เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 12148 คุณย่าท่านผู้หญิงละเอียด รู้จักแม่จันทร์ภรรยา "สุนทรภู่"
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 04 ต.ค. 10, 15:25

เอกสารราชการกล่าวถึงโรงเรียนวัดบพิตรภิมุขเมื่อเริ่มแรกว่า

โรงเรียนวัดบพิตรภิมุขเป็นโรงเรียนในพระอาราม ยุคแรก
เปิดสอนเมื่อ เดือน ๗ ปี ระกาสัปตศก ๑๒๔๗
จากรายงานของพระเจ้าน้องยาเธอ  พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร
ทรงรายงานไว้ว่า  ในเดือน ๗ แรกเปิดทำการสอนนั้น มีนักเรียนมาเรียนมูลบทบรรพกิจ จำนวน  ๓๔  คน
ในเดือน ๘ (บูรพาสาฒ)มีนักเรียนมาเรียนมูลบทบรรพกิจ  จำนวน  ๓๘ คน
พอมาเดือน ๘-๘ (อุตตราสาฒ)มีนักเรียนมาเรียนมูลบทบรรพกิจ  จำนวน  ๔๐ คน  มีนักเรียนมาเรียนวาหนิตินิกร  จำนวน ๔ คน

ในรายงานฉบับนั้นยังให้รายละเอียดว่า โรงเรียนวัดบพิตรภิมุข มีอาจารย์ จำนวน ๑ คน (ตลอด ๓ เดือนที่ผ่านมา)
เดือน ๗ มีนักเรียน จำนวน ๓๔ คน เดือน ๘ มีนักเรียน ๓๘ คน และ เดือน ๘-๘ มีนักเรียน ๔๔ คน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 04 ต.ค. 10, 16:21

ณ วันอังคาร เดือน ๙ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีชวดสัมฤทธิศก  ๑๒๕๐  พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานสัญญาบัตรข้าราชการ จำนวน ๑๗ นาย คือ

๑ หลวงอังคณิศรพลารักษ์  เปน พระอังคณิศรพลารักษ์  มีตำแหน่งราชการในกรมยุทธนาธิการ คงถือศักดินา  ๓๐๐๐
.
.
.
๑๗ นายกระวี  เปน ขุนสุนทรลิขิต  กรมพระอาลักษณ์  ถือศักดินา  ๖๐๐  

ราชกิจจาฯ เล่ม ๕ หน้า ๑๗๘
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 04 ต.ค. 10, 16:43

ข่าวตาย

ขุนสุนทรลิกขิต กรมพระอาลักษณ์ (กระวี)  เปนบุตรนายจ่าอัศวเรศ กรมม้า 
เดิมถวายตัวเปนมหาดเล็กอยู่ในเวรเดชรับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ ๓ ตำลึง 
ภายหลังพระเจ้าน้องยาเธอ  กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ อธิบดีกรมศึกษาธิการ
โปรดให้เปนอาจารย์สอนหนังสือไทยนักเรียนในโรงเรียนวัดราชบพิธ
ได้รับพระราชทานเงินเดือน เดือนละ ๕ ตำลึง 
แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เปนขุนสุนทรลิกขิต  มีตำแหน่งราชการในกรมพระอาลักษณ์
รับพระราชทานเบี้ยหวัด ปีละ ๑๒ ตำลึง  เงินเดือน เดือนละ ๕ ตำลึง

วันที่ ๑ เมษายน ร,ศ, ๑๐๘ เวลาบ่าย ๓ โมงเศษ  เข้ามาทำการในห้องอาลักษณ์
เวลายามเศษ  กลับไปบ้าน เดินมาถึงประตูช่องกุฎิ์ ลิงกัดที่ต้นแขนเบื้องซ้าย
เนื้อขาดหวะ แผลกว้างประมาณ ๕ นิ้วกึ่ง   ตกใจ หาหมอเชลยศักดิ์มารักษา
แผลนั้นยิ่งเปนพิษบวมแต่มือจนถึงต้นแขน  เพ้อคลั่ง  ไม่ได้สติ  หมอแก้หาคลายไม่


