต้องมีลูกศิษย์ลูกหา มีการพบปะศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกัน   วัตรปฏิบัติทั้งหลายไม่เอื้อต่อสภาพจิตใจของเกย์  แพ้เมื่อไร  ที่อุตส่าห์ตั้งใจดีไว้แต่แรกก็ล้มเหลวหมด   
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 12 ต.ค. 10, 08:56

สนับสนุนความเห็นอาจารย์เทาชมพูด้วยคนค่ะ บวชใจให้สำเร็จก่อน สำคัญกว่ารีบไปบวชกาย แล้วใจว้าวุ่นนะคะ

กลับมาที่เจ้าของกระทู้ค่ะ รอคำตอบเรื่อง เกย์ในจีนค่ะ

อ้างถึง
ถามคุณ Han_bing
อ้างถึง
 ถ้าอาจารย์เกิดอ่านแล้วอยากให้เขียน เพราะที่จีนนี้คำเรียกไม่ค่อยโสภาเท่าไรนัก


เขาเรียกว่า มนุษย์ หยิน หยาง ใช่ไหมคะ บัณเฑาะว์ หรือ กลอง 2 หน้า ของคนจีน ที่เราเรียกว่า ป๋องแป๋ง มักมีรูปหยินหยางเสียด้วย

เขาใจว่าในจีน การเป็นกระเทย ผิดกฏหมายใช่ไหมคะ และดิฉันเคยถามคนจีนว่า ทำไมชอบมาดู Alcazar Show ที่พัทยา

เขาบอกว่า เมืองจีนไม่มีให้ดู แต่ปัจจุับันนี้ มีตรึมเชียวค่ะ บางคนสวยกว่าที่มีในเมืองเรามาก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 12 ต.ค. 10, 09:21

เคยอ่านเกร็ดพงศาวดารจีนเรื่อง จอยุ่ยเหม็ง   
ในนั้นพูดถึงสำนักชีทุศีล จับผู้ชายมากักขังไว้ให้บำเรอเหล่านางชี   มีหัวหน้าเป็นมนุษย์ประหลาด  ร่างกายกลับกลายได้สองเพศ ข้างขึ้นเป็นชาย ข้างแรมเป็นหญิง   แต่งงานแล้ว ลอบไปทำชู้กับน้องสะใภ้จึงถูกขับไล่มาบวชชี
อ่านตอนเด็กๆก็ไม่เข้าใจว่าเป็นไปได้ยังไง    มาเทียบกับสมัยนี้ เห็นทีจะหมายถึงเสือไบ นะคะ

เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า สังคมจีนน่าจะมองคนสองเพศไปในทางร้าย   ถึงสร้างบทให้เป็นผู้ร้ายเสียเลย
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 12 ต.ค. 10, 10:08

เคยอ่านเกร็ดพงศาวดารจีนเรื่อง จอยุ่ยเหม็ง   
ในนั้นพูดถึงสำนักชีทุศีล จับผู้ชายมากักขังไว้ให้บำเรอเหล่านางชี   มีหัวหน้าเป็นมนุษย์ประหลาด 
ร่างกายกลับกลายได้สองเพศ ข้างขึ้นเป็นชาย ข้างแรมเป็นหญิง    แต่งงานแล้ว ลอบไปทำชู้กับน้องสะใภ้จึงถูกขับไล่มาบวชชี

นึกถึงเรื่องท้าวอิลราช-นางอิลาครับ
อันที่จริงมีนิทานเรื่องแนวนี้อีก  แต่จำไม่ได้แล้ว

ในมหาภารตะ  มีอยู่ช่วงหนึ่ง พวกปาณฑพทั้ง ๕
ต้องปลอมเป็นหญิงเพื่อซ่อนตัวนานหลายปี
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 12 ต.ค. 10, 10:37

แว่บเข้ามา ครับ

            เรื่องจีนที่อาจารย์เล่า "คล้ายๆ" กับบัณเฑาะก์ชนิดหนึ่ง - ปักขบัณเฑาะก์ คือ

            "ส่วนบางคนข้างแรมเป็นบัณเฑาะก์  ด้วยอานุภาพแห่งอกุศลวิบาก  แต่
ข้างขึ้น   ความเร่าร้อนของเขาย่อมสงบไป   นี้ชี่อว่า   ปักขบัณเฑาะก์"

         ในอรรถกถาชื่อกุรุนทีแก้ว่า ... สำหรับปักขบัณเฑาะก์  ห้ามบรรพชาแก่เขาเฉพาะปักข์
ที่เป็นบัณเฑาะก์เท่านั้น
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 12 ต.ค. 10, 10:38

อ้างถึง
ร่างกายกลับกลายได้สองเพศ ข้างขึ้นเป็นชาย ข้างแรมเป็นหญิง

คงเป็นอย่างเดียวกับ อรรถกถาพระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ ข้อ ๑๒๕

อ้างถึง
ส่วนบางคนข้างแรมเป็นบัณเฑาะก์ ด้วยอานุภาพแห่งอกุศลวิบาก แต่ข้างขึ้น ความเร่าร้อนของเขาย่อมสงบไป นี้ชื่อว่า ปักขบัณเฑาะก์
เอามาจากhttp://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16073