วันที่ ๘ เมษายน ร,ศ, ๑๐๘ เวลาทุ่มเศษ  ขุนสุนทรลิขิต (กระวี) ถึงแก่กรรม
อายุได้  ๓๔  ปี   พระราชทานน้ำชำระศพ หีบสลักเชิงชายเปนเกียรติยศ
ร้องไห้

ราชกิจจาฯ เล่ม ๖ หน้า ๑๙
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 04 ต.ค. 10, 16:51

คุณหลวงเล็กหาข้อมูลได้สุดยอด  ยิ้ม

ขอสรุปตามข้อมูลที่ได้รับใหม่ อีกที
๑   ร.ร.บพิตรภิมุข เปิดสอนเมื่อ ๑๒๔๗ หรือ พ.ศ. ๒๔๒๘ แรกเปิด มีครูคนเดียว
ครูคนนั้นไม่ใช่ขุนสุนทรลิขิต   แต่เป็นขุนอนุกิจวิธูร
๒  ขุนสุนทรลิขิต เพิ่งได้เป็น "ขุน" ในอีก ๓ ปีต่อมา คือพ.ศ. ๒๔๓๑  และได้บรรดาศักดิ์ เมื่อเป็นข้าราชการสังกัดกรมอาลักษณ์
๓  ถ้าหากว่าจะเกี่ยวข้องกับร.ร.บพิตรภิมุข  ก็เป็นได้อย่างเดียวคือเป็นครูน้อยชื่อนายกระวี ยังไม่มีบรรดาศักดิ์    ในช่วงหลังพ.ศ. ๒๔๒๘ และก่อน พ.ศ. ๒๔๓๑ เมื่อร.ร.รับครูเพิ่มขึ้นจาก ๑ คน เป็น ๒ หรือ ๓ ก็แล้วแต่
      เรื่องเป็นขุนนางร่วมสมัยกับสุนทรภู่   เป็นไปไม่ได้   แม้แต่ร่วมสมัยกับนายพัดนายกลิ่นบุตรสุนทรภู่ยังร่วมไม่ได้เลย   ท่านอยู่ยุคหลังกว่านั้นมาก   อาจจะคราวหลานปู่สุนทรภู่
     เพราะฉะนั้น  แม่จันทร์คนที่ท่านขุนเรียกอย่างสนิทปาก ไม่ได้นับว่าเป็นญาติอาวุโส   เป็นใครก็ตาม  ไม่ใช่เมียสุนทรภู่ซึ่งเลิกร้างกันไปตั้งแต่ยังหนุ่มสาว และน่าจะถึงแก่กรรมไปแล้วก่อนท่านขุนเกิดด้วยซ้ำ

ชนกลางอากาศกับคุณหลวง   เพิ่งเห็นว่า เป็นคนละร.ร.กัน   
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 04 ต.ค. 10, 16:53

วันที่  ๑๗ เมษายน เวลาเช้ายกหีบศพขุนสุนทรลิกขิต ไปเข้าปะรำวัดตรีทศเทพ

เวลาบ่ายพระราชทานเพลิงของหลวง  พระราชทานผ้าขาว ๑ พับ  

เงิน ๕๐ เฟื้อง  เครื่องพระราชทานเพลิงพร้อม

ราชกิจจาฯ เล่มเดิม หน้าถัดมาอีก ๒ หน้า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 04 ต.ค. 10, 16:56

อ้างถึง
หาหมอเชลยศักดิ์มารักษา
แผลนั้นยิ่งเปนพิษบวมแต่มือจนถึงต้นแขน  เพ้อคลั่ง  ไม่ได้สติ  หมอแก้หาคลายไม่

ท่านผู้หญิงเล่าว่า รักษาด้วยกะปิ  เลยเป็นบาดทะยัก
หมอเอกชนคนไหนหนอรักษาด้วยวิธีนี้? ลังเล
ฝากคุณหมอ CVT มาคอนเฟิร์มว่าอาการนี้พิษบาดทะยักมันขึ้นสมองใช่หรือเปล่าคะ

ได้ประวัติมาก็รู้อายุของขุนสุนทรลิขิตแล้วนะคะ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 04 ต.ค. 10, 17:04

ขุนสุนทรลิขิตคนต่อมา

วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ร,ศ, ๑๐๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรข้าราชการ ๓ นาย คือ

๑ เลื่อนขุนประสิทธิอักษรสาตร เปนหลวงประสิทธิอักษรสาตร
มีตำแหน่งราชการในกรมอักษรพิมพการ  ถือศักดินา ๖๐๐

๒ หลวงพรหมภักดี คนเก่า  เปนขุนสุนทรลิกขิต 
มีตำแหน่งราชการในกรมพระอาลักษณ์  ถือศักดินา ๖๐๐


๓ นายแจ้ง  เปน หมื่นพิทักษ์เทวาวาส 
ผู้ช่วยราชการในวัดพระนามบัญญัติ  ถือศักดินา ๓๐๐

หลังจากนั้น ๒ วัน  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรข้าราชการ ๑๐ นาย
ในจำนวนนั้น มี  นายร้อยเอก ยี เชา เปนหลวงศัลลวิธานนิเทศ  ครูหัดทหาร  ถือศักดินา  ๑๐๐๐

ราชกิจจาฯ เล่มเดิม  หน้าเกือบ ๓๐๐
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 04 ต.ค. 10, 17:12

     เรื่องเป็นขุนนางร่วมสมัยกับสุนทรภู่   เป็นไปไม่ได้   แม้แต่ร่วมสมัยกับนายพัดนายกลิ่นบุตรสุนทรภู่ยังร่วมไม่ได้เลย   ท่านอยู่ยุคหลังกว่านั้นมาก   อาจจะคราวหลานปู่สุนทรภู่
     เพราะฉะนั้น  แม่จันทร์คนที่ท่านขุนเรียกอย่างสนิทปาก ไม่ได้นับว่าเป็นญาติอาวุโส   เป็นใครก็ตาม  ไม่ใช่เมียสุนทรภู่ซึ่งเลิกร้างกันไปตั้งแต่ยังหนุ่มสาว และน่าจะถึงแก่กรรมไปแล้วก่อนท่านขุนเกิดด้วยซ้ำ


ถ้าเป็นบุตรสุนทรภู่  ท่านขุนท่านทันแน่นอนครับ 
เพราะนายตาบบุตรสุนทรภู่ ได้รับราชการเป็นมหาดเล็กวังหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๕
และได้แต่งนิราศเมื่อคราวตามเสด็จไปพระบาทด้วย

ตามประวัติว่าท่านขุน เคยรับราชการเป็นมหาดเล็กเวรเดชมาก่อน
ก็น่าจะได้รู้จักกับนายตาบบุตรสุนทรภู่บ้าง 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 04 ต.ค. 10, 17:23

ถ้านายตาบอายุอ่อนกว่านายพัดมาก  ก็เป็นได้ ค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 05 ต.ค. 10, 08:35

คุณหลวงเล็กหาข้อมูลได้สุดยอด  ยิ้ม

เห็นด้วยกับคุณเทาชมพู ๑๐๐ %


ขอถามคุณหลวงเล็กเพิ่มเติม

คุณปู่ชวด "ศรี่จันทร์" มีบรรดาศักดิ์เป็น "จ่าอัศวราช" หรือ "นายจ่าอัศวเรศ" กันแน่

 ฮืม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 05 ต.ค. 10, 10:06

ขออภัยครับ  รีบพิมพ์เลยพลาด

ขุนสุนทรลิกขิต กรมพระอาลักษณ์ (กระวี)  เปนบุตรนายจ่าอัศวราช กรมม้า  

ส่วนที่มี"นาย"นำหน้ายศ"จ่า"นั้น ไม่ทำให้ข้อมูลเปลี่ยนแปลงครับ  ใช้ได้คือกันครับ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 05 ต.ค. 10, 10:12


ขุนสุนทรลิกขิต กรมพระอาลักษณ์ (กระวี)  เปนบุตรนายจ่าอัศวเรศ กรมม้า  
เดิมถวายตัวเปนมหาดเล็กอยู่ในเวรเดช รับพระราชทานเบี้ยหวัดปีละ ๓ ตำลึง  
 