ไม่น่าเชื่อเลยว่า มีปรากฏในพงศาวดารจีนด้วย แปลว่า มีเสือไบ ตามพระจันทร์ได้ด้วยหรือคะ เหลือเชื่อยิ่งกว่า มุนษย์หมาป่าเสียอีก



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 12 ต.ค. 10, 10:41

    
อ้างถึง
ทางอภิธรรมท่านว่า บัณเฑาะก์ บรรลุไม่ได้ แต่ไม่ได้บอกระดับของการบรรลุนะคะ
โสดาบัน สกทาคา น่าจะพัฒนาตนไปถึงได้

           เรื่องการบรรลุธรรมนั้น ที่แน่ๆ ไม่ถึงมรรคผล ดังเช่นข้อความจาก      

           พระไตรปิฎกอรรถกถาแปลไทยชุด 91 เล่ม  พิมพ์โดยมหามกุฏราชวิทยาลัยที่
เล่ม 2 หน้า 662 (จตุตถปาราชิกวรรณนา) อธิบายเกี่ยวกับบุคคลที่จัดเป็น "อภัพบุคคล"  
ไม่สามารถบรรลุมรรคผล นิพพานในชาตินั้นๆ ได้

บรรดาอภัพบุคคล  ๑๑  จำพวกเหล่านั้น  บัณเฑาะก์ (กะเทย)  สัตว์ดิรัจฉานและอุภโตพยัญชนก (คนมีสองเพศ)
๓ จำพวก  เป็นพวกอเหตุกปฏิสนธิ   จัดเป็นพวกวัตถุวิบัติ.  

             พวกวัตถุวิบัติเหล่านั้น  ไม่ถูกห้ามสวรรค์  แต่ถูกห้ามมรรค.

จริงอยู่  บัณเฑาะก์เป็นต้นเหล่านั้น  จัดเป็นอภัพบุคคลสำหรับการได้มรรคเพราะเป็นพวกวัตถุวิบัติ    
ถึงการบรรพชาสำหรับพวกเขาก็ทรงห้ามไว้.  

เพราะฉะนั้น บัณเฑาะก์เป็นต้นแม้เหล่านั้น จึงจัดเป็นผู้พ่ายแพ้ (เป็นปาราชิก).

และ
            ระดับอริยบุคคลขั้นต้นก็ไม่ถึงได้ เพราะในระดับพระโสดาบันนั้น ท่านจะมี -

               อารมณ์สมาธิของท่านผู้เจริญฌานสมาบัติ มีอารมณ์ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป
ยังไม่ถึงฌาน ๔

           ในขณะที่ บัณเฑาะก์ เป็นอภัพบุคคล ไม่สามารถเจริญสมาธิได้ถึงขั้นนั้น
(ไม่แน่ใจ - คงจะได้แค่ ขณิกสมาธิ)

         การบรรลุธรรม ของบัณเฑาะก์ คงเป็นได้ในระดับการศึกษา ทำความเข้าใจ ปฏิบัติ
เป็นอุปนิสัย ปัจจัยสำหรับในภาคหน้า

ไม่มีเวลาพอจะค้นคว้ารายละเอียด ครับ      
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 12 ต.ค. 10, 10:57

ขอบคุณ ๆ Sila มากค่ะ ดิฉันเคารพหลักฐานค่ะ

แต่อดคิดต่างไม่ได้เท่านั้นค่ะ เสียดายที่ไม่ได้เป็น บัณเฑาะก์ ด้วยตนเอง เลยทำ Lab ไม่ได้ค่ะ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
Bhanumet
ชมพูพาน
***
ตอบ: 199


Sleeping Red Lion


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 12 ต.ค. 10, 11:48

ขอบพระคุณทุกท่านมากครับ

สุดท้าย

         ในอรรถกถาชื่อกุรุนทีแก้ว่า ... สำหรับปักขบัณเฑาะก์  ห้ามบรรพชาแก่เขาเฉพาะปักข์
ที่เป็นบัณเฑาะก์เท่านั้น

จากที่อ้างถึง  แสดงว่าเสือไบบวชได้หรือเปล่าครับ  อายจัง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 12 ต.ค. 10, 20:37

แว่บเข้ามา ครับ

            เรื่องจีนที่อาจารย์เล่า "คล้ายๆ" กับบัณเฑาะก์ชนิดหนึ่ง - ปักขบัณเฑาะก์ คือ

            "ส่วนบางคนข้างแรมเป็นบัณเฑาะก์  ด้วยอานุภาพแห่งอกุศลวิบาก  แต่
ข้างขึ้น   ความเร่าร้อนของเขาย่อมสงบไป   นี้ชี่อว่า   ปักขบัณเฑาะก์"

         ในอรรถกถาชื่อกุรุนทีแก้ว่า ... สำหรับปักขบัณเฑาะก์  ห้ามบรรพชาแก่เขาเฉพาะปักข์
ที่เป็นบัณเฑาะก์เท่านั้น

ตอบคุณภาณุเมศร์
ถือตามอรรถกถานี้   ก็บวชได้(เป็นสามเณร ? เพราะใช้ว่าบรรพชา)  เฉพาะวันข้างขึ้นเท่านั้น   
เอ แล้วแกจะบวชได้กี่วันล่ะเนี่ย  เพราะพอถึงข้างแรมก็กลับกลายเป็นหญิงไปเสียแล้ว   
สงสัยจะต้องสึกใน ๑๕ วัน มั้ง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 19 คำสั่ง