ขอบพระคุณสำหรับคำเฉลยเรื่อง "นายจ่าอัศวเรศ"

เผอิญพบคำอธิบายเรื่อง "มหาดเล็กในเวรเดช" โดยคุณเทาชมพู

ขออนุญาตนำมาเล่าต่อให้ฟังดังนี้

มหาดเล็กรับใช้ทั้งหมดแบ่งการทำงานออกเป็น ๔ เวร คือ เวรศักดิ์ เวรสิทธิ์ เวรฤทธิ์ เวรเดช แต่ละเวรมีการทำงานแตกต่างกันไป
 
เวรศักดิ์ อยู่เวรยามเฝ้าเครื่อง,รับใช้ตลอดเวลาที่พระมหากษัตริย์มิได้ประทับอยู่ฝ่ายใน และเชิญเครื่องตามเสด็จทั่วไป มีหลวงนายศักดิ์ หรือหลวงศักดิ์นายเวร เป็นหัวหน้าเวร

คุณเปรม พระเอกสี่แผ่นดิน ตอนเปิดตัวออกโรงเป็นครั้งแรก อายุ ๒๓ ปี เป็นมหาดเล็กเวรศักดิ์

เวรสิทธิ์ ดูแลรับผิดชอบพระราชทรัพย์สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ตลอดจนพระที่นั่ง และบริเวณพระราชวัง มีหลวงนายสิทธิ์หรือหลวงสิทธิ์นายเวร เป็นหัวหน้าเวร

ประมาณ ๑๐ กว่าปีก่อน เรามีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยคนหนึ่งชื่อพลเอกสิทธิ์ จิรโรจน์ หนังสือพิมพ์มติชนเรียกท่านอย่างล้อๆว่า "หลวงนายสิทธิ์" ก็เอาชื่อมาจากมหาดเล็กนายเวรนี่แหละค่ะ

เวรฤทธิ์ ดูแลรับผิดชอบพระราชยานพาหนะ ไม่ว่าจะเป็นช้าง ม้า เรือ รถ ต้องรับผิดชอบให้อยู่ในสภาพที่พร้อมเมื่อทรงใช้ทุกเมื่อ หลวงนายฤทธิ์หรือหลวงฤทธิ์นายเวร เป็นหัวหน้าเวร

พลายชุมพลเมื่อปราบจระเข้เถรขวาดได้แล้ว พระพันวษาก็รับเข้าวังไปใช้สอยไว้วางพระทัย จนได้เลื่อนขึ้นเป็นหลวงนายฤทธิ์ มีบทบาทอยู่ในขุนช้างขุนแผนตอนพลายเพชรพลายบัวออกศึก (ทั้งสองลูกชายพระไวยหลานปู่ขุนแผน) แต่เป็นตอนที่ไม่มีอยู่ในเสภาฉบับหอพระสมุด

เวรเดช มีหน้าที่ฝึกหัดอบรมมหาดเล็กใหม่ ทางด้านงาน กิริยา วาจามารยาทและการใช้ราชาศัพท์ ตลอดจนรับผิดชอบเรื่องหนังสือเข้าออกต่างๆ ถ้าหากว่าพระมหากษัตริย์จะทรงใช้มหาดเล็กออกไปติดต่องาน ต่างพระเนตรพระกรรณภายนอกก็จะทรงใช้มหาดเล็กเวรนี้ หลวงนายเดชหรือหลวงเดชนายเวร เป็นหัวหน้าเวร

บรรดาศักดิ์มหาดเล็ก
http://www.vcharkarn.com/varticle/168


ขอเรียนถามคุณหลวงเล็กต่อไปเลยว่า

"นายจ่าอัศวราช" นี้ มีหน้าที่อะไรหนอ

 ฮืม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 05 ต.ค. 10, 10:28

มีเรื่องชื่อบุตรของจ่าอัศวราชมาคุยต่อ

เรื่องนี้อยู่ในสาส์นสมเด็จสองฉบับ

สาส์นสมเด็จ ฉบับลงวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๔๘๔
สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  กราบทูลสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

๘. เหตุที่นึกถึงนายเมธนายกระวี  ซึ่งเป็นคนที่เคยรู้จักอยู่จึ่งพาให้คิดถึงชื่อคนอันวิตถาร  มีพวกลูกจ่าอัศวราชนั้นเป็นต้น  มี

              เมธะ     แปลว่ารู้ในเมธปฏิมา
              กระวี     ปรีชาปิยบุตรที่สาม
              ฉวี        ผิวงามบุตรแม่พริ้งแรกเกิด
              วรา       ประเสริฐกัลยาลำยอง
              สาโรช   บัวทองพิศพัตรประไพ
              สุมน     สุมาไลเยาวลักษณนารี
              ปรม     แปลว่ามีปรมังค์ลาภา

ชื่อเหล่านี้ได้มาก็เพราะรู้จักคนสองคน ซึ่งกล่าวแล้วในเบื้องต้น  แต่ได้มาเป็นแต่เสียงอันจะมีผิดอยู่บ้าง  เมื่อเขียนลงเป็นหนังสือก็ต้องเดาอาศัยเอาคำแปลในกลอนบ้าง  แล้วจะถ้วนหรือไม่ถ้วนก็ทราบไม่ได้  มีสงสัยอยู่ที่กลอนสอง  นับบุตรคนนั้นว่าเป็นที่สาม  จึ่งกลัวจะมีต้นขึ้นไปอีก  แล้วที่สุดจะมีอีกหรือเท่านั้นก็ไม่ทราบ

นึกถึงชื่อพวกลูกจ่าอัศวราช  แล้วก็ทำให้นึกไปถึงพวกลูกพระยาศรีสรราช(วัน)  พวกนั้นมีชื่อวิตถารอยู่เหมือนกัน

                พงศ์       สุริยัน
                พันธ์       สุริยา
                พุ่ม         มลิร่วง
                พวง        มลิลา
                พิณ        เทพเฉลิม
                เพิ่ม        เสนหา
                พี           ยศมูล
                พูน         สมบัติมา

จะมีเท่านั้นหรือมีอีกก็ไม่ทราบ  พวกนี้รู้จักคนเดียวแต่ที่ชื่อ พิณ  เทพเฉลิม  ดูเหมือนเป็นพระราชวรินทร์  เป็นพ่อตากรมหมื่นเทววงศ์และพระองค์เจ้าวรรณ  ที่ชื่อ เพิ่ม  เสนหา ดูเหมือนว่าเป็นเจ้าจอม

แล้วพวกลูกใครอีก  จำได้แต่ว่าคนเดียวว่า "ตึ๋งส่วน" ที่จำไม่ได้เพราะวิตถารน้อย  คนที่เป็นพ่อค้าไม้ ดูเหมือนเรียกกันว่า "นายเจริญ" ซึ่งเป็นเจ้าของบ้าน "สิริสถาน" ของเจ้าพระยาสุรศักดิ์ก็ดูเหมือนจะเป็นลูกพวกนี้ "เจริญสิริ" กระมัง

พูดถึงชื่อวิตถารทำให้นึกถึงคุณม่วง  ชื่อยาวจริง  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าตรัสเล่า  เล่นเอาต้องท่องเป็นหนักเป็นหนาจึ่งจำได้  มีว่า

                "ฉิมม่วงงามปรางทอง         ไกรทองพงศา
                 สาวสวรรค์กัลยาณี            ศรีศุภลักษณ
                 เลิศฟ้าหาไม่ทัน"

ตรัสเล่าว่าอันชื่อยาวทั้งนี้ก็เป็นด้วยอยากชื่อมั่ง  เช่นเดียวกับอยากชื่อ "ยอช วอชิงตัน" ที่สุดจนไปดูช้างเผือกก็อยากชื่อ "ลักษณเลิศฟ้า" จึ่งต่อกันยาวออกไปทุกที

ชื่อคุณปิ่นก็ไม่ยอก  มีว่า

                   "ปิ่นปักธรณีศรีเมืองมาร"

แต่ชื่อนี้จำไว้ได้ด้วยไม่ต้องท่อง เพราะไม่สู้ยาวนัก

บรรดาชื่อดูเหมือนจะต้องการน้อยพยางค์  เช่นเรียกกันว่า "เจ้าคุณศรี เจ้าคุณราช" เป็นต้น  ชายถึงมาเล่าติดจะขัน  ว่าใครไปถามหา "เจ้าคุณอรรถ" ที่กรมอัยการแล้วไม่ได้กิน  เพราะที่กรมนั้นขึ้นต้นราชทินนามด้วยคำ "อรรถ" ทั้งนั้น  อันคำที่ต่อชื่อคำหน้าไปนั้นถือกันว่าเป็นสร้อย  สำหรับแต่เขียนหนังสือให้เป็นยศ  นึกถึงภาษาของชาวบ้านก็เห็นขัน  คำว่า "เจ้าคุณ" นั้น  หมานถึงพระยา  ชื่ออะไรต่าง ๆ ที่คิดตั้งกันมาแต่ก่อนคราวหนึ่งก็คิดเดินทางให้สั้น  เอาแต่สะดวกปากที่คนจะเรียก  แต่มาสมัยนี้ดูเป็นต้องการยาว  ที่สั้นไปก็ต่อให้



บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 05 ต.ค. 10, 10:30

มหาดเล็กเวรเดชนี่แหละครับ ที่พอปฏิบัติราชการไปได้สักระยะ มีความชำนาญ รู้หนังสือ  รู้หลักราชการมากขึ้น  
ก็จะได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ไปรับราชการในกรม กระทรวง หัวเมืองต่างๆ
นายตาบ  บุตรสุนทรภู่ คงจะเป็นมหาดเล็กในเวรเดช  เพราะทำหน้าที่เชิญเครื่องทรงพระอักษรตามเสด็จ

สงสัยต่อไปเรื่อยเปื่อยว่า  ในเสภาขุนช้างขุนแผนได้กล่าวไว้หรือไม่ว่า  
ขุนช้างกับขุนแผนตอนไปฝึกราชการในวัง  ทั้งสองอยู่สังกัดมหาดเล็กเวรใด

อีกนิด  ชมรมนักไขว่คว้าหนังสือเก่า  ได้เคยเห็นหนังสือเก่าประมาณ ๗-๘ กล่อง
สภาพดีบ้างไม่ดีบ้างอัดแน่น  มีวชิรญาณรวมเล่ม เล่ม ๑๒ ๑๓ ๑๔  ๑๕  หนังสือกฎหมายประจำศก
หนังสือนิทานคำกลอนวัดเกาะ และพงศาวดารจีน เป็นต้น  ในต้นหนังสือเหล่านั้น
เจ้าของเขียนว่า หลวงนายเดช ไว้ทุกเล่ม  ก็นั่งคิดไปมาว่า  หลวงนายเดชคนไหนกันหนอ
ที่เก็บหนังสือเก่าไว้เยอะแยะขนาดนี้  ข่าวว่า  ตอนที่ท่านมีชีวิตมีคนไปตามรบเร้าขอซื้อหนังสือของท่าน
ถึงบ้านหลายคน  แต่ท่านหวงมาก  ไม่ยอมขาย  พอท่านถึงแก่กรรมหนังสือ  
ลูกหลานเลยจัดการโละออกจากบ้าน  อุตส่าห์เก็บมาตั้งนานหลายปี
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 05 ต.ค. 10, 10:36

ต่อเรื่องชื่อบุตรจ่าอัศวราชในสาส์นสมเด็จ

สาส์นสมเด็จ ฉบับลงวันที่ ๑๐  สิงหาคม  พ.ศ. ๒๔๘๔
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ทูล  สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

๕.  ชื่อลูกจ่าอัศวราชนั้น  ที่ถูกเป็นดังนี้

                ๑. อาทิก่อน  แม่กลีบเรณู
               ๒. เมธะแปลว่ารู้  นายเมธปฏิมา
               ๓. กวีปรีชา  ปิยบุตรที่สาม
               ๔. ฉวีผิวงาม  บุตรแม่พริ้มแรกเกิด
               ๕. วราประเสริฐ  ที่สองงามสม
               ๖. กำดัดทรามชม  กัลยาณ์ลำยอง
               ๗. สาโรชบัวทอง  พิศภักตร์ประภัย
               ๘. สุมณสุมาลัย  เยาวลักษณนารี
               ๙. ปรมแปลว่ามี  ปรมังลาภา
               ๑๐. ลิขิตเลขา  บุตรีพลลภ
               ๑๑. สุพรรณวรนพ  คุณสริรา

ชื่อลูกจ่าอัศวราชหม่อมฉันนึกสงสัยว่า  จะตั้งสร้อยกันต่อมาภายหลัง  เดิมเห็นจะให้ชื่อแต่ว่า กลีบ เมธ กวี เป็นต้น  ต่อมานึกสนุกจึงผูกกลอนขึ้น  ข้อนี้มีเค้าที่สร้อยชื่อลูกคนแรกที่ว่า "อาทิก่อน  แม่กลีบเรณู" ส่อให้เห็นชัดว่าเดิมชื่อแต่ว่า "กลีบ" ตั้งสร้อยขึ้นต่อเมื่อมีน้องแล้วจึงใช้คำว่า อาทิก่อน

ชื่อคุณม่วง ชูโต นั้น  สำหรับชอบเล่ากันมาแต่ก่อนก็ว่าบ้าเท่านั้น  คำที่เป็นจริงก็คงมีแต่ "ฉิม" เรียกเมื่อยังเล็ก กับ "ม่วง" ซึ่งมาให้เมื่อเติบขึ้น  พวกที่ชื่อ "ตึ๋งส่วน" และปิ่นปักธรณี" หม่อมฉันนึกเค้าไม่ออก

ชื่อลูกพระยาศรีสรราช(วัน  บุนนาค) นั้นที่ถูกว่า

                พงษ์       สุริยัน
                พันธ์       สุริยา
                พลอย     พรรณราย
                พราย      พรรณา
                พุ่ม         มะลิร่วง
                พวง        มะลิลา
                พิณ        เทพเฉลิม
                เพิ่ม        เสนหา
                พี           ยศมูล
                พูน         สมบัติมา

หม่อมฉันออกชอบ  อยากชมว่าช่างคิดและคิออยู่ในวงอันสมควร  คงมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง  เช่นคุณหญิงชื่อเป็นอักษร พ พิญเป็นต้น  จึงประสงค์จะให้ชื่อลูกขึ้นด้วยอักษร พ พิณ หมดทุกคน  เลือกคำพยางค์เดียวอันเรียกและเข้าใจง่าย  ตั้งเป็นยุติเพียงเท่านั้นสำหรับคนทั้งหลายเรียกเป็นสร้อยเป็นแต่ให้รู้ลำดับในครัวเรือน  และจำชื่อได้หมดทุกคนด้วยสัมผัส  คำสัมผัสความก็เข้ากับชื่อสนิทดี  ทั้งไม่ยาวเกินประมาณ จึงน่าชม

ยังมีกลอนเพลงยาวพระนามพระเจ้าลูกเธอพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ อีกบท ๑ ว่า

                                     อรุโณทัยอภัยทัตฉัตรไกรสร
        สุริยวงษ์สุริยาดารากร      ศะศิธรคันธรสวาสุกรี
        สุทัศน์อุบลมณฑา          กระษัตริย์จงกลสุภาธร

พระนามตามเพลงยาวนี้  ประหลาดอยู่ที่ไม่ตรงลำดับและขาดพระนามพระเจ้าลูกเธอ  แม้ที่เป็นรุ่นใหญ่ก็ไม่มีในเพลงยาวหลายพระองค์  ถึงหากเป็นพระราชนิพนธ์ฯ ก็จะต้องเข้าใจว่าทรงเลือกพระนามแต่พระองค์ที่ทรงโปรดมาเข้าในเพลงยาว  ก็ไม่มีเค้าเงื่อนว่าจะเป็นเช่นนั้น  ดูน่าจะเป็นเพลงยาวเจ้านายหรือใครแต่งเล่นเมื่อภายหลังรัชกาลที่ ๑  และแต่งค้างเพียงเท่านั้นมิใช่เป็นตำรับตำราอย่างมักเข้าใจกัน

นามนั้นสำคัญไฉน
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/10/K4772743/K4772743.html


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.101 วินาที กับ 20 คำสั่ง